- Details
- Category: กลต.
- Published: Sunday, 15 October 2017 11:44
- Hits: 12897
ก.ล.ต.'จ่อรื้อกม.ฟ้องเรียกเงินคืนผู้บริหารฉ้อโกง
ไทยโพสต์ : วิภาวดีฯ * ก.ล.ต.พร้อมศึกษาแก้กฎหมายฟ้องร้องเรียกเงินคืนให้กับบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากผู้บริหารทุจริต เผยสถิติการลงโทษทางแพ่งไปแล้ว 8 คดี 21 ราย ส่งเงินเป็นรายได้แผ่นดิน กว่า 50 ล้านบาท
นายสมชาย พงษ์พัฒนาศิลป์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายบังคับใช้กฎหมาย สำนักงานคณะกรรม การกำกับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต. อยู่ระหว่างการศึกษา แก้กฎหมายเพิ่มการฟ้องร้องเรียกเงินคืนให้กับบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากผู้บริหารทุจริต ซึ่งจะเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริง รวมถึงคิดอัตราดอกเบี้ยด้วย ซึ่งปัจจุบันผู้กระทำผิดคดีทุจริตต้องถูกดำ เนินคดีอาญาเท่านั้น และไม่สามารถดำเนินคดีทางแพ่งควบคู่ไปด้วย ดังนั้น ต้องมีการพิจารณาแก้กฎหมายให้สามารถใช้ร่วมกันในครั้งเดียวได้หรือไม่ และหากมีความเป็นไปได้จะสามารถนำมาบังคับใช้ใน พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ฉบับที่ 7-8
สำหรับ ในช่วง 10 เดือน ที่ผ่านมา ก.ล.ต. ได้ดำเนินการกับผู้กระทำผิดกฎหมายหลักทรัพย์ด้วยมาตรการลงโทษทางแพ่งกับบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จำนวน 8 คดี กับผู้กระทำผิด 21 ราย ได้แก่ ความผิดฐานใช้ ข้อมูลภายในก่อนเปิดเผยต่อประชาชน และความผิดเกี่ยวกับการขาดความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน โดยเป็นเงินค่าปรับทางแพ่งจำนวนกว่า 31 ล้านบาท และให้ชดใช้เงินเท่ากับผลประโยชน์ที่ได้รับจำนวน 19.6 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าว ก.ล.ต. นำส่งให้กระทรวงการคลัง เป็นรายได้แผ่นดินทั้งหมดจำ นวนกว่า 50 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม มาตรการลงโทษทางแพ่งเป็นทางเลือกในการดำเนินการกับผู้กระทำความผิดกฎหมายหลักทรัพย์ ที่ช่วยให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยกระบวน การที่เป็นธรรมโดยคณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง (ค.ม.พ.) ซึ่งมีอัยการสูงสุดเป็นประธาน และผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องในตลาดทุน ร่วมกันพิจารณาความเหมาะสมในการใช้มาตรการลงโทษทางแพ่ง แต่หากพบว่าผู้กระทำความผิดไม่ชำระเงินหรือชำระไม่ครบถ้วนตามที่ได้ยินยอมไว้ หรือไม่ยินยอมปฏิบัติตามมาตรการลงโทษทางแพ่ง ก.ล.ต. สามารถร้องขอต่อศาลแพ่งเพื่อบังคับคดีได้
ขณะที่ ความผิดตามกฎ หมายหลักทรัพย์ในเรื่องอื่นที่ เป็นความผิดร้ายแรง เช่น การ ทุจริต การระดมทุนหรือประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นต้น ยังคงต้องดำ เนินคดีอาญาโดยกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนเพื่อนำไปสู่การพิจารณาของศาลต่อไป.