WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสทธรตน รตนโชตกรมบัญชีกลาง เร่งออกกฎหมายลูก พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ จ่อประเดิม รัฐวิสาหกิจ 10 แห่งทั้ง PTT-MCOT-THAI ฯลฯ

     กรมบัญชีกลางแจง เร่งร่างกฎหมายลูก พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เป็นการพาณิชย์โดยตรง ตามมาตรา 7 (1) ที่ยกเว้นให้รัฐวิสาหกิจออกระเบียบเองได้ จ่อประเดิมรัฐวิสาหกิจ 10 แห่งทั้ง PTT - MCOT-THAI เป็นต้น  

    นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่าหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ได้เห็นชอบร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง โดยกำหนดให้รัฐวิสาหกิจเร่งดำเนินการออกกฎหรือระเบียบของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง

     ทั้งนี้ ได้เสนอร่างกฎหรือระเบียบของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง จำนวน 10 แห่ง 1) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือที่เป็นรัฐวิสาหกิจ 2) บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 3) บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) 4) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัทในเครือที่เป็นรัฐวิสาหกิจ 5) บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 6) บริษัท บริหารสินทรัพย์ สุขุมวิท จำกัด 7) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 8) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 9) องค์การเภสัชกรรม 10) โรงงานยาสูบ ให้คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างฯพิจารณาซึ่งที่ประชุมมอบหมายให้กรมบัญชีกลางจัดทำกรอบแนวทางการพิจารณาร่างกฎหรือระเบียบดังกล่าว ว่ามีความแตกต่างกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 หรือไม่ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับธุรกิจของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งมีมาตรการหรือกลไกรองรับว่าสามารถที่จะทำธุรกิจได้ เมื่อจัดทำเสร็จเรียบร้อยให้เสนอคณะอนุกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพิจารณาให้ความเห็นชอบ รวมทั้งแจ้งให้รัฐวิสาหกิจเสนอกฎหรือระเบียบของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาประกาศใช้บังคับต่อไป

       ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2560 ได้ประกาศหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับ การพาณิชย์โดยตรงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไป โดยรัฐวิสาหกิจที่มีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงต้องออกกฎหรือระเบียบให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ คือภายในวันที่ 11 มิถุนายน 2561

      อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวในตอนท้ายว่า กรมบัญชีกลางยังคงมุ่งมั่นดำเนินงานตามเจตนารมณ์ของหลักการ การจัดซื้อจัดจ้างในเรื่องความคุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และตรวจสอบได้ และที่สำคัญคือจะต้องทำให้การปฏิบัติงานด้านการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐทุกแห่งมีความคล่องตัว ไร้ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน

 

กรมบัญชีกลางแจง เร่งออกกฎหมายลูก พ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้างฯ ตามมาตรา 7 (1)

    กรมบัญชีกลางแจง เร่งร่างกฎหมายลูก พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เป็นการพาณิชย์โดยตรง ตามมาตรา 7 (1) ที่ยกเว้นให้รัฐวิสาหกิจออกระเบียบเองได้

     นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่าหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ได้เห็นชอบร่างประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง โดยกำหนดให้รัฐวิสาหกิจเร่งดำเนินการออกกฎหรือระเบียบของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง ทั้งนี้ ได้เสนอร่างกฎหรือระเบียบของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรง จำนวน 10 แห่ง 1) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือที่เป็นรัฐวิสาหกิจ 2) บริษัท กฟผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ๓) บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ๔) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด และบริษัทในเครือที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ๕) บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ๖) บริษัท บริหารสินทรัพย์ สุขุมวิท จำกัด ๗) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ๘) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ๙) องค์การเภสัชกรรม ๑๐) โรงงานยาสูบ ให้คณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างฯพิจารณาซึ่งที่ประชุมมอบหมายให้กรมบัญชีกลางจัดทำกรอบแนวทางการพิจารณาร่างกฎหรือระเบียบดังกล่าว ว่ามีความแตกต่างกับระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 หรือไม่ มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับธุรกิจของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งมีมาตรการหรือกลไกรองรับว่าสามารถที่จะทำธุรกิจได้ เมื่อจัดทำเสร็จเรียบร้อยให้เสนอคณะอนุกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพิจารณาให้ความเห็นชอบ รวมทั้งแจ้งให้รัฐวิสาหกิจเสนอกฎหรือระเบียบของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ ให้ผู้มีอำนาจพิจารณาประกาศใช้บังคับต่อไป

    ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2560 ได้ประกาศหลักเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไป โดยรัฐวิสาหกิจที่มีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เกี่ยวกับการพาณิชย์โดยตรงต้องออกกฎหรือระเบียบให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ คือภายในวันที่ 11 มิถุนายน 2561

    อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวในตอนท้ายว่า กรมบัญชีกลางยังคงมุ่งมั่นดำเนินงานตามเจตนารมณ์ของหลักการการจัดซื้อจัดจ้างในเรื่องความคุ้มค่า โปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และตรวจสอบได้ และที่สำคัญคือจะต้องทำให้การปฏิบัติงานด้านการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐทุกแห่งมีความคล่องตัว ไร้ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน

การชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีการกำหนดนิยาม 'รัฐวิสาหกิจ'ตามกฎหมายและร่างกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการคลัง

    ตามที่ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ว่า มีข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างกฎหมายที่อยู่ในชั้นการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 3 ฉบับ ซึ่งเป็นข้อสังเกตเกี่ยวกับการกำหนดนิยาม “รัฐวิสาหกิจ”

       ตามที่ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ว่า มีข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างกฎหมายที่อยู่ในชั้นการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 3 ฉบับ ซึ่งเป็นข้อสังเกตเกี่ยวกับการกำหนดนิยาม “รัฐวิสาหกิจ” ตาม  (1) ร่างพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. .... (ร่าง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐฯ (2) ร่างพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. .... (ร่าง พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณฯ) และ (3)  ร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... (ร่าง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจฯ) โดยมีแนวคิดให้ทบทวนการกำหนดนิยาม “รัฐวิสาหกิจ” ใหม่ตามนิยามในกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ นั้น

      “กระทรวงการคลังขอชี้แจงเพื่อความชัดเจนในประเด็นดังกล่าวว่า การกำหนดนิยาม “รัฐวิสาหกิจ”  ตามร่างกฎหมาย 2 ฉบับที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการคลัง เป็นการกำหนดนิยามให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของการบังคับใช้กฎหมายแต่ละฉบับ โดยไม่ได้มุ่งหมายให้เกิดการแปลงสภาพแต่ประการใด”

     1) ร่าง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบการดำเนินการทางการคลังและงบประมาณของรัฐ การกำหนดวินัยทางการคลังด้านรายได้และรายจ่ายทั้งเงินงบประมาณและ   เงินนอกงบประมาณ การบริหารทรัพย์สินของรัฐและเงินคงคลัง และการบริหารหนี้สาธารณะ ทั้งนี้ ได้กำหนดนิยาม “รัฐวิสาหกิจ” ให้สอดคล้องกับร่าง พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดวินัยการ ใช้เงินของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับจัดสรรเงินงบประมาณจากรัฐบาล ซึ่งการจัดสรรเงินงบประมาณให้แก่รัฐวิสาหกิจ รัฐบาลจะจัดสรรให้แก่รัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ และรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทหรือบริษัทจำกัดมหาชนที่รัฐบาลมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินร้อยละ 50 (ชั้นแม่) เท่านั้น ดังนั้น การกำหนดนิยาม “รัฐวิสาหกิจ” ตามร่าง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ จึงไม่มีความเกี่ยวเนื่องหรือมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการแปรสภาพรัฐวิสาหกิจแต่อย่างใด

      2) ร่าง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจฯ มีวัตถุประสงค์เป็นการปฏิรูประบบการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพโดยยังคงความเป็นรัฐวิสาหกิจเอาไว้ จึงไม่มีบทบัญญัติใดที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปหรือแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ ซึ่งการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจใดๆ จะสามารถกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ทั้งนี้ ในส่วนของการกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเป็นบริษัทที่ผ่านมาเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณากำหนดเท่านั้น การทำหน้าที่ของ คนร. ตามร่าง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจฯ จึงมีหน้าที่ในการกลั่นกรองและให้ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการพิจารณา ซึ่งเป็นการสร้างขั้นตอนการพิจารณาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นให้เป็นไปอย่างรอบคอบและเปิดกว้างมากขึ้นกว่าปัจจุบัน ที่สามารถกระทำได้โดยการนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเท่านั้น

     ดังนั้น การกำหนดนิยาม 'รัฐวิสาหกิจ'ตามร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว จึงเป็นการกำหนดนิยามให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการบังคับใช้กฎหมายแต่ละฉบับ โดยไม่ได้มุ่งหมายให้เกิดการแปลงสภาพหรือโอนรัฐวิสาหกิจไปอยู่ในมือเอกชนแต่ประการใด

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02 273 9020 ต่อ 3562 

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ โทร. 02 298 5880-7 ต่อ 3167

สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 02 265 8050  ต่อ 5505

 

คลัง ยัน พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูประบบรัฐวิสาหกิจ ไม่ใช้การแปลงสภาพ -โอนหน่วยงานไปอยู่ในมือเอกชน

      คลังชี้แจงข้อเท็จจริงการกำหนดนิยาม 'รัฐวิสาหกิจ'ที่อยู่ภายใต้กำกับของกระทรวง ยัน พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจฯ มีวัตถุประสงค์เป็นการปฏิรูประบบรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพ ไม่ใช้การแปลงสภาพ หรือโอนรัฐวิสาหกิจไปอยู่ในมือเอกชนแต่ประการใด

         กระทรวงการคลังเปิดเผยผ่านเอกสารเผยแพร่ว่า ตามที่ปรากฏในสื่อสังคมออนไลน์ว่า มีข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างกฎหมายที่อยู่ในชั้นการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จำนวน 3 ฉบับ ซึ่งเป็นข้อสังเกตเกี่ยวกับการกำหนดนิยาม “รัฐวิสาหกิจ” ตาม (1) ร่างพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. .... (ร่าง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐฯ) (2) ร่างพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. .... (ร่าง พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณฯ) และ (3) ร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. .... (ร่าง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจฯ) โดยมีแนวคิดให้ทบทวนการกำหนดนิยาม “รัฐวิสาหกิจ” ใหม่ตามนิยามในกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะ นั้น

        “กระทรวงการคลังขอชี้แจงเพื่อความชัดเจนในประเด็นดังกล่าวว่า การกำหนดนิยาม “รัฐวิสาหกิจ”  ตามร่างกฎหมาย 2 ฉบับที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการคลัง เป็นการกำหนดนิยามให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของ   การบังคับใช้กฎหมายแต่ละฉบับ โดยไม่ได้มุ่งหมายให้เกิดการแปลงสภาพแต่ประการใด”

        ทั้งนี้ การพิจารณากำหนดนิยาม 'รัฐวิสาหกิจ'อันเป็นการกำหนดขอบเขตการบังคับใช้พระราชบัญญัติจะเป็นไปตามเจตนารมณ์และหลักการของกฎหมายแต่ละฉบับ ร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ที่อ้างถึงจึงได้มีการกำหนดนิยาม “รัฐวิสาหกิจ” และวัตถุประสงค์ของการบังคับใช้กฎหมายต่างกัน ดังนี้

 1) ร่าง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐฯ ได้มีการกำหนดนิยาม 'รัฐวิสาหกิจ'เอาไว้เช่นเดียวกับร่าง พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณฯ แต่มีวัตถุประสงค์ของการบังคับใช้ที่แตกต่างออกไป โดยร่าง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำกับการใช้จ่ายและบริหารทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐเพื่อให้ฐานะทางการเงินการคลังของรัฐมีเสถียรภาพและมั่นคงอย่างยั่งยืน ซึ่งรัฐวิสาหกิจชั้นแม่จะทำหน้าที่ในการกำกับดูแลทั้งทางด้านการดำเนินกิจการ ด้านการเงินของกิจการที่ตนเองเป็นผู้ถือหุ้น ให้สอดคล้องกับหน้าที่ตามกฎหมายเช่นกัน ในขณะที่ ร่าง พ.ร.บ. วิธีการงบประมาณฯ ได้มีการกำหนดนิยาม 'รัฐวิสาหกิจ' ให้มีเฉพาะรัฐวิสาหกิจชั้นแม่และรัฐวิสาหกิจชั้นลูกที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่มีกฎหมายจัดตั้งมีทุนรวมอยู่ด้วยเกินกว่าร้อยละห้าสิบ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจชั้นแม่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบว่าการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจชั้นรองลงไปจะไม่เป็นภาระต่องบประมาณอีกต่อไป เพราะไม่สามารถขอรับงบประมาณได้

  2) สำหรับร่าง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจฯ ซึ่งกำหนดนิยาม'รัฐวิสาหกิจ' ให้ครอบคลุมเฉพาะรัฐวิสาหกิจในชั้นแม่ที่กระทรวงการคลังเป็นเจ้าของตามสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังเท่านั้น โดยรัฐวิสาหกิจในชั้นแม่จะสามารถส่งผ่านนโยบายไปยังบริษัทที่รัฐวิสาหกิจนั้นถือหุ้นได้ตามสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐวิสาหกิจชั้นแม่เช่นกัน

 ในส่วนของข้อสังเกตว่า รัฐวิสาหกิจที่อยู่ภายใต้กำกับของกระทรวงจะถูกแปลงสภาพเป็นบริษัท และถ่ายโอนเข้าไปอยู่ภายใต้บรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ (บรรษัทฯ) ทั้งหมด โดยคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ตามร่าง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจฯ จะมีอำนาจลดสัดส่วนการถือหุ้นภายใต้บรรษัทฯ จนหมดสภาพความเป็นรัฐวิสาหกิจต่อไปในอนาคตนั้น

 กระทรวงการคลังขอชี้แจงเพิ่มเติมว่า การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจใดๆ จะสามารถกระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ในขณะที่ ร่าง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจฯ มีวัตถุประสงค์เป็นการปฏิรูประบบการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพโดยยังคงความเป็นรัฐวิสาหกิจเอาไว้ จึงไม่มีบทบัญญัติใดที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปหรือแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ

 ทั้งนี้ ในส่วนของการกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเป็นบริษัทที่ผ่านมาเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณากำหนดเท่านั้น การทำหน้าที่ของ คนร. ตามร่าง พ.ร.บ. พัฒนารัฐวิสาหกิจฯ จึงมีหน้าที่ในการกลั่นกรองและให้ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการพิจารณา ซึ่งเป็นการสร้างขั้นตอนการพิจารณาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการถือหุ้นให้เป็นไปอย่างรอบคอบและเปิดกว้างมากขึ้นกว่าปัจจุบัน ที่สามารถกระทำได้โดยการนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเท่านั้น

 ดังนั้น การกำหนดนิยาม 'รัฐวิสาหกิจ' ตามร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว จึงเป็นการกำหนดนิยามให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการบังคับใช้กฎหมายแต่ละฉบับ โดยไม่ได้มุ่งหมายให้เกิดการแปลงสภาพหรือโอนรัฐวิสาหกิจไปอยู่ในมือเอกชนแต่ประการใด

      สำหรับ การจัดตั้งบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจ เป็นอำนาจของรัฐวิสาหกิจชั้นแม่ในฐานะผู้ถือหุ้นที่จะต้องพิจารณาเหตุผลและความจำเป็นในการจัดตั้งกิจการดังกล่าว โดยจะต้องดำเนินการให้เป็นไป

 ตามหลักเกณฑ์การจัดตั้ง/ร่วมทุนและกำกับดูแลบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจ เช่น การจัดตั้ง/ร่วมทุนต้องเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกฎหมายจัดตั้งของรัฐวิสาหกิจ และบริษัทในเครือต้องไม่ดําเนินกิจการที่เป็นภารกิจหลักของรัฐวิสาหกิจชั้นแม่แต่ต้องดําเนินกิจการที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับภารกิจหลักของรัฐวิสาหกิจชั้นแม่ บริษัทในเครือต้องไม่มีอํานาจผูกขาดและสิทธิพิเศษของรัฐวิสาหกิจชั้นแม่ และต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับเอกชน เว้นแต่มีความจําเป็นเพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงของรัฐ รักษาประโยชน์ส่วนรวม หรือการจัดให้มีสาธารณูปโภค เป็นต้น

 อย่างไรก็ดี กฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะได้กำหนดนิยาม 'รัฐวิสาหกิจ' ไว้  3 ประเภท ซึ่งมีขอบเขตกว้างกว่าร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับที่กล่าวข้างต้น โดยเพิ่มเติมชั้นรองลงมาอีกหนึ่งชั้น ผลของการนิยามดังกล่าวจะทำให้หนี้เงินกู้ของรัฐวิสาหกิจถูกนับรวมเป็น “หนี้สาธารณะ” ซึ่งจะมีการพิจารณากลั่นกรองการก่อหนี้ ตลอดจนการกำกับดูแลให้อยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง นอกจากนี้ ยังทำให้กระทรวงการคลังสามารถเข้าไปค้ำประกันเงินกู้ ปรับโครงสร้างหนี้ ชำระหนี้แทน และให้กู้ต่อแก่รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งตั้งงบประมาณเพื่อชำระหนี้ของรัฐวิสาหกิจได้ด้วย ดังนั้น เจตนารมณ์ของกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะที่กำหนดขอบเขตนิยามรัฐวิสาหกิจ 3 ประเภท จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อจำกัดความรับผิดหรือภาระของรัฐ โดยคำนึงถึงระดับความเกี่ยวกันกับรัฐตามจำนวนสัดส่วนของทุนเท่านั้น และเพื่อกำกับดูแลการก่อหนี้ของรัฐวิสาหกิจดังกล่าวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมไม่ส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสถานะการคลังของประเทศ

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!