- Details
- Category: คลัง
- Published: Saturday, 26 July 2014 08:30
- Hits: 2923
สคร.เร่งรัด 7 รสก.เบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงที่เหลือของปีงบ 57 ให้ได้ตามเป้า
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) ระบุว่า ตามที่ คสช.ได้มีประกาศ ฉบับที่ 75/2557 และ 78/2557 กำหนดให้รัฐวิสาหกิจรายงานการลงทุนหรือริเริ่มโครงการใหม่ที่มีวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาท และการทำธุรกรรมที่มีวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาท ซึ่งมิใช่การดำเนินกิจการทั่วไปหรือเพื่อการดำเนินการตามปกติของรัฐวิสาหกิจ และให้จัดทำรายงานแล้วเสนอไปยังสคร.เพื่อรวบรวมและเสนอความเห็นต่อ คสช. โดยที่หลักเกณฑ์และวิธีการรายงานให้เป็นไปตามที่ สคร.กำหนดนั้น
สคร.ได้ดำเนินการตามประกาศ คสช. โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์การส่งข้อมูลเพื่อให้รัฐวิสาหกิจรายงาน พร้อมทั้งได้แจ้งเวียนให้รัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติแล้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1.การลงทุนหรือริเริ่มโครงการใหม่ที่มีวงเงินเกิน 100 ล้านบาท เมื่อโครงการดังกล่าวผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ ควบคู่กับการขออนุมัติการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (หากต้องขออนุมัติ)
2. การทำธุรกรรมที่มีวงเงินเกิน 100 ล้านบาท ซึ่งมิใช่การดำเนินกิจการทั่วไปหรือเพื่อการดำเนินการตามปกติของรัฐวิสาหกิจซึ่งทำให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการตามวัตถุประสงค์การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจเมื่อผู้มีอำนาจอนุมัติการทำธุรกรรมนั้นๆ พิจารณาอนุมัติแล้ว
ทั้งนี้ ให้รัฐวิสาหกิจรายงานข้อมูลตามข้อ 1. และ 2. ต่อ คสช. ผ่าน สคร. ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไป โดยให้เริ่มรายงานข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557
สำหรับ กรณีการติดตามผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา สคร.พบว่ายังมีรัฐวิสาหกิจหลายแห่งที่ยังไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ ดังนั้นเมื่อวันที่ 24 ก.ค.57 สคร.จึงได้จัดให้มีการประชุมเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนร่วมกับรัฐวิสาหกิจที่มีงบลงทุนขนาดใหญ่และมีผลการเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามเป้าหมายมาหารือ โดยในครั้งนี้ได้มีผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจเข้าร่วมทั้งสิ้น 7 แห่ง ประกอบด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย, การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ, บมจ. ท่าอากาศยานไทย (AOT), โรงงานยาสูบ, บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด, องค์การเภสัชกรรม และบมจ. ปตท.(PTT)
นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการ สคร. คาดว่า การประชุมหารือร่วมกับรัฐวิสาหกิจดังกล่าวซึ่งมีสัดส่วนงบลงทุนคิดเป็นร้อยละ 55 ของงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจทั้งหมด จะสามารถผลักดันให้เกิดการเบิกจ่ายงบลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ในช่วงระยะเวลาที่เหลือของปีงบประมาณ 2557 เพื่อเป็นการเร่งอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ สอดคล้องกับนโยบายของ คสช. พร้อมนี้สำหรับโครงการที่อยู่ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง ขอให้รัฐวิสาหกิจเร่งดำเนินการและขอให้ดำเนินการด้วยความโปร่งใส
นอกจากนี้ ในส่วนรัฐวิสาหกิจที่เหลืออีก 39 แห่ง สคร.ยังคงให้ความสำคัญและคาดหวังให้การเบิกจ่ายงบลงทุนเป็นไปตามเป้าหมายเช่นเดียวกันรัฐวิสาหกิจ 7 แห่ง โดย สคร.ได้มีหนังสือแจ้งรัฐวิสาหกิจ เพื่อขอความร่วมมือในการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ 2557 ต่อไป
สำหรับ ผลการเบิกจ่ายงบลงทุน ณ เดือนมิถุนายน 2557 (รอบ 9 เดือนสำหรับรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ และรอบ 6 เดือน สำหรับรัฐวิสาหกิจปีปฏิทิน) รัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมจำนวน 107,071 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 65.8 ของแผนเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม และร้อยละ 30.9 ของแผนทั้งปี
อินโฟเควสท์
สคร. สั่งทุกรัฐวิสาหกิจรายงานการลงทุน การทำธุรกรรม วงเงินเกิน 100 ลบ. ตั้งแต่เดือนนี้ เป็นต้นไป /ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนช่วงที่เหลือของปีงบ 57
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) รายงานว่า ตามที่ คสช. ได้มีประกาศ ฉบับที่ 75/2557 และ 78/2557 กำหนดให้รัฐวิสาหกิจรายงาน (1) การลงทุนหรือริเริ่มโครงการใหม่ที่มีวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาท (2) การทำธุรกรรมที่มีวงเงินเกินหนึ่งร้อยล้านบาท ซึ่งมิใช่การดำเนินกิจการทั่วไปหรือเพื่อการดำเนินการตามปกติของรัฐวิสาหกิจ และให้จัดทำรายงานแล้วเสนอไปยัง สคร. เพื่อรวบรวมและเสนอความเห็นต่อ คสช. ต่อไป โดยที่หลักเกณฑ์และวิธีการรายงานให้เป็นไปตามที่ สคร. กำหนด นั้น
สคร. ได้ดำเนินการตามประกาศ คสช. ข้างต้น โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์การส่งข้อมูล เพื่อให้รัฐวิสาหกิจรายงาน พร้อมทั้งได้แจ้งเวียนให้รัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติแล้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. การลงทุนหรือริเริ่มโครงการใหม่ที่มีวงเงินเกิน 100 ล้านบาท เมื่อโครงการดังกล่าวผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ ควบคู่กับการขออนุมัติการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (หากต้องขออนุมัติ)
2. การทำธุรกรรมที่มีวงเงินเกิน 100 ล้านบาท ซึ่งมิใช่การดำเนินกิจการทั่วไปหรือเพื่อการดำเนินการตามปกติของรัฐวิสาหกิจซึ่งทำให้ได้มาซึ่งสินค้าและบริการตามวัตถุประสงค์การดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจเมื่อผู้มีอำนาจอนุมัติการทำธุรกรรมนั้นๆ พิจารณาอนุมัติแล้ว
ทั้งนี้ให้รัฐวิสาหกิจรายงานข้อมูลตามข้อ 1. และ 2. ต่อ คสช. ผ่าน สคร. ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดไปโดยให้เริ่มรายงานข้อมูลตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2557
สำหรับ กรณีการติดตามผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา สคร. พบว่า ยังมีรัฐวิสาหกิจหลายแห่งที่ยังไม่สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ ดังนั้น เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2557 สคร. จึงได้จัดให้มีการประชุมเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนร่วมกับรัฐวิสาหกิจที่มีงบลงทุนขนาดใหญ่และมีผลการเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามเป้าหมายมาหารือ โดยในครั้งนี้ได้มีผู้บริหารของรัฐวิสาหกิจเข้าร่วมทั้งสิ้น 7 แห่ง ประกอบด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย องค์การเภสัชกรรม และบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) ซึ่ง ผอ. สคร. คาดหวังว่า การประชุมหารือร่วมกับรัฐวิสาหกิจข้างต้นซึ่งมีสัดส่วนงบลงทุนคิดเป็นร้อยละ 55 ของงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจทั้งหมด จะสามารถผลักดันให้เกิดการเบิกจ่ายงบลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ในช่วงระยะเวลาที่เหลือของปีงบประมาณ 2557 เพื่อเป็นการเร่งอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ สอดคล้องกับนโยบายของ คสช. พร้อมนี้สำหรับโครงการที่อยู่ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้างขอให้รัฐวิสาหกิจเร่งดำเนินการและขอให้ดำเนินการด้วยความโปร่งใส
นอกจากนี้ ในส่วนรัฐวิสาหกิจที่เหลืออีก 39 แห่ง สคร. ยังคงให้ความสำคัญและคาดหวังให้การเบิกจ่ายงบลงทุนเป็นไปตามเป้าหมายเฉกเช่นรัฐวิสาหกิจข้างต้น 7 แห่ง โดย สคร. ได้มีหนังสือแจ้งรัฐวิสาหกิจ เพื่อขอความร่วมมือในการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ 2557 ต่อไป
สำหรับ ผลการเบิกจ่ายงบลงทุน ณ เดือนมิถุนายน 2557 (รอบ 9 เดือนสำหรับรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ และรอบ 6 เดือน สำหรับรัฐวิสาหกิจปีปฏิทิน) รัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมจำนวน 107,071 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 65.8 ของแผนเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม และร้อยละ 30.9 ของแผนทั้งปี
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย.