WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Customสมชย สจจพงษผลการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน+3

   นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนกระทรวงการคลังเข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน+3 (ASEAN+3 Finance and Central Bank Deputies’ Meeting: AFCDM+3) เมื่อวันที่ 5-6 เมษายน 2560 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีการหารือประเด็นด้านเศรษฐกิจการเงิน ดังนี้

  1. ภาวะเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาค  ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจร่วมกับผู้แทนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) และสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (ASEAN+3 Macroeconomic Research Office: AMRO) ซึ่งมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า เศรษฐกิจโลกในปีนี้จะเติบโตได้ดีกว่าปีที่แล้ว ทั้งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว กลุ่มประเทศตลาด เกิดใหม่ รวมถึงกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา สำหรับเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน+3 นั้นยังคงมีอุปสงค์ภายในภูมิภาคเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อน โดย ADB และ AMRO คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศกลุ่ม+3 (สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) จะเติบโตลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย ในขณะที่กลุ่มอาเซียนจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียยังคงมีความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น แนวโน้มที่สหรัฐอเมริกาจะดำเนินนโยบายปกป้องทางการค้าซึ่งจะส่งผลต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาชนจีนและอาเซียนทั้งทางตรงและทางอ้อม ทิศทางนโยบายการเงินทั่วโลกที่เข้มงวดมากขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้นในระยะต่อไป ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองในทวีปยุโรปการเพิ่มขึ้นของหนี้ภาคเอกชนในภูมิภาค เป็นต้น ทั้งนี้ AMRO ได้เสนอให้ประเทศอาเซียน+3 ใช้นโยบายการเงินการคลังอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันก็ควรดำเนินการปฏิรูปด้านกฎระเบียบเพื่อให้เอื้อต่อการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน
  2. ความช่วยเหลือทางการเงินภายใต้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM) ซึ่งเป็นกลไกความช่วยเหลือทางการเงินของภูมิภาคอาเซียน+3 มีขนาดวงเงินช่วยเหลือรวม 240 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยที่ประชุมได้หารือถึงการเตรียมความพร้อมและทดสอบกลไก CMIM เพื่อให้สามารถดำเนินการในทางปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือสมาชิกได้ทันท่วงที การพัฒนากลไกการให้ความช่วยเหลือเพื่อป้องกันการเกิดวิกฤต การเพิ่มประสิทธิภาพความช่วยเหลือของ CMIM รวมทั้งเห็นชอบให้มีการดำเนินการเพื่อทบทวนความตกลง CMIM ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะปรับเพิ่มวงเงินช่วยเหลือกรณีสมาชิกไม่เข้าโครงการความช่วยเหลือของกองทุนการเงินระหว่างประเทศจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 40 เพื่อเสนอในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ในเดือนพฤษภาคม 2560 ณ นครโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น
  3. การประชุมคณะกรรมการบริหารของ AMRO ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ ติดตาม และเฝ้าระวังเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียน+3 โดยที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบกรอบการดำเนินงานเฝ้าระวังของ AMRO งบประมาณ และแผนงานด้านบุคลากร รวมถึงได้แต่งตั้งสมาชิกคณะที่ปรึกษาชุดใหม่ทดแทนชุดเดิมที่กำลังจะครบวาระการดำรงตำแหน่ง โดย ดร. บัณฑิต นิจถาวร จากประเทศไทย ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกคณะที่ปรึกษาของ AMRO ต่ออีกหนึ่งสมัย นอกจากนี้ ยังได้รับทราบความคืบหน้าและให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของ AMRO
  4. มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นของภูมิภาคอาเซียน+3 ให้เป็นแหล่งระดมเงินทุนและเป็นทางเลือกในการออม โดยมีความคืบหน้าที่สำคัญ เช่น (1) การดำเนินงานของหน่วยงานการค้ำประกันเครดิตและการลงทุน (Credit Guarantee and Investment Facility: CGIF) ของภูมิภาคอาเซียน+3 ซึ่งได้ค้ำประกันการออกตราสารหนี้สกุลเงินท้องถิ่นของบริษัทเอกชนในภูมิภาคอาเซียน+3 เพื่อเพิ่มระดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ (2) การดำเนินงานของ ASEAN+3 Bond Market Forum (ABMF) ซึ่งเป็นเวทีหารือร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนเกี่ยวกับกฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมตราสารหนี้ข้ามพรมแดนในภูมิภาคอาเซียน+3 เป็นต้น

      การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน+3 ในครั้งนี้เป็นการเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องร่วมมือกันระหว่างประเทศอาเซียน+3 ในการเฝ้าระวังทางเศรษฐกิจของภูมิภาค การปรับปรุงกลไกความช่วยเหลือทางการเงินระหว่างกันให้มีประสิทธิภาพในทางปฏิบัติ รวมถึงการสนับสนุนการดำเนินงานของ AMRO ให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น

       ส่วนความร่วมมือภูมิภาคและพหุภาคี สำนักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ โทร 02 2739020 ต่อ 3622 และ 3618

ปลัดคลัง เผยที่ประชุม AFCDM+3 มองศก.ภูมิภาคเอเชียยังมีความเสี่ยง  แนะใช้นโยบายการเงินการคลังอย่างเหมาะสม

      นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนกระทรวงการคลัง เข้าร่วมการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน+3 (ASEAN+3 Finance and Central Bank Deputies’ Meeting: AFCDM+3) เมื่อวันที่ 5-6 เม.ย.60 ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ โดยมีการหารือประเด็นด้านเศรษฐกิจการเงิน ดังนี้

  1. ภาวะเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาค ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจร่วมกับผู้แทนจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) และสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (ASEAN+3 Macroeconomic Research Office: AMRO) ซึ่งมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า เศรษฐกิจโลกในปีนี้จะเติบโตได้ดีกว่าปีที่แล้ว ทั้งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว กลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ รวมถึงกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา

    สำหรับ เศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน+3 นั้นยังคงมีอุปสงค์ภายในภูมิภาคเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อน โดย ADB และ AMRO คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศกลุ่ม+3 (สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) จะเติบโตลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย ในขณะที่กลุ่มอาเซียนจะยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง

   อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียยังคงมีความเสี่ยงที่สำคัญ เช่น แนวโน้มที่สหรัฐอเมริกาจะดำเนินนโยบายปกป้องทางการค้าซึ่งจะส่งผลต่ออัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาชนจีนและอาเซียนทั้งทางตรงและทางอ้อม ทิศทางนโยบายการเงินทั่วโลกที่เข้มงวดมากขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมสูงขึ้นในระยะต่อไป ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองในทวีปยุโรปการเพิ่มขึ้นของหนี้ภาคเอกชนในภูมิภาค เป็นต้น ทั้งนี้ AMRO ได้เสนอให้ประเทศอาเซียน+3 ใช้นโยบายการเงินการคลังอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันก็ควรดำเนินการปฏิรูปด้านกฎระเบียบเพื่อให้เอื้อต่อการเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน

  1. ความช่วยเหลือทางการเงินภายใต้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM) ซึ่งเป็นกลไกความช่วยเหลือทางการเงินของภูมิภาคอาเซียน+3 มีขนาดวงเงินช่วยเหลือรวม 240 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ โดยที่ประชุมได้หารือถึงการเตรียมความพร้อมและทดสอบกลไก CMIM เพื่อให้สามารถดำเนินการในทางปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือสมาชิกได้ทันท่วงที การพัฒนากลไกการให้ความช่วยเหลือเพื่อป้องกันการเกิดวิกฤต การเพิ่มประสิทธิภาพความช่วยเหลือของ CMIM รวมทั้งเห็นชอบให้มีการดำเนินการเพื่อทบทวนความตกลง CMIM ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป

      นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะปรับเพิ่มวงเงินช่วยเหลือกรณีสมาชิกไม่เข้าโครงการความช่วยเหลือของกองทุนการเงินระหว่างประเทศจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 40 เพื่อเสนอในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ในเดือนพฤษภาคม 2560 ณ นครโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น

  1. การประชุมคณะกรรมการบริหารของ AMRO ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศในระดับภูมิภาคที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ ติดตาม และเฝ้าระวังเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียน+3 โดยที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบกรอบการดำเนินงานเฝ้าระวังของ AMRO งบประมาณ และแผนงานด้านบุคลากร รวมถึงได้แต่งตั้งสมาชิกคณะที่ปรึกษาชุดใหม่ทดแทนชุดเดิมที่กำลังจะครบวาระการดำรงตำแหน่ง โดย ดร. บัณฑิต นิจถาวร จากประเทศไทย ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกคณะที่ปรึกษาของ AMRO ต่ออีกหนึ่งสมัย นอกจากนี้ ยังได้รับทราบความคืบหน้าและให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานต่าง ๆ เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของ AMRO
  2. มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตลาดพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นของภูมิภาคอาเซียน+3 ให้เป็นแหล่งระดมเงินทุนและเป็นทางเลือกในการออม โดยมีความคืบหน้าที่สำคัญ เช่น (1) การดำเนินงานของหน่วยงานการค้ำประกันเครดิตและการลงทุน (Credit Guarantee and Investment Facility: CGIF) ของภูมิภาคอาเซียน+3 ซึ่งได้ค้ำประกันการออกตราสารหนี้สกุลเงินท้องถิ่นของบริษัทเอกชนในภูมิภาคอาเซียน+3 เพื่อเพิ่มระดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ (2) การดำเนินงานของ ASEAN+3 Bond Market Forum (ABMF) ซึ่งเป็นเวทีหารือร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนเกี่ยวกับกฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมตราสารหนี้ข้ามพรมแดนในภูมิภาคอาเซียน+3 เป็นต้น

      การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน+3 ในครั้งนี้ เป็นการเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องร่วมมือกันระหว่างประเทศอาเซียน+3 ในการเฝ้าระวังทางเศรษฐกิจของภูมิภาค การปรับปรุงกลไกความช่วยเหลือทางการเงินระหว่างกันให้มีประสิทธิภาพในทางปฏิบัติ รวมถึงการสนับสนุนการดำเนินงานของ AMRO ให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น

 อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!