WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BOA Prasarnเดินหน้าตั้ง'โฮลดิ้ง คัมปะนี'ย้ำรัฐวิสาหกิจต้องปลอดการเมืองแทรก

      แนวหน้า : 'ซูเปอร์บอร์ด'ชี้แจงการจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ หรือโฮลดิ้ง คัมปะนี ก็เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ไม่ใช่การแปรรูป รัฐวิสาหกิจ ขณะที่สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ ยังห่วงหลายประเด็น แนะให้ชะลอเสนอร่างกฎหมาย ได้มีการจัดสัมมนา "วิพากษ์ร่างพระราชบัญญัติการพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ ปฏิรูปหรือแปรรูปรัฐวิสาหกิจ" ว่า พ.ศ. ..

       นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล หนึ่งใน คณะกรรมการนโยบายและกำกับรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด กล่าวว่า ร่างฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ยกระดับรัฐวิสาหกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่านการนำหลัก บรรษัทภิบาลที่ดี มาปรับใช้กับรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง โดยย้ำ ต่องานสัมมนาว่า รัฐวิสาหกิจมีปัจจัยเสี่ยงหลายมิติเข้ามา กระทบ คนร.จึงได้ศึกษาแนวทางป้องกันอำนาจทางการเมืองเข้ามาแทรกแซง จึงปฏิรูประบบกำกับดูแลแยกให้ออกมาชัดเจนมากขึ้น

                โดยร่างกม.ดังกล่าวกำหนดให้กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจออกเป็น 2 ส่วน คือ "บรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ" (Holding Company) รับผิดชอบดูแลรัฐวิสาหกิจที่มีทุนเรือนหุ้น ทั้งบริษัท จำกัด และบริษัท จำกัด (มหาชน) เช่น ปตท., การบินไทย, ทอท. ดูแลในฐานะเป็นภาครัฐยังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ในรัฐวิสาหกิจกลุ่มดังกล่าว อีกส่วนกำหนดให้ สำนักงาน สคร. กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ เช่น ร.ฟ.ท., รฟม., ขสมก.

      นายประสาร ยืนยันว่า กฎหมายฉบับนี้ เป็นการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ไม่ใช่การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จึงไม่มีผลกระทบต่อสถานะความเป็นรัฐวิสาหกิจและสภาพการจ้างของพนักงานรัฐวิสาหกิจ แต่ประการใด

   นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาส ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า ที่ผ่านมา พรรคการเมืองหลายพรรคกำกับดูแลแต่ละกระทรวง จึงมีกลไกแทรกแซง จึงสร้างกลไกกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจให้ชัดเจน ร่าง กม.ฉบับใหม่ หากรัฐบาลสั่งการนอกเหนือจากกฎหมายกำหนดต้องมีการชดเชยดูแลได้อย่างชัดเจน และการแต่งตั้งบอร์ด จะให้รัฐวิสาหกิจมีส่วนในการสรรหาเสนอชื่อ คัดเลือกผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านมาเป็นบอร์ด กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาช่วยกลั่นกรอง คัดเลือก ย้ำว่าจะไม่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างแน่นอน

      นายสมศักดิ์ โกศัยสุข ที่ปรึกษาสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ กล่าวว่า เมื่อรัฐบาลยืนยันว่าไม่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จึงเห็นด้วยและพร้อมนำแรงงานรัฐวิสาหกิจสนับสนุนการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ แต่เมื่อได้อ่านร่างกม.หลายด้านแล้วยังเห็นว่ามีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยไม่เจตนา จึงเป็นห่วงเรื่องการถือหุ้น และการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน จาก ครม. และตั้งตัวแทนจากส่วนราชการ 5 คน จึงทำให้ภาครัฐมีเสียงข้างมากในรัฐวิสาหกิจ และในมาตรา 59 วรรคท้าย ระบุว่า หากกรณีมีความจำเป็นให้กระทรวงการคลังสั่งให้บรรษัท ซื้อหรือจำหน่ายหุ้นและให้แจ้งภายหลังเมื่อดำเนินการไปแล้ว และในมาตรา 49 วรรคแรก กำหนดให้กระทรวงการคลังโอนหุ้นรัฐวิสาหกิจที่ถือไว้โอนไปให้บรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติภายใน 180 วัน จึงกังวลว่าจะโอนของรัฐวิสาหกิจทั้งหมด ทุกราย เพราะร่างกฎหมายกำหนดไม่ชัดเจน จึงเสนอให้ทบทวน ร่างกฎหมายให้ชัดเจนและรอบคอบก่อนเสนอ ครม.พิจารณา

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!