- Details
- Category: คลัง
- Published: Saturday, 12 July 2014 20:56
- Hits: 3078
ปัดฝุ่น รสก. 56 แห่งใหม่ สั่ง สคร.ระดมกึ๋นกฎเหล็กให้ทันสมัยคลุมทั้งระบบ
บ้านเมือง : นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม คนร. เห็นว่ากฎระเบียบต่างๆ ในการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจมีจำนวน 25 ฉบับ อาทิ กฎหมายด้านการเงินการคลัง การกำหนดคุณสมบัติกรรมการ แต่การบังคับใช้อาจจะยังไม่ดีเท่าที่ควร และอาจไม่สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาทบทวนปรับปรุงกฎระเบียบให้ทันสมัยและดูแลรัฐวิสาหกิจได้ครอบคลุมทั้งระบบ
"เพื่อเป็นการวางนโยบายและกำกับรัฐวิสาหกิจ จะต้องดูแลในเรื่องของกฎหมายด้านการเงินหลายตัว กฎหมายเรื่องการบริหาร กฎหมายด้านการจำหน่ายหุ้นที่เราถือครองอยู่ กฎหมายคุณสมบัติกรรมการ ซึ่งมีอยู่ 25 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับ สคร.ถือว่าเยอะมาก เลยให้ สคร.ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาว่าจะสามารถปรับปรุงได้อย่างไรบ้าง อันไหนเก่าก็ทำให้เป็นปัจจุบันขึ้น ดูว่ามีกฎหมายตัวไหนบ้างที่เป็นที่ไปดึงการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจให้เกิดความไม่คล่องตัว ก็ให้ยกเลิกหรือปรับปรุง แก้ไข เพื่อผ่อนคลายลง" นายกุลิศ กล่าว
นอกจากนั้น คนร.ยังได้ให้ความสำคัญในการสร้างความโปร่งใสสำหรับจัดซื้อจัดจ้างโครงการขนาดใหญ่ของรัฐวิสาหกิจ โดยให้นำแนวทางปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นสากลมาใช้ และมอบหมายให้ สคร. ดำเนินการนำระบบการจัดซื้อจัดจ้างของสากลมาใช้สำหรับการลงทุนขนาดใหญ่เกิน 1 พันล้านบาท ของรัฐวิสาหกิจ อาทิเช่น ขณะนี้โครงการลงทุนที่คณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) ให้หยุดไปก่อน 18 โครงการ ได้แก่ การจัดซื้อหัวรถจักร รถเมล์ 3,000 คัน การก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 จะกลับมาอนุมัติใหม่ตามมาตรการกลั่นกรองดังกล่าว
นายกุลิศ กล่าวต่อว่า ด้วยสภาพปัญหาด้านรัฐวิสาหกิจมีความซับซ้อน และนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจยังไม่มีการบูรณาการ คนร.จึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 3 ชุด เพื่อดำเนินการในรายละเอียดและนำเสนอ คนร.ในกรอบระยะเวลาการทำหน้าที่ของ คสช. และก่อนมีการเลือกตั้ง 1.คณะอนุกรรมการด้านการแก้ไขปัญหารัฐวิสาหกิจรายแห่งในองค์รวม มีหน้าที่พิจารณาและกลั่นกรองแผนการแก้ไขปัญหาของรัฐวิสาหกิจและนำเสนอ คนร. เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ซึ่งมี พล.ท.อนันตพร กาญจนรัตน์ ปลัดบัญชีกองทัพบก ในฐานะประธานคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.)
2.คณะอนุกรรมการด้านการกำหนดยุทธศาสตร์รัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่พิจารณาและจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนารัฐวิสาหกิจในภาพรวม และนำเสนอ คนร. พิจารณา เพื่อให้รัฐวิสาหกิจไทยมีทิศทางในการดำเนินงานที่ชัดเจน ไม่ซ้ำซ้อน มีนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน 3.คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาระบบกำกับรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่ในการวางรากฐานการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตั้งแต่การสรรหาคณะกรรมการ ผู้บริหาร การจัดซื้อจัดจ้าง ธรรมาภิบาล การตรวจสอบ การเงินและการลงทุน รวมถึงการประเมินผลและการสร้างระบบแรงจูงใจ เพื่อเป็นการกำหนดแนวทางในการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพต่อไป โดยมีนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นประธาน
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาเราเคยออกระเบียบที่เรียกว่า แนวทางการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจที่ดี ซึ่งจะนำกลับมาปรับปรุงใหม่ เมื่อคณะอนุกรรมการชุดนี้พิจารณาและวางรากฐาน ก็อาจจะออกเป็นกฎหมายเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่นำไปสู่การบังคับใช้อย่างชัดเจน แนวทางอาจจะแบ่งออกเป็น รัฐวิสาหกิจใดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ รัฐวิสาหกิจใดที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ และรัฐวิสาหกิจใดที่ตั้งด้วยกฎหมาย ในการดูแลก็จะแยกต่างหากกัน ซึ่งก็จะร่วมถึงการพิจารณาในเรื่องของอัตราผลตอบแทนพนักงาน แนวทางการจัดทำการดำเนินงาน เป็นการวางรากฐานระยะยาว
"เราจะเสนอให้หยิบแนวทางในการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจที่ดีขึ้นมาปรับปรุงใหม่ จากนั้นทางอนุกรรการฯ ก็จะวางระบบแนวทางการจัดการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ โดยอาจจะเสนอออกเป็นกฎหมายเพื่อให้เป็นผลบังคับใช้ เพื่อวางรากฐานการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจต่อไปในอนาคต เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่ดี" นายกุลิศ กล่าว
สำหรับ โครงการลงทุน 100 ล้านบาทของรัฐวิสาหกิจนั้น ขณะนี้ สคร.ได้สรุปข้อมูลการลงทุนของรัฐวิสาหกิจต่างๆ แล้วประมาณ 200 โครงการ และเสนอกระทรวงการคลัง เพื่อหารือในการประชุม คนร.ต่อไป ส่วนในเรื่องการจัดตั้งคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจที่ยังว่างอยู่นั้น สคร.กำลังจัดทำรายชื่ออยู่ โดยกระทรวงต้นสังกัดรัฐวิสาหกิจต้องนำเสนอไปยัง คสช.เพื่ออนุมัติ คาดว่าจะมีการตั้งบอร์ดรัฐวิสาหกิจที่ยังขาดอยู่ทั้งหมดภายในเดือนกรกฎาคมนี้
รื้อเกณฑ์จ่ายโบนัสรัฐวิสาหกิจ สคร.ถกชงซูเปอร์บอร์ด ดึงบจ.ในตลท.ร่วมวง
ไทยโพสต์ : พระรามหก * สคร.จ่อรื้อเกณฑ์ให้สิทธิประโยชน์-จ่ายโบนัสรัฐวิสาหกิจ หลังพบหลายหน่วยงานใช้เงินมือเติบ ไม่เหมาะ เตรียมส่งหนังสือถึงบริษัทนอกตลาดหลักทรัพย์ฯ จัดระเบียบใหม่ ส่วน บจ.ใน ตลท.ขอดึงร่วมวงด้วย
นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้ อำนวยสำนักงานคณะกรรม การนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า จะมีการหารือพิจารณา ปรับเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ และการจ่ายผลตอบแทนของรัฐวิสาหกิจใหม่ทั้งหมดภายในสัปดาห์หน้า
โดยในหลักการ จะพิจารณา ว่ามีรัฐวิสาหกิจแห่งใดบ้างที่มีการจ่ายผลตอบแทน รวมถึงโบ นัสที่ยังไม่มีความเหมาะสม หลัก การจ่ายผลตอบแทนต่างๆ มีความสมเหตุสมผลเพียงพอ หรือไม่ ก่อนจัดทำแผนปรับปรุงการให้สิทธิประโยชน์ทั้งหมด เข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาห กิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด และขอความเห็นชอบจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
การปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าว อาจจะต้องตัดการให้สิทธิประโยชน์บางเรื่องที่ให้กับผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ ขณะที่การจ่ายเงินโบนัส คงไม่ได้มีการปรับ ลดเงินโบนัส หรือปรับอัตราการ จ่ายลดลง แต่จะไปปรับเกณฑ์การประเมินการจ่ายโบนัสใหม่ ให้มีความเข้มงวดมากขึ้นมาก กว่า จะไม่มีการจ่ายโบนัสสูงเกิน ไปเหมือนในปัจจุบัน ที่มีรัฐวิสาห กิจหลายแห่ง จ่ายโบนัสเฉลี่ยสูงถึง 6-11 เดือน เป็นต้น
รายงานข่าวแจ้งว่า สคร.เตรียมส่งหนังสือแจ้ง ไปยังรัฐวิสาหกิจที่อยู่นอกตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เพื่อพิจารณาปรับลดการจ่ายค่าตอบแทนที่ไม่มีความเหมาะสม เช่น การออกบัตรเครดิต บัตรเดบิต ให้กับกรรมการรัฐวิสาหกิจ โดยเปิด วงเงินให้เฉลี่ยเดือนละ 1-3 แสน บาท หากใช้ไม่หมดสามารถสมทบ ใช้เดือนถัดไปได้ หรือการเลี้ยง รับรองสำหรับผู้บริหารใช้พาลูก ค้าไปตีกอล์ฟและเลี้ยงสังสรรค์ โดยมองว่าค่าใช้จ่ายส่วนนี้มี ได้ในปริมาณที่สมควรเล็กน้อย แต่ไม่ใช่เป็นหลักหลายล้านบาทเหมือนปัจจุบัน ขณะที่รัฐ วิสาหกิจที่จดทะเบียนใน ตลท.จะส่งหนังสือขอความร่วมมือ เพราะไม่สามารถไปออกคำสั่งได้
ปัจจุบันมีการใช้เกณฑ์ การประเมินคุณภาพรัฐวิสาห กิจ (SEPA) ใหม่ โดยการประ เมินที่ผ่านมานั้น มีการให้คะแนน ใน 3 ส่วน คือ 1.การดำเนิน งานตามนโยบาย น้ำหนัก 20-30%, 2.ผลการดำเนินงานของ รัฐวิสาหกิจ น้ำหนัก 40-50% และ 3.การบริหารจัดการองค์กร น้ำหนัก 30%
ซึ่งผลการประเมินจะมี ตั้งแต่ 1-5 คะแนน หากหน่วย งานใดได้ 5 คะแนนเต็ม สามารถ จ่ายโบนัสได้ 11% ของกำไรสุทธิ หรือคิดเป็น 8 เท่าของเงินเดือน หากได้ 4.5 คะแนน จ่ายโบนัสได้ 10.5% ของกำไรสุทธิ หรือไม่เกิน 7 เท่าของเงินเดือน ได้ 4 คะแนน จ่ายโบนัสได้ 10% ของกำไรสุทธิ หรือไม่เกิน 6 เท่าของเงินเดือน
หากได้ 3.5 คะแนน จ่ายโบนัสได้ 9.5% ของกำไรสุทธิ หรือไม่เกิน 5.5 เท่าของเงินเดือน ได้ 3 คะแนน จ่ายโบนัสได้ 9% ของกำไรสุทธิ หรือไม่เกิน 5 เท่าของเงินเดือน ได้ 2.5 คะแนน จ่ายโบนัสได้ 8.5% ของกำไรสุทธิ หรือไม่เกิน 4.5 เท่าของเงินเดือน ได้ 2 คะแนน จ่ายโบนัสได้ 8% ของกำไรสุทธิ หรือไม่เกิน 4 เท่าของเงินเดือน ได้ 1.5 คะแนน จ่ายโบนัสได้ 7.5% ของกำไรสุทธิ หรือไม่เกิน 3 เท่าของเงินเดือน ได้ 1 คะแนนถือว่าต่ำมาก จ่ายโบนัสได้ 7% ของกำไรสุทธิ หรือไม่เกิน 2 เท่าของเงินเดือน.