WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

คลังดันโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ตั้งงบปี’58 ขาดดุล 5 แสนล.

       แนวหน้า : สำนักงบประมาณ ประสานเสียง ‘คลัง’ ชี้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวรุนแรงจนเข้าสู่ภาวะถดถอย เสนอรัฐบาลใหม่ ตั้งงบขาดดุลเพิ่มเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ หนุนลงทุนถนน 4 เลน สร้างท่าเรือ  โครงการรถไฟฟ้าพร้อมชลอ 'ไฮสปีดเทรน'ให้ศึกษความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจก่อน

      นายสุวิชญ โรจนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง กับ สำนักงบประมาณ ได้หารือเพื่อจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2558(ตุลาคม2557-กันยายน2558) โดยทาง สำนักงบประมาณ ได้เตรียมทางเลือกไว้ให้รัฐบาลใหม่ตัดสินใจ ในกรณีที่หากรัฐบาลใหม่ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยนำโครงการลงทุนด้านคมนาคม 2 ล้านล้านบาท ที่ยังไม่สามารถออกกฎหมายได้ มาใส่ไว้ในงบประมาณปี 2558 ก็สามารถทำงบประมาณแบบขาดทุนได้ 5 แสนล้านบาท หรือประมาณ 4% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี)เมื่อเทียบกับงบประมาณปี 2557 (ตุลาคม2556-กันยายน2557)ที่ขาดดุล 2.5 แสนล้านบาท

     อย่างไรก็ตาม การตั้งขาดดุลงบประมาณปี 2558 สูงถึง 5 แสนล้านบาท อาจจะมีปัญหาเบิกจ่ายไม่ทัน เพราะการทำงบประมาณปี 2558 ล่าช้าจากปัญหาทางการเมืองไม่สามารถมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศไทย ขณะนี้ประเมินเบื้องต้นงบประมาณปี 2558 จะเริ่มใช้ได้อย่างเร็วในเดือน กุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งเหลือเวลาการใช้งบประมาณอีกเพียง 5 เดือน ซึ่งไม่สามารถที่จะเบิกจ่ายงบลงทุนจากการทำงบขาดดุล 5 แสนล้านบาท ได้ทัน อาจต้องให้รัฐบาลใหม่พิจารณาการขาดดุลงบประมาณ 2558 ในระดับที่เหมาะสมอีกครั้ง

     นายสุวิชญ กล่าวว่า นอกจากนี้ข้อเสนอจัดทำงบขาดดุล 5 แสนล้านบาทแล้วสำนักงบประมาณ จะเสนอทางเลือกอื่นประกอบคือจัดทำงบประมาณปี 2558 ขาดดุลได้ 1.5 แสนล้านบาท ลดลงจากงบประมาณปี 2557 ที่ขาดดุล 2.5 แสนล้านบาท ส่วนปีงบประมาณ 2559 จะเหลือขาดดุล 7.5 หมื่นล้านบาท เพื่อให้ปีงบประมาณ 2560 จะเข้าสู่ภาวะสมดุล

     “แต่เห็นว่าทางเลือกที่ดีที่สุดรัฐบาลควรเลือกแนวทางการขาดดุลงบประมาณ5แสนล้านเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจดีกว่า เพราะเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ชะลอตัวรุนแรงจนเข้าสู่ภาวะถดถอย”

    นายสุวิชญ กล่าวว่า ในส่วนของโครงการลงทุนด้านคมนาคม 2 ล้านล้านบาท ที่ไม่สามารถใช้เงินกู้จากการออก พ.ร.บ. ได้ทาง กระทรวงการคลัง ได้หารือกับ กระทรวงคมนาคม และกำหนดกรอบการลงทุน 2 ล้านล้านบาท ไว้ 3 ส่วน ในส่วนแรกโครงการที่เป็นภาครัฐหรือส่วนราชการดำเนินการ เช่น สร้างถนน 4 ช่องจราจร(4เลน) สร้างถนนเชื่อมเมืองต่างๆ สร้างด่านศุลกากร และ สร้างท่าเรือ ให้ใช้เงินจากงบประมาณ

    สำหรับส่วนที่สอง เป็นโครงการรัฐวิสาหกิจดำเนินการ เช่น โครงการรถไฟรางคู่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง สายสีส้ม สายสีชมพู จะใช้เงินกู้ที่ กระทรวงการคลังจะจัดหาให้ และส่วนที่สามเป็นการร่วมลงทุนรัฐและเอกชน (PPP) เช่น โครงการถนนมอเตอร์เวย์กรุงเทพ – นครราชสีมา

     ในส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน) ได้มีการเห็นชอบให้ชะลอการดำเนินการออกไปก่อน เนื่องจากโครงการยังไม่มีความชัดเจน และยังไม่ได้มีการศึกษาว่าการลงทุนจะคุ้มค่าทางเศรษฐกิจหรือไม่

     ขณะที่โครงการลงทุนน้ำจากการออก พ.ร.ก. เงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท ก็ต้องชะลออกไปก่อนจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่เข้ามาทำการประชาพิจารณ์ให้เรียบ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของรัฐบาลใหม่วะจะเดินหน้าโครงการนำต่อไปหรือไม่ และการใช้แหล่งเงินจะใช้เงินกู้ หรือจำนำกลับเข้ามาใช้ในงบประมาณปกติ

     มีรายงานข่าวจาก กระทรวงคมนาคม แจ้งว่า สำหรับ โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนได้แก่ สายสีชมพู(แคราย-มีนบุรี), สายสีส้ม(ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี), สายสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง), สายสีม่วง(เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ) และสายสีเขียว(สมุทรปราการ-บางปู) อยู่ในระหว่างการหาแหล่งเงินทุนโดยจะมีการใช้เงินกู้ และให้เอกชนลงทุน PPP อย่างไรก็ตามยังรอรัฐบาลใหม่ตัดสินใจเช่นกัน

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!