- Details
- Category: คลัง
- Published: Saturday, 06 May 2017 16:23
- Hits: 13276
สบน.เผยหนี้สาธารณะคงค้าง มี.ค.60 อยู่ที่ 6.16 ล้านลบ. คิดเป็น 42.27%ของจีดีพี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 7.63 หมื่นลบ.
นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ ได้รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2560 มีจำนวน 6,166,549.32 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 42.27 ของ GDP โดยแบ่งเป็น หนี้รัฐบาล 4,728,655.60 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ 962,885.32 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 455,580.18 ล้านบาท และ หนี้หน่วยงานของรัฐ 19,428.22 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 76,318.65 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
หนี้รัฐบาล จำนวน 4,728,655.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 90,720.70 ล้านบาท โดยเกิดจาก กระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินตามแผนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560 และการกู้เงินเพื่อการบริหารหนี้สาธารณะ จำนวน 60,076.99 ล้านบาท ส่วนเงินกู้ระยะสั้น ลดลง 41,185 ล้านบาท เนื่องจากการลดลงของเงินกู้ระยะสั้นจากการปรับโครงสร้างหนี้เป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน 40,000 ล้านบาท และการลดลงของตั๋วเงินคลัง 1,185 ล้านบาท งินกู้ระยะยาว เพิ่มขึ้น 101,261.99 ล้านบาท เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 61,261.99 ล้านบาท และการเพิ่มขึ้นของตั๋วสัญญาใช้เงินจากการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ระยะสั้น 40,000 ล้านบาท
การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ จำนวน 1,995.53 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการกู้ให้กู้ต่อแก่ (1) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 1,824.86 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จำนวน 1,021.05 ล้านบาท สีน้ำเงิน จำนวน 792.22 ล้านบาท และสีม่วง จำนวน 11.59 ล้านบาท และ (2) การรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 170.67 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการปรับปรุงทางที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ จำนวน 91.62 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟ สายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย จำนวน 79.05 ล้านบาท
การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน 1,686.74 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ การกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 30,000 ล้านบาท จากการออก R-bill ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่กู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่จะครบกำหนดในวันที่ 16 มิถุนายน 2560 วงเงิน 162,000 ล้านบาท
ทั้งนี้ หนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น 334.92 ล้านบาท เนื่องจากการเบิกจ่ายโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต จำนวน 2,532.68 ล้านเยน หรือ 788.36 ล้านบาท และผลการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นสำคัญ
ส่วนหนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 962,885.32 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 9,580.95 ล้านบาท เกิดจาก หนี้ในประเทศลดลงสุทธิ 3,140.86 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันมีการชำระคืนหนี้สุทธิ จำนวน 3,274.04 ล้านบาท ซึ่งมาจากการไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนดของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำนวน 3,000 ล้านบาท และการเคหะแห่งชาติ จำนวน 1,000 ล้านบาท เป็นสำคัญ และหนี้ต่างประเทศลดลงสุทธิ 6,440.09 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำนวน 81.15 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2,808.89 ล้านบาท และผลการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน
หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 455,580.18 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 4,897.43 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
และหนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 19,428.22 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 76.33 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจาก สำนักงานธนานุเคราะห์ได้มีการเบิกจ่ายเงินกู้มากกว่าการชำระคืนต้นเงินกู้
ทั้งนี้ หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2560 จำนวน 6,166,549.32 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ในประเทศ 5,852,291.95 ล้านบาท หรือร้อยละ 94.90 และหนี้ต่างประเทศ 314,257.37 ล้านบาท (ประมาณ 9,205 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือร้อยละ 5.10 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และหนี้สาธารณะคงค้างแบ่งตามอายุคงเหลือ สามารถแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาว 5,308,483.73 ล้านบาท หรือร้อยละ 86.09 และหนี้ระยะสั้น 858,065.59 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.91 ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
คลัง เผยหนี้สาธารณะคงค้างสิ้น มี.ค. 60 คิดเป็น 42.27% ของ GDP
นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ รายงานหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มีนาคม 2560 มีจำนวน 6,166,549.32 ล้านบาท หรือคิดเป็น 42.27% ของ GDP โดยแบ่งเป็น หนี้รัฐบาล 4,728,655.60 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ 962,885.32 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 455,580.18 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ 19,428.22 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า หนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 76,318.65 ล้านบาท
สำหรับ หนี้รัฐบาล จำนวน 4,728,655.60 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 90,720.70 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจากกระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินตามแผนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560 และการกู้เงินเพื่อการบริหารหนี้สาธารณะ จำนวน 60,076.99 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินกู้ระยะสั้น ลดลง 41,185 ล้านบาท เนื่องจากการลดลงของเงินกู้ระยะสั้นจากการปรับโครงสร้างหนี้เป็นตั๋วสัญญาใช้เงิน 40,000 ล้านบาท และการลดลงของตั๋วเงินคลัง 1,185 ล้านบาท และเงินกู้ระยะยาว เพิ่มขึ้น 101,261.99 ล้านบาท เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 61,261.99 ล้านบาท และการเพิ่มขึ้นของตั๋วสัญญาใช้เงินจากการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ระยะสั้น 40,000 ล้านบาท
การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ จำนวน 1,995.53 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการกู้ให้กู้ต่อแก่ (1) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 1,824.86 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว จำนวน 1,021.05 ล้านบาท สีน้ำเงิน จำนวน 792.22 ล้านบาท และสีม่วง จำนวน 11.59 ล้านบาท และ (2) การรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินกู้จำนวน 170.67 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการปรับปรุงทางที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ จำนวน 91.62 ล้านบาท และโครงการก่อสร้างทางคู่ในเส้นทางรถไฟ สายชายฝั่งทะเลตะวันออก ช่วงฉะเชิงเทรา - คลองสิบเก้า - แก่งคอย จำนวน 79.05 ล้านบาท
การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จำนวน 1,686.74 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ
การกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 30,000 ล้านบาท จากการออก R-bill ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่กู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่จะครบกำหนดในวันที่ 16 มิถุนายน 2560 วงเงิน 162,000 ล้านบาท
ด้านหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้น 334.92 ล้านบาท เนื่องจากการเบิกจ่ายโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต จำนวน 2,532.68 ล้านเยน หรือ 788.36 ล้านบาท และผลการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นสำคัญ
ขณะที่หนี้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 962,885.32 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 9,580.95 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจากหนี้ในประเทศลดลงสุทธิ 3,140.86 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่รัฐบาลค้ำประกันมีการชำระคืนหนี้สุทธิ จำนวน 3,274.04 ล้านบาท ซึ่งมาจากการไถ่ถอนพันธบัตรที่ครบกำหนดของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำนวน 3,000 ล้านบาท และการเคหะแห่งชาติ จำนวน 1,000 ล้านบาท เป็นสำคัญ
หนี้ต่างประเทศลดลงสุทธิ 6,440.09 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำนวน 81.15 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2,808.89 ล้านบาท และผลการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน
สำหรับ หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 455,580.18 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 4,897.43 ล้านบาท โดยรายการที่สำคัญเกิดจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ส่วนหนี้หน่วยงานของรัฐ จำนวน 19,428.22 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสุทธิ 76.33 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เนื่องจาก สำนักงานธนานุเคราะห์ได้มีการเบิกจ่ายเงินกู้มากกว่าการชำระคืนต้นเงินกู้
ทั้งนี้ หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2560 จำนวน 6,166,549.32 ล้านบาท แบ่งออกเป็น หนี้ในประเทศ 5,852,291.95 ล้านบาท หรือ 94.90% และหนี้ต่างประเทศ 314,257.37 ล้านบาท (ประมาณ 9,205 ล้านเหรียญสหรัฐ) หรือ 5.10% ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด และหนี้สาธารณะคงค้างแบ่งตามอายุคงเหลือ สามารถแบ่งออกเป็นหนี้ระยะยาว 5,308,483.73 ล้านบาท หรือ 86.09% และหนี้ระยะสั้น 858,065.59 ล้านบาท หรือ 13.91% ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด
อินโฟเควสท์
มี.ค.หนี้เพิ่ม 7.63 หมื่นล. แตะระดับ 6.16 ล้านล้าน โอดรสก.เบิกจ่ายงบอืด
ไทยโพสต์ : สบน.แจงหนี้ประเทศสิ้นเดือน มี.ค. อยู่ที่ 6.16 ล้านล้านบาท คิดเป็น 42.27% ของจีดีพี ขยับเพิ่มจากเดือนก่อน 7.63 หมื่นล้านบาท หลังหนี้รัฐบาลพุ่งเฉียดแสนล้าน ด้าน สคร.โอด รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายอืด 6 เดือน อยู่ที่ 6.35 หมื่นล้านบาท รฟท.-บินไทย แชมป์ผลงานแป้ก
คลัง * สบน.แจงหนี้ประเทศสิ้นเดือน มี.ค. อยู่ที่ 6.16 ล้านล้านบาท คิดเป็น 42.27% ของจีดีพี ขยับเพิ่มจากเดือนก่อน 7.63 หมื่นล้านบาท หลังหนี้รัฐบาลพุ่งเฉียดแสนล้าน ด้าน สคร.โอดรัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายอืด 6 เดือน อยู่ที่ 6.35 หมื่นล้านบาท รฟท.บินไทย แชมป์ผลงานแป้ก
นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มี.ค.2560 อยู่ที่ 6.16 ล้านล้านบาท คิดเป็น 42.27% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) โดยเพิ่มขึ้น 7.63 หมื่นล้านบาทจากเดือนก่อนหน้า
ทั้งนี้ แบ่งเป็นหนี้รัฐบาลอยู่ที่ 4.72 ล้านล้านบาท เพิ่ม ขึ้น 9.07 หมื่นล้านบาท เนื่อง จากกระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินตามแผนที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายปี 2560 และการกู้เงินเพื่อบริหารหนี้สาธารณะ วงเงิน 6 หมื่นล้านบาท เป็นต้น
ขณะที่หนี้ของรัฐวิสาหกิจอยู่ที่ 9.62 แสนล้านบาท ลดลง 9.58 พันล้านบาท เนื่องจากหนี้ในประเทศลดลง 3.14 พันล้านบาท และหนี้ต่างประเทศลดลง 6.44 พันล้านบาท ส่วนหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) อยู่ที่ 4.55 แสนล้านบาท ลดลง 4.89 พันล้านบาท เนื่องจากการชำระคืนต้นเงินกู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และหนี้หน่วย งานอื่นของรัฐอยู่ที่ 1.94 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 76.33 ล้านบาท เนื่องจากสำนักงานธนานุเคราะห์ได้มีการเบิกจ่ายเงินกู้มากกว่าการชำระคืนต้นเงินกู้
โดยหนี้สาธารณะ 6.16 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ในประเทศ 5.82 ล้านล้านบาท หรือ 94.90% และหนี้ต่างประ เทศ 3.14 แสนล้านบาท หรือ 5.10% ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด
นายชาญวิทย์ นาคบุรี รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวถึงภาพรวมการ เบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาห กิจในช่วง 6 เดือนแรกของปี งบประมาณ 2560 (ต.ค.59-มี.ค. 60) อยู่ที่ 6.35 หมื่นล้านบาท หรือ 20% ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 7.81 หมื่นล้านบาท จากงบลงทุนทั้งหมดที่ 3.42 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ ยอมรับว่ายังมีรัฐ วิสาหกิจอีก 2 แห่ง ที่ยังต้องมีการติดตามและเร่งรัดการเบิกจ่ายอย่างใกล้ชิด ได้แก่ การรถ ไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตามแผนเดิมถึงเดือน มี.ค.2560 จะต้องเบิกจ่ายสะสมให้ได้ 1.74 หมื่นล้านบาท แต่ทำได้เพียง 1.18 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 5 พันกว่าล้านบาท และ บมจ.การบินไทย ที่ในเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาเบิกจ่ายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากกระบวนการตรวจรับเครื่องบินมีความล่าช้ากว่ากำหนด
สำหรับ ภาพรวมการจัดเก็บรายได้ของรัฐวิสาหกิจในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2560 อยู่ที่ 9.63 หมื่นล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 8.34 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 74% ของเป้าหมายที่ 8.79 หมื่นล้านบาท โดยในปีนี้ตั้งเป้าหมายการจัดเก็บรายได้อยู่ที่ 1.31 แสนล้านบาท ซึ่งมั่นใจว่ารัฐวิสาหกิจจะสามารถจัดเก็บรายได้สูงกว่าเป้าหมายอย่างแน่นอน
โดยในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา รัฐวิสาหกิจสามารถจัดเก็บรายได้อยู่ที่ 2.65 หมื่นล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่ 2.02 หมื่นล้านบาท.