WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gอภศกดเข็นบอนด์ออมทรัพย์โปะขาดดุลแจงหนี้สาธารณะเฉียด 6 ล้านล้าน

    ไทยโพสต์ : พระราม 6 * ‘อภิศักดิ์’ไฟเขียวคลังขายพันธบัตรออมทรัพย์วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท หวังชดเชยขาดดุล แจงตลาดยังแกร่งแม้ผันผวน แจงหนี้ประเทศเดือน ก.ย. อยู่ที่ 5.98 ล้านล้านบาท

    นางสาวอุปมา ใจหงษ์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาตลาดตราสารหนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.การคลัง เห็นชอบให้ออกพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อขายให้รายย่อยวงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท เริ่มขายตั้งแต่ 13 ธ.ค.2559 ถึง 9 เม.ย.2560 เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ

      ทั้งนี้ นักลงทุนที่สนใจสามารถซื้อได้ขั้นต่ำ 1 พันบาท แต่ไม่เกิน 2 ล้านบาท โดยพันธ บัตรออมทรัพย์มีอายุ 3 ปี และ 7 ปี ส่วนอัตราผลตอบแทนจะมีการประกาศอีกครั้ง ซึ่งมากกว่าผลตอบแทนตลาดเล็กน้อย โดยผลตอบพันธบัตรในตลาดรุ่นอายุ 3 ปี อยู่ที่ 1.7% และรุ่นอายุ 7 ปี อยู่ที่ 2.2%

      นางสาวอุปมายังกล่าว ถึงสถานการณ์ตลาดตราสารหนี้ของไทยในช่วงที่ผ่านมา หลังผลการเลือกตั้งประธานา ธิบดีของสหรัฐนั้น ยอมรับว่ามีความผันผวนอยู่บ้าง โดยผลตอบแทนตราสารหนี้ปรับเพิ่มขึ้นทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะอายุ 10 ปีขึ้นไปมีการปรับเพิ่มกว่าตราสารหนี้ระยะสั้น เนื่องจากนักลงทุนต่างประเทศมีการเทขายเพื่อนำเงินกลับไปลงทุนในตลาดสหรัฐ ซึ่งผลตอบแทนมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น

    "การขายตราสารหนี้ไทยของนักลงทุนต่างประเทศ ไม่กระทบกับตลาดตราสารหนี้ไทยมาก เพราะนักลงทุนในประเทศเข้มแข็งมีความต้องการตราสารหนี้ของไทยมาก และนักลงทุนต่างประเทศมีสัดส่วนการลงทุนตราสารหนี้ไทยเพียง 14% การถอนการลงทุนออกไปจึงไม่กระ ทบกับตลาดตราสารหนี้ของไทย และในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาตลาดตราสารหนี้ไทยมีการพัฒนาขึ้นมากทำให้แข็งแกร่งเพียงพอรอบรับความผันผวน" นางสาวอุปมากล่าว

     ด้ายนายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการ สบน. รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ เปิดเผย ถึง สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 ก.ย.2559 อยู่ที่ 5.98 ล้านล้านบาท คิดเป็น 42.73% ของจีดีพี เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนที่ผ่านมา ซึ่งมีหนี้ สาธารณะอยู่ที่ 42.64% ของจีดีพี โดยแบ่งเป็นหนี้ของรัฐบาลอยู่ที่ 4.47 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.87 หมื่นล้านบาท เนื่องจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 2.23 พันล้านบาท การเพิ่มขึ้นของตั๋วเงินคลัง 2.04 หมื่นล้านบาท การออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อบริหารหนี้ เพื่อใช้ในการปรับโครงสร้างตั๋วเงินคลัง 2.74 หมื่นล้านบาท เป็นต้น

      ขณะที่หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน อยู่ที่ 9.94 แสนล้านบาท ลดลง 1.13 พันล้านบาท

    สำหรับ หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 5 แสนล้าน บาท ลดลง 7.57 พันล้านบาท เนื่องจากการชำระคืนต้นเงินกู้ ของธนาคารเพื่อการเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 3.58 พันล้าน บาท และธนาคารอาคารสง เคราะห์ (ธอส.) จำนวน 3 พันล้านบาท

   "จากสถานการณ์หนี้สาธาณะในปัจจุบันที่ยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลัง ทำให้ยังมีช่องว่างทางการคลังเหลือเพียงพอที่จะจัดทำงบประมาณรายจ่าย รวมถึงให้รัฐบาลสามารถกู้เงินลงทุนในโครงการลงทุนสำคัญที่รัฐบาลกำลังมีแผนดำเนินการในปีหน้า" นายธีรัชย์กล่าว.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!