WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมชย สจจพงษ copyปลัดคลัง ชี้ศก.โลกขณะนี้ยังเปราะบาง แต่ไม่ถึงขั้นถดถอย เชื่อส่งออกเดือนม.ค.59 ติดลบ 8.91% ไม่กระทบการฟื้นตัวศก.ไทย

      นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจภาพรวมขณะนี้ เศรษฐกิจโลกขณะนี้มีสภาพเปราะบางไม่ถึงขั้นมีปัญหาเศรษฐกิจถดถอย  โดย สหรัฐมีสภาพเปราะบาง ส่วนจีนต้องการปรับลดความร้อนแรงเศรษฐกิจจากเดิมขยายตัวร้อยละ 7-8 ขณะที่ญี่ปุ่นยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน ซึ่งรัฐบาลไทยมองเห็นสภาพเศรษฐกิจชะลอตัว แต่ไม่ใช่เป็นสภาวะถดถอย รัฐบาล จึงเตรียมพร้อมรับมือ ผ่านมาตรการต่างๆ ทั้งการอัดฉีดงบประมาณเพื่อลงทุนภาครัฐ กระตุ้นการบริโภค เพื่อนำภาคเอกชนให้เกิดการลงทุน อาจต้องใช้เวลาในการสร้างความแข็งแกร่งจากเศรษฐกิจภายในประเทศ แทนการพึ่งการส่งออกที่ชะลอ

      สำหรับ การอัดฉีดเงินออกสู่ระบบขณะนี้เป็นระดับที่เหมาะสม เพราะยอดการจัดขาดดุล 3.9 แสนล้านบาท มีสัดส่วนร้อยละ 3 ของจีดีพี ยอมรับว่า ยังต้องการพึ่งพาการส่งออกตามแนวชายแดน เช่น กลุ่ม CLMV แทนตลาดหลักที่ชะลอ ส่วนการส่งออกเดือนมกราคม 2558 ที่ติดลบร้อยละ -8.91 เพราะเศรษฐกิจหลักทั้งจีน ญี่ปุ่น ชะลอตัว  แต่มั่นใจว่าจะไม่ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ และน่าจะเป็นบวกและดีกว่าปีก่อน

คลัง พร้อมรับมือศก.ผันผวนเพิ่มแรงซื้อในปท.แทนส่งออกคงจีดีพี 3.7%จ่อทบทวนเม.ย.

      ไทยโพสต์ : อารีย์ * คลังไม่วางใจเศรษฐกิจโลกผันผวน แจงรัฐออกมาตรการรับมืออย่างต่อเนื่อง เพิ่มกระตุ้นในประเทศทดแทนส่งออกร่วง สศค. ยังคงเป้าจีดีพีโต 3.7% จ่อประเมินอีกรอบในเดือน เม.ย.นี้ คาดภัยแล้งฉุด ศก.ไม่เกิน 0.15%

      นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยทั้งปีน่าจะขยายตัวเป็นบวกได้ โดยรัฐบาลได้เตรียมรับมือความผันผวนของเศรษฐกิจโลกมาต่อเนื่อง เพราะรู้ว่าไม่สามารถพึ่งการส่งออกเป็นหลักเพียงอย่างเดียวได้อีกต่อไป จึงได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจใช้จ่าย และเร่งการลงทุนภาครัฐ รวมถึงการกระตุ้น การลงทุนภาคเอกชน

     "ทุกประเทศได้รับผลกระทบเหมือนกันหมด และหันมาพึ่งเศรษฐกิจภายในประเทศเป็น หลัก ในส่วนของไทยก็ได้พยายามให้การลงทุนและการบริโภคนำหน้าการส่งออก โดยคาดว่า การลงทุนและการใช้จ่ายในไตร มาส 2 และ 3 ปีนี้จะขยายตัวได้เพิ่มขึ้น" นายสมชัยกล่าว

    น.ส.กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า สศค.ยังคงเป้าหมายการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปีนี้ไว้ที่ 3.7% ภายใต้เงื่อนไขภาวะเศรษฐกิจในระดับปัจจุบัน โดยมีการรวมผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ที่คาดว่าจะกระทบการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงสุดไม่เกิน 0.15% และมาตรการแก้ปัญหาดังกล่าวที่รัฐบาลได้เร่งออกมาในช่วงก่อนหน้า โดย สศค.จะมีการปรับประมาณการเศรษฐกิจอีกครั้งในเดือน เม.ย.2559

      ขณะที่ภาวะเศรษฐกิจในเดือน ม.ค.2559 ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวลดลง โดยเฉพาะการส่งออกที่ติดลบ 8.9% เป็นการหดตัว ในทุกกลุ่มสินค้า โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงและเครื่องใช้ไฟฟ้า และยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิด รวมทั้งความเปราะบางของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจคู่ค้าโดยเฉพาะจีน ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย การใช้นโยบายทางการเงินของประเทศมหาอำนาจที่ยังไม่สอดคล้องกันรวมไปถึงแนวโน้มราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อยู่ในช่วงขาลง และจะส่งผลกระทบกับราคาสินค้าเกษตร

     ส่วนปัจจัยบวกยังมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในส่วนต่างๆ ที่จะมี ผลต่อความเชื่อมั่น รวมถึงการกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชน ผ่านมาตรการด้านภาษี และการสนับสนุนจากบีโอไอ การให้ความช่วยเหลือในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ไปจนถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในหลายภาคอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตด้วย.

คลังฟื้น ศก.รับส่งออกติดลบ เล็งอัดงบลงทุนภาครัฐ-กระตุ้นการบริโภค

    บ้านเมือง : ก.คลังเร่งเครื่องวางแผนฟื้นเศรษฐกิจไทย หลังเกิดภาวะส่งออกสินค้าติดลบ ชี้ลงทุนรัฐบาล และกระตุ้นการบริโภค หวังเพิ่มความเชื่อมั่นให้ภาคเอกชนลงทุน แนะส่งออกสินค้าสู่ตลาดตามแนวชายแดนกลุ่ม CLMV เป็นช่องทางทดแทนส่งออกชะลอตัว

       นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจโลกขณะนี้มีปัญหาการฟื้นตัวแบบเปราะบางไม่ถึงขั้นมีปัญหาเศรษฐกิจถดถอย รวมถึงยุโรป สหรัฐ ส่วนจีนต้องการปรับลดความร้อนแรงเศรษฐกิจจากเดิมขยายตัว 7-8% เพื่อรักษาเสถียรภาพ ขณะที่ญี่ปุ่นยังฟื้นตัวไม่ชัดเจน รัฐบาลไทยมองเห็นสภาพเศรษฐกิจชะลอตัวดังกล่าว จึงเตรียมพร้อมรับมือผ่านมาตรการต่างๆ ทั้งการอัดฉีดงบประมาณเพื่อลงทุนภาครัฐ การกระตุ้นการบริโภค

       ทั้งนี้ เพื่อให้ภาคเอกชนเกิดความมั่นใจใจการลงทุน ยอมรับว่าอาจต้องใช้เวลาในการสร้างความแข็งแกร่งจากเศรษฐกิจภายในประเทศแทนการพึ่งการส่งออกชะลอ ยอมรับว่าไทยยังต้องการพึ่งพาการส่งออกตามแนวชายแดน เช่น กลุ่ม CLMV แทนตลาดหลักชะลอ มองว่าการส่งออกเดือนมกราคมติดลบ 8.91% เพราะเศรษฐกิจหลักทั้งจีน ญี่ปุ่น ในช่วงเวลาที่เหลือน่าจะเป็นบวกและดีกว่าปีก่อน สำหรับการอัดฉีดเงินออกสู่ระบบขณะนี้เป็นระดับที่เหมาะสมไม่ได้สูงเกินไป เพราะยอดการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล 390,000 ล้านบาท มีสัดส่วน 3% ของจีดีพี

     สำหรับ แนวคิดการปรับเพิ่มอัตราภาษีจะไม่ให้กระทบต่อผู้มีรายได้น้อย จึงต้องใช้การปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิต เพราะเป็นช่องทางหารายได้เพิ่มในอนาคตของรัฐบาล จึงสั่งการให้กรมสรรพสามิตจัดทำแผนรายได้ในช่วงระยะเวลา 5-10 ปี เช่น การจัดเก็บภาษีจากสินค้าฟุ่มเฟือย ภาษีสินค้าส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สินค้าทำลายสุขภาพ จัดเก็บภาษีจากสินค้าขัดขวางการพัฒนานวัตกรรม เช่น บริโภคไปแล้วทำลายสมอง ส่งผลยับยั้งการคิดค้นพัฒนาสิ่งใหม่ๆ

      ส่วนผลการศึกษาโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กระทรวงการคลังกำลังพิจารณาทั้งการปรับอัตราภาษี ค่าลดหย่อนประเภทใดไม่เหมาะสมตัดออก และเพิ่มในส่วนที่จำเป็นภายใต้หลักคิดการดึงบุคคลที่อยู่นอกฐานภาษีกลับมาเสียภาษีและการเสียภาษีไม่สร้างภาระสูงขึ้นกับประชาชน เพื่อนำรายได้ที่เหลือไปจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านการบริโภค จึงเตรียมเสนอกระทรวงการคลังพิจารณาในขั้นต่อไป อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังได้จัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรด้านภาษาอังกฤษหัวข้อ "อังกฤษหมูหมู สำหรับคนคลัง" เพื่อเพิ่มทักษะการใช้ภาษาอังกฤษรองรับการติดต่องานระหว่างประเทศ เนื่องจากทักษะทางภาษามีความสำคัญอย่างมาก

      ขณะที่นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือนมกราคม 2559 ยังได้รับปัจจัยหนุนจากการใช้จ่ายรัฐบาลและภาคการท่องเที่ยวต่างประเทศที่ยังขยายตัวได้ดี โดยการบริโภคภาคเอกชนมีสัญญาณชะลอลงสะท้อนจากยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มหดตัว 1.2% ต่อปี เพราะภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการใช้จ่ายภายในประเทศขยายตัวเล็กน้อย

       ทั้งนี้ การส่งออกเดือนมกราคมที่ติดลบ 8.9% เป็นปัจจัยท้าทายการทำงานมากขึ้น เพราะกระทรวงการคลังคาดการณ์ตัวเลขส่งออกปีนี้ขยายตัว 0.1% ดังนั้น ในช่วงที่เหลืออีก 11 เดือน การส่งออกอาจกลับมาเป็นบวก เพราะส่งออกของไทยยังไม่ได้ลดลงเพียงแต่เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ดังนั้นรัฐบาลเน้นการกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศผ่านมาตรการการช่วยเหลือเกษตรกรได้รับผลกระทบภัยแล้ง 93,000 ล้านบาท จึงมั่นใจว่าเศรษฐกิจขยายตัว 3.7% ตามเป้าหมาย และประเมินว่าปัญหาภัยแล้งปีนี้จะส่งผลกระทบต่อจีดีพีให้ลดลง 0.15% จึงเตรียมทบทวนตัวเลขเศรษฐกิจอีกครั้งเดือนเมษายนนี้ ส่วนการลงทุนภาคเอกชนเดือนมกราคม 2559 มีสัญญาณชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเฉพาะหมวดการก่อสร้าง ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์หดตัว 5.6% ต่อปี ส่วนหนึ่งมาจากการเร่งโอนไปแล้วในช่วงก่อนประกาศราคาประเมินที่ดินใหม่วันที่ 1 มกราคม 2559 การจำหน่ายปูนซีเมนต์กลับมาหดตัวในรอบ 2 เดือน ที่ 0.3% ต่อปี ขณะที่ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างหดตัวเช่นกันที่ 6.2% ต่อปี ตามการลดลงของราคาวัสดุก่อสร้างในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ปรับตัวลดลงตามราคาตลาดโลก

     อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังสนับสนุนแนวคิดของกระทรวงพาณิชย์ในการนำตัวเลขจีเอ็นพีมองภาพรวมเศรษฐกิจอีกด้านหนึ่งของประเทศ นอกจากตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) เพราะตัวเลขจีดีพีเป็นการวัดผลผลิตของคนไทยและต่างชาติที่เกิดขึ้นในประเทศ ขณะที่จีเอ็นพีเป็นการวัดมูลค่าสินค้า การลงทุนของคนไทยทั้งในและต่างประเทศ เมื่อมีรายได้จึงนำกลับมาในประเทศ เพราะนักลงทุนไทยออกไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น จึงมีรายได้นำกลับพัฒนาประเทศแทนการส่งออก จึงเป็นตัววัดหนึ่งที่สำคัญอีกด้านหนึ่งที่กระทรวงการคลังจะนำมาวัดมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!