WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมชย สจจพงษกอช.ดึงนักเรียน-นักศึกษาออมเงิน หวังดันยอดสมาชิกเข้าเป้า 20 ล้านคน

     แนวหน้า : นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานเปิดงาน มหกรรมการลงทุนครบวงจร (SET in the City 2017) ครั้งที่ 13 โดยกล่าวว่ากระทรวงการคลังอยู่ระหว่างพิจารณามาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเพิ่มเติมระยะที่ 2 จึงขอฝากให้ตลาดทุน ช่วยสนับสนุนและผลักดันให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงตลาดทุนเพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น นอกจากนี้ กระทรวงการคลังอยากให้ตลาดเงิน ตลาดทุน หาผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมการออมให้มากขึ้นโดยเฉพาะการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในอนาคต

     ที่ผ่านมากระทรวงการคลังได้ส่งเสริม การออม ด้วยการเปิดให้มีกองทุนการออมแห่งชาติ(กอช.) ซึ่งยอมรับว่าผู้สมัครยังต่ำกว่าเป้าหมาย ปัจจุบันมีผู้สมัครอยู่ที่ 500,000 คนแต่เป้าหมายอยู่ที่ 20 ล้านคน ดังนั้นจึงได้ประสานงานไปยังระดับชุมชนเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้สะดวกมากขึ้นเนื่องจากปัญหาของกอช.คือการอ่อนประชาสัมพันธ์และการที่ประชาชนต้องเดินทางไปออมที่ตัวเมือง ซึ่งค่อนข้างไกล จึงต้องหาแนวทางว่าจะทำอย่างไรให้กลุ่ม ดังกล่าวเข้าถึงได้สะดวกมากขึ้น

    นอกจากนี้ พบว่า นักเรียนนักศึกษายังมีการออมอยู่ในระดับต่ำ ทำให้กระทรวงการคลังต้องเร่งเดินหน้าเพื่อเข้าไปยังกลุ่มนักศึกษา นักเรียนให้ได้ แต่ที่ผ่านมา กลุ่มนักเรียนไม่สามารถออมได้ เนื่องจากไม่มีรายได้ ดังนั้นจึงจะหาแนวทาง เช่นการเปิดให้นักเรียนนำขยะที่บ้านมา ขายได้ เพื่อนำรายได้ไปออมกับกอช.

      นายสมชัย กล่าวว่า ปัจจุบันได้ประสานงานกับสถาบันการเงิน คลังจังหวัดทุกจังหวัด เพื่อทำถนนไร้เงินสด ตลาดไร้เงินสด ซึ่งในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 จะเปิดตลาดไร้เงินสด ที่ตลาดกิมหยง และกระทรวงการคลังจะดำเนินการสร้างคิวอาร์โค้ดเพื่อรองรับการบริจาคเงินเข้าวัดได้ ซึ่งช่วยว่าจะป้องกันการทุจริต แก้ปัญหากรณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย

     นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและ ผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่าแนวโน้มของตลาดหุ้นไทยปีหน้ายังเติบโตต่อเนื่องตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจ อีกทั้ง ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมมา ช่วยด้านการลงทุนที่สะดวกรวดเร็วและมีข้อมูล วิเคราะห์การลงทุนได้แม่นยำมากขึ้น ปัจจุบัน มูลค่าตลาดรวม (มาร์เก็ตแคป) ของตลาด หลักทรัพย์ไทย เพิ่มขึ้นอยู่ที่ 17.5 ล้านล้าน บาท และปีหน้าคาดว่าจะมีบริษัทเข้ามา จดทะเบียนใหม่ (ไอพีโอ) 30 บริษัท มูลค่า ตลาดรวม 400,000 ล้านบาท ขณะที่จำนวน ผู้ลงทุนที่เปิดบัญชีซื้อขายหุ้นผ่านระบบออนไลน์เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีจำนวนสูงถึง 1.8 ล้านบัญชี หรือ 87% จากจำนวนบัญชีซื้อขายหุ้นทั้งสิ้น 2.1 ล้านบัญชี ส่วนบัญชีกองทุนรวม 5 ล้านบัญชี และบัญชีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 3 ล้านบัญชี

      ตลาดหลักทรัพย์ฯจัดงาน มหกรรมการลงทุนครบวงจร (SET in the City 2017) ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 16-19 พฤศจิกายน 2560 ที่รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 สยามพารากอน ภายใต้แนวคิด ‘จุดประกาย ความคิดการลงทุน พลิกอนาคตสู่ความสำเร็จ’ในงานนี้ได้รวบรวมนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการลงทุนล่าสุดสำหรับหุ้นอนุพันธ์ ทอง กองทุนรวม และประกันภัย พร้อมมืออาชีพ ให้คำปรึกษาจัดพอร์ตแบบเจาะลึกและแสดงนวัตกรรมล่าสุดสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อการลงทุน รวมทั้งสัมมนา

กระตุ้นคนไทยเก็บออมเงินหวั่นไม่พอใช้ยังชีพหลังวัยเกษียณ

      แนวหน้า : นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่าการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ที่ผ่านมาได้รับทราบแนวทางการส่งเสริมการออมทั้งระบบตามที่กระทรวงการคลังเสนอหลังจากนี้กระทรวงการคลังจะเสนอมาตรการที่เกี่ยวข้องให้ ครม. พิจารณาต่อไป ซึ่งแนวทางการส่งเสริมการออมทั้งระบบ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน

     สำหรับ ด้านที่ 1 การจัดทำแผนการส่งเสริมความรู้ทางการเงินแห่งชาติ (วาระแห่งชาติ) โดยเสนอร่างแผนการให้ความรู้พื้นฐาน ทางการเงิน พ.ศ. 2560-2564 โดยมีเป้าหมาย ให้คนไทยตระหนักเรื่องการออม และให้ความรู้วางแผนและบริหารจัดการการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการให้ความรู้จะทำในทุกกลุ่ม ทั้ง เด็กและเยาวชน (Gen Z) กลุ่มนักศึกษาและคนเริ่มทำงาน (Gen Y) กลุ่มผู้ที่ทำงานในภาคเอกชน กลุ่มผู้ที่ทำงานในภาครัฐ กลุ่มประชาชนฐานราก  กลุ่มแรงงาน นอกระบบ กลุ่มองค์กรการเงินชุมชน กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ว่างงานและประชาชนทั่วไป

     ด้านที่ 2 การสร้างความแข็งแกร่งให้ระบบสหกรณ์ออมทรัพย์  และองค์กรการเงินในระดับชุมชนให้แข็งแกร่งและยั่งยืน มีการกำกับดูแลให้สามารถเป็นเสาหลักทางการเงินของประชาชนฐานราก

      ส่วนด้านที่ 3 การเพิ่มผลิตภัณฑ์การออมและมาตรการลดรายจ่ายฟุ่มเฟือย โดยภาครัฐจะมีมาตรการผลักดันให้ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยเพื่อให้มีเงินเหลือในการอดออม ในขณะเดียวกันจะมีการออกผลิตภัณฑ์การออมใหม่ๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์การออมแบบระยะยาวเพื่อจูงใจให้ประชาชนมีการออมเงินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีเงินใช้ในยามจำเป็นและในยามชราภาพได้อย่างเพียงพอ

      ขณะที่ด้านที่ 4 การเติมเต็มระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุ กระทรวงการคลังเห็นควรปรับปรุงระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุ เช่น การเร่งรัดการบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ หรือ กบช. ที่บังคับให้ผู้ประกอบการตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับลูกจ้าง ตอนนี้กฎหมายผ่านการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว จะเสนอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป

      นอกจากนี้ กระทรวงการคลังยังจะ เร่งปรับปรุงกฎหมายกองทุนการออมแห่งชาติ หรือ กอช. เพื่อจูงใจให้แรงงานนอกระบบมีการออมเงินผ่าน กอช. มากขึ้น เนื่องจาก ปัจจุบันมีสมาชิกไม่ถึง 1 ล้านคน จากแรงงาน นอกระบบกว่า 24 ล้านคน เนื่องจากเป็นการออมภาคสมัครใจไม่ใช่ภาคบังคับ

      ปัจจุบันการออมของคนไทยยังมีน้อยทำให้มีรายได้หลังเกษียณเพียง 19-20% ของรายได้เดือนสุดท้าย ซึ่งไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตซึ่งกระทรวงการคลังมีเป้าหมายให้ประชาชนมีการออมและมี รายได้หลังเกษียณไม่ต่ำกว่า 50% ของรายได้เดือนสุดท้าย ทำให้มีเงินดำรงชีพยังเพียงพอและมีคุณภาพรองรับสังคมผู้สูงอายุของไทยที่จะมีผู้สูงอายุถึง 20% ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

คลังเตรียมออกมาตรการหนุนออมทั้งระบบ หวังสร้างวินัยการเงิน-เพิ่มความมั่นคงยามเกษียณ

    นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 พ.ย.60 ได้มีมติรับทราบแนวทางการส่งเสริมการออมทั้งระบบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งกระทรวงการคลังจะพิจารณามาตรการที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป สำหรับแนวทางการส่งเสริมการออมทั้งระบบแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้

     1.การจัดทำแผนการส่งเสริมความรู้ทางการเงินแห่งชาติ (วาระแห่งชาติ) โดยเสนอร่างแผนการให้ความรู้พื้นฐานทางการเงิน พ.ศ.2560-2564 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดเป้าหมายและแนวทางการดำเนินงานเรื่องการให้ความรู้พื้นฐานทางการเงินระดับประเทศอย่างบูรณาการ และทำให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

     โดยร่างแผนการให้ความรู้ทางการเงินฯ มีเป้าหมาย 2 ด้าน ได้แก่ (1) เพื่อให้คนไทยมีการตระหนักรู้และเห็นถึงความสำคัญของการบริหารการเงินส่วนบุคคล โดยกำหนดให้การให้ความรู้ทางการเงินเป็นวาระแห่งชาติ และมีการรณรงค์ระดับชาติ (National Campaign) เพื่อให้การดำเนินนโยบายการให้ความรู้ทางการเงินของทุกภาคส่วนมีการบูรณาการไปในทิศทางเดียวกัน และสามารถเข้าถึงประชาชนจำนวนมาก และ (2) เพื่อให้คนไทยมีความรู้ความสามารถและมีวินัยทางการเงิน สามารถวางแผนและบริหารจัดการการเงินของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหน่วยงานต่าง ๆ มีการส่งเสริมการให้ความรู้ทางการเงินผ่านการฝึกอบรมและกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการพัฒนาสื่อและสาระความรู้ทางการเงินให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ ได้แก่กลุ่มเด็กและเยาวชน (Gen Z) กลุ่มนักศึกษาและคนเริ่มทำงาน (Gen Y) กลุ่มผู้ที่ทำงานในภาคเอกชน กลุ่มผู้ที่ทำงานในภาครัฐ กลุ่มประชาชนฐานราก (กลุ่มแรงงานนอกระบบ) กลุ่มองค์กรการเงินชุมชน กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ว่างงานและประชาชนทั่วไป

     2.การสร้างความแข็งแกร่งให้สถาบันหรือองค์กรการออมที่ไม่ใช่สถาบันการเงินในระบบ เพื่อเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบสหกรณ์และสร้างความเชื่อมั่นให้กับสมาชิกของสหกรณ์ โดยกระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกันพิจารณาแนวทางการกำกับดูแล ในขณะที่องค์กรการเงินในระดับชุมชนจะมีการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความแข็งแกร่งและยั่งยืน รวมทั้งกำกับดูแลให้สามารถเป็นเสาหลักทางการเงินของประชาชนฐานราก

     3.การเพิ่มผลิตภัณฑ์การออมและมาตรการลดรายจ่ายฟุ่มเฟือย ภาครัฐควรมีมาตรการผลักดันให้ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยเพื่อให้มีเงินเหลือในการอดออม ขณะเดียวกันควรมีการออกผลิตภัณฑ์การออมใหม่ ๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์การออมแบบระยะยาว เพื่อจูงใจให้ประชาชนมีการออมเงินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีเงินใช้ในยามจำเป็นและในยามชราภาพได้อย่างเพียงพอ รวมทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินในอีกทางหนึ่ง

      4.การเติมเต็มระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุ กระทรวงการคลังเห็นควรปรับปรุงระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุ เช่น การเร่งรัดการบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ พ.ศ. .... การปรับปรุงกฎหมายของกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นต้น และการปรับปรุงกลยุทธ์เพื่อจูงใจให้แรงงานนอกระบบมีการออมเงินผ่านกองทุนการออมเพื่อการเกษียณอายุโดยเฉพาะกองทุนการออมแห่งชาติเพิ่มมากขึ้น เช่น การเน้นการประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงและตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น การเพิ่มกลไกในการอำนวยความสะดวกในการรับสมัครสมาชิกและการชำระเงิน เป็นต้น

     "แนวทางการส่งเสริมการออมดังกล่าว จะส่งผลทำให้ประชาชนมีความตระหนักรู้และเห็นถึงความสำคัญของการบริหารการเงิน เพื่อให้รู้จักอดออมและใช้จ่ายอย่างเพียงพอและเหมาะสม ซึ่งจะช่วยลดปัญหาหนี้สินและมีเงินออมเพื่อใช้หลังเกษียณอายุอย่างเพียงพอ" รองโฆษกกระทรวงการคลัง ระบุ

      นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับสถาบันการออมในระดับชุมชน เพื่อเป็นเสาหลักทางการเงินให้กับประชาชนในระดับฐานราก รวมทั้งทำให้ระบบการออมเพื่อการชราภาพของประเทศไทยมีความครอบคลุมแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบได้อย่างแท้จริง และทำให้คนไทยทุกคนสามารถก้าวสู่วัยเกษียณอายุโดยมีหลักประกันความมั่นคงที่เพียงพอ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

                        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!