WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SEC copyก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นแก้ไขหลักเกณฑ์เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ

   ก.ล.ต. เปิดรับฟังความคิดเห็นแก้ไขหลักเกณฑ์เงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ เพื่อให้สอดคล้องกับระดับความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในปัจจุบัน ลดภาระแก่ผู้ประกอบธุรกิจในการสำรองเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ

    บริษัทหลักทรัพย์ และตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ผู้ประกอบธุรกิจ) จะต้องดำรงเงินกองทุนด้วยสินทรัพย์สภาพคล่องอย่างเพียงพอ เพื่อรองรับความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจและสามารถชำระหนี้สินทั้งหมดในกรณีเลิกกิจการได้โดยไม่กระทบต่อตลาดทุนโดยรวม ตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ* (เงินกองทุนฯ) อย่างไรก็ดี ด้วยสภาพการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เปลี่ยนไปทั้งรูปแบบและความเสี่ยงที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ เกณฑ์เกี่ยวกับการดำรงเงินกองทุนจึงอาจไม่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อาทิ ปริมาณเงินกองทุนฯ ขั้นต่ำ การคำนวณภาระหนี้สินและความเสี่ยงของผู้ประกอบธุรกิจ

     ก.ล.ต. จึงมีแนวคิดที่จะแก้ไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเงินกองทุนฯ ในเรื่องสำคัญ อาทิ การลดจำนวนเงินกองทุนขั้นต่ำสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่รูปแบบการดำเนินธุรกิจมีความเสี่ยงต่ำ การปรับปรุงเงื่อนไขหนี้สินด้อยสิทธิและหนี้สินที่มีหลักประกันเกี่ยวกับอายุคงเหลือขั้นต่ำและสิทธิในการชำระคืนก่อนกำหนด รวมทั้ง การปรับปรุงวิธีคำนวณค่าความเสี่ยงสำหรับการเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพการประกอบธุรกิจในปัจจุบันมากขึ้น ลดภาระแก่ผู้ประกอบธุรกิจในการสำรองเงินกองทุนฯ ส่วนเพิ่ม และทำให้ผู้ประกอบธุรกิจมีเครื่องมือที่เหมาะสมซึ่งช่วยลดความผันผวนของเงินกองทุนฯ ในระยะสั้น โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อตลาดทุนโดยรวม

      ก.ล.ต. เผยแพร่เอกสารรับฟังความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวไว้ที่เว็บไซต์ ก.ล.ต. (www.sec.or.th/hearing) ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่เว็บไซต์ หรือโทรสาร 0-2263-6257 หรือทาง e-mail ที่ [email protected] จนถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2560

       หมายเหตุ: หลักเกณฑ์เกี่ยวกับเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องดำรงเงินกองทุน ด้วยทรัพย์สินสภาพคล่อง หลังหัก ภาระหนี้สินและความเสี่ยงที่เกิดจากการประกอบธุรกิจ โดยกำหนดเป็น (1) จำนวนเงินขั้นต่ำที่ต้องดำรงไว้ (2) อัตราส่วนของเงินกองทุนเมื่อเทียบกับหนี้สินที่มีภาระชำระ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!