WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gกฤษฎา จนะวจารณะสศค.แจงข้อดีพรบ.การเงินการคลัง หวังเร่งลดภาระหนี้สาธารณะ คุมการใช้จ่ายเงินงบประมาณ

        แนวหน้า : นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยถึงกรณีที่ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. . ว่า เพื่อให้การบริหารการเงินการคลังของประเทศมีความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้เงินนอกงบประมาณจะมีการควบคุมและจำกัดการใช้เงินไม่ให้เป็นภาระการเงินการคลังของประเทศในภายหลัง โดยกำหนดการใช้เงินนอกงบประมาณจะทำได้ภายใต้เงื่อนไข ได้แก่ เพื่อการฟื้นฟูสาธารณภัย ฟื้นฟูจากการก่อการร้ายหรือวินาศกรรม ฟื้นฟูจากสาธารณภัยหรือภัยพิบัติต่างๆ และฟื้นฟูกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจะใช้ได้ไม่เกิน 1% ของงบประมาณรายจ่าย

      นอกจากนี้ ยังควบคุมการใช้เงินจากการเก็บภาษีเพิ่มพิเศษของหน่วยงานต่างๆ จากเดิมมีหลายหน่วยงานออกกฎหมายให้เก็บภาษีเพิ่มด้วยตัวเองไม่ได้ผ่านกระทรวงการคลัง เช่น กองทุนส่งเสริมสุขภภาพ กองทุนกีฬา และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้เงินภาษี 2% จากภาษีสุราและบุหรี่ของกรมสรรพสามิต ดังนั้น จากนี้ไปการเก็บภาษีเพิ่มต้องทำภายใต้กฎหมายของกรมภาษี เช่น การเก็บภาษีสรรพสามิต หรือกรมสรรพากร ต้องทำภายใต้ประมวลรัษฎากรกรมสรรพสามิต หรือกรมสรรพากรเท่านั้น ไม่สามารถไปออกกฎหมายพิเศษเพิ่มเติมได้ โดยการใช้เงินกำหนดว่าต้อง ไม่เกิน 1% ของงบประมาณ หรือปีละ 20,000-30,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบัน 3 กองทุนที่เก็บภาษีพิเศษเป็นเงินกว่า 10,000 ล้านบาท

       นายกฤษฎา กล่าวว่า ทางสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เสนอให้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ต้องคืนชำระต้นเงินกู้ปีละไม่ต่ำกว่า 3% เพื่อหนี้ของประเทศลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ต้องพิจารณาอีกครั้ง เพราะปัจจุบันสามารถชำระเงินต้นได้เพียง 1-2% เท่านั้น ดังนั้น การกำหนดตัวเลขขั้นต่ำต้องแน่ใจว่าสามารถดำเนินการได้

      สำหรับ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวยังกำหนดกรอบวินัยทางการเงินการคลัง ซึ่งรวมถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกรอบการคลังระยะปานกลาง การจัดหารายได้ การกำหนดแนวทางในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน การบริหารการเงินและทรัพย์สิน การบัญชี ทุนหมุนเวียน การก่อหนี้หรือการดำเนินการที่ผูกพันทรัพย์สินหรือภาระทางการเงิน หลักเกณฑ์กำหนดวงเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และการอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารการคลังของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ยั่งยืนโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ โดยมีสาระสำคัญ เช่น การกำหนดวินัยการเงินการคลังของรัฐเป็นการทั่วไป ได้แก่ หลักการดำเนินนโยบายการคลังของรัฐ การจัดทำกรอบการคลังระยะปานกลาง หลักการดำเนินมาตรการที่ก่อให้เกิดภาระผูกพันมากกว่า 1 ปี หรือเกิดการสูญเสียรายได้ หลักการดำเนินมาตรการนอกเหนือภารกิจปกติ และหลักการนำเงินส่งคลัง

     การกำหนดวินัยการเงินการคลังของรัฐเป็นการเฉพาะด้าน 6 ด้าน ได้แก่ รายได้แผ่นดินรายจ่าย แนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน การก่อหนี้ การบริหารการเงินและทรัพย์สิน และเงินนอกงบประมาณและทุนหมุนเวียน การกำหนดวินัยเกี่ยวกับการบัญชีภาครัฐ การรายงาน และการตรวจสอบ เพื่อให้ภาครัฐได้รับการตรวจสอบจากสาธารณชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และมีความโปร่งใส ทั้งนี้ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับเมื่อพระราชบัญญัติฯ มีผลบังคับใช้ คือ ช่วยยกระดับมาตรฐานการดำเนินนโยบายและการบริหารการคลังให้มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน โปร่งใส และมีกลไกการ ตรวจสอบที่นำไปสู่ความรับผิดชอบทางการคลัง

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!