WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

KTBบล.เคทีบี (ประเทศไทย) : Technical Daily 

SET INDEX
  กลับขึ้นมายืน 1820 อีกครั้ง ทำให้มีโอกาสทดสอบ High 1837 และลุ้นการขยับ High
  กรอบการเคลื่อนไหว 1810-1833
  ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาดัชนีมีทิศทางผันผวนมาก ไต่ระดับตั้งแต่ต้นสัปดาห์อย่างต่อเนื่องขึ้นทำ New High ที่ 1837 จุด ก่อนที่จะทิ้งตัวลงหนักในวันศุกร์ลงมาทำ Low ที่ 1803 จุด ซึ่งลงมาปิด Gap (1804-1808) ได้สนิท ก่อนที่จะมีแรงซื้อดีดกลับได้แรงเช่นกันทำปิดที่จุดสูงสุดของวันที่ 1821 จุด จากภาพของการ Rebound ขึ้นมายืน 1820 จุด ทำให้สัญญาณในเชิงบวกกลับมาอีกครั้ง มีโอกาสขึ้นทดสอบใกล้ High (1837) อีกครั้ง
  แนวรับ 1810-1815
  แนวต้าน 1827-1833
Technical Analyst :  พรรณนภา  เขมะสุรัตน์ // เลขทะเบียน 060110 // Tel. : 02-648-1124 // phannapa.k@ktbst .co.th

บล.เคทีบี (ประเทศไทย) : Morning Bell
“วิ่งชนเป้า มีปรับฐานเล็กๆ”
ทิศทางตลาดหุ้นไทย (สำหรับสัปดาห์นี้):
  ดัชนีฯมีแนวโน้มผันผวนสูง คาดดัชนีฯ 1800-1840 จุด  ช่วงที่ผ่านมา ปัจจัยถ่วงตลาดมีเข้ามาน้อย ทำให้ตลาดเดินหน้าจนขึ้นไปทำ high ถึง 1837 จุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ด้วยตัวแปร ที่ทำให้มีการชะลอการลงทุน ตั้งแต่กำหนดการเลือกตั้งของไทย  การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เงินบาทแข็ง กอรปกับ upside ของราคาหุ้นหลักๆนั้นเหลือน้อยจึงมีแรงขายทำกำไรเข้ามาในตลาด และยังจะทำให้ตลาดมีความผันผวนต่อมาถึงสัปดาห์......  ตัวแปรอื่นๆ ที่มีผลต่อตลาดในสัปดาห์นี้ คือ ค่าดอลล่าร์ (ผันผวน จะเป็นลบ)  ตัวเลขส่งออก(22) และยอดขายรถของไทย(23)  และการประชุม ECB (25)
กลยุทธ์การลงทุน:
  แม้ตลาดจะมีการ rebound ขึ้นมา แต่เรายังแนะนำให้นักลงทุนลดพอร์ต หรือเลือกขายหุ้นบางส่วนที่เริ่มไปต่อเพื่อรอรอบหรือความชัดเจนของทิศทางตลาด ... การเข้าลงทุนในสัปดาห์นี้ คงต้องเน้น กลุ่มหรือหุ้น ที่มีความปลอดภัย มีปัจจัยบวก หรือราคาปรับลงมามาก และเลือกเป็นรายตัว กลุ่มที่เป็น top pick ของเราจะเป็นกลุ่มพลังงาน (PTTEP*, TOP*,LANNA*) กลุ่มโทรศัพท์ (DTAC*) กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ (TK, MBK*) ขณะที่กลุ่มธนาคารคงต้องเลือกตัวที่กำไรดี (TMB) และหุ้นที่ราคาลงมาลึก เก็งผลบวกจาก EV Car ที่ขยายตัว (DELTA*)
หุ้นแนะนำทางเทคนิค: COM7, HUMAN, RCL
  * เป็นหุ้นที่แนะนำเชิงกลยุทธ์ โดย KTBST ไม่ได้จัดทำบทวิเคราะห์
 หุ้นมีประเด็น
(0) IVL: (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 63 บาท)
  IVL แจ้งข่าวตลาดว่า บริษัท Canopus International (จดทะเบียนในมอริเชียส /เป็นของตระกูลโลเฮีย) ได้ออกหุ้นกู้แปลงสภาพแบบไม่จ่ายดอกเบี้ย (Zero Coupon Exchangeable Bonds) มูลค่ารวม 200 ล้าน USD โดยจำหน่ายแก่นักลงทุนสถาบันและ Hedge Fund ในต่างประเทศโดยหุ้นกู้นี้ มีหมดอายุปี 2562 และให้สิทธิในการแปลงเป็นหุ้น IVL ที่ถืออยู่โดย Canopus ที่ราคาเริ่มต้นโดยมีพรีเมี่ยม 17.5% ของราคาหุ้น IVL ณ วันที่ 18 มกราคม 2561 (56.75 บาท) เท่ากับว่า ราคาในการใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เหล่านี้จะอยู่ที่ขั้นต่ำ 66.68 บาทต่อหุ้น โดยเงินที่ได้ทั้งหมดจากการขายหุ้นกู้ดังกล่าว รวมกับเงินจากแหล่งอื่นเพิ่มเติม จะนำไปใช้ในการแปลงสภาพ IVL-W2 ที่ทาง Canopus และ บริษัทอินโดรามา รีซอสเซส ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 (ทั้ง 2 เป็นของตระกูลโลเฮีย) ถืออยู่
  ปัจจุบัน Canopus ถือหุ้น IVL อยู่ 130 ล้านหุ้น หากคำนวณที่ราคาแปลงสภาพขั้นต่ำ คือ 66.68 บาท จะคิดเป็นมูลค่าราว 8.6 พันล้านบาท หรือ 262 ล้าน USD ซึ่งก็เพียงพอต่อการให้สิทธิในการแปลงสภาพ หากราคาแปลงสภาพสูงขึ้นกว่าขั้นต่ำ ก็จะทำให้ Canopus ยังเหลือหุ้น IVL อยู่หลังการแปลงสภาพเพิ่มมากขึ้น เราคาดว่า มีโอกาสสูงที่ IVL-W2 จะถูกการแปลงสภาพก่อน 24 สิงหาคม 2018 ซึ่งราคาหุ้นปัจจุบันอยู่เหนือราคาแปลงสภาพที่ 43 บาท จะทำให้เกิด dilution 7% แต่ผลของ dilution จะเกิดกับส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ บริษัทได้รับผลดีจากสเปรด PET ที่สูงและการขยายกำลังผลิต เราจะพบผู้บริหารในประเด็นนี้อีกครั้ง เบื้องต้น ยังแนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมาย 63 บาท 
  (+) AOT (ซื้อ, อยู่ระหว่างปรับราคาเป้าหมาย)
  รมช.คมนาคม เปิดเผย อยู่ระหว่างศึกษาการโอนสิทธิ์การบริหารสนามบินที่อยู่ภายใต้การดูแลของ กรมท่าอากาศยาน (ทย.) ไปให้ AOT บริหาร เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง โดยจะเริ่มต้นที่สนามบินในภาคอีสานก่อน ซึ่งจะสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้ คาดเห็นความชัดเจนภายใน 6 เดือน หรือประมาณเดือน ก.ค.นี้ ด้าน AOT ยังคาดจำนวนผู้โดยสารปี 2018 (ต.ค.2017-ก.ย.2018) เติบโต 10% YoY โดยในช่วง 1Q18 (ต.ค.-ธ.ค.2017) เติบโต 13% YoY ส่วนประเด็นการประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่สนามบินสุวรรณภูมินั้น AOT อยู่ระหว่างเตรียมการ น่าจะได้ความชัดเจนในเดือน ธ.ค.2018 จากเดิมที่จะมีการเปิดประมาณในดือน ก.พ.2018 (ที่มา: นสพ.ทันหุ้น)
ความเห็น: เรามองเป็นบวกจากความชัดเจนในด้านแผนการโอนสิทธิ์การบริหารสนามบินของ ทย. ให้กับ AOT ที่มีกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนขึ้น โดยก่อนหน้านี้มีข่าว AOT อาจเข้าบริหารสนามบินอุดรธานี ซึ่งเราคาดว่าจะเป็นผลดีต่อ AOT ในด้านที่จะช่วยลดปัญหาความแออัดให้กับสนามบินของ AOT ได้บางส่วน เรายังคงคำแนะนำ ซื้อ AOT โดยอยู่ระหว่างปรับราคาเป้าหมายจากเดิมที่ 70 บาท ทั้งนี้ เรายังคงประเมินจำนวนผู้โดยสารปี 2018 เติบโต 10% ใกล้เคียงกับที่ AOT คาดการณ์ ส่วนกรณีการประมูลพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่สนามบินสุวรรณภูมิหากมีการเลื่อนออกไปจากเดิมที่คาดว่าจะประมูลในเดือน ก.พ.นี้ จะไม่มีผลกระทบต่อประมาณการกำไรของเรา แต่อาจทำให้ความน่าสนใจในการเก็งกำไรจากประเด็นดังกล่าวในระยะสั้นลดลง
(-) KBANK: (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 246 บาท)
  KBANK ประกาศกำไรสุทธิใน 4Q17 อยู่ที่ 5.7 พันล้านบาท ลดลงถึง 44% YoY และ 40% QoQ ต่ำกว่าที่เราและตลาดคาดไว้ 36% และ 39% ตามลำดับ จากการกลับมาตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญมากกว่าคาด ส่วนหนึ่งเกิดจากการตั้งสำรองเผื่อ IFRS9 ขณะที่ credit cost ในปี 2017 ได้ทำจุดสูงสุดไปเรียบร้อยแล้วที่ 239 bps โดยผู้บริหารคาดว่าปี 2018 จะลดลงเหลือ 185 bps เราปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2018-2019 ลง 5-6% เรายังคงคำแนะนำ “ซื้อ” เนื่องจากการตั้งสำรองได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วและมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลงได้ในปี 2018 ซึ่งจะส่งผลดีต่อกำไรสุทธิที่จะกลับมาเติบโตได้โดดเด่นถึง 15% YoY ขณะที่ NPL ได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้ว แต่เรามีการปรับมูลค่าเหมาะสมลงมาอยู่ที่ 246 บาท จากเดิมที่ 248 บาท
(-) KKP: (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 84 บาท)
  KKP ประกาศกำไรสุทธิใน 4Q17 ออกมาที่ 1.3 พันล้านบาท ลดลง 10% YoY และ 24% QoQ ต่ำกว่าที่เราคาด 18% และต่ำกว่าตลาดคาด 13% จากผลขาดทุนจากการปรับมูลค่าทรัพย์สินรอการขายจากการรับโอนทรัพย์จำนวน 131 ล้านบาท และมีผลขาดทุนจากรถยึดจำนวน 269 ล้านบาท ซึ่งหากไม่รวมรายการขาดทุนดังกล่าว กำไรสุทธิถือว่าเป็นไปตามที่เราคาดที่ราว 1.6 พันล้านบาท เรามีการปรับประมาณการกำไรสุทธิปี 2018 ลง 5% โดยทำการปรับค่าใช้จ่ายอื่นๆเพิ่มขึ้น 6% เพื่อรองรับผลการขาดทุนจากการปรับมูลค่าทรัพย์สินที่มีโอกาสเกิดขึ้นอีก เราแนะนำ “ซื้อ” คงราคาเป้าหมายในปี 2018 ที่ 84 บาท อิง P/BV ที่ 1.62x เทียบเท่า +2.0SD ย้อนหลัง 5 ปี เรามีโอกาสที่จะปรับกำไรสุทธิและราคาเป้าหมายขึ้นจากการเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน Thailand Future Fund ที่กำลังจะอนุมัติในเดือน มี.ค. นี้ รวมถึง KKP ยังมีอัตราเงินปันผลค่อนข้างสูงราว 6%
(0) TCAP: (ถือ, ราคาเป้าหมาย 56 บาท)
  TCAP ประกาศกำไรสุทธิใน 4Q17 ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่องอยู่ที่ 1.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% YoY และ 8% QoQ เป็นไปตามที่เราและตลาดคาดไว้ โดยการเพิ่มขึ้นมาจากรายได้การรับรู้กำไรจากการขายหุ้น MBK ราว 390 ล้านบาท ในแง่ของ NPL มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ 2.40% จาก 2.21% ใน 3Q17 เนื่องจากมีลูกค้ารายใหญ่รายหนึ่งที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการเกษตรผิดนัดชำระหนี้ ทำให้ไตรมาสนี้มีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สูญเพิ่มขึ้นถึง 71% YoY และ 37% QoQ ขณะที่เราคาดว่า การเติบโตของกำไรในช่วง 2H18 จะเห็นเติบโตที่ชะลอตัวลง เนื่องจาก Tax shield จากการควบรวม SCIB จะทยอยหมดลง จึงแนะนำ “ถือ” มูลค่าเหมาะสมที่ 56 บาท
Analysts:   Mongkol Puangpetra, Nontapat Rushtasomboon
OO4728

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!