WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

CGDสทธรตน รตนโชตกรมบัญชีกลาง ชวนผู้ค้ากับภาครัฐเพิ่มสินค้าในระบบ e-catalog อีก 20 รายการ

       กรมบัญชีกลางเพิ่มประเภทสินค้าในระบบ e-catalog จากเดิมอีก 20 รายการ เพื่อเปิดโอกาสทางการค้าให้กับผู้ค้ากับภาครัฐ อีกทั้งช่วยให้หน่วยงานของรัฐเลือกซื้อสินค้าได้สะดวก และคล่องตัวยิ่งขึ้น

     นางสาวสุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้เพิ่มประเภทสินค้าในระบบการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-market) อีกจำนวน 20 รายการ ได้แก่ 1.ลวดเย็บกระดาษ 2.คลิปดำหนีบกระดาษ 3.ไมโครโฟน 4.ตู้ล็อกเกอร์ 5.ตู้เก็บเอกสาร 6.โทรทัศน์ 7.ลำโพงห้องประชุม 8.เครื่องเย็บกระดาษ9.เครื่องถ่ายเอกสาร 10.เครื่องขยายเสียง 11.เครื่องปรับอากาศ 12.เครื่องทำน้ำเย็นแบบต่อท่อประปา 13.เครื่องอบผ้าแบบอุตสาหกรรม 14.เครื่องซักผ้าอุตสาหกรรม 15.เครื่องสแกนเนอร์ 16.เครื่องพิมพ์ 17.เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แบบตั้งโต๊ะ 18.เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค 19.เครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) และ 20.เครื่องมัตติมีเดียโปรเจคเตอร์

      โดยผู้ค้ากับภาครัฐสามารถบันทึกคุณลักษณะสินค้าในระบบข้อมูลสินค้า (e-catalog) ได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่ต้องการสินค้าดังกล่าวสามารถจัดหาได้จากระบบ e-market

      ทั้งนี้ ผู้ค้ากับภาครัฐที่มีสินค้าตามรายการข้างต้น และต้องการขายสินค้ากับภาครัฐ สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสินค้า เช่น คุณสมบัติ จำนวนสินค้า รายละเอียดอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ในระบบ e-catalog โดยศึกษาขั้นตอนการบันทึกสินค้าได้จากคู่มือ e-catalog ใน www.gprocurement.go.th หัวข้อ “คู่มือปฏิบัติงานสำหรับผู้ค้ากับภาครัฐ” แต่หากผู้ค้ารายใดยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นผู้ค้ากับภาครัฐ ก็สามารถลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์นี้เช่นเดียวกัน

      อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวสรุปผลการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธี e-market ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2558 – เดือนสิงหาคม 2560 ว่า มีการจัดซื้อจัดจ้างไปแล้วทั้งสิ้น 469 โครงการ สามารถประหยัดงบประมาณได้ 126.41 ล้านบาท ของวงเงินในการจัดหา 473.55 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 21.07

     “ระบบ e-market เป็นระบบที่เปิดโอกาสให้ผู้ค้ากับภาครัฐทุกแห่งมีโอกาสในการเข้าร่วมการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น นอกจากนี้ ยังช่วยให้หน่วยงานของรัฐได้สินค้าที่ตรงกับความต้องการและช่วยประหยัดงบประมาณของภาครัฐได้อีกด้วย” นางสาวสุทธิรัตน์ กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

กรมบัญชีกลางเผยจัดซื้อจัดจ้างวิธี e-bidding ช่วยรัฐประหยัดงบถึง 9.8 หมื่นลบ. ใน 7.2 หมื่นโครงการ

     น.ส.สุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า จากที่หน่วยงานของรัฐเริ่มใช้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยวิธี e-bidding ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558 – วันที่ 30 สิงหาคม 2560 สามารถช่วยรัฐประหยัดงบประมาณได้สูงถึง 98,512 ล้านบาท หรือคิดเป็น 11.22% มีโครงการทั้งสิ้น 72,547 โครงการ มีงบประมาณในการจัดหากว่า 779,700.68 ล้านบาท

     สำหรับ โครงการที่มีจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธี e-bidding โดยแบ่งเป็นประเภท ดังนี้

     1.งานจ้างก่อสร้างจำนวน 35,404 โครงการ ดำเนินการจ้างแล้ว 32,046 โครงการ ใช้วงเงินในการจัดหา 583,264.27 ล้านบาท ประหยัดงบประมาณได้ 12.14%

     2.งานซื้อจำนวน 28,066 โครงการ ดำเนินการจ้างแล้ว 25,668 โครงการ ใช้วงเงินในการจัดหา 145,689.41 ล้านบาท ประหยัดงบประมาณได้ 8.47%

     3.งานจ้างทำของ/จ้างเหมาบริการจำนวน 8,162 โครงการ ดำเนินการจ้างแล้ว 7,383 โครงการ ใช้วงเงินในการจัดหา 45,162.21 ล้านบาท ประหยัดงบประมาณได้ 7.66%

     4.งานเช่าจำนวน 915 โครงการ ดำเนินการจ้างแล้ว 832 โครงการ ใช้วงเงินในการจัดหา 5,575.79 ล้านบาท ประหยัดงบประมาณได้ 10.71%

     น.ส.สุทธิรัตน์ กล่าวย้ำว่า ระบบการ e-bidding เป็นระบบที่ทุกขั้นตอนต้องทำผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ลดการเผชิญหน้าระหว่างผู้ค้ากับผู้ค้า และผู้ค้ากับเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งทำให้ลดช่องทางการทุจริต ใช้งบประมาณได้อย่างคุ้มค่า นับเป็นการยกระดับความโปร่งใสในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ

                อินโฟเควสท์

กรมบัญชีกลาง เพิ่มประเภทสินค้าในระบบ e-catalog จากเดิมอีก 20 รายการเปิดโอกาสทางการค้าให้กับผู้ค้ากับภาครัฐ

      น.ส.สุทธิรัตน์ รัตนโชติ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้เพิ่มประเภทสินค้าในระบบการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-market) จากเดิมอีก 20 รายการ เพื่อเปิดโอกาสทางการค้าให้กับผู้ค้ากับภาครัฐ อีกทั้งช่วยให้หน่วยงานของรัฐเลือกซื้อสินค้าได้สะดวก และคล่องตัวยิ่งขึ้น

      โดยสินค้าทั้ง 20 รายการ ได้แก่ 1.ลวดเย็บกระดาษ 2.คลิปดำหนีบกระดาษ 3.ไมโครโฟน 4.ตู้ล็อกเกอร์ 5.ตู้เก็บเอกสาร 6.โทรทัศน์ 7.ลำโพงห้องประชุม 8.เครื่องเย็บกระดาษ 9.เครื่องถ่ายเอกสาร 10.เครื่องขยายเสียง 11.เครื่องปรับอากาศ 12.เครื่องทำน้ำเย็นแบบต่อท่อประปา 13.เครื่องอบผ้าแบบอุตสาหกรรม 14.เครื่องซักผ้าอุตสาหกรรม 15.เครื่องสแกนเนอร์ 16.เครื่องพิมพ์ 17.เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แบบตั้งโต๊ะ 18.เครื่องคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค 19.เครื่องสำรองไฟฟ้า (UPS) และ 20.เครื่องมัตติมีเดียโปรเจคเตอร์

      ทั้งนี้ ผู้ค้ากับภาครัฐสามารถบันทึกคุณลักษณะสินค้าในระบบข้อมูลสินค้า (e-catalog) ได้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่ต้องการสินค้าดังกล่าวสามารถจัดหาได้จากระบบ e-market โดยผู้ค้ากับภาครัฐที่มีสินค้าตามรายการข้างต้น และต้องการขายสินค้ากับภาครัฐ สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับสินค้า เช่น คุณสมบัติ จำนวนสินค้า รายละเอียดอื่นที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ในระบบ e-catalog โดยศึกษาขั้นตอนการบันทึกสินค้าได้จากคู่มือ e-catalog ใน www.gprocurement.go.th หัวข้อ “คู่มือปฏิบัติงานสำหรับผู้ค้ากับภาครัฐ" แต่หากผู้ค้ารายใดยังไม่ได้ลงทะเบียนเป็นผู้ค้ากับภาครัฐ ก็สามารถลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์นี้เช่นเดียวกัน

     อธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า ผลการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธี e-market ตั้งแต่เดือน ก.พ.58 - ส.ค.60 มีการจัดซื้อจัดจ้างไปแล้วทั้งสิ้น 469 โครงการ สามารถประหยัดงบประมาณได้ 126.41 ล้านบาท ของวงเงินในการจัดหา 473.55 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 21.07

      "ระบบ e-market เป็นระบบที่เปิดโอกาสให้ผู้ค้ากับภาครัฐทุกแห่งมีโอกาสในการเข้าร่วมการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และป้องกันการทุจริตคอรัปชั่น นอกจากนี้ยังช่วยให้หน่วยงานของรัฐได้สินค้าที่ตรงกับความต้องการและช่วยประหยัดงบประมาณของภาครัฐได้อีกด้วย" น.ส.สุทธิรัตน์ กล่าว

       อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!