WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

PDMOธรชย อตนวานชสบน.คาดไตรมาสแรกปีนี้ จะเบิกจ่ายโครงการน้ำและถนนได้ 3-5 พันลบ. ส่วนไตรมาส 2 คาดเบิกได้ 1.03 หมื่นลบ.

    นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ หรือ สบน. เปิดเผยว่า สบน.คาดว่า โครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับน้ำและถนน คาดว่าจะเบิกจ่ายในไตรมาสแรกของปีนี้ (ปีปฏิทิน)ได้ 3,000-5,000 ล้านบาท และไตรมาส 2 คาดเบิกจ่ายได้ 10,300 ล้านบาท ส่วนกรณีที่ผลจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ทำให้หนี้ต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น 4,000 ล้านบาท นั้น ยืนยันว่า ไม่ได้มีปัญหา เนื่องจากบบางส่วนสบน.ได้ทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไว้เรียบร้อยแล้ว โดยสบน.มีทีมบริหารและคอยติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด

      ในส่วนของสภาพคล่องนั้น ยืนยันว่า ยังเพียงพอสำหรับการลงทุนของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชน อย่างแน่นอน โดยปัจจุบันสภาพคล่องทั้งระบบอยู่ที่ 1.2 ล้านล้านบาท แผนก่อหนี้ใหม่ 600,000 ล้านบาท ยังเพียงพอสำหรับตลาด ทั้งนี้ สบน.มองว่า ในปีนี้ยังเชื่อมั่นว่า การลงทุนของภาครัฐยังต้องทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป เนื่องจากการส่งออกยังชะลอตัว ดังนั้นบทบาทภาครัฐทั้งการใช้จ่ายและการลงทุนจะเป็นบทบาทหลักในการให้เศรษฐกิจขยายตัวได้

       สำหรับ การเบิกจ่ายในไตรมาสแรกของปี 59 ประเมินว่า การเบิกจ่าย ยังเป็นไปตามแผนที่วางไว้โดยหลายหน่วยงานที่มีในอดีต เช่น การรถไฟ มีการวางแผนให้รวดเร็วขึ้น น่าจะเป็นความหวังช่วยขับเคลื่อนการลงทุน สาขาที่สำคัญที่ขับเคลื่อนการลงทุน คือ คมนาคม ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด

สบน.กู้เงินชดเชยขาดดุลพรวด 700%

       นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า สถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 ธ.ค.58 ราว 6 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 44.36% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) โดยมูลค่าจีดีพีปี 58 เท่ากับ 13 ล้านล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ธ.ค.58 เพิ่มขึ้นสุทธิ 29,358.39 ล้านบาท โดยการเปลี่ยนแปลงของหนี้สาธารณะมีรายละเอียด ดังนี้ หนี้ของรัฐบาล 4.4 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 31,365 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 57,133 ล้านบาท เนื่องจากรัฐบาลเร่งรัดการใช้จ่ายเงินงบประมาณเพื่อกระตุ้นการลงทุนไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 59 (ต.ค.-ธ.ค.58) ทำให้การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ สบน.ต้องกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลมากขึ้น โดยมีอัตราการเพิ่มมากกว่า 700%

       อีกทั้ง ยังมีการกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ 6,784.83 ล้านบาท โดยมีรายการดังนี้ 1.การกู้เงินเพื่อให้กู้ต่อ 1,573.83 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 1,394.44 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน สายสีเขียว และสายสีม่วง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 174.85 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย 8 เส้นทาง และรถไฟชานเมืองสายสีแดง และกรมทางหลวง 4.54 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร 2.การกู้เงินบาททดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ 5,211 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำและระบบขนส่งทางถนนระยะเร่งด่วน

  นอกจากนี้ ยังมีการชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 47,771 ล้านบาท การชำระหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ โดยใช้เงินจากบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 11,291.86 ล้านบาท ส่วนหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1.04 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 323 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 532,268.78 ล้านบาท ลดลง 2,203.27 ล้านบาท.

ที่มา : www.thairath.co.th 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!