WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Cเอกนต นตทณฑประภาศซุปเปอร์บอร์ด อัด 5 แผนหนุนรัฐวิสาหกิจ รับไทยแลนด์ 4.0 รับทราบกรณีสตง. ทบทวนการปรับโครงสร้างธุรกิจ PTTOR หวั่นประเทศสูญรายได้

    ซุปเปอร์บอร์ด เปิดประชุมนัดแรกของปี 60 อัด 5 ยุทธศาสตร์หนุนรัฐวิสาหกิจรองรับไทยแลนด์ 4.0 เผยความคืบหน้า THAI งบ Q3/59 ออกมาดี สั่งคมนาคมดูแลต่ออย่างเข้มงวด พร้อมรับทราบกรณีที่ สตง.ให้ทบทวนการปรับโครงสร้างธุรกิจ PTT แยกกิจการทำ PTTOR ที่สตง. พร้อมสั่งการให้กระทรวงพลังงานไปติดตามเรื่องดังกล่าว

     นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ คนร. (ซุปเปอร์บอร์ด) ครั้งที่ 1/2560 ว่า ที่ประชุมคนร.มีมติเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ และสั่งการให้รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยการจัดทำแผนยุทธศาสตร์จะต้องสอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ไทยแลนด์4.0 โดยกำหนดกรอบยุทธศาสตร์5 ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย

  ยุทธศาสตร์ที่ 1 กำหนดบทบาทรัฐวิสาหกิจให้ชัดเจน เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติ โดยกำหนดบทบาทและทิศทางการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้ชัดเจนและแยกบทบาทระหว่างผู้กำกับดูแล ผู้กำหนดนโยบายและผู้ให้บริการออกจากกันอย่างชัดเจน

  ยุทธศาสตร์ที่ 2 เร่งการลงทุนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยการจัดให้มีแผนการลงทุนของรัฐวิสาหกิจราย 5 ปี ที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจใช้ทรัพยากรร่วมกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุน พร้อมทั้งสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนที่เหมาะสมกับโครงการลงทุน และการระดมทุนจากแห่งเงินทุนทางเลือกอื่นๆ

  ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงิน เพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจการเงินที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

  ยุทธศาสตร์ที่ 4 สนับสนุนการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยเฉพาะการมุ่งสร้างนัวตกรรมและเทคโนโลยี

  ยุทธศาสตร์ที่ 5 ส่งเสริมระบบธรรมาภิบาลให้มีความโปร่งในและมีคุณธรรม มีกลไกลส่งเสริมและสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการ เพื่อเป็นองค์กรคุณธรรม

 สำหรับ ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาของรัฐวิสาหกิจทั้ง 7 แห่ง

 1.ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย โดย คนร.รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการแก้ไขปัญหาของธนาคาร โดยมีผลการดำเนินงานในภาพรวมดีขึ้นและเป็นไปตามกรอบเป้าหมาย เช่น การขยายสินเชื่อใหม่เพิ่มขึ้น 34,000 ล้านบาท การบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ NPL ทั้งนี้ ในปี 2560 คนร.ได้กำหนดให้ธพว.เร่งปล่อยสินเชื่อวงเงินไม่เกิน 15 ล้านบาท ให้เพิ่มขึ้น และการบริหารจัดการหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ให้มีจำนวนไม่เกิน 16,600 ล้านบาท รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการคลังกำกับการดำเนินงานของธนาคารให้เป็นไปตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม แม้ผลการดำเนินงานเอสเอ็มอีแบงก์จะออกมาค่อนข้างดี แต่ที่ประชุมยังไม่ได้มีการพิจารณาให้ออกจากแผนฟื้นฟูดังกล่าว

 2.ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย คนร.รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยมีการจัดทำแผนรองรับการดำเนินงานตลอดจนการเพิ่มช่องทาให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินของธนาคารได้มากขึ้น และได้จัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์เป็นไปตามแผนแล้ว ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลังมีความพร้อมในการเพิ่มทุนและธนาคารจะมีการโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์ ทั้งนี้ คนร.ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังกำกับการดำเนินงานของะนาคารในเรื่องต่างๆอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งเร่งสรรหาพพันธมิตรภายในเดือนมิถุนายน 2560

 3.องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. คนร.ได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมกำกับการดำเนินงานของกรมการขนส่งทางบก และ ขสมก.ให้เป็นไปตามมติ คนร. หรือแผนการแก้ไขปัญหาองค์กร โดยเน้นย้ำให้มีการตรวจสอบความปลอดภัยโดยเข้มงวด

 4.บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) THAI คนร.รับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการแก้ไข ซึ่งในไตรมาส 3/2559 ผลประกอบการดีขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2558 โดยการดำเนินการตามแผนส่วนใหญ่ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ จึงมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมกำกับดูแลอย่างเคร่งครัด และมอบหมายให้การบินไทย เร่งจัดทำระบบขายตั๋วให้สามารถเพิ่มสัดส่วนการขายผ่านช่องทางอินเตอร์เนต และพิจารณาความเหมาะสมในการลงทุนในบริษัทลูกต่างๆ

 5.การรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. คนร.รับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการแก้ไขปัญหาของรฟท. ทั้งนี้ สำหรับข้อเสนอของรฟท.ที่จะต้องรับผิดชอบเรื่องการดำเนินการพัฒนาที่ดินย่านมักกะสันและการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงเอง และมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม และรฟท.พิจารณษในรายละเอียดอีกครั้ง ซึ่งจะต้องกำหนดเงื่อนไขความสำเร็จ รวมทั้งจะต้องลดภาระหนี้สินของรฟท.ลงด้วย

      6-7.บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) โดยคนร.รับทราบความคืบหน้าในการดำเนินการปรับโครงสร้างการประกอบธุรกิจของทั้ง 2 บริษัทโดยจัดตั้งบริษัท NGDC ในการดำเนินธุรกิจเคเบิ้ลในแก้วใต้น้ำและอินเตอร์เน็ตดาต้าเซ็นเตอร์ และ NGN ในการดำเนินธุรกิจอินเตอร์เน็ตบรอดแบรนด์ ทั้งนี้ คนร.ได้มอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมร่วมกับทั้ง 2 หน่วยงาน พิจารณาแผนธุรกิจของทั้ง 2 บริษัท และบริษัทในเครือที่จะจัดตั้งขึ้นให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงและให้นำเสนอคณะอนุกรรมการกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจ ภายในต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2560

 สำหรับ ร่างพ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการพิจารณาของ คณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้พิจารณษากฎหมายเป็นพิเศษอย่างเร่งด่วน เนื่องจากการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจเป็นเรื่องสำคัญ โดยขณะนี้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้ว 95% ซึ่งหากกฤษฎีกาพิจารณาเรียบร้อยแล้ว จะส่งให้ คณะรัฐมนตรี หรือ ครม.พิจารณาอีกครั้ง ก่อนเข้าสู่กระบวนการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ต่อไป

 นายเอกนิติ กล่าวว่า ส่วนกรณีที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง.ให้ทบทวนการปรับโครงสร้างธุรกิจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ที่มีการแยกกิจการ และสินทรัพย์ในธุรกิจน้ำมัน ออกมาตั้งบริษัทลูก คือ บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก หรือ PTTOR และนำเสนอขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ หรือ ตลท.  โดยปตท.จะถือหุ้นใหญ่ แต่ต่ำกว่า 50% นั้น ซึ่งมองว่าการปรับโครงสสร้างองค์กรดังกล่าว จะทำให้ทรัพย์สินของชาติต้องสูญหายไป นั้น โดยที่ประชุม คนร.รับทราบข้อสังเกตุการณ์ของ สตงแล้ว แต่ ในส่วนของคนร.จะดูภาพรวมใหญ่เท่านั้น จึงได้สั่งการให้กระทรวงพลังงานไปติดตามเรื่องดังกล่าว

 ในส่วนของ สคร.ที่เป็นผู้กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ มองว่า ปัจจุบัน ธุรกิจน้ำมันเป็นธุรกิจเสรี และการให้บริษัทลูกเข้ามาถือหุ้นนั้น ก็ถือเป็นการบริหารงานอย่างหนึ่งที่สามารถดำเนินการได้ แม้ว่า ปตท.จะถือหุ้นต่ำกว่า 50% ก็ตาม

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!