WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

GFIMS คลังหนุนรถยนต์ไฟฟ้า-ไฮบริด หวังลงทุนจ้างงานเพิ่มช่วยกระตุ้นศก.

    แนวหน้า  : แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า นายอภิศักดิ์ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ได้เร่งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และกรมสรรพสามิต กำหนดมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (EV) ซึ่งการสนับสนุนนี้ให้รวมไปถึงการผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนแบบผสมน้ำมันและไฟฟ้า หรือรถยนต์ไฮบริด ด้วย

     ทั้งนี้ สศค. และกรมสรรพสามิต ได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เพื่อออกมาตรการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ไฮบริด รวมถึงการผลิตแบบเตอรี่คุณภาพ ที่ผลิตในประเทศ ทำให้เกิดการลงทุนกระตุ้นเศรษฐกิจ เกิดการจ้างงาน และการพัฒนาเทคโนโลยีภายในประเทศ

      สำหรับ ในเบื้องต้น ที่ประชุมได้มอบหมายให้ บีโอไอ และกรมสรรพสามิต พิจารณามาตรการสนับสนุนเพิ่มเติมกับรถยนต์ไฮบริด โดยให้มีโครงสร้างสิทธิประโยชน์ลดหลั่นจากการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV รวมถึงการศึกษาผลกระทบมาตรการสนับสนุนรถยนต์ไฮบริด และ EV เพื่อไม่ให้กระทบกับผลิตรถยนต์เครื่องยนต์ปกติ และผู้ประกอบการชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศ

     แหล่งข่าว กล่าวว่า ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานบีโอไอได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาตรการสนับสนุนรถยนต์ EV และไฮบริด เร่งสรุปมาให้พิจารณา เพื่อถือเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลต้องการใช้เป็นแรงขับเคลื่อนใหม่ของเศรษฐกิจไทยในอนาคต

     ด้านนายสมชาย พูลสวัสดิ์ อธิบดีกรมสรรพสามิต เปิดเผยว่า มาตรการสนับสนุนรถยนต์ EV และไฮบริด ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยปัจจุบันรถยนต์EV และไฮบริด มีอัตราเพดานภาษีอยู่ที่ 50% ในส่วนของรถยนต์ EV เก็บจริง 10% และรถยนต์ไฮบริดเครื่องยนต์ไม่เกิน 3,000 ซีซี และปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ไม่เกิน 100 กรัมต่อกิโลเมตร เสียภาษี 10% แต่หากปล่อยเกิน 100 กรัมต่อกิโลเมตร แต่ไม่ถึง 150 กรัมต่อกิโลเมตรเสียภาษี 20%

     สำหรับรถยนต์ไฮบริดที่เครื่องยนต์ไม่เกิน 3,000 ซีซี และปล่อย CO2 ไม่เกิน 150 กรัมต่อกิโลเมตร แต่ไม่เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตร เสียภาษี 25% หากปล่อย CO2 เกิน 200 กรัมต่อกิโลเมตรเสียภาษี 30% และรถยนต์ไฮบริดที่เครื่องยนต์เกิน 3,000 ซีซี เสียภาษี 50%

      ทั้งนี้สำหรับการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตในเดือนตุลาคม 2559 ซึ่งถือเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2560(ตุลาคม 2559-30 กันยายน2560) จัดเก็บรายได้รวม 41,020 ล้านบาทต่ำกว่าประมาณการ 2,038 ล้านบาทหรือ 4.7 (แต่สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 6.7%)

       “ภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษียาสูบจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,151 ล้านบาท หรือ 18.7% (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 8.9%) เนื่องจากปริมาณยาสูบทีชำระภาษีน้อยกว่าที่ประมาณการไว้ประกอบกับผู้บริโภคได้เปลี่ยนมาบริโภคยาสูบราคาที่ถูกเพิ่มขึ้น และภาษีสรรพสามิตรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 582 ล้านบาทหรือ 7.2% (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 3.1%) อย่างไรก็ดี ภาษีน้ำมันจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 317 ล้านบาทหรือ 2.1% (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 27.3%)

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!