- Details
- Category: คลัง
- Published: Thursday, 15 May 2014 09:09
- Hits: 3782
คลังกัดฟันไม่ขึ้นภาษีชดเชยรายได้ ชี้หวั่นซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจซบเซา
แนวหน้า : นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ในช่วงรัฐบาลรักษาการจะไปขึ้นภาษีเพื่อชดเชยรายได้ที่หายไปเป็นไปได้ยาก เนื่องจากในภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้คงไม่เหมาะที่จะปรับขึ้นภาษีใด เพราะจะยิ่งไปซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจให้แย่ โดยสิ่งที่ทำให้คือเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บ แต่คงเพิ่มได้ไม่มาก เพราะเศรษฐกิจปรับลดลงมากจากเดิมมาก
โดยฐานจัดเก็บปีนี้ที่คาดว่าจะเก็บได้ 2.275 ล้านล้านบาทอยู่บนฐานเศรษฐกิจโต 4-5% แต่ล่าสุดกระทรวงการคลังมองว่าจะโตไม่ถึง 2.6 % คาดว่าทำให้การจัดเก็บหลุดเป้าประมาณ 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้พยายามเร่งรัดการจัดเก็บเต็มที่ อาทิ เพิ่มฐาน เร่งรัดกรณีพิพาทภาษี เข้าไปดูภาษีที่หลุดเป้ามากเกิดจากอะไร เพื่อไม่ให้ภาพรวมจัดเก็บทั้งปีหลุดเป้าหมายมากนัก
แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2557 (ต.ค.56- เม.ย.57) จัดเก็บได้ 1.29 ล้านล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายตามเอกสารงบประมาณ 4.39 หมื่นล้านบาท หรือต่ำกว่าเป้าหมาย 3.3% และต่ำกว่าช่วงเดือนกันปีก่อน 3.78 หมื่นล้านบาท หรือลดลง 2.8% ซึ่งในส่วนนี้ยังไม่รวมการคืนภาษี และเงินจัดสรรจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต)ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)
ทั้งนี้ หากดูเฉพาะ 3 กรมภาษี พบว่าในเดือนเม.ย. ได้รับผลกระทบหนักจากปัญหาการเมืองที่เริ่มรุนแรงขึ้นส่งผลให้การจัดเก็บภาษีลดลงกว่าเป้าหมายกว่า 2.1 หมื่นล้านบาท ถือว่าต่ำสุดในรอบ 7 เดือน โดยภาพรวมในการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมภาษีในช่วง 7 เดือนต่ำกว่าเป้าหมายถึง 8.14 หมื่นล้านบาท หรือต่ำกว่าเป้า 7.3% โดยกรมสรรพากร จัดเก็บต่ำกว่าเป้า 3.6 หมื่นล้านบาท หรือ 4.2% กรมสรรพสามิตจัดเก็บต่ำกว่าเป้า 3 หมื่นล้านบาท หรือ 11.5% ส่วนกรมศุลกากรจัดเก็บต่ำกว่าเป้า 1.45 หมื่นล้านบาท หรือ 18.9%
“ยังดีหน่อยที่สามารถจัดเก็บรายได้นอกเหนือจากภาษีได้สูงกว่าเป้าหมาย 3.73 หมื่นล้านบาท โดยเป็นรัฐวิสาหกิจสูงกว่าเป้าหมาย 2.35 หมื่นล้านบาท ส่วนหน่วยงานอื่นจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 1.38 หมื่นล้านบาท ทำให้ผลกระทบต่อภาพรวมการจัดเก็บลดลงได้บ้าง” แหล่งข่าว กล่าว
มึนเก็บรายได้วืด 4.39 หมื่นล. 3 กรมภาษีพลาดกระจาย ห่วงสถานะเงินคงคลังต่ำ
ไทยโพสต์ * อาการหนัก! 7 เดือนคลังจัดเก็บรายได้รูด 4.39 หมื่นล้านบาท 3 กรมภาษีรีดรายได้พลาดเป้า 8.14 หมื่นล้านบาท อ้างการเมืองกระทบหนัก
รายงานข่าวจากกระทรวง การคลัง ระบุถึงผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในช่วง 7 เดือน แรกของปีงบประมาณ 2557 (ต.ค. 2556 - เม.ย.2557) ในเบื้องต้นที่ยังไม่รวมการคืนภาษีและเงิน จัดสรรจากภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) พบว่าสามารถจัดเก็บได้ 1.29 ล้านล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายตามเอกสารงบประมาณ 4.39 หมื่นล้านบาท หรือต่ำกว่าเป้าหมาย 3.3% และต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 3.78 หมื่นล้านบาท หรือลดลง 2.8%
ทั้งนี้ หากดูเฉพาะ 3 กรมภาษีพบว่า ในเดือนเมษายนได้รับผลกระทบหนักจากปัญหาการเมืองที่เริ่มรุนแรงขึ้น ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีลดลงกว่าเป้าหมาย 2.1 หมื่นล้านบาทถือว่าต่ำสุดในรอบ 7 เดือน โดยภาพรวมในการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมภาษีในช่วง 7 เดือนต่ำกว่าเป้าหมายถึง 8.14 หมื่นล้านบาท หรือต่ำกว่าเป้าหมายประมาณ 7.3% โดยกรมสรรพากรต่ำกว่าเป้าหมาย 3.6 หมื่นล้านบาท หรือ 4.2% กรมสรรพสามิตต่ำกว่าเป้าหมาย 3 หมื่นล้านบาท หรือ 11.5% ส่วนกรมศุลกากรต่ำกว่าเป้าหมาย 1.45 หมื่นล้านบาท หรือ 18.9%
"ยังดีหน่อยที่สามารถจัดเก็บรายได้นอกเหนือจากภาษีได้สูงกว่าเป้าหมาย 3.73 หมื่นล้านบาท โดยเป็นรัฐวิสาหกิจสูงกว่าเป้าหมาย 2.35 หมื่นล้านบาท ส่วนของหน่วยงานอื่นจัดเก็บได้สูงกว่าเป้าหมาย 1.38 หมื่นล้านบาท ทำให้ผลกระทบต่อภาพรวมการจัดเก็บลดลงได้บ้าง" รายงานข่าว ระบุ
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในช่วงรัฐบาลรักษาการจะไปขึ้นภาษีเพื่อชดเชยรายได้ที่หายไปยาก และในภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้คงไม่เหมาะที่จะปรับขึ้นภาษีใดๆ เพราะจะยิ่งไปซ้ำเติมภาวะเศรษฐ กิจให้แย่ โดยสิ่งที่ทำได้คือเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บ แต่คงเพิ่มได้ไม่มาก เพราะเศรษฐ กิจปรับลดลงจากเดิมมาก โดยฐานจัดเก็บปีนี้ที่คาดว่าจะเก็บได้ 2.275 ล้านล้านบาทอยู่บนฐานเศรษฐกิจโต 4-5% แต่ล่าสุดกระทรวงการคลังมองว่าจะโตไม่ถึง 2.6% คาดว่าทำให้การจัดเก็บหลุดเป้าประมาณ 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้พยายามเร่งรัดการจัดเก็บเต็มที่ อาทิ เพิ่มฐาน เร่งรัดกรณีพิพาทภาษี เข้าไปดูภาษีที่หลุดเป้ามากเกิดจากอะไร เพื่อไม่ให้ภาพรวมจัดเก็บทั้งปีหลุดเป้าหมายมากนัก
ด้านศูนย์พยากรณ์ฯ หอ การค้าไทย ออกบทวิเคราะห์ระบุว่า สถานการณ์เงินคงคลังที่ทางรัฐบาลมีอยู่กว่า 2.13 แสน ล้านบาทนั้น หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกับงบประมาณที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีปริมาณสูงขึ้น แต่หากเทียบกันเป็นรายเดือนกลับพบว่าเงินคงคลังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ชะลอ ส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลลดลงตามไปด้วย ในขณะที่การเบิกจ่ายรัฐบาลนั้นจากที่เคยเป็นกำลังสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ต้องหยุดชะงัก หลังมีการยุบสภาทำให้การเบิกจ่ายงบลงทุนไม่สามารถดำเนินการได้
ดังนั้น รัฐบาลจึงมีความจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลมากขึ้น เพราะฉะนั้นหากมองในแง่ของการบริหารจัดการเงินคงคลังแล้ว ก็ถือว่าเงินคงคลังที่มีอยู่ในปัจจุบันนั้นอยู่ในระดับที่ต่ำ โดยคิดเป็น 7.5% ของงบประมาณรายจ่ายรวม ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของปี งบประมาณ 2543-2554 ที่อยู่ที่ 13.3% หากเงินคงคลังยังคงลดลงก็อาจจะส่งผลต่อสภาพคล่องของรัฐบาลในอนาคต.