- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 07 February 2018 16:13
- Hits: 1043
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
แม้จะเห็น SET ฟื้นตัวตามตลาดต่างประเทศ แต่ยังผันผวนในกรอบ 1780-1800 จุด โดยปัจจัยบ่งชี้สำคัญคือค่าเงินดอลลาร์ จะฟื้นตัวต่อเนื่องหรือไม่ เพราะมีผลต่อทิศทางของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมัน กลยุทธ์ฯ 1) หุ้นส่งออก ที่ฟื้นตัวตามเงินบาทอ่อน และมีเงินปันผล (HANA, TU) หุ้นประกันชีวิต (BLA) ค่าใช้จ่ายสำรองเบี้ยฯ ลดลง เมื่อ yield เพิ่มขึ้น และหุ้นปันผล (SIRI, TMT, MAJOR, MCS, PTTEP) Top picks BJC(FV@B73) เป็น Growth stock HANA([email protected]) และ TU([email protected]) แรงกดดันจากเงินบาทแข็งค่าลดลง
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …..SET Index ตกหนัก พร้อมมูลค่าฯ สูงถึง 1.24 แสนล้านบาท
วานนี้ SET Index ปรับตัวลงแรงกว่า 52 จุด ก่อนที่ฟื้นตัวกลับขึ้นมาในช่วงท้ายของตลาด และปิดที่ 1788.43 ลดลง 21.89 จุด หรือ 1.21% ด้วยมูลค่าการซื้อสูงหนาแน่นกว่า 1.24 แสนล้านบาท (รองจากที่เคยสูงสุด 1.3 แสนล้านบาทเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2559) หุ้นที่กดดันตลาดเป็นหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มพลังงานอย่าง PTT ลดลง 3.20% ตามด้วย PTTEP ลดลง 1.26%, IVL ลดลง 0.5% และ IRPC ลดลง 1.37% ยกเว้นหุ้นบางบริษัทในกลุ่มฯ ฟื้นตัวก่อนตลาดปิด คือ TOP, BANPU และ PTTGC
ตามด้วยหุ้นกลุ่ม ธ.พ. ยังปรับตัวลงต่อเนื่อง ทั้ง SCB ลดลง 1.30%, KTB ลดลง 1.01%, BAY ลดลง 3.17% ยกเว้น TMB บวกสวนทางกลุ่มฯ กว่า 1.4% และ ICT นำโดย TRUE ลดลงแรงกว่า 3.08%, INTUCH ลดลง 1.73%, ADVANC ลดลง 1.29% หลังจากรายงานกำไรสุทธิ 4Q60 ที่ 7.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.1% qoq ทำให้กำไรทั้งปี 2560 อยู่ที่ 3.07 หมื่นล้านบาท ลดลง 1.9% yoy พร้อมกับจ่ายปันผล 2H60 3.57 ต่อหุ้น หรือคิดเป็น Yield 1.86% ( XD 5 เม.ย. นี้) ทั้งนี้ยกเว้น DTAC สามารถพลิกกลับมาบวกแรงกว่า 3.21%
เป็นที่สังเกตว่ามีรายหุ้นที่ปรับตัวขึ้นสวนตลาดกระจายในหลายกลุ่ม ที่โดดเด่นคือ RS บวกแรงกว่า 4.07% ตามด้วย SOLAR เพิ่ม 13.45% และ WP เพิ่มขึ้นแรงกว่า 15.58% อย่างไรก็ตามราคาหุ้น SOLAR และ WP ที่ปรับขึ้นมาตลอดตั้งแต่ต้นสัปดาห์ พร้อมกับมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ทำให้มีโอกาสที่ ตลาดฯ จะประกาศให้เข้าข่ายเกณฑ์ Cash balance จึงระมัดระวังการปรับฐานของราคาหุ้น
แนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสฟื้นตัวขึ้นจาก momentum เชิงบวกช่วงปลายตลาดฯ วานนี้ แต่ยังมีความผันผวนในกรอบ 1780-1800 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
แม้จะเห็น SET ฟื้นตัวตามตลาดต่างประเทศ แต่ยังผันผวนในกรอบ 1780-1800 จุด โดยปัจจัยบ่งชี้สำคัญคือค่าเงินดอลลาร์ จะฟื้นตัวต่อเนื่องหรือไม่ เพราะมีผลต่อทิศทางของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมัน กลยุทธ์ฯ 1) หุ้นส่งออก ที่ฟื้นตัวตามเงินบาทอ่อน และมีเงินปันผล (HANA, TU) หุ้นประกันชีวิต (BLA) ค่าใช้จ่ายสำรองเบี้ยฯ ลดลง เมื่อ yield เพิ่มขึ้น และหุ้นปันผล (SIRI, TMT, MAJOR, MCS, PTTEP) Top picks BJC(FV@B73) เป็น Growth stock HANA([email protected]) และ TU([email protected]) แรงกดดันจากเงินบาทแข็งค่าลดลง
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …..SET Index ตกหนัก พร้อมมูลค่าฯ สูงถึง 1.24 แสนล้านบาท
วานนี้ SET Index ปรับตัวลงแรงกว่า 52 จุด ก่อนที่ฟื้นตัวกลับขึ้นมาในช่วงท้ายของตลาด และปิดที่ 1788.43 ลดลง 21.89 จุด หรือ 1.21% ด้วยมูลค่าการซื้อสูงหนาแน่นกว่า 1.24 แสนล้านบาท (รองจากที่เคยสูงสุด 1.3 แสนล้านบาทเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2559) หุ้นที่กดดันตลาดเป็นหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มพลังงานอย่าง PTT ลดลง 3.20% ตามด้วย PTTEP ลดลง 1.26%, IVL ลดลง 0.5% และ IRPC ลดลง 1.37% ยกเว้นหุ้นบางบริษัทในกลุ่มฯ ฟื้นตัวก่อนตลาดปิด คือ TOP, BANPU และ PTTGC
ตามด้วยหุ้นกลุ่ม ธ.พ. ยังปรับตัวลงต่อเนื่อง ทั้ง SCB ลดลง 1.30%, KTB ลดลง 1.01%, BAY ลดลง 3.17% ยกเว้น TMB บวกสวนทางกลุ่มฯ กว่า 1.4% และ ICT นำโดย TRUE ลดลงแรงกว่า 3.08%, INTUCH ลดลง 1.73%, ADVANC ลดลง 1.29% หลังจากรายงานกำไรสุทธิ 4Q60 ที่ 7.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.1% qoq ทำให้กำไรทั้งปี 2560 อยู่ที่ 3.07 หมื่นล้านบาท ลดลง 1.9% yoy พร้อมกับจ่ายปันผล 2H60 3.57 ต่อหุ้น หรือคิดเป็น Yield 1.86% ( XD 5 เม.ย. นี้) ทั้งนี้ยกเว้น DTAC สามารถพลิกกลับมาบวกแรงกว่า 3.21%
เป็นที่สังเกตว่ามีรายหุ้นที่ปรับตัวขึ้นสวนตลาดกระจายในหลายกลุ่ม ที่โดดเด่นคือ RS บวกแรงกว่า 4.07% ตามด้วย SOLAR เพิ่ม 13.45% และ WP เพิ่มขึ้นแรงกว่า 15.58% อย่างไรก็ตามราคาหุ้น SOLAR และ WP ที่ปรับขึ้นมาตลอดตั้งแต่ต้นสัปดาห์ พร้อมกับมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ทำให้มีโอกาสที่ ตลาดฯ จะประกาศให้เข้าข่ายเกณฑ์ Cash balance จึงระมัดระวังการปรับฐานของราคาหุ้น
แนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสฟื้นตัวขึ้นจาก momentum เชิงบวกช่วงปลายตลาดฯ วานนี้ แต่ยังมีความผันผวนในกรอบ 1780-1800 จุด
ผลประชุม BOE สัปดาห์นี้น่าจะยังมีอิทธิพลต่อการเคลื่อนไหวดอลลาร์ฯ
ปัจจัยต่างประเทศที่น่าจะมีน้ำหนักต่อตลาด คือ ประชุมธนาคารกลางอังกฤษ(BOE) 8 ก.พ. นี้ แม้ตลาดคาดยังคงดอกเบี้ยฯ 0.5% และมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งๆ ละ 0.25% ในปีนี้ เป็น 1% โดยตลาดคาดจะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบถัดไปคือ พ.ค.61 (พ.ย.60 ขึ้นดอกเบี้ยฯ ครั้งแรกในรอบ 10 ปีราว 25bps) เนื่องจากเศรษฐกิจอังกฤษยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ติดตามถ้อยแถลงของที่ประชุมต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจะมีผลต่อนโยบายการเงินและทิศทางค่าเงินปอนด์ ล่าสุดอัตราการว่างงาน ลดลงต่ำสุดในรอบ 42 ปีอยู่ที่ 4.3% และอัตราเงินเฟ้อ ล่าสุดอยู่ที่ 3.0%yoy สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยฯปัจจุบันที่ 0.5%
ขณะที่สหรัฐ เชื่อว่าประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยฯของ Fed 3 ครั้งๆละ 0.25% ในปีนี้ เป็น 2.25% น่าจะเป็นประเด็นที่ตลาดรับรู้ไปแล้ว หลังจากอัตราเงินเฟ้อล่าสุดอยู่ที่ระดับ 2.1%yoy ในเดือน ธ.ค. 2560 และอัตราการว่างงานยังทรงตัวที่ 4.1% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และต่ำสุดในรอบ 17 ปี แต่เชื่อว่าตลาดให้น้ำหนักวันที่ 8 ก.พ. จะมีการพิจารณาขยาย พ.ร.บ.งบประมาณชั่วคราวของสหรัฐ ที่กำลังจะสิ้นสุดลง อีกครั้ง หลังจากการประชุมกลาง ม.ค. ที่ผ่านมา ไม่ผ่านวุฒิสภาและทำให้เกิดหยุดหน่วยงานราชการ (Government shutdown) 3 วัน เนื่องจากติดประเด็นร่างกฎหมายผู้อพยพ (DACA) ซึ่งครั้งนี้น่าจะตัด DACA นี้ออก เพื่อให้การพิจารณาไม่สะดุด
แนวโน้มนโยบายการเงินของ BOE จะมีผลต่อค่าเงินโลก และมีผลต่อทิศทางสินค้าโภคภัณฑ์ ระยะสั้น ทั้งน้ำมันและทองคำ เป็นต้น จึงมีส่วนทำให้ดัชนีหุ้นโลกผันผวนอีกระยะ
วานนี้ต่างชาติขายหุ้นในภูมิภาคหนักสุดในรอบเกือบ 3 ปี
วานนี้ต่างชาติยังโหมกระหน่ำขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ด้วยมูลค่าสูงถึง 1.61 พันล้านเหรียญ (สูงสุดในรอบ 2 ปี 10 เดือน) และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากไต้หวันถูกขายสุทธิสูงถึง 1.12 พันล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ 257 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 129 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7), ฟิลิปปินส์ 28 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีก 70 ล้านเหรียญ หรือ 2.20 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3 มีมูลค่ารวมสูงถึง 1.01 หมื่นล้านบาท) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิกว่า 4.44 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนทางกับทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 3.59 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิ 3.34 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8 มีมูลค่าขายรวม 2.37 หมื่นล้านบาท)
คาดดัชนีผันผวน และอยู่ต่ำกว่า 1,800 จุด
คาดว่าวันนี้ ตลาดหุ้นในภูมิภาค น่าจะชะลอการลดลง หรือเห็นการฟื้นตัวกลับ หลังจากวานนี้ ตลาดหุ้น Dow Jones สามารถ rebound กลับขึ้นมาได้ภายใต้ความผันผวนสูง กล่าวคือ ตลาดฯ เปิดตัวมาในแดนลบแต่สามารถฟื้นตัวขึ้นมาปิดบวกได้กว่า 500 จุด ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในรอบ 2 วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกมีการปรับตัวลดลงไปค่อนข้างมาก โดยตลาดหุ้น Dow Jones ลดลงรวม 7.03%, S&P500 ลดลงรวม 4.11% ส่วนตลาดหุ้นในภูมิภาค ญี่ปุ่นลดลงรวม 7.15%, ฮ่องกงลดลงรวม 6.15%, ไต้หวันลดลงรวม 6.49%, อินโดนีเซียลดลงรวม 2.27%, ฟิลิปปินส์ลดลงรวม 2.95% และเวียดนามลดลงรวม 8.46%
ขณะที่ตลาดหุ้นไทย แม้วานนี้เกิด Panic Sell โดยปรับลดลงไปกว่า 50 จุด แต่สามารถ Rebound กลับมาปิดลบน้อยลงที่ 21.89 จุด เท่ากับ 2 วันดัชนีหุ้นไทยลดลง 49 จุด หรือ เพียง 2.74% ถือว่ายังลดลงน้อยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ทำให้ความเสี่ยงจากการปรับฐานยังมีอยู่ แม้ภาพรวม เศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะฟื้นตัวต่อเนื่อง และแนวโน้มการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. EEC น่าจะผ่านวาระ 3 ของ สนช. วันที่ 8 ก.พ. นี้ แต่ยังมีประเด็นที่กดดันตลาดระยะสั้น คือ การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นเมื่อใด และ ยังมีแรงขายรับงบ 4Q60 โดยวานนี้ INTUCH รายงานงบกำไรสุทธิ 4Q60 อยู่ที่ 1.75 พันล้านบาท ลดลง 40%qoq และ 31%yoy ผลกระทบหลักมาจาก THCOM (ถือหุ้น 41.14%) ที่ขาดทุนหนักในงวดนี้ แต่ชดเชยได้ด้วยผลการดำเนินงานที่ดีของ ADVANC (ถือหุ้น 40.45%) หนุนกำไรสุทธิ ทั้งปี 2560 1.07 หมื่นล้านบาท (ต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท) และลดลง 35%yoy จากปี 2559 สาเหตุของการลดลงของกำไรสุทธิมาจากการตั้งด้อยค่าสินทรัพย์ iPSTAR จำนวน 3.19 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยอยู่ระหว่างการทบทวนประมาณการฯ และ Fair Value อย่างไรก็ตาม INTUCH ประกาศจ่ายเงินปันผลงวดผลการดำเนินงาน 2H60 รวม 1.46 บาทต่อหุ้น (มากกว่าที่คาดไว้ 1.37 บาท) โดยมาจาก INTUCH 1.27 บาท และเงินปันผลพิเศษจาก THCOM 0.19 บาท คิดเป็น Div.Yield ครึ่งปีหลังสูงถึง 2.57% จึงน่าจะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนให้ราคาหุ้น INTUCH สามารถประคองตัวอยู่ได้
ขณะที่ SCCC คาดจะรายงานงบฯ ปลายสัปดาห์นี้ ส่วนหุ้นโรงกลั่นอย่าง IRPC, TOP, BCP, PTT น่าจะประกาศงบฯ ในช่วงสัปดาห์หน้า ซึ่งแรงขายรับงบที่หุ้น Market Cap ขนาดใหญ่ น่าจะมีน้ำหนักกดดันดัชนี ขณะที่ราคาน้ำมันโลกเริ่มชะลอการลดลง ทำให้หุ้นน้ำมันช่วยประคองตลาดได้บ้าง แต่เชื่อว่าดัชนีอาจจะยังคงแกว่งตัวอยู่ที่บริเวณ 1800 จุด
ดังที่ได้นำเสนอให้ลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้น 40% จากเดิม 50% หรือตรงกันข้ามให้ถือเงินสดเพิ่มขึ้นเป็น 60% จากเดิม 50% โดยให้ขายหุ้นที่เกิน Fair Value หรือ upside จำกัด ให้เลือกลงทุนใน 3 กลุ่มหลักคือ
1. หุ้นปันผลสูง ยังคงเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ โดยฝ่ายวิจัยคัดเลือกหุ้นที่มี Dividend Yield สูง (มากกว่า 4%) ความผันผวนต่ำ (Beta น้อยกว่า 1) P/E อยู่ในระดับต่ำ (ไม่เกิน 15 เท่า) มี upside มากกว่า 15% และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ ได้หุ้นปันผลเด่น คือ SC, MCS, RATCH, EASTW, TASCO ผสานกับหุ้น Dividend Play ที่แนะนำไปก่อนหน้านี้ คือ SIRI, , INTUCH และ MAJOR โดยกลยุทธ์ดารลงทุน แนะนำก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD
2. หุ้นส่งออก เพราะเป็นกลุ่มที่ underperform มานานกว่า 2 ปี นอกจากปัญหาเรื่องต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น (ปลาทูน่า TU,ทองแดง KCE, ชิ้นส่วนนำเข้า IC, PCB ของ SVI)เงินบาทแข็งที่แข็งค่ามากกว่า 14% นับจากปี 2560 ถือเป็นปัจจัยกดดันประสิทธิภาพการทำกำไรของผู้ประกอบการอย่างมาก ในสถานการณ์ที่กลับข้างคือ เงินบาทกลับมาอ่อนค่าเมื่อเทียบกับ Dollar หลังจากแข็งค่ามากสุดที่ 31.1 บาทต่อดอลลาร์ และฟื้นตัวมาที่ 31.6 บาท หรือ ราว 1.6% ในช่วงเวลาเพียง 2 วัน แม้เริ่มผันผวนบ้าง แต่สะท้อนว่าน่าจะเริ่มดีขึ้น แนะนำสะสมหุ้นส่งออกที่มี upside และ เงินปันผลสูงคือ
HANA([email protected])ทั้งนี้แม้กำไรจาการดำเนินงานปีนี้จะทรงตัวเมื่อเทียบกับปี 2560 แต่ราคาหุ้นได้สะท้อนประเด็นดังกล่าวแล้วจากที่มี P/E ต่ำสุดในกลุ่มคือ 13.33 เท่า และยังมีเงินปันผล 5.26% ขณะที่ราคาหุ้น upside 22%
TU(2560 [email protected])แนวโน้มกำไรจากการดำเนินงานปกติปี 2561 เติบโตจากปี 2560 25.2% โดยต้นทุนวัตถุดิบปลาทูน่า เริ่มอ่อนตัวลงน่าจะหนุนประสิทธิภาพการทำกำไรในปีนี้ ขณะที่ P/E อยู่ที่ 18 เท่า มี upside 10% มีเงินปันผลราว 3.17%
3. หุ้นประกันชีวิต BLA(FV@B42) แม้มี upside 9%, แต่แนวโน้มผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลที่น่าจะปรับขึ้นตามตลาดเงินสหรัฐ จะช่วยลดความกังวลต่อการเพิ่มสำรองเบี้ยประกันฯ และยังส่งผลบวกต่อผลตอบแทนจากต่อพอร์ตการลงทุนในระยะถัดไป ส่วนTHREL(FV@B12) เป็นบริษัทรับประกันภัยต่อ ที่มีสัญญาไม่เกิน 1 ปี มีผลให้ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการบริหารพอร์ตการลงทุนน้อยกว่า BLA ในสถานการณ์นี้
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5326
ปัจจัยต่างประเทศที่น่าจะมีน้ำหนักต่อตลาด คือ ประชุมธนาคารกลางอังกฤษ(BOE) 8 ก.พ. นี้ แม้ตลาดคาดยังคงดอกเบี้ยฯ 0.5% และมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งๆ ละ 0.25% ในปีนี้ เป็น 1% โดยตลาดคาดจะขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบถัดไปคือ พ.ค.61 (พ.ย.60 ขึ้นดอกเบี้ยฯ ครั้งแรกในรอบ 10 ปีราว 25bps) เนื่องจากเศรษฐกิจอังกฤษยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม ติดตามถ้อยแถลงของที่ประชุมต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งจะมีผลต่อนโยบายการเงินและทิศทางค่าเงินปอนด์ ล่าสุดอัตราการว่างงาน ลดลงต่ำสุดในรอบ 42 ปีอยู่ที่ 4.3% และอัตราเงินเฟ้อ ล่าสุดอยู่ที่ 3.0%yoy สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยฯปัจจุบันที่ 0.5%
ขณะที่สหรัฐ เชื่อว่าประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยฯของ Fed 3 ครั้งๆละ 0.25% ในปีนี้ เป็น 2.25% น่าจะเป็นประเด็นที่ตลาดรับรู้ไปแล้ว หลังจากอัตราเงินเฟ้อล่าสุดอยู่ที่ระดับ 2.1%yoy ในเดือน ธ.ค. 2560 และอัตราการว่างงานยังทรงตัวที่ 4.1% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และต่ำสุดในรอบ 17 ปี แต่เชื่อว่าตลาดให้น้ำหนักวันที่ 8 ก.พ. จะมีการพิจารณาขยาย พ.ร.บ.งบประมาณชั่วคราวของสหรัฐ ที่กำลังจะสิ้นสุดลง อีกครั้ง หลังจากการประชุมกลาง ม.ค. ที่ผ่านมา ไม่ผ่านวุฒิสภาและทำให้เกิดหยุดหน่วยงานราชการ (Government shutdown) 3 วัน เนื่องจากติดประเด็นร่างกฎหมายผู้อพยพ (DACA) ซึ่งครั้งนี้น่าจะตัด DACA นี้ออก เพื่อให้การพิจารณาไม่สะดุด
แนวโน้มนโยบายการเงินของ BOE จะมีผลต่อค่าเงินโลก และมีผลต่อทิศทางสินค้าโภคภัณฑ์ ระยะสั้น ทั้งน้ำมันและทองคำ เป็นต้น จึงมีส่วนทำให้ดัชนีหุ้นโลกผันผวนอีกระยะ
วานนี้ต่างชาติขายหุ้นในภูมิภาคหนักสุดในรอบเกือบ 3 ปี
วานนี้ต่างชาติยังโหมกระหน่ำขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ด้วยมูลค่าสูงถึง 1.61 พันล้านเหรียญ (สูงสุดในรอบ 2 ปี 10 เดือน) และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากไต้หวันถูกขายสุทธิสูงถึง 1.12 พันล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) รองลงมาคือ เกาหลีใต้ 257 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 129 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7), ฟิลิปปินส์ 28 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีก 70 ล้านเหรียญ หรือ 2.20 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3 มีมูลค่ารวมสูงถึง 1.01 หมื่นล้านบาท) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิกว่า 4.44 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนทางกับทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 3.59 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิ 3.34 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8 มีมูลค่าขายรวม 2.37 หมื่นล้านบาท)
คาดดัชนีผันผวน และอยู่ต่ำกว่า 1,800 จุด
คาดว่าวันนี้ ตลาดหุ้นในภูมิภาค น่าจะชะลอการลดลง หรือเห็นการฟื้นตัวกลับ หลังจากวานนี้ ตลาดหุ้น Dow Jones สามารถ rebound กลับขึ้นมาได้ภายใต้ความผันผวนสูง กล่าวคือ ตลาดฯ เปิดตัวมาในแดนลบแต่สามารถฟื้นตัวขึ้นมาปิดบวกได้กว่า 500 จุด ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาในรอบ 2 วันทำการที่ผ่านมา ตลาดหุ้นทั่วโลกมีการปรับตัวลดลงไปค่อนข้างมาก โดยตลาดหุ้น Dow Jones ลดลงรวม 7.03%, S&P500 ลดลงรวม 4.11% ส่วนตลาดหุ้นในภูมิภาค ญี่ปุ่นลดลงรวม 7.15%, ฮ่องกงลดลงรวม 6.15%, ไต้หวันลดลงรวม 6.49%, อินโดนีเซียลดลงรวม 2.27%, ฟิลิปปินส์ลดลงรวม 2.95% และเวียดนามลดลงรวม 8.46%
ขณะที่ตลาดหุ้นไทย แม้วานนี้เกิด Panic Sell โดยปรับลดลงไปกว่า 50 จุด แต่สามารถ Rebound กลับมาปิดลบน้อยลงที่ 21.89 จุด เท่ากับ 2 วันดัชนีหุ้นไทยลดลง 49 จุด หรือ เพียง 2.74% ถือว่ายังลดลงน้อยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ทำให้ความเสี่ยงจากการปรับฐานยังมีอยู่ แม้ภาพรวม เศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะฟื้นตัวต่อเนื่อง และแนวโน้มการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. EEC น่าจะผ่านวาระ 3 ของ สนช. วันที่ 8 ก.พ. นี้ แต่ยังมีประเด็นที่กดดันตลาดระยะสั้น คือ การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นเมื่อใด และ ยังมีแรงขายรับงบ 4Q60 โดยวานนี้ INTUCH รายงานงบกำไรสุทธิ 4Q60 อยู่ที่ 1.75 พันล้านบาท ลดลง 40%qoq และ 31%yoy ผลกระทบหลักมาจาก THCOM (ถือหุ้น 41.14%) ที่ขาดทุนหนักในงวดนี้ แต่ชดเชยได้ด้วยผลการดำเนินงานที่ดีของ ADVANC (ถือหุ้น 40.45%) หนุนกำไรสุทธิ ทั้งปี 2560 1.07 หมื่นล้านบาท (ต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท) และลดลง 35%yoy จากปี 2559 สาเหตุของการลดลงของกำไรสุทธิมาจากการตั้งด้อยค่าสินทรัพย์ iPSTAR จำนวน 3.19 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยอยู่ระหว่างการทบทวนประมาณการฯ และ Fair Value อย่างไรก็ตาม INTUCH ประกาศจ่ายเงินปันผลงวดผลการดำเนินงาน 2H60 รวม 1.46 บาทต่อหุ้น (มากกว่าที่คาดไว้ 1.37 บาท) โดยมาจาก INTUCH 1.27 บาท และเงินปันผลพิเศษจาก THCOM 0.19 บาท คิดเป็น Div.Yield ครึ่งปีหลังสูงถึง 2.57% จึงน่าจะเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนให้ราคาหุ้น INTUCH สามารถประคองตัวอยู่ได้
ขณะที่ SCCC คาดจะรายงานงบฯ ปลายสัปดาห์นี้ ส่วนหุ้นโรงกลั่นอย่าง IRPC, TOP, BCP, PTT น่าจะประกาศงบฯ ในช่วงสัปดาห์หน้า ซึ่งแรงขายรับงบที่หุ้น Market Cap ขนาดใหญ่ น่าจะมีน้ำหนักกดดันดัชนี ขณะที่ราคาน้ำมันโลกเริ่มชะลอการลดลง ทำให้หุ้นน้ำมันช่วยประคองตลาดได้บ้าง แต่เชื่อว่าดัชนีอาจจะยังคงแกว่งตัวอยู่ที่บริเวณ 1800 จุด
ดังที่ได้นำเสนอให้ลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้น 40% จากเดิม 50% หรือตรงกันข้ามให้ถือเงินสดเพิ่มขึ้นเป็น 60% จากเดิม 50% โดยให้ขายหุ้นที่เกิน Fair Value หรือ upside จำกัด ให้เลือกลงทุนใน 3 กลุ่มหลักคือ
1. หุ้นปันผลสูง ยังคงเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ โดยฝ่ายวิจัยคัดเลือกหุ้นที่มี Dividend Yield สูง (มากกว่า 4%) ความผันผวนต่ำ (Beta น้อยกว่า 1) P/E อยู่ในระดับต่ำ (ไม่เกิน 15 เท่า) มี upside มากกว่า 15% และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ ได้หุ้นปันผลเด่น คือ SC, MCS, RATCH, EASTW, TASCO ผสานกับหุ้น Dividend Play ที่แนะนำไปก่อนหน้านี้ คือ SIRI, , INTUCH และ MAJOR โดยกลยุทธ์ดารลงทุน แนะนำก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD
2. หุ้นส่งออก เพราะเป็นกลุ่มที่ underperform มานานกว่า 2 ปี นอกจากปัญหาเรื่องต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น (ปลาทูน่า TU,ทองแดง KCE, ชิ้นส่วนนำเข้า IC, PCB ของ SVI)เงินบาทแข็งที่แข็งค่ามากกว่า 14% นับจากปี 2560 ถือเป็นปัจจัยกดดันประสิทธิภาพการทำกำไรของผู้ประกอบการอย่างมาก ในสถานการณ์ที่กลับข้างคือ เงินบาทกลับมาอ่อนค่าเมื่อเทียบกับ Dollar หลังจากแข็งค่ามากสุดที่ 31.1 บาทต่อดอลลาร์ และฟื้นตัวมาที่ 31.6 บาท หรือ ราว 1.6% ในช่วงเวลาเพียง 2 วัน แม้เริ่มผันผวนบ้าง แต่สะท้อนว่าน่าจะเริ่มดีขึ้น แนะนำสะสมหุ้นส่งออกที่มี upside และ เงินปันผลสูงคือ
HANA([email protected])ทั้งนี้แม้กำไรจาการดำเนินงานปีนี้จะทรงตัวเมื่อเทียบกับปี 2560 แต่ราคาหุ้นได้สะท้อนประเด็นดังกล่าวแล้วจากที่มี P/E ต่ำสุดในกลุ่มคือ 13.33 เท่า และยังมีเงินปันผล 5.26% ขณะที่ราคาหุ้น upside 22%
TU(2560 [email protected])แนวโน้มกำไรจากการดำเนินงานปกติปี 2561 เติบโตจากปี 2560 25.2% โดยต้นทุนวัตถุดิบปลาทูน่า เริ่มอ่อนตัวลงน่าจะหนุนประสิทธิภาพการทำกำไรในปีนี้ ขณะที่ P/E อยู่ที่ 18 เท่า มี upside 10% มีเงินปันผลราว 3.17%
3. หุ้นประกันชีวิต BLA(FV@B42) แม้มี upside 9%, แต่แนวโน้มผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลที่น่าจะปรับขึ้นตามตลาดเงินสหรัฐ จะช่วยลดความกังวลต่อการเพิ่มสำรองเบี้ยประกันฯ และยังส่งผลบวกต่อผลตอบแทนจากต่อพอร์ตการลงทุนในระยะถัดไป ส่วนTHREL(FV@B12) เป็นบริษัทรับประกันภัยต่อ ที่มีสัญญาไม่เกิน 1 ปี มีผลให้ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการบริหารพอร์ตการลงทุนน้อยกว่า BLA ในสถานการณ์นี้
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5326