WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 

 
กลยุทธ์การลงทุน
          ตลาดหุ้นไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อจากนี้ตามการฟื้นตัวของราคาน้ำมันดิบโลกช่วงสั้น (กดดันหุ้นขนส่ง) แต่ความผันผวนยังมี ตราบที่ยังมีแรงขายต่างชาติ กลยุทธ์ฯ สะสมหุ้น Domestic Play มี upside WHA, BJC, STEC หรือปันผลสูง SIRI, INTUCH และ หุ้น Global Play ส่งออก HANA,  หรือพลังงาน PTTEP, IRPC Top picks  WHA ([email protected]) และ STEC(FV@B30) ได้งานก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ GULF หนุน Backlog และการเติบโตแรง..ในอนาคต  
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….. SET Index ฟื้นตัว แต่มูลค่าซื้อขายลดลง
          วานนี้ SET แกว่งตัวแดนบวกทั้งวัน  ปิดตลาดที่ 1799.45 จุด เพิ่มขึ้น 13 จุด หรือ 0.73% แต่มูลค่าการซื้อขายเบาบางเพียง 5.13 หมื่นล้านบาท กลุ่มหนุนตลาดคือ พลังงาน  นำโดย PTT เพิ่มขึ้น 1.67% และ PTTEP เพิ่มขึ้น 3.13% หลังราคาน้ำมันดิบดูไบฟื้นตัวและขึ้นมายืนเหนือ 60 เหรียญฯต่อบาร์เรล ตามด้วยกลุ่มโรงฟ้า GULF เพิ่มขึ้นแรง 4.11% ตามด้วย GPSC เพิ่มขึ้น 3.31% และ EA 1.5%
          ถัดมาโรงพยาบาล นำโดย  BDMS เพิ่ม 3.24% และ LPH 4.23% ตามด้วย  BCH เพิ่มขึ้น 1.9%,   CHG 1.96% ส่วนหุ้นรายตัวที่โดดเด่นคือ INTUCH เพิ่ม 2.25%,  TASCO 2.26% และ VNG   4.72%
          สวนทางกับ TTCL ที่ลดลงต่อเนื่องอีกวันราว 9.87% หลังผู้ถือหุ้นใหญ่ (TOYO ENGINEERING CORPORATION) รายงานขายหุ้นทั้งหมด 56 ล้านหุ้น ตามด้วย SOLAR ลดลงกว่า 12.12% หลัง ตลท. ประกาศให้ซื้อขายด้วย Cash Balance และ PACE กลต.ขึ้นเครื่องหมาย SP เพราะอยู่ระหว่างตรวจสอบผลงบการเงินในงวด 2Q60  ทั้งนี้กลต. จะปลดเครื่องหมายในเช้าวันนี้ (13 ก.พ. 61) 
          แนวโน้มตลาดวันนี้ SETมีโอกาสฟื้นตัว   แต่ยังผันผวนสูง ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1785 - 1815 จุด
ราคาน้ำมันฟื้นจากดอลลาร์ชะลอแข็งค่า เงินเฟ้อจะเป็นตัวแปรจากนี้
          อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี (Bond yield) เริ่มอ่อนตัว ล่าสุดอยู่ที่ 2.85% หลังจากขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 ปีที่ 2.86% ในวันก่อนหน้า และ 2.04% ในช่วง ก.ย.2560   ตามดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐที่ส่งสัญญาณแข็งแกร่งโดยเฉพาะตลาดแรงงาน คืออัตราการว่างงานที่ล่าสุดลดลงมาที่  4.1% (ระดับต่ำสุดในรอบ 17 ปี)  ทำให้ตลาดคาด Fed จะขึ้นดอกเบี้ยได้มากกว่า 3 ครั้ง  
          อย่างไรก็ตามต้องติดตามเงินเฟ้อเดือน ม.ค. 2561  ที่มีจะมีรายงานในวันพรุ่งนี้ 14 ก.พ. ซึ่งตลาดคาดไว้ที่  1.9%yoy ชะลอลงจาก 2.1% ในเดือนก่อน  แต่หากออกมาต่ำกว่าคาด น่าจะทำให้   Bond yield อ่อนตัว และ กดดันให้เงินดอลลาร์  ชะลอการเข็งค่าหรืออ่อนตัวอีกครั้ง 
          ขณะที่เอเซีย เชื่อว่าโดยส่วนใหญ่ยังใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อไป  โดยเฉพาะธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังคงดอกเบี้ยฯ -0.1% (ตั้งแต่ พ.ย. 58) และคง QQE เดือนละ 80 ล้านล้านเยนต่อปี  ทั้งแม้หลังจากที่ได้ต่ออายุให้ผู้ว่า BOJ คือ นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ออกไปอีกหนึ่งวาระจนถึงปี 2566 (ครบกำหนด 8 เม.ย. 2561)  เช่นเดียวกับประเทศในกลุ่ม TIPS คือ  ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย ทั้งนี้ยกเว้น  มาเลเซียที่เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 4 ปีไปเมื่อเดือน ม.ค. 61 เนื่องจากเงินเฟ้อสูง และจีนที่ปรับขึ้นดอกเบี้ยฯ ตามหลังสหรัฐ  
          ในการประชุม กนง. ในวันพรุ่งนี้ที่คาดจะยืนดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5%  ใน  1H61  เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของไทยยังอยู่ในระดับต่ำ  ล่าสุดเดือน ม.ค. ขยายตัว 0.68%yoy ชะลอตัวติดต่อกัน 2 เดือน โดยเป็นผลจากราคาสินค้าหมวดเกษตรปรับตัวลง  
          โดยภาพรวม เงินดอลลาร์ที่ชะลอการแข็งค่า หรือแกว่งตัวในทิศทางอ่อนค่าในช่วงสั้น จะหนุนให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเซีย แกว่งตัวในทิศทางแข็งค่าช่วงสั้น เป็นปัจจัยการเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบโลกปรับเพิ่มในระยะนี้
         
ยอดซื้อสะสมต่างชาติในเอเชียพลิกติดลบใน 1 เดือนครึ่ง
          วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 10 ด้วยมูลค่ากว่า 1.14 พันล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ นำโดยไต้หวันถูกขายสุทธิ 746 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 164 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), อินโดนีเซีย 43 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 11), ฟิลิปปินส์ 25 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 12) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีก 162 ล้านเหรียญ หรือ 5.15 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7 มีมูลค่ารวมสูงถึง 2.93 หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 4.50 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
          แรงขายหุ้นต่างชาติที่มีต่อเนื่อง กดดันให้ยอดซื้อสะสมสุทธิตั้งแต่ต้นปีพลิกกลับมาติดลบทั้ง 5 ประเทศ ด้วยมูลค่ารวมกว่า 3.26 พันล้านเหรียญ (ytd) โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทยที่ถูกขายสุทธิมากที่สุดในภูมิภาคราว 1.08 พันล้านเหรียญ (ytd) หรือ 3.44 หมื่นล้านบาท (รายละเอียดดังตารางด้านล่าง)
          ด้านตลาดตราสารหนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย 1.45 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 11 วัน มูลค่าขายรวม 4.17 หมื่นล้านบาท) เช่นเดียวกับนักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 8.31 พันล้านบาท
SET ฟื้นตัวช่วงสั้น แต่ยังมีแรงขายรับงบ GPSC, VGI, OISHI
          การฟื้นตัวของตลาดหุ้นไทยน่าจะได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของราคาน้ำมันดิบโลกในช่วงสั้น ๆ แต่คาดว่าความผันผวนยังมีอยู่  ตราบที่ยังมีแรงขายของนักลงทุนต่างชาติ   นอกจากนี้ บริษัทจดทะเบียนในภาค Real Sector ทยอยประกาศงบฯ กันมากขึ้น
          โดยวานนี้มีบริษัทที่รายงานงบฯ คือ GPSC กำไรสุทธิงวด 4Q60 อยู่ที่ 721.6 ล้านบาท ลดลง 18.8%QoQ ตามคาด เนื่องจากในงวด 4Q60 ไม่มีการบันทึกเงินปันผลรับจาก RPCL เช่นที่เกิดขึ้นในงวด 3Q60 แต่ได้รับแรงหนุน คือ  รับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้า IRPC-CP (SPP) ที่เพิ่มขึ้นกว่า 295.4%qoq และโรงผลิตสาธารณูปการระยอง CUP 1-3 (SPP) ที่เพิ่มขึ้น 2.8%qoq เนื่องจากไม่มีการ Shutdown ของลูกค้ารายใหญ่เช่นที่เกิดในงวด 3Q60 ขณะที่รายได้จากโรงไฟฟ้า IPP ศรีราชา พบว่าลดลง 33.5%qoq เนื่องจากการหยุดปิดซ่อมบำรุงตามแผนราว 1 เดือน ในงวด 4Q60 โดยรวมกำไรสุทธิปี 2560 เท่ากับ 3.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.6%yoy  ส่วนปี 2561 ยังคงประมาณการกำไรทั้งปีไว้ที่ 3.4 พันล้านบาท  Fair Value อยู่ที่ 50 บาท ราคาหุ้นเต็มมูลค่าแล้ว  จึงแนะนำ switch
          ตามด้วย VGI รายงานงบ 3Q60/61 (ต.ค. - ธ.ค. 2560) กำไรสุทธิอยู่ที่ 181 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 44%yoy รับรู้รายได้ค่าโฆษณาสื่อนอกบ้านเพิ่ม  ทั้งสื่อบน BTS, กลางแจ้ง และในอาคาร และฐานที่ต่ำในปีที่แล้ว แต่ลดลง 10%qoq เนื่องจากมีการหยุดให้บริการสื่อโฆษณาดิจิทัลเป็นเวลา 1 เดือน ในช่วงพระราชพิธีฯ โดยรวมกำไรสุทธิ 9M60/61 อยู่ที่ 558 ล้านบาท ลดลงจาก 9M59/60 ราว 12%yoy
          ส่วน OISHI กำไรปกติงวด 1Q61 (ต.ค. - ธ.ค. 2560) อยู่ที่ 299 ล้านบาท เติบโต 11% yoy มาจากการบริหารจัดกการค่าใช้จ่ายขายและบริหารที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สัดส่วน SG&A/Sales ลดลงจาก 29.3% งวดปีก่อนเป็น 26.3% ชดเชยยอดขายที่อ่อนตัวลง 0.4% แม้ธุรกิจอาหาร (สัดส่วน 48%) เติบโต 2% yoy เป็นไปในทิศทางเดียวกับเศรษฐกิจไทย แต่ธุรกิจเครื่องดื่ม (สัดส่วนรายได้ 52%) ลดลง 3% yoy ผลจากตลาดชาพร้อมดื่มหดตัว จากผลกระทบการขึ้นภาษีสรรพสามิต (มีผลตั้งแต่ 16 ก.ย. 2560)  และกดดัน Gross Margin ลดลงเหลือ 36% เทียบกับ 37% ช่วงปีก่อน
          สำหรับสัปดาห์นี้ คาดจะมีหุ้นปิโตรเลียม-โรงกลั่น ทยอยประกาศผลประกอบการ เช่น IRPC, PTTGC, SPRC, TOP, BCP, PTT  จึงต้องระวังแรงขายรับงบฯ ดังกล่าว
กลยุทธ์การลงทุนสะสมหุ้น STEC, BJC, WHA
          กลยุทธ์การลงทุน ยังแนะนำให้ถือหุ้น 40% หรือถือเงินสด 60% โดยให้ขายหุ้นที่เกิน Fair Value  หรือ upside จำกัด จำกัด (เช่น EA, GPSC, PCSGH, TVO, SAPPE, SINGER, JAS,  AOT, EA, TRUE, BAY, TOP, SCCC เป็นต้น) และสลับมาลงทุนกลุ่มต่อไปนี้
          1. หุ้น Domestic Play อิงกับเศรษฐกิจในประเทศ
หุ้นกลุ่มค้าปลีก ที่ได้ปัจจัยหนุนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ขยายตัวติดต่อกัน 6 เดือน และทำระดับสูงสุดกว่า 36 เดือน สะท้อนถึงความการฟื้นตัวของภาคการบริโภค แนะนำ BJC
กลุ่มนิคมฯ ที่ได้ sentiment บวกจากการที่ สนช. เห็นชอบ พ.ร.บ. EEC แล้ว และเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ ประกาศใช้เป็นกฏหมายได้ทันในเดือน ก.พ. นี้ ส่งผลบวกต่อ AMATA และ WHA รวมทั้ง EASTW และหุ้นSTEC ที่มีปัจจัยบวกรองรับระยะสั้น จากการที่ backlog จะเพิ่มขึ้นจากงานใหม่ๆ โดยเฉพาะ งานก่อสร้างโรงไฟฟ้า 2 แห่งของ GULF มูลค่างานรวมกว่า 1.99 หมื่นล้านบาท ขณะที่คาด 4Q60 กำไรสุทธิขึ้นทำจุดสูงสุดของปีจากการบันทึกกำไรพิเศษจากการตีราคาที่ดิน ส่วนปี 2561 กำไรสุทธิเติบโตมากถึง 30%yoy
หุ้นปันผลสูง  ฝ่ายวิจัยคัดเลือกหุ้นที่มี Dividend Yield สูง (มากกว่า 4%) ความผันผวนต่ำ (Beta น้อยกว่า 1) P/E อยู่ในระดับต่ำ (ไม่เกิน 15 เท่า) มี upside มากกว่า 15% และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ ได้หุ้นปันผลเด่น คือ SC, MCS, RATCH, EASTW, TASCO ผสานกับหุ้น Dividend Play ที่แนะนำไปก่อนหน้านี้ คือ SIRI, INTUCH และ MAJOR  โดยกลยุทธ์การลงทุน แนะนำก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD
          2. หุ้น Global  Play คือ หุ้นส่งออก TU, CPF, HANA, GFPT และหุ้นปิโตรเคมี IRPC, PTTGC, IVL

นักวิเคราะห์ :
ภรณี ทองเย็น       เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
          เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
          พบชัย ภัทราวิชญ์     เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
          ภราดร เตียรณปราโมทย์      เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
          ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์     เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
          โยธิน ภูคงนิล     ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
          วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร     ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5453

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!