WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสวชญ โรจนวานชสศค.เพิ่มเป้าจีดีพีปี 60 เป็นโต 3.8% จากเดิม 3.6% ด้านส่งออกคาดโต 8.5% จากเดิม 4.7%

      สศค.เพิ่มเป้าจีดีพีปี 60 เป็นโต 3.8% จากเดิม 3.6% ด้านส่งออกคาดโต 8.5% จากเดิม 4.7% ส่วนปี 61 คาดจีดีพีโต 3.8% ส่งออกคาดโต 5.7% พร้อมคงคาดการณ์ค่าเงินบาทปีนี้อยู่ที่ 34 บ./ดอลล์ ส่วนปี 61 คาดแข็งค่าที่ 33.50 บ./ดอลล์ พร้อมคาดกนง.คงดบ.นโยบายที่ 1.5% ถึงปี 61 เหตุเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ หลังหั่นเป้าเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้เหลือ 0.7% จากเดิม 0.8%

นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ได้ปรับเพิ่มประมาณการณ์ศรษฐกิจไทยปี 2560 เป็นโต 3.8% จากเดิมคาดการณ์ว่าจะโต 3.6% ด้านอัตราเงินเฟ้อปีนี้คาดจะอยู่ที่ 0.7% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ 0.6% ขณะที่ดุลการค้าปีนี้คาดเกินดุล 29.9 พันล้านดอลลาร์ และปีหน้าคาด 27.2 พันล้านดอลลาร์ ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ที่ 43 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ปีหน้า 42.4 พันล้านดอลลาร์

     ทั้งนี้ คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2561 ขยายตัวได้ที่ 3.8% โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 3.3-4.3% โดยมีแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภาครัฐ นอกจากนี้ยังเป็นผลจากการลงทุนภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ความชัดเจนเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งยังช่วยสร้างความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ และช่วยกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนไทยมากขึ้นด้วย ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2561 คาดอยู่ที่ 1.4% อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ที่ 0.9% ด้านการส่งออกอยู่ที่ 4% และนำเข้า 6.9%

  ขณะที่การลงทุนภาครัฐปี 2561 จะขยายตัว 11.9% และการลงทุนที่ 3.4% ส่วนเศรษฐกิจไทยในปีนี้ สศค.ได้ปรับประมาณการเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 3.8% จากเดิมคาดที่ 3.6% ขณะที่การส่งออกปรับเพิ่มขึ้นเป็น 8.5% จากเดิมที่ 4.7% และนำเข้าเพิ่มเป็น 14% จากเดิมที่ 9.7% โดยมีแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกสินค้าและบริการที่ปรับดีขึ้นต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งเป็นตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวดี ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะการลงทุนด้านเครื่องจักร เครื่องมือในหมวดยานยนต์ ซึ่งสะท้อนได้จากการปรับตัวเร่งขึ้นของยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในไตรมาสที่ 3

  นอกจากนี้ สศค.ยังคาดการณ์ว่า ค่าเงินบาทในระยะต่อไปถึงปี 2561 จะแนวโน้มแข็งค่าขึ้นกว่าสกุลอื่นในภูมิภาค โดยมองค่าเฉลี่ยที่ 33.5 บาทดอลลาร์ ขณะที่ปีนี้คาดเงินบาทจะเคลื่อนไหวที่ระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์ ด้านน้ำมันดิบดูไบปีนี้คาดการณ์ไว้ที่ 51.8 ดอลลาร์ต่อบาเรล และปีหน้าคาดการณ์ที่ 53 ดอลลาร์ต่อบาเรล

  ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย คาดการณ์ว่า แรงกดดันเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับต่ำ น่าจะทำให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 1.5% ต่อปีจนถึงปี 2561 ด้านเศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายนที่ผ่านมา และไตรมาส 3/2560 ขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวมาก และจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเริ่มกระจายตัวในทุกภาคส่วน ในช่วงที่ผ่านมา ธปท.ได้เข้ามาชี้แจงรายละเอียดอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสาเหตุจากฐานของเงินเฟ้อที่สูงในปีที่ผ่านมา

  นายสุวิชญ กล่าวว่า ในเดือนกันยายนที่ผ่านมานั้น การส่งออกสินค้าขยายตัวสูงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 โดยมีมูลค่าการส่งออกที่ 12.2% ต่อปี ขณะที่การนำเข้าขยายตัว 9.7% ต่อปี ส่วนไตรมาส 3 ที่ผ่านมา การส่งออกของไทยขยายตัว 12% และนำเข้าขยายตัวได้14.3% ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.9% และไตรมาส 3 ที่ผ่านมาที่ 0.4% ส่วนเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.5% และไตรมาส 3 ที่ 0.5%

  ทั้งนี้ สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมนั้น มองว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น และสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างแน่นอน แต่ทั้งนี้จะมีส่วนพื้นที่แก้มลิง พื้นที่รับน้ำ เช่น เกษตรกรบางพื้นที่อาจได้รับผลกระทบบ้างเล็กน้อย

  “เศรษฐกิจไทยในเดือนกันยายน ปี 2560 มีสัญญาณของการขยายตัวแบบกระจายตัวมากขึ้นจากเดือนก่อนหน้าทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่มีการขยายตัวในอัตราเร่งมากขึ้น ส่วนด้านอุปทานยังขยายตัวได้ดีทั้งผลผลิตสินค้าเกษตรและจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ทั้งนี้ การฟื้นตัวที่กระจายตัวมากขึ้นช่วยให้เศรษฐกิจ ในไตรมาสที่ 3 ปี 2560 ขยายตัวได้ดี โดยมีการส่งออกสินค้าและบริการเป็นเครื่องยนต์หลัก เสริมด้วยการใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวได้ดีจากไตรมาสก่อน ในขณะที่การใช้จ่ายภาคเอกชนยังขยายตัวได้ดีและช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยได้อย่างต่อเนื่อง”นายสุวิชญ กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

สศค.-ธปท. ประสานเสียงส่งออกต.ค.โต 13.1% เป็นไปตามคาด เชื่อทั้งปีโตไม่ถึง 2 หลัก เหตุมีหลายปัจจัยเสี่ยงกดดัน

    สศค. เผยส่งออก ต.ค.โต 13.1% เป็นไปตามประมาณการ เชื่อปีนี้โตประมาณ 8.5% ชี้ยังมีดอกเบี้ยเฟดกดดันเงินบาท   ฟากธปท.มองไม่ต่างจากประมาณการ แต่เชื่อช่วงที่เหลือน่าจะชะลอความร้อนแรง มองโอกาสที่ตัวเลขทั้งปีโต 2 หลักเป็นไปได้ยาก 

      นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง และในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังกระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขส่งออกเดือนตุลาคม 2560 ที่ผ่านมา ขยายตัวได้ 13.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนนั้น เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งในปีนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. ล่าสุดได้ปรับประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี ขยายตัว 3.8% ขณะที่การส่งออกปรับเพิ่มขึ้น 8.5% 

    อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ยังมองว่า เศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ดี ทั้งจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ขยายตัวค่อนข้างดี รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวชัดเจน ส่งผลดีต่อภาพรวมของการส่งออกของไทยในปีนี้ และต่อเนื่องถึงปีหน้า แม้ว่า หากดูตัวเลขการเติบโต อาจไม่สูงเท่าปีนี้ แต่หากเปรียบเทียบในมุมของมูลค่าการส่งออก เชื่อว่า ยังขยายตัวได้อย่างแน่นอน โดยตัวเลขการส่งออกจะเติบโตถึง 2 หลักหรือไม่นั้น มองว่า หากตัวเลขการส่งออกจะสูงมากถึง 2 หลัก และเศรษฐกิจจะขยายตัวได้มากกว่า 4% นั้น หมายความว่า ทุกอย่างต้องดีหมด และไม่มีปัจจัยเสี่ยงอื่นเข้ามากระทบ แต่ปัจจุบัน พบว่า ยังมีปัจจัยเสี่ยงบ้าง ทั้งในและต่างประเทศที่ต้องจับตามอง

      ขณะที่ในเดือนธันวาคมนี้ ยังคงต้องจับตาดู การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด ว่าจะมีทิศทางการปรับดอกเบี้ยอย่างไรบ้าง ซึ่งหากว่า เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชื่อว่า การส่งออกน่าจะได้รับอานิสงส์ที่ดีจากการเงินบาทที่อาจจะอ่อนค่าลงด้วย 

   “ในเรื่องเฟด เราไม่ได้ห่วงว่าจะมีเรื่องของเงินไหลออก เพราะหากดู จะพบว่า ปัจจุบันเงินทุนที่ไหลเข้ามาไม่ได้ดูในเรื่องของผลตอบแทนเพียงอย่างเดียว จะดูหลายอย่างประกอบด้วย ทั้งเรื่องโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง รวมถึงแผนปฏิรูปเศรษฐกิจในระยะยาว เป็นต้น และหากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. จะต้องเร่งปรับขึ้นตามหรือไม่นั้น มองว่า คงต้องขึ้นอยู่กับภาวะ หรือ สถานการณ์ของเศรษฐกิจมากกว่า อย่างในสถานการณ์ปัจจุบัน อัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1.5% ก็ถือว่าเป็นระดับที่เหมาะสม และเอื้อต่อการขยายตัว เช่น หากยกตัวอย่างให้เห็นว่า หากเราต้องการให้เศรษฐกิจเติบโต ภาคการคลังมีมาตรการในการกระตุ้นการฟื้นตัว ก็ไม่มีความจำเป็นที่นโยบายการเงินจะต้องมาเป็นตัวฉุดตอนนี้”นางสาวกุลยา กล่าว

  สำหรับ มาตรการช้อปช่วยชาตินั้น มองว่า ในเบื้องต้น ยังไม่ได้หารือกับสศค. ว่าจะมีผลหรือกระตุ้นเศรษฐกิจมากน้อยเพียงใด เนื่องจากมาตรการดังกล่าวเป็นเพียงมาตรการระยะสั้นเท่านั้น ส่วนกรณีที่ก่อนหน้านี้ มีการเสนอว่าอยากให้มีการทำมาตรการช้อปช่วยชาติออกทุกปีนั้น มองว่า หากมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้มาตรการดังกล่าวมีทุกปีนั้น มองว่า อาจเป็นสิ่งที่ทำให้ประชาชนคาดหวัง หรือ รอการจับจ่ายใช้สอยช่วงปลายปีเพียงอย่างเดียว ซึ่งจุดประสงค์หลักของมาตรการดังกล่าวนั้น เป็นเพียงต้องการดำเนินการเพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยในช่วงสั้นเท่านั้น    

  นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ตัวเลขการส่งออกเดือนตุลาคม 2560 ธปท.มองว่า เป็นตัวเลขที่ใกล้เคียงกับที่ ธปท. คาดไว้ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.ครั้งล่าสุด โดยการขยายตัวสองหลักในเดือนนี้เป็นไปตามคาดจากผลของฐานต่ำในปีก่อน และอุปสงค์ต่างประเทศในหลายสินค้าที่ยังดีต่อเนื่อง 

 อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วง 2 เดือนที่เหลืออัตราการขยายตัวน่าจะชะลอตัวลงบ้าง ส่งผลให้การส่งออกทั้งปีน่าจะโตได้มากกว่าที่เผยแพร่ในรายงานนโยบายการเงินเดือนกันยายน 2560 ที่ 8% แต่คาดว่าคงโตไม่ถึงเลขสองหลัก

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!