- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 25 January 2018 16:24
- Hits: 3744
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนียังผันผวน ตามแรงกดดันหุ้นรายตัวที่เต็มมูลค่า และขายรับงบกลุ่ม Real Sector แต่คาดว่ายังได้แรงหนุนจากหุ้นน้ำมัน และโรงกลั่น/ปิโตรเคมี ที่ปรับมูลค่าเพิ่ม จากแผนขนาดกำลังการผลิต (IRPC, PTTGC) กลยุทธ์ยังแนะนำขายทำกำไรหุ้นเกิน Fair Value/upside จำกัด (AOT, BJC, TOP, JAS, EA, TRUE) และให้สะสมหุ้น Laggards/ปันผลสูง (SIRI, TMT, TASCO, SCC, CPF, MAJOR) Top picks PTTEP (FV@B118) และเพิ่ม IRPC([email protected]) เพิ่มมูลค่าหุ้น 10.8% Market GIM ที่ดีขึ้นจากการขยายโครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ PPE, PPC ได้ตามแผน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนียังผันผวน ตามแรงกดดันหุ้นรายตัวที่เต็มมูลค่า และขายรับงบกลุ่ม Real Sector แต่คาดว่ายังได้แรงหนุนจากหุ้นน้ำมัน และโรงกลั่น/ปิโตรเคมี ที่ปรับมูลค่าเพิ่ม จากแผนขนาดกำลังการผลิต (IRPC, PTTGC) กลยุทธ์ยังแนะนำขายทำกำไรหุ้นเกิน Fair Value/upside จำกัด (AOT, BJC, TOP, JAS, EA, TRUE) และให้สะสมหุ้น Laggards/ปันผลสูง (SIRI, TMT, TASCO, SCC, CPF, MAJOR) Top picks PTTEP (FV@B118) และเพิ่ม IRPC([email protected]) เพิ่มมูลค่าหุ้น 10.8% Market GIM ที่ดีขึ้นจากการขยายโครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ PPE, PPC ได้ตามแผน
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET ทำ All time high แต่มูลค่าซื้อขายเบาบาง
วานนี้ SET Index ขึ้นทำจุดสูงสุดตลอดกาลใหม่ที่ 1841.21 จุด ก่อนจะทำระดับปิดสูงสุดใหม่ที่ 1838.96 เพิ่มขึ้น 7.18 จุด หรือ 0.39% มูลค่าการซื้อขาย 6.05 หมื่นล้านบาท โดยดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงท้ายตลาดมาจาก BAY ปรับเพิ่มขึ้นถึง 4.19% ดันดัชนีเพิ่มขึ้น 1.4662 จุด ขณะที่กลุ่มพลังงาน นำโดย PTT เพิ่มขึ้น 0.82%, PTTEP เพิ่มขึ้น 0.43% ตามด้วยหุ้นกลุ่มวัสดุก่อสร้าง SCC ฟื้นตัวช่วงบ่ายขึ้นมา 1.21% หลังประกาศงบ 4Q60 มีกำไรสุทธิ 12,567 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% qoq และ 1% yoy ต่ำกว่าฝ่ายวิจัยฯ คาดเล็กน้อย (13,076 ลบ.) เนื่องจากธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่ทำกำไรน่าผิดหวัง ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีและ Packaging กำไรยังเติบโตโดดเด่น หุ้นกลุ่ม ICT อย่าง TRUE เพิ่มขึ้น 3.85%, ADVANC เพิ่มขึ้น 0.76% และ THCOM 1.67%
และหุ้นรายตัวที่ปรับขึ้นแรงคือ SPCG เพิ่มแรงกว่า 13.74% ตอบรับกระแสข่าวเข้าร่วมลงทุนพัฒนาโซลาร์ฟาร์มในญี่ปุ่น กำลังการผลิต 480 MW ตามด้วย VNT เพิ่มขึ้น 11.32% และ TKN เพิ่มขึ้น 9.27% ทั้งนี้ สวนทางกับกลุ่ม ธ.พ. ลดลงทุกแห่งคือ SCB -0.95%, KBANK -0.44%, KTB และ TMB ลดลง -0.5% และ -0.66% ตามลำดับ
แนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสขึ้นได้ต่อ แต่น่าจะผันผวนในกรอบ 1829 – 1850 จุด
สต็อกน้ำมันยังลดกว่าคาด และปัจจัยแวดล้อมหนุนน้ำมันขึ้นต่อ
วานนี้สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุด ลดลงมากกว่าคาด โดยปรับลดลงราว 1.1 ล้านบาร์เรล (ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 10) เทียบกับ ตลาดฯคาดว่าจะลดลง 1 ล้านบาร์เรล เป็นผลจากภาวะอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติ
ประกอบกับความกังวลต่อปัญหา Oversupply จะลดน้อยลงใน 2H61 จากความคาดหวังว่าอุปสงค์น้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัว สะท้อนจาก IMF ปรับเพิ่ม GDP Growth โลกขึ้นปีละ 0.2% ขยายตัว 3.9%yoyในปี 2561- 2562 และล่าสุด เกาหลีใต้ ธนาคารกลาง(BOK)ปรับเพิ่ม GDP Growth เกาหลีใต้ เพิ่มปีละ 0.1% อยู่ที่ 3% และด้านแหล่งผลิตน้ำมันยังมีปัญหาอยู่ทั้ง โดยเฉพาะความไม่สงบในไนจีเรียยังมีอยู่ (กลุ่มติดอาวุธในไรจีเรียประกาศพร้อมจะโจมตีการขุดเจาะน้ำมันดิบครั้งใหม่นอกชายฝั่งทะเลประเทศในจีเรีย) และการร่วมมือในการลดกำลังการผลิตในฝั่ง OPEC และNon OPEC มีโอกาสขยายระยะเวลาต่อไปจนถึงปี 2562
และเมื่อรวมผลของ Dollar Index ที่คงอ่อนค่า ล้วนเป็นปัจจัยหนุนให้ ราคาน้ำมันดิบดูไบมีโอกาสแตะ 70เหรียญฯต่อบาร์เรล ล่าสุดอยู่ที่ 67.54 เหรียญฯต่อบาร์เรล สูงกว่าสมมติฐานที่นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของ ASPS ประเมินไว้ที่ 60 เหรียญฯ ในปี 2561 (ให้ราคาน้ำมันดิบคงที่ 65 เหรียญฯ ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป) หากราคาน้ำมันดิบดูไบที่สูงกว่าสมมติฐานทุก 5 เหรียญฯ คือ 65 เหรียญฯ และ 70 เหรียญฯ คาดว่าจะช่วยเพิ่ม Fair Value ปี 2561 ให้ PTTEP(FV@ B118) ขึ้นเป็น 126.81 บาท และ 135.45 บาท ตามลำดับ และหุ้นถ่านหินคือ BANPU(FV@B26) ได้ประโยชน์จากราคาถ่านหินที่ยังคงยืนเหนือ 100 เหรียญฯ มาที่ 106 เหรียญฯ แม้จะปรับตัวขึ้นมาบ้างแล้ว แต่ยังมี Upside เหลือกว่า 22%
Dollar อ่อนค่าสวนทางยุโรป ซึ่งส่งสัญญาณจะขึ้นดอกเบี้ยตาม FED
เงินดอลลาร์สหรัฐยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง สะท้อนจาก Dollar index วานนี้อ่อนค่าราว 0.84% และอ่อนค่า มาอยู่ที่ 89.02 จุด ต่ำสุดในรอบ 3 ปีหรือ อ่อนค่าราว 3.17% นับตั้งแต่ต้นปี ทั้งนี้คาดว่าน่าจะเป็นผลจากตลาดได้ตอบรับการดอกเบี้ยของสหรัฐ Fed แล้ว ขณะที่ค่าเงินปอนด์และยูโรที่แข็งค่าขึ้นราว 1.5% และ 0.7% จากวันก่อนหน้า และแข็งค่าราว 5.22% นับตั้งแต่ต้นปี และ 3.2% นับตั้งแต่ต้นปี น่าจะเป็นผลจากที่ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจทั้ง 2 ประเทศ ฟื้นตัวแข็งแกร่ง และ การใช้นโยบายการเงินตึงตัวเร็วขึ้น โดยเฉพาะอังกฤษ หลังจากขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้งเมื่อปลายปีที่แล้ว ราว 0.25% อยู่ที่ 0.5% เพราะเงินเฟ้อสูง 3.1% และล่าสุดพบว่าอัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. ยังทรงตัวที่ 4.3% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 42 ปี (ตั้งแต่ ก.ค. 2518) เช่นเดียวกับยุโรป การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) วันนี้ตลาดคาดว่าจะกลับมาใช้นโยบายการเงินตึงตัวเร็วขึ้น แม้ปัจจุบันคงดอกเบี้ย 0% (มี.ค.2559) และวงเงิน QE ที่ เดือนละ 3 หมื่นล้านยูโร จนถึง ก.ย.2561
โดยภาพรวมเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีแนวโน้มอ่อนค่า เป็นปัจจัยหนุนการเก็งกำไรสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ทองคำ, น้ำมัน เป็นต้น
ต่างชาติยังคงสลับซื้อ/ขายหุ้นแต่ละแห่งในภูมิภาค
ภาพรวมในสัปดาห์นี้ แรงซื้อหุ้นในภูมิภาคจากต่างชาติเริ่มเบาลง และเป็นลักษณะสลับซื้อสลับขายเป็นรายประเทศ เช่นเดียวกับวานนี้ที่ต่างชาติยังซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเพียง 55 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และหากพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่า ต่างชาติสลับมาขายสุทธิถึง 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 79 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วย อินโดนีเซีย 24 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และฟิลิปปินส์ 1 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่องกว่า 8 วัน) ส่วนตลาดหุ้นอีก 2 ประเทศต่างชาติซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิ 152 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8) และไทยที่ต่างชาติซื้อสุทธิเล็กน้อย 7 ล้านเหรียญ หรือ 232 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 1.77 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
ส่วนทางกับทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.06 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิ 3.52 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3)
SET มี upside จำกัดจากหุ้นรายตัว และลดน้ำหนักหุ้น ธ.พ.
หลังจากที่กลุ่ม ธ.พ. รายงานกำไรสุทธิงวด 4Q60 ต่ำกว่าคาดถึง 14% ส่งผลให้กำไรสุทธิปี 2560 ของ ธ.พ. 10 แห่งที่ฝ่ายวิจัยศึกษา อยู่ที่ 1.86 แสนล้านบาท ลดลง 8%yoy ปัจจัยกดดันหลักมาจากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับมาตรฐานบัญชีใหม่ และค่าใช้จ่ายลงทุนในระบบ IT ทำให้ฝ่ายวิจัยมีการปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2561-62 ของกลุ่ม ธ.พ. ลง 4.6% และ 3.3% จากเดิม เพื่อสะท้อนการปรับเพิ่มสมมติฐานค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ และ credit cost (รองรับ IFRS 9) และค่าใช้จ่ายดำเนินงาน (รองรับการลงทุนในระบบ IT) ที่ประเมินไว้ต่ำไป ภายหลังลดประมาณการ คาดกำไรสุทธิปี 2561 เติบโตลดลงจากเดิม 14.2%yoy ลงมาอยู่ที่ 12.5%yoy แต่ปี 2562 เพิ่มขึ้นจาก 10.5%yoy เป็น 12.0% yoy (จากฐานที่ลดลงในปี 61) ขณะที่หุ้นส่วนใหญ่ในกลุ่มมี upside จำกัดเมื่อเทียบกับมูลค่าหุ้นปี 2561 จึง ลดน้ำหนักการลงทุนเป็น เท่ากับตลาด (จากเดิม มากกว่าตลาด)
และหากพิจารณาเฉพาะหุ้นที่ฝ่ายวิจัยทำการศึกษาและยัง Active จำนวน 164 บริษัท พบว่า จำนวนหุ้นที่มี upside จำกัดเพิ่มขึ้น กล่าวคือ
หุ้นที่ราคาปัจจุบันเกิน Fair Value ไปแล้วมีจำนวน 29 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 15.5%
หุ้นที่มี Upside อยู่ระหว่าง 0-10% มีจำนวน 42 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 43.9%
หุ้นที่มี Upside อยู่ระหว่าง 10-20% มีจำนวน 53 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 29.4%
หุ้นที่มี Upside มากกว่า 20% มีจำนวน 40 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 11.1%
จะเห็นได้ว่าหุ้นส่วนใหญ่จะมี Upside อยู่ระหว่าง 0-10% และ 10-20% ขณะที่หุ้นที่มี Upside มากกว่า 20% ก็มีจำนวนมากเช่นกัน แต่หากพิจารณาในแง่ Market Cap.แล้ว พบว่า Upside มากกว่า 20% กลับมีน้ำหนักเพียง 11.1% เท่านั้น ซึ่งหมายความว่าหุ้นที่มี Upside สูงเหล่านี้แม้ราคาจะยังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ แต่ก็น่าจะหนุน SET Index ได้ไม่มากนัก ด้วยเหตุนี้ทำให้ SET Index ปรับขึ้นได้ยากมากขึ้น
ทั้งนี้ ยกเว้นกลุ่มน้ำมันที่ยังได้อานิสงส์จากราคาน้ำมันโลกที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 3 ปี ล่าสุด ราคาน้ำมันดิบดูไบล่าสุดยังยืนเหนือ 67.63 เหรียญฯต่อบาร์เรล สูงกว่าสมมติฐานที่นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของ ASPS ประเมินไว้ที่ 60 เหรียญฯ ในปี 2561 ทำให้มีโอกาสปรับเพิ่มมูลค่าหุ้น PTTEP และ PTT ดังกล่าวข้างต้น รวมถึงหุ้นในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี ที่การประกาศแผนการขยายกำลังการผลิตชัดเจน คือ PTTGC ซึ่งเดินหน้าก่อสร้างโรงงานผลิต Olefins แห่งใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรมฃที่มาบตาพุตราว 25% ของกำลังการผลิตเดิม ทำให้เพิ่ม Fair Value อีก 10 เป็น 108 บาท มี upside 10% ตามมาด้วยหุ้น IRPC นักวิเคราะห์ ASPS ปรับเพิ่มการใช้กำลังการผลิตจากเดิม 5% เพิ่มขึ้นเป็น 2.1 แสนบาร์เรลต่อวัน เพื่อสะท้อนการผลิตที่ดีกว่าคาด รวมถึงปรับเพิ่ม Market GIM จากเดิม 1 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล เป็น 15.5 เหรียญฯ สะท้อนโครงการมูลค่าเพิ่ม PPE, PPC ทำได้ตามแผน เทำให้เพิ่ม มูลค่าหุ้นเพิ่มจากเดิม 7.4 บาท เป็น 8.4 บาท มี upside 13.5% (อ่านรายละเอียดใน Equity Talk วันนี้)
กลยุทธ์การลงทุนยังให้ขายทำกำไร หรือหลีกเลี่ยงหุ้นที่ราคาเกิน Fair Value ไปแล้ว เช่น AOT, KCE, SAPPE, JAS, TVO, PCSGH, IHL, TRUE, LANNA, ICHI, TU, GPSC, EA, GCAP และควรพักเงินในหุ้นปันผล ตามกลยุทธ์ Dividend Play หุ้นเด่นคือ SIRI, TASCO, TMT, MCS และเพิ่ม IRPC หลังจากมี upside เพิ่มข้างต้น วันนี้จึงเลือก IRPC([email protected]) เป็น Top pick
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO4858
วานนี้ SET Index ขึ้นทำจุดสูงสุดตลอดกาลใหม่ที่ 1841.21 จุด ก่อนจะทำระดับปิดสูงสุดใหม่ที่ 1838.96 เพิ่มขึ้น 7.18 จุด หรือ 0.39% มูลค่าการซื้อขาย 6.05 หมื่นล้านบาท โดยดัชนีที่ปรับเพิ่มขึ้นในช่วงท้ายตลาดมาจาก BAY ปรับเพิ่มขึ้นถึง 4.19% ดันดัชนีเพิ่มขึ้น 1.4662 จุด ขณะที่กลุ่มพลังงาน นำโดย PTT เพิ่มขึ้น 0.82%, PTTEP เพิ่มขึ้น 0.43% ตามด้วยหุ้นกลุ่มวัสดุก่อสร้าง SCC ฟื้นตัวช่วงบ่ายขึ้นมา 1.21% หลังประกาศงบ 4Q60 มีกำไรสุทธิ 12,567 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% qoq และ 1% yoy ต่ำกว่าฝ่ายวิจัยฯ คาดเล็กน้อย (13,076 ลบ.) เนื่องจากธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้างที่ทำกำไรน่าผิดหวัง ขณะที่ธุรกิจปิโตรเคมีและ Packaging กำไรยังเติบโตโดดเด่น หุ้นกลุ่ม ICT อย่าง TRUE เพิ่มขึ้น 3.85%, ADVANC เพิ่มขึ้น 0.76% และ THCOM 1.67%
และหุ้นรายตัวที่ปรับขึ้นแรงคือ SPCG เพิ่มแรงกว่า 13.74% ตอบรับกระแสข่าวเข้าร่วมลงทุนพัฒนาโซลาร์ฟาร์มในญี่ปุ่น กำลังการผลิต 480 MW ตามด้วย VNT เพิ่มขึ้น 11.32% และ TKN เพิ่มขึ้น 9.27% ทั้งนี้ สวนทางกับกลุ่ม ธ.พ. ลดลงทุกแห่งคือ SCB -0.95%, KBANK -0.44%, KTB และ TMB ลดลง -0.5% และ -0.66% ตามลำดับ
แนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสขึ้นได้ต่อ แต่น่าจะผันผวนในกรอบ 1829 – 1850 จุด
สต็อกน้ำมันยังลดกว่าคาด และปัจจัยแวดล้อมหนุนน้ำมันขึ้นต่อ
วานนี้สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุด ลดลงมากกว่าคาด โดยปรับลดลงราว 1.1 ล้านบาร์เรล (ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 10) เทียบกับ ตลาดฯคาดว่าจะลดลง 1 ล้านบาร์เรล เป็นผลจากภาวะอากาศที่หนาวเย็นผิดปกติ
ประกอบกับความกังวลต่อปัญหา Oversupply จะลดน้อยลงใน 2H61 จากความคาดหวังว่าอุปสงค์น้ำมันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัว สะท้อนจาก IMF ปรับเพิ่ม GDP Growth โลกขึ้นปีละ 0.2% ขยายตัว 3.9%yoyในปี 2561- 2562 และล่าสุด เกาหลีใต้ ธนาคารกลาง(BOK)ปรับเพิ่ม GDP Growth เกาหลีใต้ เพิ่มปีละ 0.1% อยู่ที่ 3% และด้านแหล่งผลิตน้ำมันยังมีปัญหาอยู่ทั้ง โดยเฉพาะความไม่สงบในไนจีเรียยังมีอยู่ (กลุ่มติดอาวุธในไรจีเรียประกาศพร้อมจะโจมตีการขุดเจาะน้ำมันดิบครั้งใหม่นอกชายฝั่งทะเลประเทศในจีเรีย) และการร่วมมือในการลดกำลังการผลิตในฝั่ง OPEC และNon OPEC มีโอกาสขยายระยะเวลาต่อไปจนถึงปี 2562
และเมื่อรวมผลของ Dollar Index ที่คงอ่อนค่า ล้วนเป็นปัจจัยหนุนให้ ราคาน้ำมันดิบดูไบมีโอกาสแตะ 70เหรียญฯต่อบาร์เรล ล่าสุดอยู่ที่ 67.54 เหรียญฯต่อบาร์เรล สูงกว่าสมมติฐานที่นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของ ASPS ประเมินไว้ที่ 60 เหรียญฯ ในปี 2561 (ให้ราคาน้ำมันดิบคงที่ 65 เหรียญฯ ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป) หากราคาน้ำมันดิบดูไบที่สูงกว่าสมมติฐานทุก 5 เหรียญฯ คือ 65 เหรียญฯ และ 70 เหรียญฯ คาดว่าจะช่วยเพิ่ม Fair Value ปี 2561 ให้ PTTEP(FV@ B118) ขึ้นเป็น 126.81 บาท และ 135.45 บาท ตามลำดับ และหุ้นถ่านหินคือ BANPU(FV@B26) ได้ประโยชน์จากราคาถ่านหินที่ยังคงยืนเหนือ 100 เหรียญฯ มาที่ 106 เหรียญฯ แม้จะปรับตัวขึ้นมาบ้างแล้ว แต่ยังมี Upside เหลือกว่า 22%
Dollar อ่อนค่าสวนทางยุโรป ซึ่งส่งสัญญาณจะขึ้นดอกเบี้ยตาม FED
เงินดอลลาร์สหรัฐยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง สะท้อนจาก Dollar index วานนี้อ่อนค่าราว 0.84% และอ่อนค่า มาอยู่ที่ 89.02 จุด ต่ำสุดในรอบ 3 ปีหรือ อ่อนค่าราว 3.17% นับตั้งแต่ต้นปี ทั้งนี้คาดว่าน่าจะเป็นผลจากตลาดได้ตอบรับการดอกเบี้ยของสหรัฐ Fed แล้ว ขณะที่ค่าเงินปอนด์และยูโรที่แข็งค่าขึ้นราว 1.5% และ 0.7% จากวันก่อนหน้า และแข็งค่าราว 5.22% นับตั้งแต่ต้นปี และ 3.2% นับตั้งแต่ต้นปี น่าจะเป็นผลจากที่ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจทั้ง 2 ประเทศ ฟื้นตัวแข็งแกร่ง และ การใช้นโยบายการเงินตึงตัวเร็วขึ้น โดยเฉพาะอังกฤษ หลังจากขึ้นดอกเบี้ย 1 ครั้งเมื่อปลายปีที่แล้ว ราว 0.25% อยู่ที่ 0.5% เพราะเงินเฟ้อสูง 3.1% และล่าสุดพบว่าอัตราการว่างงาน เดือน พ.ย. ยังทรงตัวที่ 4.3% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบ 42 ปี (ตั้งแต่ ก.ค. 2518) เช่นเดียวกับยุโรป การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) วันนี้ตลาดคาดว่าจะกลับมาใช้นโยบายการเงินตึงตัวเร็วขึ้น แม้ปัจจุบันคงดอกเบี้ย 0% (มี.ค.2559) และวงเงิน QE ที่ เดือนละ 3 หมื่นล้านยูโร จนถึง ก.ย.2561
โดยภาพรวมเงินดอลลาร์สหรัฐที่มีแนวโน้มอ่อนค่า เป็นปัจจัยหนุนการเก็งกำไรสินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ทองคำ, น้ำมัน เป็นต้น
ต่างชาติยังคงสลับซื้อ/ขายหุ้นแต่ละแห่งในภูมิภาค
ภาพรวมในสัปดาห์นี้ แรงซื้อหุ้นในภูมิภาคจากต่างชาติเริ่มเบาลง และเป็นลักษณะสลับซื้อสลับขายเป็นรายประเทศ เช่นเดียวกับวานนี้ที่ต่างชาติยังซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเพียง 55 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และหากพิจารณาเป็นรายประเทศพบว่า ต่างชาติสลับมาขายสุทธิถึง 3 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 79 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วย อินโดนีเซีย 24 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และฟิลิปปินส์ 1 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่องกว่า 8 วัน) ส่วนตลาดหุ้นอีก 2 ประเทศต่างชาติซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิ 152 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8) และไทยที่ต่างชาติซื้อสุทธิเล็กน้อย 7 ล้านเหรียญ หรือ 232 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 1.77 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
ส่วนทางกับทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.06 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิ 3.52 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3)
SET มี upside จำกัดจากหุ้นรายตัว และลดน้ำหนักหุ้น ธ.พ.
หลังจากที่กลุ่ม ธ.พ. รายงานกำไรสุทธิงวด 4Q60 ต่ำกว่าคาดถึง 14% ส่งผลให้กำไรสุทธิปี 2560 ของ ธ.พ. 10 แห่งที่ฝ่ายวิจัยศึกษา อยู่ที่ 1.86 แสนล้านบาท ลดลง 8%yoy ปัจจัยกดดันหลักมาจากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับมาตรฐานบัญชีใหม่ และค่าใช้จ่ายลงทุนในระบบ IT ทำให้ฝ่ายวิจัยมีการปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2561-62 ของกลุ่ม ธ.พ. ลง 4.6% และ 3.3% จากเดิม เพื่อสะท้อนการปรับเพิ่มสมมติฐานค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ และ credit cost (รองรับ IFRS 9) และค่าใช้จ่ายดำเนินงาน (รองรับการลงทุนในระบบ IT) ที่ประเมินไว้ต่ำไป ภายหลังลดประมาณการ คาดกำไรสุทธิปี 2561 เติบโตลดลงจากเดิม 14.2%yoy ลงมาอยู่ที่ 12.5%yoy แต่ปี 2562 เพิ่มขึ้นจาก 10.5%yoy เป็น 12.0% yoy (จากฐานที่ลดลงในปี 61) ขณะที่หุ้นส่วนใหญ่ในกลุ่มมี upside จำกัดเมื่อเทียบกับมูลค่าหุ้นปี 2561 จึง ลดน้ำหนักการลงทุนเป็น เท่ากับตลาด (จากเดิม มากกว่าตลาด)
และหากพิจารณาเฉพาะหุ้นที่ฝ่ายวิจัยทำการศึกษาและยัง Active จำนวน 164 บริษัท พบว่า จำนวนหุ้นที่มี upside จำกัดเพิ่มขึ้น กล่าวคือ
หุ้นที่ราคาปัจจุบันเกิน Fair Value ไปแล้วมีจำนวน 29 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 15.5%
หุ้นที่มี Upside อยู่ระหว่าง 0-10% มีจำนวน 42 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 43.9%
หุ้นที่มี Upside อยู่ระหว่าง 10-20% มีจำนวน 53 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 29.4%
หุ้นที่มี Upside มากกว่า 20% มีจำนวน 40 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 11.1%
จะเห็นได้ว่าหุ้นส่วนใหญ่จะมี Upside อยู่ระหว่าง 0-10% และ 10-20% ขณะที่หุ้นที่มี Upside มากกว่า 20% ก็มีจำนวนมากเช่นกัน แต่หากพิจารณาในแง่ Market Cap.แล้ว พบว่า Upside มากกว่า 20% กลับมีน้ำหนักเพียง 11.1% เท่านั้น ซึ่งหมายความว่าหุ้นที่มี Upside สูงเหล่านี้แม้ราคาจะยังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ แต่ก็น่าจะหนุน SET Index ได้ไม่มากนัก ด้วยเหตุนี้ทำให้ SET Index ปรับขึ้นได้ยากมากขึ้น
ทั้งนี้ ยกเว้นกลุ่มน้ำมันที่ยังได้อานิสงส์จากราคาน้ำมันโลกที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 3 ปี ล่าสุด ราคาน้ำมันดิบดูไบล่าสุดยังยืนเหนือ 67.63 เหรียญฯต่อบาร์เรล สูงกว่าสมมติฐานที่นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของ ASPS ประเมินไว้ที่ 60 เหรียญฯ ในปี 2561 ทำให้มีโอกาสปรับเพิ่มมูลค่าหุ้น PTTEP และ PTT ดังกล่าวข้างต้น รวมถึงหุ้นในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี ที่การประกาศแผนการขยายกำลังการผลิตชัดเจน คือ PTTGC ซึ่งเดินหน้าก่อสร้างโรงงานผลิต Olefins แห่งใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรมฃที่มาบตาพุตราว 25% ของกำลังการผลิตเดิม ทำให้เพิ่ม Fair Value อีก 10 เป็น 108 บาท มี upside 10% ตามมาด้วยหุ้น IRPC นักวิเคราะห์ ASPS ปรับเพิ่มการใช้กำลังการผลิตจากเดิม 5% เพิ่มขึ้นเป็น 2.1 แสนบาร์เรลต่อวัน เพื่อสะท้อนการผลิตที่ดีกว่าคาด รวมถึงปรับเพิ่ม Market GIM จากเดิม 1 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล เป็น 15.5 เหรียญฯ สะท้อนโครงการมูลค่าเพิ่ม PPE, PPC ทำได้ตามแผน เทำให้เพิ่ม มูลค่าหุ้นเพิ่มจากเดิม 7.4 บาท เป็น 8.4 บาท มี upside 13.5% (อ่านรายละเอียดใน Equity Talk วันนี้)
กลยุทธ์การลงทุนยังให้ขายทำกำไร หรือหลีกเลี่ยงหุ้นที่ราคาเกิน Fair Value ไปแล้ว เช่น AOT, KCE, SAPPE, JAS, TVO, PCSGH, IHL, TRUE, LANNA, ICHI, TU, GPSC, EA, GCAP และควรพักเงินในหุ้นปันผล ตามกลยุทธ์ Dividend Play หุ้นเด่นคือ SIRI, TASCO, TMT, MCS และเพิ่ม IRPC หลังจากมี upside เพิ่มข้างต้น วันนี้จึงเลือก IRPC([email protected]) เป็น Top pick
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO4858