- Details
- Category: คลัง
- Published: Thursday, 09 November 2017 23:15
- Hits: 2779
รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2560
นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ ได้รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2560 มีจำนวน 6,369,331.31 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.29 ของ GDP โดยแบ่งเป็นหนี้รัฐบาล 4,959,164.41 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ 970,216.31 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 426,321.04 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ 13,629.55 ล้านบาท ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 94,480.81 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
หนี้รัฐบาล จำนวน 4,959,164.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 97,923.22 ล้านบาท โดยรายละเอียด การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของหนี้รัฐบาล มีดังนี้
- การกู้เงินตามแผนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560 และพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2560 รวมถึงเพื่อการบริหารหนี้สาธารณะ เพิ่มขึ้น 99,889.65 ล้านบาท แบ่งเป็น
- เงินกู้ระยะสั้น เพิ่มขึ้น 15,000 ล้านบาท เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของตั๋วเงินคลัง
- เงินกู้ระยะยาว เพิ่มขึ้น 84,889.65 ล้านบาท เนื่องจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 90,240.34 ล้านบาท เพื่อนำไปลงทุนในการพัฒนาประเทศ สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจ พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง และส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมศักยภาพ รวมถึงการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงิน 5,350.69 ล้านบาท
- การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศเพิ่มขึ้นสุทธิ 1,704.63 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น การกู้ให้กู้ต่อแก่ (1) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 1,220.40 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม 564.69 ล้านบาท สายสีน้ำเงิน 345.57 ล้านบาท สายสีเขียวจำนวน 298.74 ล้านบาท และสายสีม่วงจำนวน 11.40 ล้านบาท (2) การรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 1,090.76 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น จำนวน 666.90 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า - แก่งคอย จำนวน 282.25 ล้านบาท โครงการปรับปรุงทางที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ จำนวน 98.71 ล้านบาท และโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต จำนวน 42.60 ล้านบาท (3) การเคหะแห่งชาติเบิกจ่ายจำนวน 6.90 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการอาคารพักอาศัยแปลง G ตามแผนแม่บทโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง และ (4) การชำระคืนหนี้เงินกู้ให้กู้ต่อการรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 613.43 ล้านบาท
- การกู้เงินบาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น 500 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน
- การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่สอง พ.ศ. 2545 (FIDF 3) จำนวน 12,946.84 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
- การกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 9,600 ล้านบาท จากการออก R-bill ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่กู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ วงเงิน 75,000 ล้านบาท ที่จะครบกำหนดในวันที่ 10 ตุลาคม 2560
- หนี้ต่างประเทศลดลงสุทธิ 824.22 ล้านบาท เนื่องจากการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร ระยะที่ 2 จำนวน 52.89 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยวิธี Cross Currency Swap
หนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 970,216.31 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 3,619.55 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจาก
- หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน เพิ่มขึ้น 3,508.60 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่เพิ่มขึ้นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และการรถไฟแห่งประเทศไทย
- หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เพิ่มขึ้น 110.95 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่เพิ่มขึ้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้านครหลวง
หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 426,321.04 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 6,048.01 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
หนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 13,629.55 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 1,013.95 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2560 จำนวน 6,369,331.31 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ในประเทศ 6,067,790.68 ล้านบาท หรือร้อยละ 95.27 และหนี้ต่างประเทศ 301,540.63 ล้านบาท (ประมาณ 9,027 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือร้อยละ 4.73 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และหนี้สาธารณะคงค้าง แบ่งตามอายุคงเหลือ สามารถแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาว 5,612,039.62 ล้านบาท หรือร้อยละ 88.11 และหนี้ระยะสั้น 757,291.69 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.89 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด
คณะโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 02 265 8050 ต่อ 5520 กระทรวงการคลัง
คลัง เผยหนี้สาธารณะคงค้างสิ้นเดือน ก.ย. อยู่ที่ 42.29% ของ GDP
นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 กันยายน 2560 มีจำนวน 6,369,331.31 ล้านบาท หรือคิดเป็น 42.29% ของ GDP โดยแบ่งเป็น หนี้รัฐบาล 4,959,164.41 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ 970,216.31 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 426,321.04 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ 13,629.55 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 94,480.81 ล้านบาท
สำหรับ หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2560 จำนวนดังกล่าวแบ่งออกเป็น หนี้ในประเทศ 6,067,790.68 ล้านบาท หรือ 95.27% และหนี้ต่างประเทศ 301,540.63 ล้านบาท (ประมาณ 9,027 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือ 4.73% ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และหนี้สาธารณะคงค้าง แบ่งตามอายุคงเหลือ สามารถแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาว 5,612,039.62 ล้านบาท หรือ 88.11% และหนี้ระยะสั้น 757,291.69 ล้านบาท หรือ 11.89% ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด
โดยหนี้รัฐบาลจำนวน 4,959,164.41 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 97,923.22 ล้านบาท โดยเกิดจาก 1.การกู้เงินตามแผนงานที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560 และ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปี 2560 รวมถึงเพื่อการบริหารหนี้สาธารณะ เพิ่มขึ้น 99,889.65 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินกู้ระยะสั้น เพิ่มขึ้น 15,000 ล้านบาท เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของตั๋วเงินคลัง และเงินกู้ระยะยาว เพิ่มขึ้น 84,889.65 ล้านบาท เนื่องจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 90,240.34 ล้านบาท เพื่อนำไปลงทุนในการพัฒนาประเทศ สร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจ พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็ง และส่งเสริมการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมศักยภาพ รวมถึงการไถ่ถอนตั๋วสัญญาใช้เงิน 5,350.69 ล้านบาท
2.การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศเพิ่มขึ้นสุทธิ 1,704.63 ล้านบาท แบ่งเป็น การกู้ให้กู้ต่อแก่ (1) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 1,220.40 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม 564.69 ล้านบาท สายสีน้ำเงิน 345.57 ล้านบาท สายสีเขียวจำนวน 298.74 ล้านบาท และสายสีม่วงจำนวน 11.40 ล้านบาท (2) การรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 1,090.76 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น จำนวน 666.90 ล้านบาท โครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟสายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย จำนวน 282.25 ล้านบาท โครงการปรับปรุงทางที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ จำนวน 98.71 ล้านบาท และโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต จำนวน 42.60 ล้านบาท (3) การเคหะแห่งชาติเบิกจ่ายจำนวน 6.90 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการอาคารพักอาศัยแปลง G ตามแผนแม่บทโครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง และ (4) การชำระคืนหนี้เงินกู้ให้กู้ต่อการรถไฟแห่งประเทศไทย จำนวน 613.43 ล้านบาท
3.การกู้เงินบาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น 500 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน
4.การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่สอง พ.ศ. 2545 (FIDF 3) จำนวน 12,946.84 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
5.การกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 9,600 ล้านบาท จากการออก R-bill ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่กู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ วงเงิน 75,000 ล้านบาท ที่จะครบกำหนดในวันที่ 10 ตุลาคม 2560
6.หนี้ต่างประเทศลดลงสุทธิ 824.22 ล้านบาท เนื่องจากการเบิกจ่ายและชำระคืนหนี้สกุลเงินต่างๆ และการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน รวมถึงการบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของโครงการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร ระยะที่ 2 จำนวน 52.89 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยวิธี Cross Currency Swap
ส่วนหนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 970,216.31 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 3,619.55 ล้านบาท โดยเกิดจาก 1.หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน เพิ่มขึ้น 3,508.60 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่เพิ่มขึ้นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และการรถไฟแห่งประเทศไทย 2.หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน เพิ่มขึ้น 110.95 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่เพิ่มขึ้นของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้านครหลวง
ขณะที่หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 426,321.04 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 6,048.01 ล้านบาท โดยเกิดจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และหนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 13,629.55 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 1,013.95 ล้านบาท โดยเกิดจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย
อินโฟเควสท์