WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

12672 SEC

เงินที่รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คำนวณภาษีอย่างไร

โดย ฝ่ายสื่อสารองค์กร

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)

 

          “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” เป็นสวัสดิการที่นายจ้างมีให้แก่ลูกจ้างเพื่อเพิ่มเงินออมและเงินลงทุนในช่วงที่ยังทำงานอยู่ร่วมกัน โดยมุ่งหวังให้ลูกจ้างมีเงินเก็บไว้ใช้ในยามเกษียณ ซึ่งเงินส่วนนี้นับเป็นรายได้ที่ลูกจ้างจะได้รับมากขึ้น

          หากเงินจำนวนนี้ยังคงอยู่ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ก็จะไม่ถูกนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี แต่หากมีการรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกไป เงินจำนวนดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ (1) เงินสะสมของลูกจ้าง (2) ผลประโยชน์ของเงินสะสมของลูกจ้าง (3) เงินสมทบของนายจ้าง และ (4) ผลประโยชน์ของเงินสมทบของนายจ้าง จะมีเฉพาะเงินส่วนที่ (1) เท่านั้นที่จะไม่ถูกนำไปคำนวณภาษี แต่เงินส่วนที่ (2)-(4) จะถูกนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 

          ทั้งนี้ การรับเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบ่งได้เป็น 3 กรณี ดังนี้

          1. รับเงินเนื่องจากเกษียณ

          เนื่องจากข้อกำหนดในเรื่องการเกษียณของแต่ละบริษัทไม่เหมือนกัน บางบริษัทอาจกำหนดให้เกษียณที่อายุ 55 ปี หรือ 60 ปี หรือมีโครงการที่สามารถเกษียณอายุก่อนกำหนด (early retirement) ดังนั้น สมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (สมาชิก) ที่จะเกษียณจึงต้องคำนึงถึงเงื่อนไขของการได้รับการยกเว้นภาษีว่าตนเองอายุครบ 55 ปี และเป็นสมาชิกต่อเนื่องกันไม่ต่ำกว่า 5 ปี หรือไม่

          หาก ณ วันที่เกษียณของสมาชิกเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด เงินส่วนที่ (2)-(4) ก็จะได้รับยกเว้นการนำไปคำนวณภาษีเงินได้ แต่หากวันที่เกษียณไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว เช่น อายุ 50 ปี แต่เป็นสมาชิก 10 ปีแล้ว หรืออายุ 57 ปี แต่เป็นสมาชิกเพียง 3 ปี เป็นต้น จะต้องนำเงินส่วนที่ (2)-(4) มาคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี

          อย่างไรก็ตาม หากสมาชิกไม่ต้องการนำเงินส่วนนี้ไปคำนวณภาษีเงินได้ สมาชิกสามารถ (1) ขอคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิมโดยมีการคิดค่าธรรมเนียมรายปี หรือ (2 )โอนไปยัง RMF for PVD ซึ่งเป็นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพที่รับโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จนถึงระยะเวลาที่คุณสมบัติของสมาชิกเป็นไปตามเงื่อนไขแล้ว จึงค่อยถอนเงินออกมาภายหลัง

          2. รับเงินเนื่องจากลาออกจากกองทุน โดยไม่ลาออกจากงาน

          ไม่ว่าสมาชิกจะมีอายุเท่าไร และมีอายุงานมากเท่าไร แต่หากลาออกจากกองทุนโดยไม่ลาออกจากงานด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะต้องนำเงินส่วนที่ (2)-(4) ที่ได้รับ มาคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี

          3. รับเงินเนื่องจากออกจากงาน

          หากบริษัทใหม่ “มี” กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นสวัสดิการด้วย สมาชิกสามารถโอนเงินทั้งหมดจากกองเดิมไปยังกองใหม่ได้โดยเงินจำนวนดังกล่าวจะไม่ถูกนำมาคำนวณภาษีเงินได้ อย่างไรก็ดี หากบริษัทใหม่ “ไม่มี” กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สมาชิกสามารถขอคงเงินไว้ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทเดิมและมีค่าธรรมเนียมรายปี หรือสามารถโอนไปยัง RMF for PVD ได้เช่นกัน

          หากสมาชิกตัดสินใจถอนเงินออกมาทั้งหมด เงินส่วนที่ (2)-(4) จะถูกนำไปคำนวณภาษีเงินตามหลักการ ดังนี้

          2.1 กรณีสมาชิกมีอายุงานน้อยกว่า 5 ปี เงินส่วนที่ (2)-(4) จะถูกนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี

          2.2 กรณีสมาชิกมีอายุงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป มีทางเลือกในการคำนวณภาษี 2 ทาง ได้แก่

                  2.2.1 นำเงินส่วนที่ (2)-(4) ไปรวมเป็นรายได้ในการคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี

                  2.2.2 แยกคำนวณ โดย

                          ขั้นที่ 1 : นำ 7,000 x จำนวนปีที่ทำงาน แล้วนำไปหักออกจากเงินส่วนที่ (2)-(4)

                          ขั้นที่ 2 : เงินที่เหลือจากขั้นที่ 1 หักออกอีกครึ่งหนึ่ง แล้วนำไปคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี

 

          ตัวอย่าง

          นาย A มีเงินในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งหมด 2,200,000 บาท แยกเป็น

                  (1) เงินสะสม 1,000,000 บาท

                  (2) ผลประโยชน์ของเงินสะสม 100,000 บาท

                  (3) เงินสมทบ 1,000,000 บาท

                  (4) ผลประโยชน์ของเงินสมทบ 100,000 บาท

          นาย A อายุ 40 ปี มีอายุงาน 20 ปี ต้องการออกจากงานและนำเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกทั้งหมด
          
นาย A มีทางเลือก 2 ทาง ได้แก่

          1. นำเงินส่วนที่ (2)-(4) จำนวน 100,000 + 1,000,000 + 100,000 = 1,200,000 บาท ไปรวมเป็นรายได้ในการคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี

          2. แยกคำนวณ โดย

                  ขั้นที่ 1 : 1,200,000 - (7,000 x 20) = 1,060,000 บาท

                  ขั้นที่ 2 : 1,060,000 x 0.5 = 530,000 บาท นำไปคำนวณภาษีเงินได้ประจำปี

 

          ทั้งนี้ เดือนธันวาคมของทุกปีเป็นเดือนสุดท้ายที่ผู้มีรายได้ประจำจะต้องเตรียมการเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเงินได้ของปีปัจจุบัน จะกำหนดให้ต้องยื่นแสดงรายการภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไปกรณียื่นแบบกระดาษ และภายในต้นเดือนเมษายนของปีถัดไปกรณียื่นแบบออนไลน์ ดังนั้น สมาชิกที่มีการรับเงินออกไประหว่างปี รวมถึงมีแผนจะรับเงิน ควรศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขต่างๆ ก่อนตัดสินใจรับเงิน เพื่อบริหารภาษีและเตรียมความพร้อมในการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีถัดไป ได้อย่างถูกต้องตามหน้าที่ของพลเมืองไทย 

 

 

12672

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kbank 720x100 66

SME 720x100 66QIC 720x100

วิริยะ 720x100AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

iconmotor

gen 720x100

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!