WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SECนภนวลพรรณSTO vs ICO : แนวทางกำกับดูแลในปัจจุบันและอนาคต

โดย นางสาวนภนวลพรรณ ภวสันต์

ผู้อำนวยการ ฝ่ายส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (...)

 

          พัฒนาการของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาพลิกโฉมบริการทางการเงินและการระดมทุนในตลาดทุน ซึ่งช่วยให้ธุรกิจที่ต้องการเงินทุนและผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงตลาดทุนได้สะดวกยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกเป็นหลักทรัพย์ (Securities Token Offering : STO) หรือออกเป็นโทเคนดิจิทัล (Initial Coin Offering : ICO) 

          แม้ว่าทั้ง STO และ ICO จะเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการระดมทุนเหมือนกัน แต่ในการกำกับดูแลจะอยู่ภายใต้กฎหมายคนละฉบับ โดย STO อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ .. 2535 ขณะที่ ICO อยู่ภายใต้พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล .. 2561 และเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในการกำกับดูแล ใน ... การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลฯ จึงกำหนดไว้ว่า หากเป็นหลักทรัพย์ตาม ... หลักทรัพย์ฯ แล้ว จะไม่เป็นสินทรัพย์ดิจิทัลตาม ... การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลฯ 

          ดังนั้น หากโทเคนที่ออกเข้าลักษณะของหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะเป็น หุ้น หุ้นกู้ ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) ใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงหรือตราสารแสดงสิทธิของผู้ฝากทรัพย์สิน (DR) ที่แม้จะออกเป็นโทเคนบนเทคโนโลยี Blockchain ก็จะเป็นหลักทรัพย์ที่ต้องทำตามกฎเกณฑ์ภายใต้ ... หลักทรัพย์ฯ

 

12156 SEC info

 

          STO vs ICO : การกำกับดูแลในปัจจุบัน

          สำหรับ ICO ในช่วงเริ่มแรกถูกใช้เป็นเครื่องมือระดมทุนของกิจการ startup ที่ต้องการเงินทุนไปพัฒนาโครงการ เช่น แพลตฟอร์มต่างๆ ICO จึงมีลักษณะเป็นproject-based ICO” แต่เพื่อให้ ICO มีความน่าสนใจมากขึ้น จึงมีการนำทรัพย์สินต่างๆ มาแปลงเป็นโทเคนดิจิทัลและออกเสนอขายต่อประชาชน หรือที่เรียกว่าasset-backed ICO” โดยทรัพย์สินที่นำมาอ้างอิงหรือแปลงเป็นโทเคนดิจิทัล เช่น อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ อัญมณี หลักทรัพย์ ซึ่งในต่างประเทศส่วนใหญ่มักกำกับดูแล ICO ที่ออกมาเพื่อระดมทุนภายใต้กฎหมายหลักทรัพย์

          การออกเสนอขาย asset-backed ICO เป็นการสร้างความคาดหวังให้กับผู้ลงทุนที่จะได้รับผลตอบแทนจากทรัพย์สินอ้างอิงในลักษณะเดียวกับการลงทุนในหลักทรัพย์ และหลายๆ กรณียังมีความคล้ายคลึงกับหลักทรัพย์ เช่น การนำอสังหามาเป็นทรัพย์สินอ้างอิง (real estate-backed ICO) จะมีความคล้ายกับ “REIT” หรือการนำบัญชีลูกหนี้มาเป็นทรัพย์สินอ้างอิง (loan-backed ICO) จะมีความคล้ายกับหุ้นกู้จากการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ หรือ “Securitized bond” 

          ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำในกฎเกณฑ์และการกำกับดูแล (regulatory arbitrage) ระหว่างหลักทรัพย์และโทเคนดิจิทัล และมีการคุ้มครองผู้ลงทุนอย่างเหมาะสม ในขณะเดียวกันเป็นการรองรับพัฒนาการในตลาดทุนและส่งเสริมเทคโนโลยีใหม่ๆ ... จึงอยู่ระหว่างปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการออกเสนอขาย real estate-backed ICO และ asset-backed ICO อื่นๆ ให้เทียบเคียงได้กับหลักเกณฑ์การออกเสนอขายหลักทรัพย์ที่มีลักษณะคล้ายกัน

 

          STO vs ICO : แนวทางกำกับดูแลในอนาคต

          สำหรับ ICO ที่ออกมาเพื่อการระดมทุน ได้แก่ โทเคนดิจิทัลที่ให้สิทธิเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการ (Investment Token) และโทเคนดิจิทัลที่ให้สิทธิซื้อสินค้าหรือบริการโดยสินค้าหรือบริการยังไม่พร้อมใช้ (Utility Token ไม่พร้อมใช้) มีลักษณะ (substance) เช่นเดียวกับหลักทรัพย์ นอกจากนี้ ในต่างประเทศส่วนใหญ่ก็กำกับดูแลโทเคนดิจิทัลดังกล่าวภายใต้กฎหมายหลักทรัพย์

          ดังนั้น เพื่อให้รูปแบบการระดมทุนที่มีลักษณะคล้ายกันถูกกำกับดูแลด้วยหลักเกณฑ์เดียวกัน โดยมีกลไกการกำกับดูแลที่สอดคล้องกับลักษณะและความเสี่ยง มีการคุ้มครองผู้ลงทุนที่เพียงพอเหมาะสม รวมทั้งสอดคล้องกับแนวทางในต่างประเทศ ... จึงได้เสนอให้มีการปรับปรุงบทนิยามคำว่าหลักทรัพย์ตาม ... หลักทรัพย์ฯ ให้มีความยืดหยุ่นและครอบคลุมยิ่งขึ้น ซึ่งในอนาคตจะรวมการกำกับดูแล “Investment Token” และ “Utility Token ไม่พร้อมใช้มาอยู่ภายใต้ ... หลักทรัพย์ฯ ด้วย 

          นอกจากนี้ หากในอนาคต “Investment Token” และ “Utility Token ไม่พร้อมใช้ถูกกำกับดูแลเป็นหลักทรัพย์ จะส่งผลให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลและผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล (ICO Portal) ที่จะให้บริการเกี่ยวกับโทเคนดิจิทัลทั้งสองกลุ่มนี้จะต้องได้รับใบอนุญาตหรือความเห็นชอบภายใต้ ... หลักทรัพย์ฯ ด้วย

          อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลและ ICO Portal ที่ได้รับใบอนุญาตหรือความเห็นชอบภายใต้ ... การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลฯ ไปแล้วนั้น สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ... จึงเสนอให้ปรับปรุงแก้ไข ... หลักทรัพย์ฯ เพื่อรองรับผู้ประกอบธุรกิจศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset Exchange) ไปในคราวเดียวกัน และจะได้มีการปรับปรุงกฎเกณฑ์เพื่อรองรับผู้ประกอบธุรกิจอื่นๆ รวมทั้ง ICO Portal ให้สามารถมาให้บริการในฝั่งหลักทรัพย์ได้ต่อไป

          ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นการกำกับดูแล STO และ ICO ในปัจจุบัน หรือแนวทางการกำกับดูแลในอนาคต ทั้งหมดนี้เพื่อทำให้มีการกำกับดูแลอย่างเท่าเทียม ให้ความคุ้มครองผู้ลงทุนอย่างเหมาะสม และไม่เกิด regulatory arbitrage ระหว่างหลักทรัพย์และโทเคนดิจิทัล รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในตลาดทุนไทย

 

A12156

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!