- Details
- Category: คลัง
- Published: Monday, 30 October 2017 21:15
- Hits: 10434
คลัง เผย บัญชีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหว 10 ปีขึ้นไป จะใช้ระบบออนไลน์ค้นหาเจ้าของบัญชี - เล็งริบเงินใช้สาธารณะประโยชน์
คลัง ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับบัญชีเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ชี้ ธปท.กำหนดให้แบงก์เรียกเก็บค่ารักษาบัญชีหากบัญชีมีเงินฝากเหลือน้อยกว่าขั้นต่ำที่แบงก์กำหนด ส่วนบัญชีที่ไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นเวลา 10 ปีขึ้นไป จะใช้ระบบออนไลน์มาใช้ค้นหาเจ้าของบัญชี ชี้ในตปท.นำเงินจากบัญชีที่ไม่เคลื่อนไหวนำมาใช้ในสาธารณะประโยชน์
ตามที่กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้เปิดรับฟังความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของสถาบันการเงิน พ.ศ. .... ทางเว็บไซต์ www.fpo.go.th และอาจสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนให้กับประชาชน ดังนั้น สศค. จึงขอชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้
ปัจจุบัน ประชาชนส่วนหนึ่งมีการฝากเงินทิ้งไว้ที่สถาบันการเงินโดยที่บัญชีเงินฝากดังกล่าวไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นระยะเวลานาน (Dormant Account) ซึ่งประชาชนอาจทราบหรือไม่ทราบก็ตาม ซึ่งในส่วนนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเงินฝากดังกล่าวออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่
(1) กรณีเงินฝากมียอดเงินฝากคงเหลือน้อยกว่าขั้นต่ำที่ธนาคารกำหนด ธนาคารสามารถเรียกเก็บค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝากได้ หากมียอดคงเหลือในบัญชีเงินฝากน้อยกว่าขั้นต่ำที่ธนาคารกำหนด (ส่วนใหญ่ ธนาคารจะกำหนดยอดขั้นต่ำไว้ที่ 2,000 บาท และเก็บค่าบริการรักษาบัญชีจนกระทั่งเงินในบัญชีหมดไป)
(2) กรณีบัญชีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหวมียอดเงินฝากคงเหลือสูงกว่าขั้นต่ำที่ธนาคารกำหนดธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บบริการรักษาบัญชีเงินฝากสำหรับเงินในส่วนนี้ได้ ทั้งนี้ ธนาคารสามารถแยกเงินในบัญชีนี้ออกเป็นบัญชีที่ไม่มีการเคลื่อนไหว โดยต้องแจ้งยอดเงินฝากคงเหลือเป็นจดหมายลงทะเบียนหรือจดหมายรับรองให้ลูกค้าทราบ และหากลูกค้าหรือทายาทยังไม่ติดต่อกลับมายังธนาคารตามระยะเวลาที่กำหนด ธนาคารจะแยกเงินในบัญชีนี้ออกเป็นบัญชีที่ไม่มีการเคลื่อนไหว และที่ผ่านมาได้มีการใช้ประโยชน์จากเงินในส่วนนี้ ผ่านการรับรู้เงินในบัญชีดังกล่าวเป็นรายได้
ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในระบบสถาบันการเงินที่รับฝากเงิน กระทรวงการคลังจึงได้มีการยกร่างกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้อำนาจกระทรวงการคลังเป็นผู้ดูแลเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวเกินกว่า 10 ปีขึ้นไปของประชาชนแทนสถาบันการเงิน และจัดทำระบบการค้นหาข้อมูลออนไลน์เพื่อสืบค้นเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เพื่อให้ประชาชนเจ้าของบัญชีหรือทายาทตามกฎหมายสามารถสืบค้นและขอเงินต้นคืนได้ตลอดเวลา ผ่านการดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนด ทั้งนี้ หากไม่มีการจัดทำระบบการค้นหาข้อมูลข้างต้น ประชาชนอาจจะลืมหรือไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีเงินจำนวนดังกล่าวอยู่ หรือหากประชาชนต้องการสืบค้นเงินดังกล่าวก็จำเป็นต้องติดต่อสอบถามสถาบันการเงินเป็นราย ๆ ไป
ทั้งนี้ ในต่างประเทศได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกัน เช่น ออสเตรเลีย อังกฤษ ไอร์แลนด์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะนำเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวมาบริหารจัดการเพื่อนำเงินส่วนหนึ่งไปเพื่อสาธารณประโยชน์ และกันเงินสำรองอีกส่วนหนึ่งไว้เพื่อคืนเงินแก่ประชาชนที่มาขอเรียกเงินคืน ในการนี้ สศค. จึงขอเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างกฎหมายดังกล่าวถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 ผ่านทาง Fax: 0 2618 3366 Email: [email protected]
สศค.รับมีแผนยึดเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหวเกิน 10 ปี แต่ต้องรอประชาพิจารณ์ พบมีเม็ดเงินอยู่ในกลุ่มนี้ถึง 1 หมื่นลบ.
สศค.ยอมรับมีแผนยึดเงินฝากที่บัญชีไม่เคลื่อนไหวเกิน 10 ปีเข้าคลังจริง แต่ต้องรับฟังประชาพิจารณ์ก่อน พบมีเม็ดเงินอยู่ในกลุ่มดังกล่าวถึง 10,000 ลบ. ชี้จะช่วยบริหารจัดการเงินฝากแทนสถาบันการเงิน แต่ยังเปิดช่องให้ทายาทสามารถแสดงหลักฐานรับเงินได้ตลอดเวลา
นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงกรณีที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. เปิดรับฟังความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของสถาบันการเงิน พ.ศ. .... ว่า ในต่างประเทศ เช่น ออสเตรเลีย อังกฤษ ไอร์แลนด์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา มีการบริหารจัดการเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของสถาบันการเงิน เพราะตามหลักการเงินดังกล่าวนอนไว้ในระบบอย่างเดียว ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ทางสศค.จึงดูแลให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด
ทั้งนี้ การจะนำเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวนั้น เข้าคลัง หรือไปใช้ในประโยชน์ส่วนใด จะต้องขึ้นอยู่กับผลการทำประชาพิจารณ์ก่อน และสรุปเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี หรือ ครม.พิจารณาร่างพ.ร.บ.การบริหารจัดการเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของสถาบันการเงินต่อไป อย่างไรก็ตามการพิจารณาเรื่องดังกล่าว ยังไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนที่จะต้องเสนอ ครม.ในเร็วๆ นี้ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องให้ประชาชนรับรู้และทำความเข้าใจร่วมกันก่อน
ด้านนายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการ สศค. ระบุว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการประชาพิจารณ์ภาคประชาชนอยู่ว่าจะคิดเห็นอย่างไรกับเรื่องดังกล่าว ซึ่งคาดว่าจะสามารถบังคับใช้ได้หากผ่านการพิจารณาตามกระบวนการ โดยจะเสนอให้ที่ประชุมครม.พิจารณาในเดือนธันวาคมนี้ โดยในหลักการกระทรวงการคลังจะนำเงินฝากในบัญชีของประชาชนที่มีเงินในบัญชีเกิน 2,000 บาท ซึ่งปัจจุบันมีอยู่กว่า 10,000 ล้านบาท มาบริหารจัดการ โดยทายาทสามารถหลักฐานมารับเงินได้ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ในร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวไม่ได้มีเจตนาในการนำเงินดังกล่าวไปใช้เพื่อการสาธารณะประโยชน์ หรือ เก็บไว้เป็นเงินแผ่นดินอย่างแน่นอน แต่เป็นการดำเนินการเพื่อเก็บรักษาให้กับประชาชน ซึ่งในพ.ร.บ.ดังกล่าวระบุว่าจะไม่นำเงินที่ได้มาไปใช้ทุกประการ แต่ในอนาคตสามารถปรับแก้ไขพ.ร.บ.ให้นำเงินไปใช้ในสาธารณะประโยชน์ได้ เช่นเดียวกับเงื่อนไขของการไม่ไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลเกิน 10 ปี ให้สามารถยึดเงินดังกล่าวเข้าเป็นเงินแผ่นดินได้ทันที
ทั้งนี้ ยืนยันการดำเนินการดังกล่าว เป็นเจตนาดีที่ต้องการดูแลและบริหารจัดการเงินฝากให้เป็นมาตรฐานสากลมากขึ้น และลดการบริหารจัดการเงินฝากของสถาบันการเงินด้วย
โดยช่วงเช้าที่ผ่านมา ตามที่กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ออกข่าวว่า ได้เปิดรับฟังความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวของสถาบันการเงิน พ.ศ. .... ทางเว็บไซต์ www.fpo.go.th และอาจสร้างความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนให้กับประชาชน ดังนั้น สศค. จึงขอชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี้
ปัจจุบัน ประชาชนส่วนหนึ่งมีการฝากเงินทิ้งไว้ที่สถาบันการเงินโดยที่บัญชีเงินฝากดังกล่าวไม่มีการเคลื่อนไหวเป็นระยะเวลานาน (Dormant Account) ซึ่งประชาชนอาจทราบหรือไม่ทราบก็ตาม ซึ่งในส่วนนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเงินฝากดังกล่าวออกเป็น 2 แนวทาง ได้แก่
(1) กรณีเงินฝากมียอดเงินฝากคงเหลือน้อยกว่าขั้นต่ำที่ธนาคารกำหนด ธนาคารสามารถเรียกเก็บค่าบริการรักษาบัญชีเงินฝากได้ หากมียอดคงเหลือในบัญชีเงินฝากน้อยกว่าขั้นต่ำที่ธนาคารกำหนด (ส่วนใหญ่ ธนาคารจะกำหนดยอดขั้นต่ำไว้ที่ 2,000 บาท และเก็บค่าบริการรักษาบัญชีจนกระทั่งเงินในบัญชีหมดไป)
(2) กรณีบัญชีเงินฝากที่ไม่เคลื่อนไหวมียอดเงินฝากคงเหลือสูงกว่าขั้นต่ำที่ธนาคารกำหนดธนาคารไม่สามารถเรียกเก็บบริการรักษาบัญชีเงินฝากสำหรับเงินในส่วนนี้ได้ ทั้งนี้ ธนาคารสามารถแยกเงินในบัญชีนี้ออกเป็นบัญชีที่ไม่มีการเคลื่อนไหว โดยต้องแจ้งยอดเงินฝากคงเหลือเป็นจดหมายลงทะเบียนหรือจดหมายรับรองให้ลูกค้าทราบ และหากลูกค้าหรือทายาทยังไม่ติดต่อกลับมายังธนาคารตามระยะเวลาที่กำหนด ธนาคารจะแยกเงินในบัญชีนี้ออกเป็นบัญชีที่ไม่มีการเคลื่อนไหว และที่ผ่านมาได้มีการใช้ประโยชน์จากเงินในส่วนนี้ ผ่านการรับรู้เงินในบัญชีดังกล่าวเป็นรายได้
ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบในระบบสถาบันการเงินที่รับฝากเงิน กระทรวงการคลังจึงได้มีการยกร่างกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้อำนาจกระทรวงการคลังเป็นผู้ดูแลเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวเกินกว่า 10 ปีขึ้นไปของประชาชนแทนสถาบันการเงิน และจัดทำระบบการค้นหาข้อมูลออนไลน์เพื่อสืบค้นเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เพื่อให้ประชาชนเจ้าของบัญชีหรือทายาทตามกฎหมายสามารถสืบค้นและขอเงินต้นคืนได้ตลอดเวลา ผ่านการดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนด ทั้งนี้ หากไม่มีการจัดทำระบบการค้นหาข้อมูลข้างต้น ประชาชนอาจจะลืมหรือไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีเงินจำนวนดังกล่าวอยู่ หรือหากประชาชนต้องการสืบค้นเงินดังกล่าวก็จำเป็นต้องติดต่อสอบถามสถาบันการเงินเป็นราย ๆ ไป
ทั้งนี้ ในต่างประเทศได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะเดียวกัน เช่น ออสเตรเลีย อังกฤษ ไอร์แลนด์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะนำเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหวมาบริหารจัดการเพื่อนำเงินส่วนหนึ่งไปเพื่อสาธารณประโยชน์ และกันเงินสำรองอีกส่วนหนึ่งไว้เพื่อคืนเงินแก่ประชาชนที่มาขอเรียกเงินคืน
ในการนี้ สศค. จึงขอเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงประชาชนทั่วไปร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างกฎหมายดังกล่าวถึงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2560 ผ่านทาง Fax: 0 2618 3366 Email: [email protected]
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย