WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน 
  SET ผันผวน 1818-1836 จุด ตามแรงขายรายหุ้นที่ประกาศงบ 4Q60 และราคาน้ำมันที่แกว่งตัว  กดดันหุ้นน้ำมัน แต่ข่าวบวกที่ PTTEP ไปซื้อแหล่งบงกชอีก 22% ช่วยเพิ่มมูลค่าหุ้นอีก 4 บาท ทำให้ upside สูง 15% กลยุทธ์ยังแนะนำขายหุ้นที่ upside จำกัด/เกินมูลค่า (AOT, BJC, TOP, JAS, EA, TRUE) แต่ให้สะสมหุ้นปันผล (SIRI, TMT, MAJOR, MCS, PTTEP, IRPC) หรือหุ้น Laggard (STEC, CK, UNIQ) Top picks: SIRI ([email protected]), CK(FV@B36) และเพิ่ม PTTEP(FV@B137) ส่วนวันนี้ WP (WG ซื้อ PICNI) กลับมาเทรดอีกครั้งมูลค่าหุ้นคือ 9.2 บาท    
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ... SET Index พลิกกลับสู่แดนบวก จากแรงหนุนของกลุ่มพลังงาน
  วานนี้ SET Index ผันผวนตลอดทั้งวัน จากติดลบสามารถพลิกบวกได้เกือบ 8 จุด แต่ปิดตลาดที่ 1826.86 จุด เพิ่มขึ้น 0.25 จุด หรือ 0.01% ด้วยมูลค่าการซื้อขายอยู่ที่ 6.3 หมื่นล้านบาท(ใกล้เคียงกับวันก่อนหน้า) ทั้งนี้ตลาดได้แรงบวกระหว่างวันจากการเข้าซื้อแหล่งก๊าซธรรมชาติเพิ่มของ PTTEP ส่งผลให้กลุ่มพลังงานขึ้นมาหนุนตลาด ซึ่งนำโดย PTT เพิ่มขึ้น 0.41%, PTTEP เพิ่มขึ้น 0.85% และหุ้นโรงไฟฟ้า GULF เพิ่มขึ้น 1.73% ตามด้วยกลุ่มพาณิชย์นำโดย MAKRO เพิ่มขึ้น 1.84%, CPALL เพิ่มขึ้น 0.32%, MEGA เพิ่มขึ้น 5.68% และ BJC เพิ่มขึ้น 0.88% ส่วนหุ้นอื่นๆ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นคือ SCB เพิ่มขึ้น 1.29% และ AOT เพิ่มขึ้น 0.36%
  ตรงข้าม กลุ่มที่ปรับลดลง คือกลุ่ม ICT ซึ่งกดตลาดในช่วงท้าย นำโดย ADVANC ลดลง 0.52%, DATC ลดลง 1.99% ตามด้วยกลุ่ม ธ.พ. อย่าง KBANK ลดลง 1.71% และ TMB ลดลง 2.03% ส่วนหุ้นอื่นๆที่ปรับตัวลดลง คือ PTTGC ลดลง 0.77%  สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดดัชนี้น่าจะแกว่งผันผวน  ประเมินแนวต้านอยู่ที่ 1836 จุด ส่วนแนวรับอยู่บริเวณ 1818 จุด
  
Fed ยังคงแผนขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งปีนี้ vs ทรัมป์ ยังเน้นการกีดกันการค้า
  ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญมี 2 ประเด็นหลัก คือ ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) และการแถลงนโยบายประจำปีของประธานาธิบดี  ซึ่งทั้ง 2 ประเด็นไม่ได้แตกต่างจากที่คาดไว้ แต่มีข้อสังเกต
  ประเด็นแรกคือ แม้จะยืนดอกเบี้ยนโยบายที่เดิม และจะเพิ่ม 3 ครั้งราว 0.75% ในปีนี้ แต่มีสำนักเศรษฐศาสตร์ต่างประเทศบางแห่ง คาดมีโอกาส Fed จะขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้ง  ซึ่งอาจหนุนให้เงินดอลลาร์ชะลอการอ่อนค่า หลังจากที่แตะจุดต่ำสุด 89.02 จุด (ลดลง 13.7% จากจุดสูงสุดต้นปี 2560) ทำให้แนวโน้มค่าดอลลาร์มีแนวโน้มแกว่งตัวหลังจากนี้ เป็นปัจจัยกดดันไม่ให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ราคาน้ำมัน น่าจะปรับเพิ่มขึ้นได้ในกรอบจำกัด เป็นไปตามคาด   ขณะที่ประธาน Fed คนใหม่ นายเจอโรม พาวเวล จะเข้ารับตำแหน่งใน วันที่ 4 ก.พ. น่าจะคงดำเนินการเงินแบบตึงตัวแบบเดิม
  ประเด็นสอง นายทรัมป์ฯ ยังคงเน้นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ 10 ปี เงินลงทุนราว 1.5  ล้านล้านเหรียญฯ แต่มีท่าทีผ่อนคลายในเรื่องการย้ายสิทธิให้ Dreamer (ผู้อพยพที่เข้าเมืองผิดกฏหมาย) ราว 1.8 ล้านคนขอสัญชาติสหรัฐได้ ซึ่งเป็นประเด็นมีผลต่อการพิจารณาวงเงินงบประมาณ ที่จะถึงกำหนดวันที่ 8 ก.พ. หลังจากรอบที่แล้ว วุฒิสภาไม่โหวตผ่านทำให้เกิด Government Shutdown หน่วยงานราชการสหรัฐ 3 วัน (20-22 ม.ค.) 
  และที่ยังให้น้ำหนักคือ การกีดกันการค้ากับประเทศที่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐ หลังจากก่อนหน้าดำเนินการ ไม่ต่ออายุ GSP  และขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า(Safe guard) เครื่องซักผ้าและชิ้นส่วนแผงโซลาร์เซลล์ ล่าสุด เตรียมตรวจส่วนสินค้าทำให้ผู้ประกอบการในประเทศได้รับผลกระทบ คือ  เหล็ก ทั้งนี้หากพิจารณาแต่ละปี สหรัฐนำเข้าเหล็กจากทั่วโลกราว 21.9 พันล้านดอลลาร์  (คิดสัดส่วนราว 1% ของการนำเข้าสินค้าทั้งหมด)  ประเทศที่ส่งออกไปสหรัฐหลัก ๆ คือ แคนาดา 16%, บราซิล 13%, เกาหลีใต้ 10%, เม็กซิโก 9%, รัสเซีย 9%, ตุรกี 7%, ญี่ปุ่น 5%, ไต้หวัน 4%, เยอรมนี 3%, อินเดีย 2%   ตามลำดับ   ขณะที่เอเชีย จีน แม้เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ แต่จะใช้ในประเทศเป็นหลัก
ขณะที่ไทย  ผู้ประกอบการเหล็กไทยส่งออกไปสหรัฐค่อนข้างน้อย โดย TMT เน้นทำตลาดในประเทศเป็นหลัก เช่นเดียวกับ TSTH และ MCS เน้นส่งออกเหล็กไปญี่ปุ่น
สต็อกน้ำมันเพิ่มมากกว่าคาด กดดันน้ำมันแกว่งตัว 65-70 เหรียญฯ
  วานนี้สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุด  พลิกกลับมาเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 11  สัปดาห์ราว  6.8 ล้านบาร์เรล (มากกว่าที่ตลาดคาดที่  1.26 แสนบาร์เรล) เป็นผลจากอากาศหนาวลดลงและโรงกลั่นน้ำมันดิบเริ่มปิดซ่อมบำรุงประจำฤดูกาล   
  นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบที่ใกล้ 70 เหรียญฯ จูงใจให้มีการเปิดแท่นจุดเจาะน้ำมันในสหรัฐมากขึ้น   อย่างไรก็ตามในระยะกลาง-ยาว ความต้องการใช้น้ำมันโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัว  และการร่วมมือในการลดกำลังการผลิตในฝั่ง OPEC และ Non OPEC น่าจะลดความกังวลต่อปัญหา Oversupply ใน 2H61  ทำให้ราคาน้ำมันดิบยังแกว่งตัว 65-70 เหรียญต่อบาร์เรลได้
  และล่าสุด  PTTEP   เข้าซื้อแหล่งก๊าซบงกช จากบริษัท Shell  22.22%  เป็น 66.66%  PTTEP จึงกลาย เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยมูลค่าการเข้าซื้อก่อนภาษีอยู่ราว 750 ล้านเหรียญฯ (ไม่รวม capital tax ที่ต้องจ่ายให้ shell อีกจำนวนหนึ่ง)  คาดจะเสร็จสิ้น และทำงบการเงินรวมงวด 2Q61 โดยจะปริมาณขายของ PTTEP อีกราว 3.5 หมื่นบาร์เรลต่อวัน (จากปัจจุบันที่ 3 แสนบาร์เรลต่อวัน) จะเพิ่มกำไรเฉลี่ยปีละ  8-10% และเพิ่มมูลค่าหุ้นราวหุ้นละ 4 บาท/หุ้น เป็น 137 บาท มี upside ราว 15% สูงสุดในกลุ่มฯ 
คาดว่าน่าจะมีแรงซื้อต่างชาติ ในตลาดหุ้นไทยนับจาก เดือน ก.พ.
  วานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่ากว่า 823 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นไต้หวันเพียงแห่งเดียวที่ซื้อสุทธิ 141 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 4 ประเทศต่างชาติขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิ 782 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 71 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3), ฟิลิปปินส์ 45 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิ 85 ล้านเหรียญ หรือ 2.05 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 228 พันล้านบาท
  สรุป Fund Flow เดือน ม.ค. 61 พบว่า แม้ภาพรวมต่างชาติจะซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค แต่ช่วงท้ายของเดือนเริ่มมีแรงเทขายออกมา จนทำให้ยอดซื้อสุทธิรวมเหลือ 4.82 ล้านเหรียญ โดยเป็นการซื้อสุทธิทั้ง 4 ประเทศ ยกเว้นเพียงตลาดหุ้นไทยเท่านั้นที่ขายสุทธิ 2.24 พันล้านเหรียญ หรือ 5.70 พันล้านบาท
  แม้ต่างชาติจะขายสุทธิหุ้นไทยในเดือนที่แล้ว แต่แนวโน้ม Fund Flow ในเดือน ก.พ. คาดว่าจะเริ่มมีแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติกลับมาในตลาดหุ้นไทยบ้าง แม้ตลาดหุ้นไทยมีค่า Ex P/E ที่ 16.2 เท่า ซึ่งใกล้เคียงกับเพื่อนบ้าน และหากพิจารณาสัดส่วนการถือครองหุ้นไทยจากต่างชาติ (รวม NVDR) ณ สิ้น ธ.ค. 60 ถือว่าอยู่ในระดับต่ำมากที่ 31.25% (ต่ำสุด 28.53% ณ สิ้น มี.ค. 47) บวกกับการเข้าสู่ฤดูกาลจ่ายปันผล หลังการประกาศงบฯ ซึ่งหากพิจารณาจากสถิติในเดือน ก.พ. ย้อนหลัง 5 ปี พบว่า SETHD ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยที่สูงถึง 2.53% เทียบกับ ดัชนี SET  ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 2.12% (คิดผลตอบแทนดัชนีโดยมีการบวกปันผลกลับ)  น่าจะดึงต่างชาติกลับเข้ามาตลาดหุ้นไทย และตามสถิติในเดือน ก.พ. ต่างชาติมักซื้อสุทธิหุ้นไทย 5 ใน 10 ปี เฉลี่ยราว 3.9  พันล้านบาท
WP (PICNI+WG) กลับมาเทรดวันนี้วันแรก มูลค่าหุ้นคือ 9.2 บาท 
  บริษัท ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) (WP) เกิดจากการควบรวมบริษัท ระหว่างบริษัท เวิลด์ แก๊ส (ประเทศไทย) จำกัด (WG) กับ บริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (PICNI) เป็นผู้ให้ ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ภายใต้เครื่องหมายการค้า “เวิลด์แก๊ส”  ให้บริการครบวงจร (ตั้งแต่ต้นน้ำรับซื้อก๊าซ LPG จนถึงการขายก๊าซ LPG ไปยังลูกค้าทุกภาคธุรกิจที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย)      
  WP ถือเป็นผู้ประกอบการ LPG รายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ  ด้วยส่วนแบ่งตลาด 20.7%  รองจาก PTT   39.3%     ที่เหลือ Unigas  13.4%  SiamGas 11.1% ยูนิค  ที่เหลือเป็นรายย่อย จะเห็นว่าส่วนแบ่งตลาดราว 85% กระจุกตัวอยู่กับผู้ประกอบการ 4 รายเท่านั้น  และยังมีข้อจำกัดเรื่องการขออนุญาต (มาตรา 7) และคลังเก็บสำรองก๊าซ  (ต้องมีสำรอง 1% ของยอดชาย)   จึงทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาในธุรกิจยาก  แต่อย่างไรก็ตามลักษณะธุรกิจที่เติบโตไม่มากนักเฉลี่ย 2% ขึ้นกับความต้องการก๊าซในครัวเรือนและภาคขนส่ง    ซึ่งเติบโตเฉลี่ยเพียง 2% ต่อปี
  WP จุดเด่นในเรื่องเครื่องหมายการค้าที่ลูกค้ารู้จักในวงกว้าง มีคลังเก็บสินค้ากระจายทั่วประเทศ (4 จังหวัด  ฉะเชิงเทรา ขอนแก่น สมุทรสงคราม และ ลำปาง )  มีความจุ 9 พันตัน  ซึ่ง 1 ใน 3  เป็นคลังที่ติดแม่น้ำ ทำให้ต้นทุนค่าขนส่งต่ำกว่าทางบก   และ มีแผน เพิ่มคลังเก็บก๊าซ LPG เพิ่มอีก 1 แห่งคือบางปะกงเฟส 3 ความจุ 9.5 พันตัน คาดจะแล้วเสร็จ ธ.ค.2562  ซึ่งหลังจากนี้จะทำให้มีคลังเก็บก๊าซเพิ่มเป็น  เท่า ตัว ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเช่าคลังสำรองก๊าซ LPG และรองรับการปรับเพิ่มสำรองก๊าซ LPG ตามกฎหมาย (Legal reserve) ที่จะเพิ่มขึ้นเป็น 2% ในปี 2564 จาก 1% ในปัจจุบัน   WP มีเป้าหมายจะขยายฐานลูกค้าไปภาคอีสาน รวมถึงมองหาโอกาสเติบโตในต่างประเทศ โดยในเบื้องต้นจะให้น้ำหนักการลงทุนไปยังประเทศเพื่อนบ้านกลุ่ม CLMV ซึ่งในปัจจุบันได้เริ่มทำธุรกิจค้า LPG ในประเทศลาว และพม่า แต่ยังเป็นสัดส่วนที่ไม่มีนัยฯ
  ปี 2560 กำไรจะเติบโตถึง 202.9%yoy มาอยู่ที่ 172.6 ล้านบาท เพราะค่าใช้จ่ายคลังสินค้าที่ลดลง  เพราะคลังเก็บ LPG 2 แห่ง ได้แก่ คลังบางปะกง เฟส 2 และคลังบ้านแฮด ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จปลายปี 2559 ทำให้ในปี 2560 ไม่ต้องเช่าคลังเก็บก๊าซ LPG จากภายนอก  แต่อย่างไรก็ตามแนวโน้มกำไรสุทธิในปี 2561-2562 คาดจะกลับสู่ภาวะปกติเติบโตเฉลี่ย 2.6% p.a. (CAGR) มาอยู่ที่ 177.2 และ 181.9 ล้านบาท ตามลำดับ  ภายใต้สมมติฐานปริมาณการขาย LPG เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 2.0% จากเดิม และเพิ่มสัดส่วนการขายลูกค้าพาณิชย์ที่มีอัตรากำไรสูงสุดมากขึ้น
  ส่วนการประเมินมูลค่าพื้นฐาน ณ สิ้นปี 2561 ด้วย DCF (WACC 8.9%, TV Growth 1%) อยู่ที่ 9.20 บาทต่อหุ้น  ขณะที่บริษัทจะยังไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้จนกว่าจะล้างขาดทุนสะสมที่เหลือ 429 ล้านบาท (2Q60)  รายละเอียดติดตามอ่าน Initial Coverage ของ WP  31 มกราคม 2561 ได้
ตลาดหุ้นโลกปรับฐาน ให้สะสมหุ้นปันผล: SIRI, MAJOR, INTUCH, TMT
  วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐฟื้นตัวขึ้นมาได้เล็กน้อยหลังจากลดลงไป 2 วันต่อเนื่อง โดยขานรับผลประกอบการ 4Q60 สูงกว่าตัวเลขที่ตลาดคาด แต่ถูกกดดันด้วยกลุ่มสุขภาพหลังจากมีรายงานว่า บริษัทอเมซอน, เจพีมอร์แกน เชส และเบิร์กเชียร์ แฮธาเวย์ ประกาศแผนจับมือกันตั้งบริษัทแห่งใหม่ขึ้นมาซึ่งจะไม่มุ่งเน้นการแสวงหาผลกำไร และไม่มีประเด็นใหม่จาก ผลการประชุม FED  วานนี้
  นอกจากนี้น่าจะเป็นจาก การ Sell on fact หลังการรายงานผลประกอบการ 4Q60 ของบริษัทจดทะเบียน และผลตอบแทนของ ตลาดที่เป็นบวกมาต่อเนื่องแล้ว 3 ปี (2559-61ytd) กว่า 44% เป็นผลให้ระดับ Expected P/E เพิ่มสูงมาก โดย Dow Jones ปัจจุบันอยู่ที่ 18.06 เท่า ส่วน S&P500 ปัจจุบันอยู่ที่ 18.46 เท่า ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าตลาดหุ้นยุโรปที่ Expected P/E เฉลี่ยอยู่ที่ราว 13.7 – 15.3 เท่า และสูงใกล้เคียงกับตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ 19 เท่า แม้มีการประเมินว่า EPS Growth ของตลาดหุ้นสหรัฐในปีนี้จะเติบโตราว 14.5% แต่หากประเมินโดยใช้ PEG Ratio แล้ว จะเห็นว่าอยู่ที่เกือบ 1.3 เท่า ดังนั้น การที่ตลาดหุ้นทั้ง 2 แห่งจะปรับขึ้นต่อ จึงมี upside ค่อนข้างจำกัด ทำให้เกิดการทยอย take profit บางส่วน
  ขณะที่ตลาดหุ้นไทย คาดว่าวันนี้ว่าจะ Rebound ได้ ตามตลาดหุ้นสหรัฐและในภูมิภาค แต่ยังคงมองเป็นการพักฐาน เนื่องจากตลาดหุ้นไทยในช่วง 3 ปี (2559-61ytd) ก็ให้ผลตอบแทนรวมสูงเช่นกันถึง 37.7% ขณะที่ระดับ Expected P/E ปี 2561 ที่ 16.1 เท่า ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นพื่อนบ้าน (มาเลเซียที่ 16.7 เท่า และอินโดนีเซียที่ 17.4 เท่า แต่สูงกว่าจีนที่ 13.6 เท่า) ขณะที่คาดการณ์การเติบโตของกำไรสุทธิตลาดฯ ปีนี้ ก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน กล่าวคือ SET Index อยู่ที่ 14.5% (อิง EPS ที่ 113.5 บาท/หุ้น) ตลาดหุ้นจีนคาดโต 13.6%, อินโดนีเซีย 13.4% และฟิลิปปินส์ที่ 11.7% ยกเว้นมาเลเซียที่โตเพียง 5.3% ซึ่งการเติบโตของกำไรฯ ตลาดที่ไม่ได้โดดเด่นเหนือเพื่อนบ้านมากนัก จึงทำให้ยังไม่จูงใจที่เม็ดเงินจากต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมา
  ดังนั้น ในสภาวะที่ตลาดฯ กำลังปรับฐาน หุ้นปันผลสูง ที่มีความผันผวนต่ำ จึงยังคงเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ โดยกลยุทธ์การลงทุนในหุ้น Dividend Play ที่มีการจ่ายปันผลสูงสม่ำเสมอ คือ SIRI, TMT, INTUCH, TASCO และ MAJOR  โดยแนะนำก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD
  
ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5124

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!