WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gอภศกด ตนตวรวงศรมว.คลังย้ำบนเวทีประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย แผนนำไทยหลุดจากกับดักปท.รายได้ปานกลาง

       นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ในฐานะผู้ว่าการของประเทศไทยในธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และนายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลังในฐานะผู้ว่าการสำรองของประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 49  และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 2-5 พฤษภาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุม Messe Convention Center นครแฟรงก์เฟิร์ต สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

      1. รมว.คลังได้เข้าร่วมการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 49 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-5 พฤษภาคม 2559 การประชุมภายใต้หัวข้อ 'ความร่วมมือเพื่อความยั่งยืน'  โดยในวันที่ 2 พฤษภาคม 2559 รมว.คลังได้เข้าร่วมงาน Host Country Reception และถ่ายภาพหมู่กับนาง Angela Merkel นายกรัฐมนตรีสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและผู้ว่าการของประเทศสมาชิกร่วมกัน จากนั้น ได้ร่วมเข้าฟังปาฐกถาของนาง Angela Merkel ด้วย

     นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 ในช่วงพิธีเปิดการประชุมฯ เป็นการกล่าวสุนทรพจน์ของนาย TakehikoNakao ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย นาย Horst Köhler อดีตประธานาธิบดี และนาย Gerd Müller รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ  รัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ในฐานะเจ้าภาพจัดการประชุมฯ โดยมีประเด็นสำคัญที่หยิบยก อาทินโยบายการดำเนินงานที่สำคัญในการมุ่งเป้าหมายไปสู่การลดความยากจนในเอเชีย-แปซิฟิกผ่านการสร้างงานที่มีคุณภาพ การพัฒนาภาคเอกชน และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกและภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินนโยบายของ ADB ที่ต้องมีความยืดหยุ่น สอดคล้อง และตอบสนองเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว ความร่วมมือของกลุ่มนอกภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในการสนับสนุนการพัฒนาประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในการลดความยากจนและพัฒนาอย่างทั่วถึง ยั่งยืนและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

      2. รมว.คลังได้กล่าวสุนทรพจน์และเผยแพร่ในสื่อเว็บไซต์ของธนาคารพัฒนาเอเชีย ซึ่งมีเนื้อหาสรุปเกี่ยวกับสภาวะทางเศรษฐกิจและนโยบายที่สำคัญๆ ทางเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของประเทศไทย ซึ่งควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมโดยมุ่งเน้นการส่งเสริมการลงทุน รวมถึงการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานตลอดจนโครงสร้างทางการเงินของประเทศไทย เพื่อให้ประเทศไทยหลุดจากกับดักรายได้ปานกลาง และพัฒนาประเทศตามแนวทางวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ทั้งนี้ มีผู้ว่าการจากประเทศสมาชิกอื่น ๆ จำนวน 33 ประเทศ อาทิ ผู้ว่าการประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาประเทศจีน ร่วมกล่าวสุนทรพจน์ด้วย ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2559

       3. รมว.คลังได้เข้าร่วมการประชุมหารือแบบโต๊ะกลม  ในหัวข้อ How Trade, Technology and New Business Models are Shaping Asia’s Quest for Quality Jobs ซึ่งจัดขึ้นเพื่อให้ผู้ว่าการของประเทศสมาชิกจำนวน 12 ประเทศ ร่วมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของการพัฒนาทางเทคโนโลยีต่อการจ้างแรงงาน ซึ่งหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยได้มีการดำเนินนโยบายรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านแรงงานที่สำคัญ เช่น การพัฒนาศึกษาและยกระดับฝีมือแรงงานเฉพาะ (Vocational Education) รวมทั้งการสนับสนุนวิสาหกิจเริ่มต้นใหม่ (Start-up) ซึ่งถือเป็นนายจ้างที่สำคัญของประเทศ

        4. รมว.คลังได้เข้าร่วมหารือทวิภาคีกับนาย Takehiko Nakao ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย ในประเด็นความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย รวมทั้งประเด็นการยกระดับสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB Thailand Resident Mission: ADB TRM) ให้เป็นสำนักงานศูนย์กลางในระดับภูมิภาค เพื่อเชื่อมโยงการพัฒนาและความร่วมมือด้านต่างๆ ไปยังประเทศเพื่อนบ้านของประเทศไทยนอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้หารือกับผู้บริหารระดับสูงจากองค์การระหว่างประเทศ และสถาบันชั้นนำหลายแห่ง อาทิ กลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group) ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation: JBIC) ธนาคาร HSBC กลุ่ม Nomura  กลุ่ม CITI  ด้วย

      5. ปลัดกระทรวงการคลังได้เข้าร่วมการประชุมประเทศผู้บริจาคในกองทุนพัฒนาเอเชีย 12 รอบสุดท้าย ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อแสดงเจตจำนงในการเข้าร่วมบริจาคเงินของประเทศไทยในกองทุนพัฒนาเอเชีย 12 ดังกล่าวที่จะเริ่มการดำเนินงานในปี พ.ศ. 25602563 ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2559

         นอกจากนี้ ปลัดกระทรวงการคลังได้เข้าร่วมการประชุม Governors’ Plenary ในหัวข้อ Sustainable Development Goals and Asia 2030 โดยเป็นการหารือร่วมกับสมาชิกของธนาคารพัฒนาเอเชีย เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศสมาชิกในอีก 15 ปีข้างหน้า นโยบายที่สำคัญ เช่น นโยบายด้านการลงทุน แผนงานการลงทุนภาครัฐ การพัฒนาภาคเอกชน ในการขับเคลื่อนประเทศสมาชิกเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน การนำเสนอประเด็นการให้ความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของประเทศที่กำลังพัฒนา รวมทั้งข้อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานของ ADB ในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของแต่ละประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

      อินโฟเควสท์

ยกระดับ ADB ในไทยเป็นสนง.ศูนย์กลางระดับภูมิภาค

      แนวหน้า : นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลังในฐานะผู้ว่าการของประเทศไทยในธนาคาร พัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และ นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลังในฐานะผู้ว่าการสำรองของประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 49 (The 49 th Annual Meeting of the Board of Governors of Asian Development Bank) และการประชุม อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 2-5 พ.ค. 2559 ณ ศูนย์ประชุม Messe Convention Center นครแฟร้งค์เฟิร์ต สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้คือ

       รมว.คลัง กล่าวว่า ได้หารือทวิภาคี กับ นาย Takehiko Nakao ประธาน ธนาคารพัฒนาเอเชีย ในประเด็นความร่วมมือที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย รวมทั้งประเด็นการยกระดับสำนักงานผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB Thailand Resident Mission : ADB TRM) ให้เป็นสำนักงานศูนย์กลางในระดับภูมิภาค เพื่อเชื่อมโยงการพัฒนาและความร่วมมือด้านต่างๆ ไปยังประเทศ เพื่อนบ้านของประเทศไทย

      นอกจากนี้ ยังได้หารือกับผู้บริหาร ระดับสูงจากองค์การ ระหว่างประเทศ และสถาบันชั้นนำหลายแห่ง อาทิ กลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group) ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ แห่งประเทศญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation : JBIC) ธนาคาร HSBC กลุ่ม Nomura  กลุ่ม CITI ด้วย

        สำหรับ การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ "ความร่วมมือเพื่อความยั่งยืน" (Cooperative for Sustainability)

      "มีประเด็นสำคัญที่หยิบยก อาทิ นโยบายการดำเนินงานที่สำคัญในการมุ่งเป้าหมายไปสู่การลดความยากจนในเอเชีย-แปซิฟิกผ่านการสร้างงานที่มีคุณภาพ การพัฒนาภาคเอกชน และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สถานการณ์เศรษฐกิจโลกและภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลต่อการดำเนินนโยบายของ ADB ที่ต้องมีความยืดหยุ่น สอดคล้อง และตอบสนองเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว ความร่วมมือของกลุ่มนอกภูมิภาคเอเชีย- แปซิฟิก (Non-Region) ในการสนับสนุน การพัฒนาประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในการลดความยาก จนและพัฒนาอย่างทั่วถึง ยั่งยืนและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)" รายงานจากกระทรวงการคลังระบุ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!