WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gอภศกด ตนตวรวงศรมว.คลัง ห้าม ธปท.ปรับกรอบเงินเฟ้อระหว่างปี ชี้ให้นำมาตรการการเงินมาดูแลแทน

     รมว.คลัง ห้าม ธปท.ปรับกรอบเงินเฟ้อระหว่างปี จากเดิม 1-4% ชี้เป็นข้อตกลงตอนทำประมาณการศก. ชี้หากเงินเฟ้อต่ำสะท้อนว่าศก.ยังโตต่ำศักยภาพ แนะให้นำมาตรการการเงินมาดูแลแทน ฟากปลัดคลังเสริมการหั่นเป้าไม่ใช่วิธีการแก้ไข และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

     นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยกรณีที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่งสัญญาณจะปรับกรอบเงินเฟ้อปีนี้ จากกรอบเป้าหมายอยู่ที่ 2.5% บวกลบ1.5% หรือ ที่ระดับ 1-4% ว่า ยืนยันว่า จะไม่มีการปรับกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อระหว่างปีอย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นข้อตกลงตอนทำประมาณการเศรษฐกิจไว้แล้ว

      อย่างไรก็ตาม มองว่า อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำมาก สะท้อนว่า เศรษฐกิจยังโตต่ำกว่าศักยภาพที่ควร ดังนั้นต้องหาแนวทางว่าจะทำอย่างไรโดยนำนโยบายทางการเงินมาช่วย เนื่องจากกระทรวงการคลังต้องดูแลนโยบายด้านการคลัง ขณะที่ธปท. จะมีมาตรการดูแล เช่น ในเรื่องของดอกเบี้ย การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง การดำเนินการผ่านตลาดการเงิน หรือ การดูแลอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของธปท. จะต้องไปดำเนินการปฏิบัติให้เหมาะสม

      “การกำหนดกรอบเงินเฟ้อ เป็นกรอบสำหรับชี้นำเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่ง หากช่วงที่เงินเฟ้อสูงมากแสดงว่า เศรษฐกิจมันโตร้อนแรงเกินไป ก็ต้องมีนโยบายมาลดความร้อนแรง แต่ขณะนี้มันกลับด้าน เงินเฟ้อมันต่ำกว่ามาก แสดงว่า มันสะท้อนว่า เศรษฐกิจไม่ได้โตตามศักยภาพที่ควรเป็น ซึ่ง ธปท. มีหลายเครื่องมือ ต้องไปคิดว่า จะทำอย่างไรให้เงินเฟ้ออยู่ในเป้าหมาย ธปท.ต้องคิดมาตรการว่าจะทำอย่างไรในการให้เงินเฟ้อเข้ามาอยู่ในกรอบเป้าหมาย เพราะมันเป็นหน้าที่ของเขา ส่วนดอกเบี้ยที่ปัจจุบันที่ 1.5% เอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือไม่คงต้องถามทางธปท.”นายอภิศักดิ์ กล่าว

       ด้านนายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวเพิ่มเติมว่า ถ้าธปท. บอกเงินเฟ้อมันต่ำกว่าเป้าหมาย และหากทำไม่ได้ตามเป้าหมาย ก็ต้องให้เหตุผลว่าเกิดจากอะไร แต่การลดเป้าหมายนั้น เป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนสำหรับประเทศไทย ดังนั้นก่อนที่จะลดเป้าหมายนั้น ธปท.ต้องพิจารณาว่าได้นำเครื่องมือที่มีอยู่นำมาใช้แล้วหรือไม่ ซึ่งปัจจุบัน พบว่า อัตราดอกเบี้ยของไทยที่ 1.5% นั้นยังอยู่ในระดับสูง จึงส่งผลให้เกิดเงินไหลเข้ามาเก็งกำไร (พฤติกรรมการแสวงหาผลตอบแทนที่อยู่ในระดับสูง) ทั้งในตลาดพันธบัตร และตลาดตราสารหนี้ ประมาณ 60,000 ล้านบาท แสดงว่า อัตราดอกเบี้ยมันสามารถขยับให้มันแคบลงมาได้

      “มันเป็นเรื่องของธปท.ที่ต้องคิดว่าจะใช้เครื่องมืออะไร ที่ยกตัวอย่างดอกเบี้ย เพราะว่า ตอนนี้มันเห็นการเข้ามาเก็งกำไรของนักลงทุนในตราสารหนี้กับพันธบัตร คือ จะมาบอกว่า เงินเฟ้อต่ำ และขอปรับกรอบเป้าหมายเพื่อให้เงินเฟ้อยังอยู่ในเป้ามันไม่ได้ มันไม่ใช่วิธีการแก้”นายสมชัย กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!