WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gเอกนตสคร. เตรียมชงรถไฟฟ้าสายสีส้ม - ม่วงใต้ เข้าบอร์ด PPP ปีหน้า มั่นใจครม.เห็นชอบรถไฟฟ้าภูเก็ต และเชียงใหม่ช่วงกลางปี 61

      สคร.เผยบอร์ด PPP รับทราบให้เอกชนร่วมพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์สถานีรถไฟบางซื่อ มูลค่าลงทุนกว่า 1.1 หมื่นลบ.  เผยจะชงรถไฟฟ้าสายสีส้ม - ม่วงใต้ เข้าบอร์ด PPP ได้กลางปี 61  ส่วนครม.เห็นชอบรถไฟฟ้าภูเก็ต และเชียงใหม่ กลางปีหน้าเช่นกัน พร้อมฝากคมนาคมศึกษารถไฟฟ้าขอนแก่น -โคราช เพิ่ม พร้อมต่อยอดรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ - ระยอง เป็นรถไฟเชื่อม 3 สนามบินในการประชุม EEC ปลายเดือนนี้ 

 นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กรรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการ PPP โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ว่า  ที่ประชุมคณะกรรมการรับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการภายใต้มาตรการ PPP Fast Track ของกระทรวงคมนาคม 8 โครงการ  แยกเป็น 1.ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน – นครราชสีมา 2. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางใหญ่ – กาญจนบุรี ในส่วนการดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) อยู่ระหว่างการคัดเลือกเอกชนซึ่งคาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ภายในปี 2561 / 3.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน – นครราชสีมา 4.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางใหญ่ – กาญจนบุรี ส่วนของที่พักริมทาง 5.โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายนครปฐม – ชะอำ

  ส่วนโครงการรถไฟฟ้า มี 1.รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - วงแหวนกาญจนาภิเษก  2 .โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี คาดว่าจะเสนอคณะกรรมการ PPP และสามารถประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนได้ในปี 2561 และ 3.โครงการรถไฟฟ้าสายภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ตฯ – ห้าแยกฉลอง และโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของจังหวัดเชียงใหม่ คาดว่าจะเสนอคณะกรรมการ PPP ได้ในช่วงปลายปี 2561

   ขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ - ระยอง จะมีการสร้างความชัดเจนในการกำหนด เป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน ภายใต้โครงการใน EEC ในการประชุมคณะกรรมการนโยบาย EEC ในปลายเดือนพฤศจิกายน 2560 นี้

           ทั้งนี้ มอบหมายให้ สคร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการประสานกระทรวงคมนาคมเพิ่มเติมโครงการรถไฟฟ้าภูมิภาคในจังหวัดขอนแก่นและนครราชสีมาในมาตรการ PPP Fast Track ต่อไป และขอให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งรัดติดตามการดำเนินโครงการภายใต้มาตรการ PPP Fast Track ให้เป็นไปตามกำหนดเวลาที่วางไว้

      ทางด้าน นายนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังจาก กระทรวงคมนาคมได้ส่งรายงานเรื่องแผนรถไฟฟ้าว่า แผนรถไฟฟ้าต่างจังหวัด ซึ่งประกอบด้วย จ.ภูเก็ต และจ.เชียงใหม่  ทางกระทรวงคมนาคมน่าจะอนุมัติได้ในเดือนมิถุนายน 2561 ก่อนจะเสนอให้ คณะกรรมการพีพีพี เห็นชอบต่อไป ทั้งนี้มั่นใจว่าคณะรัฐมนตรีจะเห็นชอบภายในกลางปีหน้าเช่นกัน พร้อมทั้งยังได้มอบหมายให้ กระทรวงคมนาคมไปศึกษาโครงการรถไฟฟ้าจ.ขอนแก่น และจ.นครราชสีมา เพิ่มเติมด้วย  

  "คมนาคมคงเห็นชอบ รถไฟฟ้าจ.ภูเก็ต และจ.เชียงใหม่ ช่วงมิ.ย. ซึ่ง ครม.น่าจะเห็นชอบเช่นกัน ฝากคมนาคมไปศึกษารถไฟฟ้าในจ.ขอนแก่น และโคราชเป็นแผนต่อไป" นายสมคิดกล่าว 

 ขณะเดียวกัน คณะกรรมการ PPP มีมติรับทราบการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์แปลง A (ขนาดพื้นที่ประมาณ 32 ไร่) บริเวณสถานีกลางบางซื่อของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยมีมูลค่าลงทุนก่อสร้างประมาณ 11,573.56 ล้านบาท ตามที่ รฟท. เสนอ โดยให้เอกชนลงทุนทั้งหมดในรูปแบบสร้าง – บริหาร – โอน (Build – Operate – Transfer: BOT) เพื่อพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ตามหลักการของการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีระบบขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development (TOD)) เพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการเดินรถไฟ โดยมีระยะเวลาดำเนินธุรกิจ 30 ปี และระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี

    ทั้งนี้ โครงการนี้จะช่วยสนับสนุนให้พื้นที่บริเวณศูนย์พหลโยธินกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทาง และย่านธุรกิจแห่งใหม่ด้านทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร ซึ่งนอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการเดินทางให้แก่ประชาชน แล้วยังช่วยเพิ่มรายได้ที่ไม่ใช่รายได้หลัก (Non Core) ของ รฟท.

   นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการ PPP มีมติเห็นชอบให้โครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม ที่กรมการขนส่งทางบกเสนอ มูลค่าโครงการประมาณ 1,218 ล้านบาท ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ซึ่งโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์และพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน

 สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

เคาะรฟท.พัฒนาที่บางซื่อ หวังหารายได้ช่วยล้างหนี้เดินหน้าพีพีพีฟาสต์แทร็ก

     ไทยโพสต์ : พระราม 6 * บอร์ดพีพีพีไฟเขียวแผนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์แปลง A บางซื่อ มูลค่ากว่า 1.1 หมื่นล้านบาทตามที่ รฟท.เสนอ หวังเพิ่มรายได้ นำเงินมาล้างหนี้กว่าแสนล้าน พร้อมสั่งทำแผนเพิ่มเติมในส่วนที่เหลือของแปลง B และแปลง A เร่งเดินหน้าโครงการพีพีพี ฟาสต์แทร็ก

      นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาห กิจ (สคร.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) โดยมีนายสมคิด จา ตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งคณะกรรมการพีพีพีมีมติรับทราบการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาพื้น ที่เชิงพาณิชย์แปลง A ขนาดพื้นที่ ประมาณ 32 ไร่ บริเวณสถานีกลางบางซื่อของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยมีมูลค่า ลงทุนก่อสร้างประมาณ 11,573.56 ล้านบาท ตามที่ รฟท.เสนอ

      ทั้งนี้ จะให้เอกชนลงทุนทั้ง หมดในรูปแบบสร้าง-บริหาร-โอน (Build-Operate-Transfer : BOT)เพื่อพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ตามหลักการของการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีระบบขนส่งมวลชน หรือ Transit Oriented Development (TOD) เพื่อสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการเดินรถไฟ โดยมี ระยะเวลาดำเนินธุรกิจ 30 ปี และระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี

     สำหรับ การพัฒนาพื้นที่แปลง A จะช่วยสนับสนุนให้พื้นที่บริเวณศูนย์พหลโยธินกลายเป็นศูนย์กลางการเดินทาง และย่านธุรกิจแห่งใหม่ด้านทิศเหนือของกรุงเทพมหานคร ซึ่งนอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการเดินทางให้แก่ประชาชน แล้ว ยังช่วยเพิ่มรายได้ที่ไม่ใช่รายได้หลัก (Non Core) ของ รฟท. และนำมาชำระหนี้ที่มีอยู่กว่า 1 แสนล้านบาท นอกจากนี้ คณะกรรมการพีพีพียังเห็นว่าให้ รฟท.ไปพิจารณาเพิ่มเติมในพื้นที่ที่เหลือ แปลง B และแปลง C ด้วย

      นายเอกนิติ กล่าวว่า คณะกรรมการพีพีพีมีมติเห็นชอบให้โครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม ที่กรมการขนส่งทางบกเสนอ มูลค่าโครงการประ มาณ 1,218 ล้านบาท ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 ซึ่งโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์และพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจชายแดน

      นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการภายใต้มาตรการพีพีพี ฟาสต์แทร็ก ของกระทรวงคมนาคม อาทิ โครงการทาง หลวงพิเศษระหว่างเมือง สายนครปฐม-ชะอำ โครงการรถไฟ ฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-วงแหวนกาญจนาภิเษก และโครง การรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบาง ขุนนนท์-มีนบุรี คาดว่าจะเสนอคณะกรรมการ PPP และสามารถประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนได้ในปี 2561

     โครงการรถไฟฟ้าสายภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ตฯ- ห้าแยกฉลอง และโครงการรถ ไฟฟ้าขนส่งมวลชนของจังหวัดเชียงใหม่ คาดว่าจะเสนอคณะกรรมการพีพีพีได้ในช่วงปลายปี 2561, โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-ระยอง จะมี การสร้างความชัดเจนในการ กำหนดเป็นโครงการรถไฟความ เร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน และประสานไปกระทรวงคมนาคมหาเส้นทางเชื่อมไปยังพื้นที่อีอีซี ภายใต้โครงการในอีอีซี โดยจะประชุมคณะกรรมการนโยบาย อีอีซีในปลายเดือน พ.ย.2560 นี้.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!