- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 23 January 2018 19:19
- Hits: 16239
บล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
“เลือกซื้อ/ถือเมื่อ SET เหนือ 1815”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : SIRI (จาก Fully Valued เป็นถือ)
ปัจจัยภายใน & ต่างประเทศ : การซื้อขายคึกคักน้อยลงหลังจากมีความกังวลกับการปรับฐาน มูลค่าซื้อขายเหลือประมาณ 6 หมื่นลบ. ดัชนี +2.72 จุดปิดที่ 1824.06 โดยแบงค์เล็ก พลังงาน (PTT, PTTGC, PTTEP) ช่วยพยุงตลาด สถาบันในปท.กลับมาซื้อสุทธิ 1.2 พันลบ. ต่างชาติขายสุทธิ 458 ลบ. ปัจจัยติดตามสัปดาห์นี้ คือ ประชุม BOJ และ ECB และงบการเงินบจ.ที่จะทยอยออกมา
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น & เอเชีย ปรับขึ้นรับข่าววุฒิสภาสหรัฐมีมติผ่านร่างกม.งบประมาณชั่วคราว การชัตดาวน์หน่วยงานรัฐจึงยุติลง และรัฐบาลสหรัฐมีงบฯใช้ได้ถึง 8 ก.พ.61 และตลาดคาดหวังว่าสภาคองเกรสจะผ่านร่างกม.งบประมาณในไม่ช้านี้
ส่วนในประเทศ กลุ่มแบงค์รายงานกำไร 4Q60 และปี 60 จบแล้ว พบว่ากำไรปี 60 อ่อนลง YoY แต่มีแนวโน้มโตดีขึ้นในปี 61 จากฐานกำไรที่ต่ำในปีก่อน และการตั้งสำรองฯที่จะทรงตัว-ลดลง รายได้ดอกเบี้ยเติบโตดีขึ้นจากสินเชื่อที่ขยายตัว และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยสูงขึ้นทั้งจากรายได้ค่าธรรมเนียมสินเชื่อ ส่งออก และประกัน (โดยเฉพาะ TMB ที่จับมือกับ FWD และ BBL ที่จับมือกับ AIA) เรามีมุมมองที่เป็นบวกกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในปี 61 โดยให้ BBL เป็นหุ้น Top pick ในกลุ่ม Value play (ราคาหุ้นยังต่ำกว่า BVS ที่ 222 บาท), ให้ KKP เป็น Top pick กลุ่มปันผลสูง (คาด Yield 6-7% ต่อปี จ่ายปีละ 2 ครั้งโดยจ่าย 2H>1H) และให้ TMB เป็น Top pick กลุ่มเติบโต (คาดกำไรปี 61 โต 14% สูงกว่าเฉลี่ยของกลุ่มที่โต 8%)
กลยุทธ์ทางพื้นฐาน : แนะเลือกซื้อเป็นรายบริษัท โดยธีมเด่นหุ้นดีจาก DBS รอบนี้เลือก 1. Investment recovery play (หุ้นเด่น AMATA ราคาพื้นฐาน 30 บาท), 2. Dividend play (หุ้นเด่น KKP ราคาพื้นฐาน 88 บาท) และ 3. Growth play (หุ้นเด่น IVL ราคาพื้นฐาน 65 บาท)
กลยุทธ์ทางเทคนิค : ระยะสั้นมากตลาดกลับมาเป็นบวกเล็กๆ แต่ยังควรระวังการแกว่ง เลือกซื้อ/ถือต่อเมื่อ SET เหนือเส้น SMA10 แต่ถ้าต่ำกว่าก็ควรลดพอร์ตตามแนวต้าน SET ให้ไว้ที่ 1830-1835, 1840-1850 ถ้าหลุด 1815 ควร Stop loss สำหรับหุ้นที่มีโอกาสทำ New high ได้แก่ KKP, MBK, ADVANC, MONO, BLA, JMART, TU ส่วนหุ้นที่หาจังหวะ Take profit เป็น SUSCO, GLOBAL, PTTEP, HUMAN, GULF หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ WHA, STPI, MEGA, BCH, PYLON, AMATA, IVL, RCL หุ้นหลุด List คือ SEAFCO, RS, TMB
ปัจจัยต่างประเทศ
+ สหรัฐ : การชัตดาวน์ยุติหลังวุฒิสภาเห็นชอบร่างกม.งบประมาณชั่วคราว
# วุฒิสภาสหรัฐให้ความเห็นชอบในการลงมติรอบแรกด้านกระบวนการปฏิบัติ (procedural vote) ต่อร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราวด้วยคะแนนเสียง 81 : 18 เมื่อวานนี้ ซึ่งจะช่วยให้รัฐบาลสหรัฐมีงบประมาณในการบริหารประเทศจนถึงวันที่ 8 ก.พ.61 และคาดหวังว่าสภาคองเกรสจะลงมติผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวในขั้นตอนสุดท้าย
• ปัจจัยจับตาในช่วงที่เหลือของเดือนม.ค.61
# ญี่ปุ่น : BOJ จะประชุม 23 ม.ค.นี้ จับตาถ้อยแถลง ซึ่งทาง DBS คาดว่าจะยังไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินผ่อนคลาย เพราะเงินเฟ้อยังต่ำและการบริโภคฟื้นตัวช้า
# ยูโรโซน : ECB ประชุม 25 ม.ค.61 คาดจะยังเดินหน้าโครงการ QE ต่อ (ปัจจุบันอยู่ที่ 3 หมื่นล้านยูโร/เดือน สิ้นสุดก.ย.61) แนวโน้มเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่งต่อ
# สหรัฐ : FOMC ประชุม 30-31 ม.ค.61 คาดว่าจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 1.5% ในการประชุมครั้งนี้ เพราะเงินเฟ้อยังไม่ได้สูงมาก และคงส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปต่อ (ตลาดคาดว่าปี 61 เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้ง โดยปรับขึ้นครั้งแรกเดือนมี.ค.61 แต่ประธานเฟด ซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นสมาชิกที่มีสิทธิโหวต - Hawkish มองว่าสหรัฐอาจปรับขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ก็ได้ถ้าเศรษฐกิจขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้)
# สหรัฐ : วันที่ 26 ม.ค.จะมีรายงานจีดีพีงวด 4Q60 เบื้องต้น ซึ่งตลาดคาดว่าจะเติบโตอ่อนลงเป็น 2.9%YoY จาก 3.2% ใน 3Q60 อย่างไรก็ตาม มีโอกาสที่จีดีพีงวด 4Q60 จะดีกว่าคาดถ้าการใช้จ่ายผู้บริโภคเติบโตมากกว่าที่คาดไว้
+ ภาวะตลาดหุ้น : ตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปปรับขึ้นต่อ ส่วนตลาดหุ้นลอนดอนอ่อนตัวลง
# ดัชนี DJIA ปิด 26,214.60 จุด +142.88 จุด หรือ +0.55% ดัชนี S&P500 ปิด 2,832.97 จุด +22.67 จุด หรือ +0.81% และดัชนี Nasdaq ปิด 7,408.03 จุด +71.65 จุด หรือ +0.98% หนุนโดยการผ่านร่างฯงบประมาณชั่วคราวของสหรัฐ ทำให้มีงบฯใช้ถึง 8 ก.พ.นี้
# ตลาดหุ้นยุโรปบวก 0.2-0.3% รับข่าว Fitch ratings ปรับเพิ่มอันดับเครดิตสเปน โดยมองว่าแคว้นกาตาลุญญาที่แยกตัวเป็นอิสระส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมไม่มาก
# ตลาดหุ้นลอนดอนลดลง 0.2% เพราะกังวลผลกระทบค่าเงินปอนด์แข็งกระทบกำไร แต่หุ้นพลังงานที่ปรับขึ้นช่วยพยุงไม่ให้ลงแรง
+ ภาวะตลาดน้ำมัน : ยังอยู่ในระดับสูง
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 12 เซนต์ หรือ 0.2% ปิดที่ 63.49 ดอลลาร์/บาร์เรล ด้าน BRENT ส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 42 เซนต์ หรือ 0.6% ปิดที่ 69.03 ดอลลาร์/บาร์เรล ปัจจัยหนุน คือ ซาอุฯหนุนให้กลุ่มโอเปก และประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ เช่น รัสเซีย ขยายเวลาลดการผลิตน้ำมันไปถึงปี 62 (จากที่จะสิ้นสุดสิ้นปี 61)
# เบเกอร์ ฮิวจ์ เปิดเผยจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันสหรัฐลดลง 5 แท่น สู่ระดับ 747 แท่นในสัปดาห์ก่อน
• ภาวะตลาดทองคำ : ราคาอ่อนลงเล็กน้อย
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 1.2 ดอลลาร์ หรือ 0.09% ปิดที่ 1,331.90 ดอลลาร์/ออนซ์
ปัจจัยในประเทศ & หุ้นเด่น
+ ไทย : ส่งออกธ.ค.โต 8.6%YoY ทั้งปี 60 ขยายตัว 9.9%YoY
# กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนธ.ค.60 โดยส่งออกมีมูลค่า 19,741 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 8.6% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 20,019 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 16.6% ส่งผลให้ดุลการค้า ธ.ค. ขาดดุล 278 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
# ทั้งปี 60 การส่งออก มีมูลค่า 236,694 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 9.9% การนำเข้า มีมูลค่า 222,763 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 14.71% ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 13,930 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
# แนวโน้มปี 61 ยังไปได้ดี จากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่เติบโตดีขึ้น ปริมาณการค้าโลกขยายตัวมากขึ้น แต่ก็มีความท้าทายเรื่องเงินบาทแข็ง โดยรวมคาดว่าอัตราการเติบโตส่งออกปี 61 จะน้อยลงจากปี 60 เพราะฐานที่ใหญ่ขึ้น และปริมาณส่งออกข้าวปี 61 อาจจะไม่ได้มากเท่ากับปีก่อนด้วย
- กลุ่มส่งออก : บาทแข็งกระทบรายได้ & มาร์จิ้นรูปเงินบาท
# เงิน US$ ยังอ่อนค่า ล่าสุดดัชนีค่าเงิน US$ อยู่ที่ 90.39 และค่าเงินบาทแข็งที่ 31.82 บาท/US$ (ระดับปิดสิ้นปี 60 เท่ากับ 32.54 บาท/US$ และช่วงเดียวกันของปีก่อนเท่ากับ 35.24 บาท/US$ หรือแข็งค่า 2.2%YTD และแข็งค่า 9.7%YoY
# การแข็งค่าของเงินบาททำให้รายได้และอัตรากำไรของผู้ส่งออกที่แปลงกลับเป็นค่าเงินบาทน้อยลง ถึงแม้ว่ายอดขายรูป US$ จะเติบโต 10% แต่เมื่อเจอกับเงินบาทแข็งขึ้น 9.7% ก็ทำให้รายได้รูปเงินบาทเป็นแค่ทรงตัว
# ความสามารถในการแข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกในเอเชียไม่ได้เปลี่ยนแปลงนัก เพราะค่าเงินประเทศเอเชียต่างก็แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับ US$
# ประเทศคู่ค้าอาจต่อรองราคาสินค้ามากขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐ เพราะค่าเงิน US$ ที่อ่อน แต่ก็ไม่ได้เป็นประเด็นที่รุนแรงมาก เนื่องจากเศรษฐกิจและกำลังซื้อเติบโตดี
# ให้น้ำหนักลงทุนในกลุ่มส่งออกเป็น Neutral หุ้นเด่นเป็น HANA (ราคาพื้นฐาน 55 บาท) ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าธุรกิจเซมิคอนดัคเตอร์ในสหรัฐยังคงเติบโตได้ดีถึงปี 62 ซึ่งเป็นบวกกับธุรกิจของ HANA ด้วย บริษัทมีฐานะการเงินดี เป็นเงินสดสุทธิ และจ่ายปันผลสูง ให้ Dividend yield ประมาณ 4-5% ต่อปี
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค – [email protected]
OO4776
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : SIRI (จาก Fully Valued เป็นถือ)
ปัจจัยภายใน & ต่างประเทศ : การซื้อขายคึกคักน้อยลงหลังจากมีความกังวลกับการปรับฐาน มูลค่าซื้อขายเหลือประมาณ 6 หมื่นลบ. ดัชนี +2.72 จุดปิดที่ 1824.06 โดยแบงค์เล็ก พลังงาน (PTT, PTTGC, PTTEP) ช่วยพยุงตลาด สถาบันในปท.กลับมาซื้อสุทธิ 1.2 พันลบ. ต่างชาติขายสุทธิ 458 ลบ. ปัจจัยติดตามสัปดาห์นี้ คือ ประชุม BOJ และ ECB และงบการเงินบจ.ที่จะทยอยออกมา
ตลาดหุ้นญี่ปุ่น & เอเชีย ปรับขึ้นรับข่าววุฒิสภาสหรัฐมีมติผ่านร่างกม.งบประมาณชั่วคราว การชัตดาวน์หน่วยงานรัฐจึงยุติลง และรัฐบาลสหรัฐมีงบฯใช้ได้ถึง 8 ก.พ.61 และตลาดคาดหวังว่าสภาคองเกรสจะผ่านร่างกม.งบประมาณในไม่ช้านี้
ส่วนในประเทศ กลุ่มแบงค์รายงานกำไร 4Q60 และปี 60 จบแล้ว พบว่ากำไรปี 60 อ่อนลง YoY แต่มีแนวโน้มโตดีขึ้นในปี 61 จากฐานกำไรที่ต่ำในปีก่อน และการตั้งสำรองฯที่จะทรงตัว-ลดลง รายได้ดอกเบี้ยเติบโตดีขึ้นจากสินเชื่อที่ขยายตัว และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยสูงขึ้นทั้งจากรายได้ค่าธรรมเนียมสินเชื่อ ส่งออก และประกัน (โดยเฉพาะ TMB ที่จับมือกับ FWD และ BBL ที่จับมือกับ AIA) เรามีมุมมองที่เป็นบวกกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในปี 61 โดยให้ BBL เป็นหุ้น Top pick ในกลุ่ม Value play (ราคาหุ้นยังต่ำกว่า BVS ที่ 222 บาท), ให้ KKP เป็น Top pick กลุ่มปันผลสูง (คาด Yield 6-7% ต่อปี จ่ายปีละ 2 ครั้งโดยจ่าย 2H>1H) และให้ TMB เป็น Top pick กลุ่มเติบโต (คาดกำไรปี 61 โต 14% สูงกว่าเฉลี่ยของกลุ่มที่โต 8%)
กลยุทธ์ทางพื้นฐาน : แนะเลือกซื้อเป็นรายบริษัท โดยธีมเด่นหุ้นดีจาก DBS รอบนี้เลือก 1. Investment recovery play (หุ้นเด่น AMATA ราคาพื้นฐาน 30 บาท), 2. Dividend play (หุ้นเด่น KKP ราคาพื้นฐาน 88 บาท) และ 3. Growth play (หุ้นเด่น IVL ราคาพื้นฐาน 65 บาท)
กลยุทธ์ทางเทคนิค : ระยะสั้นมากตลาดกลับมาเป็นบวกเล็กๆ แต่ยังควรระวังการแกว่ง เลือกซื้อ/ถือต่อเมื่อ SET เหนือเส้น SMA10 แต่ถ้าต่ำกว่าก็ควรลดพอร์ตตามแนวต้าน SET ให้ไว้ที่ 1830-1835, 1840-1850 ถ้าหลุด 1815 ควร Stop loss สำหรับหุ้นที่มีโอกาสทำ New high ได้แก่ KKP, MBK, ADVANC, MONO, BLA, JMART, TU ส่วนหุ้นที่หาจังหวะ Take profit เป็น SUSCO, GLOBAL, PTTEP, HUMAN, GULF หุ้นที่ยังอยู่ใน List คือ WHA, STPI, MEGA, BCH, PYLON, AMATA, IVL, RCL หุ้นหลุด List คือ SEAFCO, RS, TMB
ปัจจัยต่างประเทศ
+ สหรัฐ : การชัตดาวน์ยุติหลังวุฒิสภาเห็นชอบร่างกม.งบประมาณชั่วคราว
# วุฒิสภาสหรัฐให้ความเห็นชอบในการลงมติรอบแรกด้านกระบวนการปฏิบัติ (procedural vote) ต่อร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราวด้วยคะแนนเสียง 81 : 18 เมื่อวานนี้ ซึ่งจะช่วยให้รัฐบาลสหรัฐมีงบประมาณในการบริหารประเทศจนถึงวันที่ 8 ก.พ.61 และคาดหวังว่าสภาคองเกรสจะลงมติผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวในขั้นตอนสุดท้าย
• ปัจจัยจับตาในช่วงที่เหลือของเดือนม.ค.61
# ญี่ปุ่น : BOJ จะประชุม 23 ม.ค.นี้ จับตาถ้อยแถลง ซึ่งทาง DBS คาดว่าจะยังไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินผ่อนคลาย เพราะเงินเฟ้อยังต่ำและการบริโภคฟื้นตัวช้า
# ยูโรโซน : ECB ประชุม 25 ม.ค.61 คาดจะยังเดินหน้าโครงการ QE ต่อ (ปัจจุบันอยู่ที่ 3 หมื่นล้านยูโร/เดือน สิ้นสุดก.ย.61) แนวโน้มเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่งต่อ
# สหรัฐ : FOMC ประชุม 30-31 ม.ค.61 คาดว่าจะคงดอกเบี้ยไว้ที่ 1.5% ในการประชุมครั้งนี้ เพราะเงินเฟ้อยังไม่ได้สูงมาก และคงส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปต่อ (ตลาดคาดว่าปี 61 เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้ง โดยปรับขึ้นครั้งแรกเดือนมี.ค.61 แต่ประธานเฟด ซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นสมาชิกที่มีสิทธิโหวต - Hawkish มองว่าสหรัฐอาจปรับขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ก็ได้ถ้าเศรษฐกิจขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้)
# สหรัฐ : วันที่ 26 ม.ค.จะมีรายงานจีดีพีงวด 4Q60 เบื้องต้น ซึ่งตลาดคาดว่าจะเติบโตอ่อนลงเป็น 2.9%YoY จาก 3.2% ใน 3Q60 อย่างไรก็ตาม มีโอกาสที่จีดีพีงวด 4Q60 จะดีกว่าคาดถ้าการใช้จ่ายผู้บริโภคเติบโตมากกว่าที่คาดไว้
+ ภาวะตลาดหุ้น : ตลาดหุ้นสหรัฐและยุโรปปรับขึ้นต่อ ส่วนตลาดหุ้นลอนดอนอ่อนตัวลง
# ดัชนี DJIA ปิด 26,214.60 จุด +142.88 จุด หรือ +0.55% ดัชนี S&P500 ปิด 2,832.97 จุด +22.67 จุด หรือ +0.81% และดัชนี Nasdaq ปิด 7,408.03 จุด +71.65 จุด หรือ +0.98% หนุนโดยการผ่านร่างฯงบประมาณชั่วคราวของสหรัฐ ทำให้มีงบฯใช้ถึง 8 ก.พ.นี้
# ตลาดหุ้นยุโรปบวก 0.2-0.3% รับข่าว Fitch ratings ปรับเพิ่มอันดับเครดิตสเปน โดยมองว่าแคว้นกาตาลุญญาที่แยกตัวเป็นอิสระส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมไม่มาก
# ตลาดหุ้นลอนดอนลดลง 0.2% เพราะกังวลผลกระทบค่าเงินปอนด์แข็งกระทบกำไร แต่หุ้นพลังงานที่ปรับขึ้นช่วยพยุงไม่ให้ลงแรง
+ ภาวะตลาดน้ำมัน : ยังอยู่ในระดับสูง
# สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.พ. เพิ่มขึ้น 12 เซนต์ หรือ 0.2% ปิดที่ 63.49 ดอลลาร์/บาร์เรล ด้าน BRENT ส่งมอบเดือนมี.ค. เพิ่มขึ้น 42 เซนต์ หรือ 0.6% ปิดที่ 69.03 ดอลลาร์/บาร์เรล ปัจจัยหนุน คือ ซาอุฯหนุนให้กลุ่มโอเปก และประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ เช่น รัสเซีย ขยายเวลาลดการผลิตน้ำมันไปถึงปี 62 (จากที่จะสิ้นสุดสิ้นปี 61)
# เบเกอร์ ฮิวจ์ เปิดเผยจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันสหรัฐลดลง 5 แท่น สู่ระดับ 747 แท่นในสัปดาห์ก่อน
• ภาวะตลาดทองคำ : ราคาอ่อนลงเล็กน้อย
# สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ. ลดลง 1.2 ดอลลาร์ หรือ 0.09% ปิดที่ 1,331.90 ดอลลาร์/ออนซ์
ปัจจัยในประเทศ & หุ้นเด่น
+ ไทย : ส่งออกธ.ค.โต 8.6%YoY ทั้งปี 60 ขยายตัว 9.9%YoY
# กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนธ.ค.60 โดยส่งออกมีมูลค่า 19,741 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 8.6% ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 20,019 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 16.6% ส่งผลให้ดุลการค้า ธ.ค. ขาดดุล 278 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
# ทั้งปี 60 การส่งออก มีมูลค่า 236,694 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 9.9% การนำเข้า มีมูลค่า 222,763 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว 14.71% ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 13,930 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
# แนวโน้มปี 61 ยังไปได้ดี จากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่เติบโตดีขึ้น ปริมาณการค้าโลกขยายตัวมากขึ้น แต่ก็มีความท้าทายเรื่องเงินบาทแข็ง โดยรวมคาดว่าอัตราการเติบโตส่งออกปี 61 จะน้อยลงจากปี 60 เพราะฐานที่ใหญ่ขึ้น และปริมาณส่งออกข้าวปี 61 อาจจะไม่ได้มากเท่ากับปีก่อนด้วย
- กลุ่มส่งออก : บาทแข็งกระทบรายได้ & มาร์จิ้นรูปเงินบาท
# เงิน US$ ยังอ่อนค่า ล่าสุดดัชนีค่าเงิน US$ อยู่ที่ 90.39 และค่าเงินบาทแข็งที่ 31.82 บาท/US$ (ระดับปิดสิ้นปี 60 เท่ากับ 32.54 บาท/US$ และช่วงเดียวกันของปีก่อนเท่ากับ 35.24 บาท/US$ หรือแข็งค่า 2.2%YTD และแข็งค่า 9.7%YoY
# การแข็งค่าของเงินบาททำให้รายได้และอัตรากำไรของผู้ส่งออกที่แปลงกลับเป็นค่าเงินบาทน้อยลง ถึงแม้ว่ายอดขายรูป US$ จะเติบโต 10% แต่เมื่อเจอกับเงินบาทแข็งขึ้น 9.7% ก็ทำให้รายได้รูปเงินบาทเป็นแค่ทรงตัว
# ความสามารถในการแข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกในเอเชียไม่ได้เปลี่ยนแปลงนัก เพราะค่าเงินประเทศเอเชียต่างก็แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับ US$
# ประเทศคู่ค้าอาจต่อรองราคาสินค้ามากขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐ เพราะค่าเงิน US$ ที่อ่อน แต่ก็ไม่ได้เป็นประเด็นที่รุนแรงมาก เนื่องจากเศรษฐกิจและกำลังซื้อเติบโตดี
# ให้น้ำหนักลงทุนในกลุ่มส่งออกเป็น Neutral หุ้นเด่นเป็น HANA (ราคาพื้นฐาน 55 บาท) ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าธุรกิจเซมิคอนดัคเตอร์ในสหรัฐยังคงเติบโตได้ดีถึงปี 62 ซึ่งเป็นบวกกับธุรกิจของ HANA ด้วย บริษัทมีฐานะการเงินดี เป็นเงินสดสุทธิ และจ่ายปันผลสูง ให้ Dividend yield ประมาณ 4-5% ต่อปี
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค – [email protected]
OO4776