WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gวสทธ ศรสพรรณคลัง เตรียมเปิดรับฟังความเห็นร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ อีกรอบ 19 ธ.ค. เร่งสร้างความเข้าใจ ก่อนประกาศใช้ปี 62

    นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง เปิดเผยว่า จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง อีกครั้งในวันที่ 19 ธ.ค.นี้ โดยจะเป็นการรับฟังความคิดเห็นอย่างรอบด้านมากขึ้นจากก่อนหน้านี้ได้หารือร่วมกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาคเอกชน ประชาชน และส่วนราชการต่างๆ ไปแล้ว และพบว่ายังมีข้อสังเกตจากหลายส่วนที่ต้องเร่งชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจก่อนมีการประกาศใช้กฎหมายอย่างเป็นทางการ

     "ยังมีอีกหลายส่วนที่ต้องเร่งหาข้อสรุปเพื่อให้เกิดความชัดเจนที่สุด หลังจากยังมีข้อถกเถียงกันอยู่บ้างว่าควรดำเนินการในแต่ละส่วนที่ยังไม่ชัดเจนอย่างไร เช่น ที่ดินที่เป็นสนามกอล์ฟ สวนสนุก หรือสวนสัตว์ ต้องมาดูในส่วนนี้ให้ละเอียดว่าจะดำเนินการอย่างไรให้เป็นธรรมกับทุกฝ่ายมากที่สุด" รมช.คลังกล่าว

     พร้อมระบุว่า กรรมาธิการยังยืนในส่วนของการยกเว้นภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยลดลงมาเหลือ 20 ล้านบาท จากเดิม 50 ล้านบาท เพื่อให้เป็นธรรมกับทุกฝ่ายมากขึ้น ขณะที่ข้อสังเกตเรื่องที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 นั้น เบื้องต้นจะให้ลดอัตราภาษีลงมาเหลือ 0.02% เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับเจ้าของที่อยู่อาศัยมากเกินไป เช่น หากที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 ราคา 10 ล้านบาท เจ้าของก็จะมีภาระภาษีสำหรับส่วนนี้ 2,000 บาทต่อปี ซึ่งน่าจะอยู่ในระดับที่รับได้ และไม่เป็นภาระมากเกินไป

      นอกจากนี้ ในส่วนของที่ดินเชิงพาณิชย์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการ SMEs นั้น ก็ต้องมาพิจารณาในรายละเอียดเพิ่มขึ้นว่าภาระภาษีจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจการ ดังนั้นอาจจะมีการร่างบทบรรเทาภาระภาษี เพื่อไม่ให้เป็นภาระมากจนเกินไป เช่น ตามกฎหมายเดิมผู้ประกอบการ SMEs ที่เป็นเจ้าของที่ดินดังกล่าวเคยมีภาระภาษีอยู่เท่าใด แต่เมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายใหม่และมีภาระภาษีเพิ่มขึ้น ก็จะให้ผู้ประกอบการจ่ายภาระภาษีในส่วนที่เพิ่มขึ้นเพียง 25% เท่านั้น เพื่อเป็นการดูแลผู้ประกอบการ SMEs ให้ยังสามารถดำเนินกิจการไปได้

     อย่างไรก็ดี ยืนยันว่าส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะเร่งหารือเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน เพื่อให้กฎหมายสามารถประกาศใช้ได้ทันตามเป้าหมายในช่วงต้นปี 2562

      "ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่กำลังดำเนินการอยู่นี้ ไม่ใช่กฎหมายภาษีใหม่ แต่เป็นการปรับปรุงจากกฎหมายเดิมที่ใช้อยู่ คือภาษีโรงเรือนและภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งใช้กันมานานแล้ว ดังนั้นอัตราภาษีที่เก็บ จึงจะไม่แตกต่างจากเดิมจนกลายเป็นภาระของประชาชน"นายวิสุทธิ์ กล่าว

     สำหรับ อัตราเพดานภาษีที่รัฐบาลเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา แบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ 1. ที่ดินเพื่อการเกษตร เพดานภาษี 0.2% และให้เว้นเก็บภาษีที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่ดินมูลค่า 50-100 ล้านบาท ให้เก็บภาษี 0.05% และมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท ให้เก็บภาษี 0.10%

       ประเภทที่ 2 เป็นที่ดินเพื่ออยู่อาศัย เพดานภาษี 0.5% เว้นภาษีบ้านหลังแรกมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท บ้าน 50-100 ล้านบาท ให้เก็บภาษี 0.05% และเกิน 100 ล้านบาท ให้เก็บภาษี 0.10% สำหรับบ้านหลังที่ 2 มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ให้เก็บภาษี 0.03% บ้าน 50-100 ล้านบาท ให้เก็บภาษี 0.05% และเกิน 100 ล้านบาท ให้เก็บภาษี 0.10%

        ประเภทที่ 3 ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ และประเภทที่ 4 ที่ดินว่างเปล่า กำหนดเพดานภาษีไม่เกิน 2% โดยมูลค่าไม่เกิน 20 ล้านบาท เก็บภาษี 0.3% มูลค่า 20-50 ล้านบาท เก็บภาษี 0.5% มูลค่า 50-100 ล้านบาท เก็บภาษี 0.7% มูลค่า 100-1,000 ล้านบาท เก็บภาษี 0.9% มูลค่า 1,000-3,000 ล้านบาท เก็บภาษี 1.2% และมูลค่ามากกว่า 3,000 ล้านบาท เก็บภาษี 1.5%

        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!