WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน
  SET ผ่าน 1800 จุด ยาก ยังขาดปัจจัยหนุน ขณะที่เงินเฟ้อโลกทรงตัว-ขึ้นหนุนดอกเบี้ยฯ เข้าสู่วัฏจักขาขึ้น ยกเว้นไทย เงินเฟ้อต่ำ หนุนดอกเบี้ยต่ำตลอด 1H61 ราคาน้ำมันดิบยังแกว่งตัว ตลาดคาดสต๊อกสหรัฐเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 3 และแรงขายต่างชาติยังหนาแน่น กลยุทธ์ฯ ผสมผสานหุ้น Domestic Play(WHA, BJC, STEC) + Global Play(HANA,  PTTEP)  หรือเงินปันผลสูง (SIRI, INTUCH) และ Top picks WHA ([email protected]) และ STEC(FV@B30) ได้งาน GULF หนุน Backlog ขึ้นไปเป็น 1.3 แสนล้านบาท รับรู้รายได้อีกหลายปี   
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….. ดัชนีชะลอตัว พร้อมมูลค่าการซื้อขายลดลง
  วานนี้ตลาดหุ้นไทยแกว่งตัวแคบๆ ในแดนบวกและปิดตลาดที่ 1800.03 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.58 จุด หรือ 0.03% แต่มูลค่าการซื้อขายยังเบาบาง 5.38 หมื่นล้านบาท แรงซื้อหุ้นกลุ่มสื่อสารกลับมาหนุนตลาด นำโดย ADVANC เพิ่มขึ้น 1.03%, INTUCH ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอีก 0.9% และ DTAC เพิ่มขึ้นแรงกว่า 4.28% ตามด้วยการปรับขึ้นของหุ้นขนาดใหญ่อื่นๆ เช่น AOT เพิ่มขึ้น 1.85%, SCC เพิ่มขึ้น 1.68% และหุ้นกลุ่มพลังงาน-โรงกลั่นอย่าง IRPC เพิ่มขึ้น 1.35% ซึ่งสวนทางกับราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานอย่าง PTTEP ที่ปรับลดลง 1.30% หุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า GPSC ลดลง 3.21% หลังรายงานกำไรสุทธิ 4Q60 เท่ากับ 721.6 ล้านบาท ลดลง 18.8% qoq  ก่อนหน้านี้ราคาหุ้นได้ปรับตัวขึ้นมาตั้งแต่ต้นปีกว่า 19% ได้สะท้อนทุกโครงการในมือที่จะทยอย COD ในอนาคตไปแล้วจึงมีโอกาสเห็นการปรับฐานของราคาหุ้นต่อจึงแนะนำลงทุนใน BGRIM แทน  
  สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ยังดูเบาบาง จึงทำให้ดัชนีน่าจะยังแกว่งตัวบริเวณ 1800 จุดเหมือนเดิม ประเมินแนวรับที่ 1790 จุด แนวต้าน 1810 จุด
เงินเฟ้อโลกทรง-ขึ้น หนุนดอกเบี้ยโลกเข้าสู่วัฎจักรขาขึ้น
  เงินเฟ้อโลกอยู่ในช่วงขาขึ้น  สะท้อนจากวานนี้ อังกฤษรายงานเงินเฟ้อ เดือน ม.ค. ยังสูงถึง 3% ติดต่อเป็นเดือนที่  2   ผลจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และเงินปอนด์ที่อ่อนค่า 6.6% นับตั้งแต่ Brexit  (24 มิ.ย. 2556   แต่เงินปอนด์กลับมาอยู่ในทิศทางแข็งค่าตลอดปี 2560  ทำให้สุทธิแล้ว อ่อนค่าลดลง)  หนุนให้ราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้น  อาทิ เสื้อผ้า ของใช้ในครัวเรือน เป็นต้น เงินเฟ้อที่สูงเทียบกับดอกเบี้ยนโยบายที่  0.5%  ทำให้ตลาดคาดธนาคารกลางอังกฤษจะขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปีนี้ ราว 0.5%
  ขณะที่สหรัฐ วันนี้ติดตามการายงานเงินเฟ้อในเดือนเดียวกัน ตลาดคาดที่ 1.9%yoy ชะลอลงจาก 2.1% ในเดือนก่อน เทียบกับอัตราดอกเบี้ยฯ ล่าสุดอยู่ที่ 1.5%   ซึ่งหากออกมาต่ำกว่าคาดน่าจะทำให้ตลาดลดความคาดหวังการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed  ในปีนี้ ก่อนหน้าคาดจะขึ้นเกิน 3 ครั้งในปีนี้ กดดันให้  Bond yield อายุ 10 ปี ที่ขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 ปีที่ 2.86% เมื่อวันที่ 12 ก.พ.  เริ่มชะลอลงติดต่อกัน 2 วัน ล่าสุดอยู่ที่  2.83% 
  และไทย วันนี้ ช่วง 14.00 น. การประชุม กนง.คาดยังคงดอกเบี้ย 1.5% ตามเดิม เนื่องจากเงินเฟ้อของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ ล่าสุดเดือน ม.ค. 0.68%yoy ชะลอตัวติดต่อกัน 2 เดือน เนื่องจากราคาสินค้าหมวดเกษตร เช่น อาหารสดปรับลดลง อย่างไรก็ตามคาด กนง. จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในช่วง 1H61  และน่าจะปรับขึ้นราวช่วง 2H61 ทั้งนี้ขึ้นกับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อใน 2H61 และสภาพคล่องในระบบการเงินโลก  
  โดยภาพรวมค่าเงินปอนด์แกว่งตัวในทิศทางทางแข็งค่าในช่วงสั้น หรือแข็งค่า 2.8% เทียบกับดอลลาร์ นับตั้งแต่ต้นปี (ytd) ขณะที่เงินดอลลาร์อ่อนค่า ราว 2.6% ytd กดดันให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเซียผันผวน กล่าวคือ เงินเปโซอ่อนค่ามากสุด 4.3% นับจากจุดต่ำสุดเมื่อ 5 ม.ค. 2556 ตามมาด้วย เงินริงกิต อ่อนค่า 3.6% นับจากจุดต่ำสุด 25 ม.ค. และเงินรูเปียะห์ อ่อนค่า 2.7% นับจากจุดต่ำสุดเมื่อ 29 ม.ค. เริ่มชะลอการอ่อนค่าตามลำดับ ส่วนเงินบาทนับว่าอ่อนค่าช้า และยังน้อยสุดราว 2% และกลับมาอยู่ในกรอบแข็งค่า ซึ่งกลับมากดดันหุ้นส่งออก เพราะดูเหมือนไทยจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น  ขณะที่สินทรัพย์เสี่ยงทั้งหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์  เป็นต้น ยังคงอยู่ในช่วงของการแกว่งตัวเช่นกัน
ภาพรวมต่างชาติยังเดินหน้าขายหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 11
  วานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 11 ด้วยมูลค่ารวม 616 พันล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นเพียงเกาหลีใต้ที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 241 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 4 ประเทศ ยังขายสุทธิ คือ ไต้หวันขายสุทธิ 747 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 16 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 12), ฟิลิปปินส์ 16 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 13) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีก 78 ล้านเหรียญ หรือ 2.47 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8 มีมูลค่ารวมสูงถึง 3.18 หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 4.18 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
  ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิ 2.81 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่เริ่มกลับมาซื้อสุทธิ 7.91 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) อย่างไรก็ตามแรงซื้อกลับมาเฉพาะในตราสารหนี้ระยะสั้น (น้อยกว่า 1 ปี) ราว 8.72 พันล้านบาท ส่วนตราสารหนี้ระยะยาวถูกขายสุทธิเล็กน้อย 803 ล้านบาท
SET ยังต่ำกว่า 1800 จุด เพราะแรงขายต่างชาติและแรงขายรับงบ 
  คาด SET Index น่าจะยังเคลื่อนไหวอยู่บริเวณ 1800 จุด ต่อไปในระยะนี้ จากแรงกดดันใน 3 ปัจจัยหลัก คือ
  1. ราคาน้ำมันดิบน่าจะยังเคลื่อนไหวทรงตัวอยู่บริเวณ 60 เหรียญต่อบาร์เรล จากความกังวลด้าน supply โดยการรายงานสต๊อกน้ำมันดิบสหรัฐรายสัปดาห์ ที่จะประกาศค่ำวันนี้ (ตามเวลาประเทศไทย) ทาง EIA คาดว่าเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน อีก 2.825 ล้านบาร์เรล หากออกมาตามคาดจะเป็นการเพิ่มขึ้นสัปดาห์ที่ 3 ติดต่อกัน
  2. แรงกดดันจาก Sell on fact ของบริษัทจดทะเบียนที่รายงานผลประกอบการ โดยวานนี้มีบริษัทที่รายงานงบฯ คือ
  IRPC   กำไรสุทธิตามคาดที่ 4.5 พันล้านบาทใน 4Q60  เพิ่มถึง 166%yoy และ 39%qoq  เพราะ บันทึกกำไรจากสต็อกน้ำมันที่สูงกว่า 2 พันล้านบาท และกำไรจากการกลับรายการด้อยค่าสินทรัพย์ราว 600 ล้านบาท ขณะที่ผลการดำเนินปกติยังค่อนข้างดีจากราคาขายที่ปรับตัวขึ้น และปริมาณขายก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยรวมปี 2560 กำไรสุทธิอยู่ที่ 1.13 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.5%yoy
  SPRC  กำไรสุทธิ 4Q60  2.6 พันล้านบาท ลดลง 8.7% qoq และ 8.4% yoy ทั้งปี 2560  อยู่ที่ 8.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.4% yoy ประกาศจ่ายปันผลที่ 0.6806 บาท/หุ้น ขึ้น  XD 17 เม.ย. 61
  และ  KCE กำไรสุทธิงวด 4Q60 เท่ากับ 598 ล้านบาท สูงกว่าคาด 16%  แต่ลดลง 2.4% qoq และ 13.4% yoy กำไรที่สูงกว่าคาด เพราะบันทึกกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเข้ามา 63 ล้านบาท แต่หากพิจารณาเฉพาะกำไรจากการดำเนินงานจะอยู่ที่  540 ล้านบาท สูงกว่าคาด 5% แต่ยังลดลง 5.6% qoq และ 25.2% yoy  ซึ่งเป็นผลของนอกฤดูกาลส่งออก  และ gross margin ลดลงมาอยู่ที่ 28.3% ทำระดับต่ำสุดในรอบ 18 ไตรมาส จากระดับ 30.1% ในงวด 3Q60 หลักๆ มาจากราคาวัตถุดิบทองแดงเฉลี่ยงวด 4Q60 ปรับเพิ่มขึ้น 7.4% qoq และ 29.5% yoy สู่ระดับ 6.86 พันดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน และค่าเงินบาทเฉลี่ยงวด 4Q60 แข็งค่าขึ้น 1.3% qoq และ 7.0% yoy  ทำให้กำไรสุทธิปี 2560  2.55 พันล้านบาท ลดลง 16.3% yoy สอดคล้องกับประมาณการกำไรสุทธิปี 2560 ที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้
  สำหรับสัปดาห์นี้ คาดจะมีหุ้นปิโตรเลียม-โรงกลั่น ทยอยประกาศผลประกอบการ เช่น  PTTGC, TOP, BCP, PTT  รวมทั้งหุ้นอื่นๆ เช่น ROBINS และ BJC
  3. สัดส่วนที่นักลงทุนต่างชาติถือครองหุ้นไทย จากข้อมูลสิ้นสุดเดือน ม.ค. 61 พบว่าอยู่ที่ 31.37% ( แยกเป็นปิดโอนในชื่อต่างชาติ 24.30% และ NVDR 7.06%)  ซึ่งเป็นระดับที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยนับตั้งแต่ปี 2547-ปัจจุบัน ที่ 33.28% อย่างไรก็ตามในเดือน ก.พ. นี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิไปแล้วกว่า 3.1 หมื่นล้านบาท จึงคาดว่าสัดส่วนในการถือหุ้นดังกล่าวน่าจะลดลงจากเดือน ม.ค. 
กลยุทธ์การลงทุนสะสมหุ้น STEC, BJC, WHA
  กลยุทธ์การลงทุน ยังแนะนำให้ถือหุ้น 40% หรือถือเงินสด 60% โดยให้ขายหุ้นที่เกิน Fair Value  หรือ upside จำกัด จำกัด (เช่น EA, GPSC, PCSGH, TVO, SAPPE, SINGER, JAS,  AOT, EA, TRUE, BAY, TOP, SCCC เป็นต้น) และสลับมาลงทุนกลุ่มต่อไปนี้
  หุ้น Domestic Play อิงกับเศรษฐกิจในประเทศ
  หุ้นกลุ่มค้าปลีก ที่ได้ปัจจัยหนุนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ขยายตัวติดต่อกัน 6 เดือน และทำระดับสูงสุดกว่า 36 เดือน สะท้อนถึงความการฟื้นตัวของภาคการบริโภค แนะนำ BJC
  กลุ่มนิคมฯ ที่ได้ sentiment บวกจากการที่ สนช. เห็นชอบ พ.ร.บ. EEC แล้ว และเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ ประกาศใช้เป็นกฏหมายได้ทันในเดือน ก.พ. นี้ ส่งผลบวกต่อ AMATA และ WHA รวมทั้ง EASTW และหุ้น STEC ที่มีปัจจัยบวกรองรับระยะสั้น จากการที่ backlog จะเพิ่มขึ้นจากงานใหม่ๆ โดยเฉพาะ งานก่อสร้างโรงไฟฟ้า 2 แห่งของ GULF มูลค่างานรวมกว่า 1.99 หมื่นล้านบาท ขณะที่คาด 4Q60 กำไรสุทธิขึ้นทำจุดสูงสุดของปีจากการบันทึกกำไรพิเศษจากการตีราคาที่ดิน ส่วนปี 2561 กำไรสุทธิเติบโตมากถึง 30%yoy
  หุ้นปันผลสูง  ฝ่ายวิจัยคัดเลือกหุ้นที่มี Dividend Yield สูง (มากกว่า 4%) ความผันผวนต่ำ (Beta น้อยกว่า 1) P/E อยู่ในระดับต่ำ (ไม่เกิน 15 เท่า) มี upside มากกว่า 15% และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ ได้หุ้นปันผลเด่น คือ SC, MCS, RATCH, EASTW, TASCO ผสานกับหุ้น Dividend Play ที่แนะนำไปก่อนหน้านี้ คือ SIRI, INTUCH และ MAJOR  โดยกลยุทธ์การลงทุน แนะนำก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5516

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!