- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 30 January 2018 19:17
- Hits: 1343
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีหุ้นไทยยังคงผันผวน และอยู่กรอบ 1831-1840 จุด ตามแรงขายหุ้นรายตัว หลังจากที่ปรับขึ้นจนมี upside จำกัด/เกินมูลค่า (AOT, BJC, TOP, JAS, EA, TRUE) และดัชนีหุ้นไทยมีค่า ex P/E 16.2 เท่า ใกล้เคียงเพื่อนบ้าน แต่ยังแพงกว่าจีน จึงจูงใจต่างชาติน้อย ขณะที่ปัจจัยการเมืองน่าจะเข้ามามีน้ำหนักมากขึ้น กลยุทธ์ให้ทยอยปรับพอร์ตขายทำกำไรรายตัว และสะสมหุ้นปันผล (SIRI, TMT, MAJOR, MCS) หรือหุ้นขึ้นน้อย (STEC, CK, UNIQ) Top picks: หุ้นปันผล MCS([email protected]) หุ้น Global IRPC([email protected]) และ PTTEP(FV@B133)
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … กลุ่มพลังงานยังหนุนตลาดฯ ต่อเนื่อง
วานนี้ SET Index แกว่งตัวผันผวนตลอดวัน ช่วงเช้าบวกเกือบ 10 จุด ก่อนลดลงมาเหลือแค่ 3 จุด หลังจากนั้นก็มีแรงซื้อไหลเข้าช่วงท้ายก่อนจะปิดตลาดที่ 1837.49 จุด เพิ่มขึ้น 8.61 จุด หรือ 0.47% แต่มูลค่าการซื้อขายเบาบางกว่าวันก่อนหน้าที่เพียง 5.4 หมื่นล้านบาท กลุ่มพลังงานยังคงหนุนดัชนี นำโดย PTT เพิ่มขึ้น 1.63%, PTTEP เพิ่มขึ้น 0.84%, ส่วน BANPU มีแรงซื้อเข้ามาในช่วงท้าย เพิ่มขึ้นถึง 2.74% ตามด้วยกลุ่ม ธ.พ. นำโดย KBANK เพิ่มขึ้น 1.31% และ SCB เพิ่มขึ้น 0.63% ส่วนกลุ่มอื่นๆ ที่ปรับขึ้นคือ กลุ่มโรงพยาบาล นำโดย BBMS เพิ่มขึ้น 1.42%, BH เพิ่มชึ้น 2.07 % กลุ่ม ICT โดย DTAC เพิ่มขึ้น 2.99% และกลุ่มปิโตรเคมี PTTGC เพิ่มขึ้น 1.04%
ตรงข้าม กลุ่มที่ปรับลดลง คือ กลุ่มค้าปลีก โดย CPN ลดลงถึง 1.75%, CPALL ลดลง 0.62%, GLOBAL ลดลง 3.41% และ MAKRO ลดลง 0.6 %
แนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสแกว่งตัวหรือปรับลดลงตามตลาดภูมิภาค ประเมินแนวรับที่ 1831 จุด แนวต้าน 1843 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีหุ้นไทยยังคงผันผวน และอยู่กรอบ 1831-1840 จุด ตามแรงขายหุ้นรายตัว หลังจากที่ปรับขึ้นจนมี upside จำกัด/เกินมูลค่า (AOT, BJC, TOP, JAS, EA, TRUE) และดัชนีหุ้นไทยมีค่า ex P/E 16.2 เท่า ใกล้เคียงเพื่อนบ้าน แต่ยังแพงกว่าจีน จึงจูงใจต่างชาติน้อย ขณะที่ปัจจัยการเมืองน่าจะเข้ามามีน้ำหนักมากขึ้น กลยุทธ์ให้ทยอยปรับพอร์ตขายทำกำไรรายตัว และสะสมหุ้นปันผล (SIRI, TMT, MAJOR, MCS) หรือหุ้นขึ้นน้อย (STEC, CK, UNIQ) Top picks: หุ้นปันผล MCS([email protected]) หุ้น Global IRPC([email protected]) และ PTTEP(FV@B133)
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … กลุ่มพลังงานยังหนุนตลาดฯ ต่อเนื่อง
วานนี้ SET Index แกว่งตัวผันผวนตลอดวัน ช่วงเช้าบวกเกือบ 10 จุด ก่อนลดลงมาเหลือแค่ 3 จุด หลังจากนั้นก็มีแรงซื้อไหลเข้าช่วงท้ายก่อนจะปิดตลาดที่ 1837.49 จุด เพิ่มขึ้น 8.61 จุด หรือ 0.47% แต่มูลค่าการซื้อขายเบาบางกว่าวันก่อนหน้าที่เพียง 5.4 หมื่นล้านบาท กลุ่มพลังงานยังคงหนุนดัชนี นำโดย PTT เพิ่มขึ้น 1.63%, PTTEP เพิ่มขึ้น 0.84%, ส่วน BANPU มีแรงซื้อเข้ามาในช่วงท้าย เพิ่มขึ้นถึง 2.74% ตามด้วยกลุ่ม ธ.พ. นำโดย KBANK เพิ่มขึ้น 1.31% และ SCB เพิ่มขึ้น 0.63% ส่วนกลุ่มอื่นๆ ที่ปรับขึ้นคือ กลุ่มโรงพยาบาล นำโดย BBMS เพิ่มขึ้น 1.42%, BH เพิ่มชึ้น 2.07 % กลุ่ม ICT โดย DTAC เพิ่มขึ้น 2.99% และกลุ่มปิโตรเคมี PTTGC เพิ่มขึ้น 1.04%
ตรงข้าม กลุ่มที่ปรับลดลง คือ กลุ่มค้าปลีก โดย CPN ลดลงถึง 1.75%, CPALL ลดลง 0.62%, GLOBAL ลดลง 3.41% และ MAKRO ลดลง 0.6 %
แนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสแกว่งตัวหรือปรับลดลงตามตลาดภูมิภาค ประเมินแนวรับที่ 1831 จุด แนวต้าน 1843 จุด
ทรัมป์เดินหน้า “Amarican First” กีดกันการค้า & ลงทุนสาธารณูปโภค
วันนี้เป็นแรกของการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ระหว่าง 30-31 ม.ค. (ทราบผลเช้าวันที่ 1 ก.พ. ตามไทย) คาดว่า Fed ยังคงดอกเบี้ยฯ ที่ 1.5% ตามเดิม แต่น่าจะไปขึ้นในการประชุมรอบ มี.ค. อีก 0.25% และน่าจะขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือรวมเป็น 3 ครั้งในปีนี้ ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายสิ้นปี 2561 อยู่ที่ 2.25% ซึ่งเป็นประเด็นที่เชื่อว่าตลาดได้รับรู้การขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวไปเรียบร้อยแล้ว ขณะที่การฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าในกลุ่มยุโรปและญี่ปุ่น กดดันให้เงินดอลลาร์ยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่า แม้จะชะลอการอ่อนค่าในช่วงสั้น และนักเศรษฐศาสตร์ของ Unicredit อังกฤษคาดว่าดอลลาร์ต่อยูโรจะอยู่ที่ 1.3 ดอลลาร์ต่อยูโร หรือมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องจากปัจจุบันอีก 5% ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้เกิดการเก็งกำไรในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ น้ำมันปรับขึ้นต่อแตะ 70 เหรียญฯ
ขณะที่วันนี้ ช่วง 3 ทุ่มตามเวลาสหรัฐ (9 โมงเช้าวันที่ 31 ม.ค. เวลาไทย) ประธานาธิบดีทรัมป์มีกำหนดแถลงนโยบายประจำปีต่อสภาคองเกรส คาดว่าจะมีการเปิดเผยนโยบายเศรษฐกิจ, ผู้อพยพ และที่สำคัญตลาดให้น้ำหนักไปที่นโยบายการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของสหรัฐ ระยะเวลา 10 ปี เช่น ก่อสร้างและปรับปรุง, สะพาน, ทางด่วน เป็นต้น วงเงินลงทุนราว 2 แสนล้านดอลลาร์
ส่งออกปี 2561 ชะลอตัว จากผลกระทบกีดกันการค้าและเงินบาทแข็ง
นอกจากนี้ประเด็นการกีดกันการค้าสหรัฐ หลังจากต้นปี 2561 สหรัฐยังไม่ต่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี (GSP) ให้กับไทย ซึ่งครอบคลุมสินค้าราว 3,500 รายการ ซึ่งน่าจะกระทบการส่งออกของไทย ซึ่งปัจจุบันกระจุกตัวในสหรัฐคิดเป็น อันดับ 2 ราว 11% ของตลาดส่งออกรวมทั้งหมด รองจาก จีน มากที่สุดราว 12.1% ทั้งนี้ หากพิจารณาการส่งออกไปสหรัฐผ่านสิทธิ GSP ต่อปี ราว 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 14.6% ของยอดส่งออกรวมทั้งหมดไปสหรัฐ แต่หากพิจารณาสินค้าส่งออก 10 อันดับแรกที่ไทยส่งออกไปสหรัฐ ราว 60% ของการสินค้าส่งออกทั้งหมดไปสหรัฐ ล้วนได้รับสิทธิ GSP กล่าวคือ เดิม ไม่เสียภาษี แต่ต้องกลับมา จ่ายภาษีในอัตราทั่วไป ซึ่งจะกระทบต่อผู้ส่งออกไทยทำให้มีต้นทุนจากภาษีที่เพิ่มขึ้น
และสัปดาห์ก่อนหน้า สหรัฐ กีดกันสินค้านำเข้ารอบใหม่ 2 รายการสินค้าคือ แผงโซลาร์เซลล์ (Solar Panel) และเครื่องซักผ้า (Washing machine) ผ่านการปรับขึ้นภาษีนำเข้า พบว่าไทยส่งออกแผงโซล่าร์เซลส์ของไทยไปสหรัฐ แต่ละปีราว 421.1 ล้านเหรียญฯ คิดราว 0.2% ของยอดส่งออกสินค้าทั้งหมด และเครื่องซักผ้าของไทยไปสหรัฐแต่ละปีราว 518.2 ล้านเหรียญฯ คิดราว 0.21% ของยอดส่งออกสินค้าทั้งหมด
นอกจากนี้ค่าเงินบาท/ดอลลาร์ที่แข็งค่าติดต่อกัน 2 ปี หรือแข็งค่าราว 4% นับตั้งแต่ต้นปี(ytd) และแข็งค่า 10% ในปี 2560 ล่าสุดอยู่ที่ 31.43 บาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 31.9 บาท (เทียบกับ ASPS คาดปี 2561 ที่ 33 บาท) เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กระทบการส่งออกปี 2561 ซึ่ง ASPS กำหนด 5%yoy จาก 10% ในปี 2560 ทั้งนี้หากเงินบาทแข็งค่าทุกๆ 1 บาท/ดอลลาร์จะส่งผลกระทบต่อ GDP Growth ราว 0.06% ซึ่งมีโอกาสที่จะทำให้ GDP ปี 2561 ที่ ASPS คาด ที่ 4.2%yoy ในปีนี้มีโอกาสต่ำกว่าเป้า อย่างไรก็ตามปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้ คาดหวังจากการลงทุนภาครัฐ ซึ่งคาดว่าจะมีงานประมูลขนาดใหญ่ ราว 9.2 แสนล้านบาท และเอกชนซึ่งฟื้นตัวตาม EEC เป็นตัวขับเคลื่อน ควบคู่กับการบริโภคครัวเรือน
ต่างชาติสลับมาขายหุ้นในกล่ม TIP ทุกแห่ง
วานนี้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ด้วยมูลค่า 254 ล้านเหรียญ แต่แรงซื้ออยู่เฉพาะในตลาดหุ้นแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 220 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) และไต้หวัน 77 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 11) สวนทางกับตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ที่ถูกขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากอินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 31 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 2 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 11 ล้านเหรียญ หรือ 359 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ต่างกับสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิ 2.38 พันล้านบาท
ส่วนทางกับทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 6.56 พันล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิ 1.78 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) อย่างไรก็ตามหากพิจารณาตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน พบว่า ต่างชาติซื้อสะสมสุทธิตราสารหนี้ไทยไปแล้วกว่า 8.51 หมื่นล้านบาท (ปี 2560 ทั้งปีซื้อสุทธิ 3.57 แสนล้านบาท) ด้วยแรงซื้อที่เข้ามาอย่างรวดเร็วหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมา 3.5%(ytd) โดยอยู่ที่ 31.42 บาท/ดอลลาร์
หุ้นใหญ่มี upside จำกัด กดดัน SET ผันผวน
ตลาดหุ้นไทยมีระดับ Expected P/E ปี 2561 ที่ 16.2 เท่า ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียที่ 16.6 เท่า และอินโดนีเซียที่ 17 เท่า แม้จะสูงกว่าตลาดหุ้นจีนที่มี Expected P/E ที่ 13.7 เท่า แต่ก็ต่ำกว่าตลาดหุ้นเวียดนาม, ฟิลิปปินส์ และอินเดียที่ 19.6, 19.8 และ 23.5 เท่า ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงคาดการณ์การเติบโตของกำไรสุทธิตลาดฯ ปีนี้ พบว่า อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน กล่าวคือ SET Index อยู่ที่ 14.5% (อิง EPS ที่ 113.5 บาท/หุ้น) ตลาดหุ้นจีนคาดโต 13.6%, อินโดนีเซีย 13.4%, เวียดนาม 13% และฟิลิปปินส์ที่ 11.7% ยกเว้นมาเลเซียที่โตเพียง 5.3% ซึ่งการเติบโตของกำไรฯ ตลาดที่ไม่ได้โดดเด่นเหนือเพื่อนบ้านมากนัก จึงทำให้ยังไม่จูงใจที่เม็ดเงินจากต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมา
ขณะที่หุ้นไทย พบว่า ปัจจุบัน Upside ของหุ้นหลายบริษัท (ที่ฝ่ายวิจัยทำการศึกษาและยัง Active จำนวน 164 บริษัท) เริ่มจำกัด กล่าวคือ
หุ้นที่ราคาปัจจุบันเกิน Fair Value ไปแล้วมีจำนวน 29 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 16.5%
หุ้นที่มี Upside อยู่ระหว่าง 0-10% มีจำนวน 42 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 40.3%
หุ้นที่มี Upside อยู่ระหว่าง 10-20% มีจำนวน 53 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 29.9%
หุ้นที่มี Upside มากกว่า 20% มีจำนวน 40 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 13.3%
จะเห็นได้ว่าหุ้นส่วนใหญ่จะมี Upside อยู่ระหว่าง 0-10% และ 10-20% ขณะที่หุ้นที่มี Upside มากกว่า 20% ก็มีจำนวนมากเช่นกัน แต่หากพิจารณาในแง่ Market Cap แล้ว พบว่า Upside มากกว่า 20% กลับมีน้ำหนักเพียง 13.3% เท่านั้น ซึ่งหมายความว่าหุ้นที่มี Upside สูงเหล่านี้แม้ราคาจะยังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ แต่ก็น่าจะหนุน SET Index ได้ไม่มากนัก แม้ว่าช่วงที่ผ่านมานักวิเคราะห์ ASPS จะมีการปรับประมาณการของหุ้นในกลุ่มพลังงานขึ้นตามการปรับสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบขึ้น อาทิ PTT ขึ้นมาที่ 520 บาท (เดิม 500 บาท), PTTEP ขึ้นมาที่ 133 บาท (เดิม 118 บาท), IRPC ขึ้นมาที่ 8.4 บาท (เดิม 7.4 บาท) แต่ด้วยราคาหุ้นที่ขึ้นมาแรง ทำให้ Upside เหลือไม่มากนัก ขณะที่หุ้น Market Cap ขนาดใหญ่อย่าง AOT แม้จะปรับ Fair Value ขึ้น แต่ราคาหุ้นปรับขึ้นสะท้อนความคาดหวังไปล่วงหน้าแล้ว ด้วยเหตุนี้ทำให้ SET Index ยังคงปรับขึ้นได้จำกัด
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5022
วันนี้เป็นแรกของการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ระหว่าง 30-31 ม.ค. (ทราบผลเช้าวันที่ 1 ก.พ. ตามไทย) คาดว่า Fed ยังคงดอกเบี้ยฯ ที่ 1.5% ตามเดิม แต่น่าจะไปขึ้นในการประชุมรอบ มี.ค. อีก 0.25% และน่าจะขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือรวมเป็น 3 ครั้งในปีนี้ ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายสิ้นปี 2561 อยู่ที่ 2.25% ซึ่งเป็นประเด็นที่เชื่อว่าตลาดได้รับรู้การขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวไปเรียบร้อยแล้ว ขณะที่การฟื้นตัวของประเทศคู่ค้าในกลุ่มยุโรปและญี่ปุ่น กดดันให้เงินดอลลาร์ยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่า แม้จะชะลอการอ่อนค่าในช่วงสั้น และนักเศรษฐศาสตร์ของ Unicredit อังกฤษคาดว่าดอลลาร์ต่อยูโรจะอยู่ที่ 1.3 ดอลลาร์ต่อยูโร หรือมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องจากปัจจุบันอีก 5% ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้เกิดการเก็งกำไรในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ น้ำมันปรับขึ้นต่อแตะ 70 เหรียญฯ
ขณะที่วันนี้ ช่วง 3 ทุ่มตามเวลาสหรัฐ (9 โมงเช้าวันที่ 31 ม.ค. เวลาไทย) ประธานาธิบดีทรัมป์มีกำหนดแถลงนโยบายประจำปีต่อสภาคองเกรส คาดว่าจะมีการเปิดเผยนโยบายเศรษฐกิจ, ผู้อพยพ และที่สำคัญตลาดให้น้ำหนักไปที่นโยบายการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของสหรัฐ ระยะเวลา 10 ปี เช่น ก่อสร้างและปรับปรุง, สะพาน, ทางด่วน เป็นต้น วงเงินลงทุนราว 2 แสนล้านดอลลาร์
ส่งออกปี 2561 ชะลอตัว จากผลกระทบกีดกันการค้าและเงินบาทแข็ง
นอกจากนี้ประเด็นการกีดกันการค้าสหรัฐ หลังจากต้นปี 2561 สหรัฐยังไม่ต่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี (GSP) ให้กับไทย ซึ่งครอบคลุมสินค้าราว 3,500 รายการ ซึ่งน่าจะกระทบการส่งออกของไทย ซึ่งปัจจุบันกระจุกตัวในสหรัฐคิดเป็น อันดับ 2 ราว 11% ของตลาดส่งออกรวมทั้งหมด รองจาก จีน มากที่สุดราว 12.1% ทั้งนี้ หากพิจารณาการส่งออกไปสหรัฐผ่านสิทธิ GSP ต่อปี ราว 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 14.6% ของยอดส่งออกรวมทั้งหมดไปสหรัฐ แต่หากพิจารณาสินค้าส่งออก 10 อันดับแรกที่ไทยส่งออกไปสหรัฐ ราว 60% ของการสินค้าส่งออกทั้งหมดไปสหรัฐ ล้วนได้รับสิทธิ GSP กล่าวคือ เดิม ไม่เสียภาษี แต่ต้องกลับมา จ่ายภาษีในอัตราทั่วไป ซึ่งจะกระทบต่อผู้ส่งออกไทยทำให้มีต้นทุนจากภาษีที่เพิ่มขึ้น
และสัปดาห์ก่อนหน้า สหรัฐ กีดกันสินค้านำเข้ารอบใหม่ 2 รายการสินค้าคือ แผงโซลาร์เซลล์ (Solar Panel) และเครื่องซักผ้า (Washing machine) ผ่านการปรับขึ้นภาษีนำเข้า พบว่าไทยส่งออกแผงโซล่าร์เซลส์ของไทยไปสหรัฐ แต่ละปีราว 421.1 ล้านเหรียญฯ คิดราว 0.2% ของยอดส่งออกสินค้าทั้งหมด และเครื่องซักผ้าของไทยไปสหรัฐแต่ละปีราว 518.2 ล้านเหรียญฯ คิดราว 0.21% ของยอดส่งออกสินค้าทั้งหมด
นอกจากนี้ค่าเงินบาท/ดอลลาร์ที่แข็งค่าติดต่อกัน 2 ปี หรือแข็งค่าราว 4% นับตั้งแต่ต้นปี(ytd) และแข็งค่า 10% ในปี 2560 ล่าสุดอยู่ที่ 31.43 บาท หรือเฉลี่ยอยู่ที่ 31.9 บาท (เทียบกับ ASPS คาดปี 2561 ที่ 33 บาท) เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กระทบการส่งออกปี 2561 ซึ่ง ASPS กำหนด 5%yoy จาก 10% ในปี 2560 ทั้งนี้หากเงินบาทแข็งค่าทุกๆ 1 บาท/ดอลลาร์จะส่งผลกระทบต่อ GDP Growth ราว 0.06% ซึ่งมีโอกาสที่จะทำให้ GDP ปี 2561 ที่ ASPS คาด ที่ 4.2%yoy ในปีนี้มีโอกาสต่ำกว่าเป้า อย่างไรก็ตามปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปีนี้ คาดหวังจากการลงทุนภาครัฐ ซึ่งคาดว่าจะมีงานประมูลขนาดใหญ่ ราว 9.2 แสนล้านบาท และเอกชนซึ่งฟื้นตัวตาม EEC เป็นตัวขับเคลื่อน ควบคู่กับการบริโภคครัวเรือน
ต่างชาติสลับมาขายหุ้นในกล่ม TIP ทุกแห่ง
วานนี้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 ด้วยมูลค่า 254 ล้านเหรียญ แต่แรงซื้ออยู่เฉพาะในตลาดหุ้นแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 220 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) และไต้หวัน 77 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 11) สวนทางกับตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ที่ถูกขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากอินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 31 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 2 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 11 ล้านเหรียญ หรือ 359 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ต่างกับสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิ 2.38 พันล้านบาท
ส่วนทางกับทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 6.56 พันล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิ 1.78 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) อย่างไรก็ตามหากพิจารณาตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน พบว่า ต่างชาติซื้อสะสมสุทธิตราสารหนี้ไทยไปแล้วกว่า 8.51 หมื่นล้านบาท (ปี 2560 ทั้งปีซื้อสุทธิ 3.57 แสนล้านบาท) ด้วยแรงซื้อที่เข้ามาอย่างรวดเร็วหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นมา 3.5%(ytd) โดยอยู่ที่ 31.42 บาท/ดอลลาร์
หุ้นใหญ่มี upside จำกัด กดดัน SET ผันผวน
ตลาดหุ้นไทยมีระดับ Expected P/E ปี 2561 ที่ 16.2 เท่า ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียที่ 16.6 เท่า และอินโดนีเซียที่ 17 เท่า แม้จะสูงกว่าตลาดหุ้นจีนที่มี Expected P/E ที่ 13.7 เท่า แต่ก็ต่ำกว่าตลาดหุ้นเวียดนาม, ฟิลิปปินส์ และอินเดียที่ 19.6, 19.8 และ 23.5 เท่า ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงคาดการณ์การเติบโตของกำไรสุทธิตลาดฯ ปีนี้ พบว่า อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน กล่าวคือ SET Index อยู่ที่ 14.5% (อิง EPS ที่ 113.5 บาท/หุ้น) ตลาดหุ้นจีนคาดโต 13.6%, อินโดนีเซีย 13.4%, เวียดนาม 13% และฟิลิปปินส์ที่ 11.7% ยกเว้นมาเลเซียที่โตเพียง 5.3% ซึ่งการเติบโตของกำไรฯ ตลาดที่ไม่ได้โดดเด่นเหนือเพื่อนบ้านมากนัก จึงทำให้ยังไม่จูงใจที่เม็ดเงินจากต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมา
ขณะที่หุ้นไทย พบว่า ปัจจุบัน Upside ของหุ้นหลายบริษัท (ที่ฝ่ายวิจัยทำการศึกษาและยัง Active จำนวน 164 บริษัท) เริ่มจำกัด กล่าวคือ
หุ้นที่ราคาปัจจุบันเกิน Fair Value ไปแล้วมีจำนวน 29 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 16.5%
หุ้นที่มี Upside อยู่ระหว่าง 0-10% มีจำนวน 42 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 40.3%
หุ้นที่มี Upside อยู่ระหว่าง 10-20% มีจำนวน 53 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 29.9%
หุ้นที่มี Upside มากกว่า 20% มีจำนวน 40 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 13.3%
จะเห็นได้ว่าหุ้นส่วนใหญ่จะมี Upside อยู่ระหว่าง 0-10% และ 10-20% ขณะที่หุ้นที่มี Upside มากกว่า 20% ก็มีจำนวนมากเช่นกัน แต่หากพิจารณาในแง่ Market Cap แล้ว พบว่า Upside มากกว่า 20% กลับมีน้ำหนักเพียง 13.3% เท่านั้น ซึ่งหมายความว่าหุ้นที่มี Upside สูงเหล่านี้แม้ราคาจะยังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ แต่ก็น่าจะหนุน SET Index ได้ไม่มากนัก แม้ว่าช่วงที่ผ่านมานักวิเคราะห์ ASPS จะมีการปรับประมาณการของหุ้นในกลุ่มพลังงานขึ้นตามการปรับสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบขึ้น อาทิ PTT ขึ้นมาที่ 520 บาท (เดิม 500 บาท), PTTEP ขึ้นมาที่ 133 บาท (เดิม 118 บาท), IRPC ขึ้นมาที่ 8.4 บาท (เดิม 7.4 บาท) แต่ด้วยราคาหุ้นที่ขึ้นมาแรง ทำให้ Upside เหลือไม่มากนัก ขณะที่หุ้น Market Cap ขนาดใหญ่อย่าง AOT แม้จะปรับ Fair Value ขึ้น แต่ราคาหุ้นปรับขึ้นสะท้อนความคาดหวังไปล่วงหน้าแล้ว ด้วยเหตุนี้ทำให้ SET Index ยังคงปรับขึ้นได้จำกัด
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5022