WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Cกฤษฎา จนะวจารณะคลังเผย ไตรมาสแรกปีงบ 59 มีรายได้นําส่งคลัง 5.79 แสนลบ. เบิกจ่ายงบ 8.90 แสนลบ.

      คลัง เผย ไตรมาสแรกปีงบ 59  มีรายได้นําส่งคลังทั้งสิ้น 579,473 ล้านบาท ในขณะที่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณมีจํานวนทั้งสิ้น 890,922 ล้านบาท รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 265,303 ล้านบาท เงินคงคลัง ณ สิ้นธ.ค.58 มีจํานวนทั้งสิ้น 386,497 ล้านบาท
   นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าวฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2559 (ตุลาคม – ธันวาคม 2558) ว่ารัฐบาลมีรายได้นําส่งคลังทั้งสิ้น 579,473 ล้านบาท ในขณะที่การเบิกจ่ายเงินงบประมาณมีจํานวนทั้งสิ้น 890,922 ล้านบาท รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 265,303 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2558 มีจํานวนทั้งสิ้น 386,497 ล้านบาท
   นายกฤษฎาฯ สรุปว่า “จากการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาทำให้ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2559 มีการเบิกจ่ายงบประมาณสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ โดยสะท้อนให้เห็นจากผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในไตรมาสแรกที่สูงกว่าประมาณการ  ในขณะที่เงินคงคลังอยู่ในระดับที่เข้มแข็งกว่าสามแสนแปดหมื่นล้านบาท ซึ่งเอื้อต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลในระยะต่อไป”

ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2559

หน่วย: ล้านบาท

ไตรมาสแรก

เปรียบเทียบ

ปีงบประมาณ 2559

ปีงบประมาณ 2558

จำนวน

ร้อยละ

1. รายได้

    579,473

    496,788

82,685

   16.6

2. รายจ่าย

    890,922

   844,102

46,820

   5.5

3. ดุลเงินงบประมาณ

(311,449)

(347,314)

35,865

           10.3

4. ดุลเงินนอกงบประมาณ

    6,461

(392)

6,853

    1,748.2

5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4)

(304,988)

(347,706)

    42,718

         12.3

6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล

   265,303

      31,283

   234,020

       748.1

7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6)

(39,685)

(316,423)

276,738

87.5

8. เงินคงคลังปลายงวด

386,497

179,324

207,173

115.5

ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง

   ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำเดือนธันวาคม 2558และไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2559 (ตุลาคม – ธันวาคม 2558)
    ในเดือนธันวาคม 2558 รัฐบาลขาดดุลเงินสดจํานวน 17,064 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 39,723 ล้านบาท และเป็นการเกินดุลนอกงบประมาณ 22,659 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2558 มีจํานวน 386,497 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
     1. ฐานะการคลังเดือนธันวาคม 2558
 1.1 รัฐบาลมีรายได้นําส่งคลัง 244,070 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 57,600 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 30.9) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการนำส่งรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่ 4G ความถี่ 1,800 GHz และการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่สูงกว่าเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว
     1.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 283,793 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 13,048 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 4.8) ประกอบด้วยรายจ่ายประจํา 206,044 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.7 และรายจ่ายลงทุน 33,052 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 87.0 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อนจํานวน 44,697 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 49.8 (ตารางที่ 1)
 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สําคัญในเดือนนี้ ได้แก่ รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง 40,944 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 26,544 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 15,036 ล้านบาท และรายจ่ายอื่นของกระทรวงกลาโหม 10,148 ล้านบาท

ตารางที่ 1 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณเดือนธันวาคม 2558

หนวย: ลานบาท

เดือนธันวาคม

เปรียบเทียบ

2558

2557

จำนวน

ร้อยละ

1. รายจ่ายปปัจจุบัน

239,096

240,910

(1,814)

(0.8)

    1.1 รายจ่ายประจํา  

206,044

223,234

(17,190)

(7.7)

    1.2 รายจ่ายลงทุน  

33,052

17,676

15,376

87.0

2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน  

44,697

29,835

14,862

49.8

3. รายจ่ายรวม (1+2)

283,793

270,745

13,048

4.8

ที่มา: กรมบัญชีกลาง

 1.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด จากรายได้นําส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนธันวาคม 2558 ขาดดุล 39,723 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 22,659 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจาก รายจ่ายเหลื่อมไปเดือนมกราคม 2559 สุทธิ 14,248 ล้านบาท และส่วนเพิ่มจากการประมูลพันธบัตรสุทธิ 5,832 ล้านบาท  
 ทั้งนี้ รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 57,133 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) เกินดุลเท่ากับ 40,069 ล้านบาท (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนธันวาคม 2558

หน่วย: ล้านบาท

เดือนธันวาคม

เปรียบเทียบ

2558

2557

จำนวน

ร้อยละ

1. รายได้

244,070

186,470

57,600

30.9

2. รายจ่าย

283,793

270,745

13,048

4.8

3. ดุลเงินงบประมาณ

(39,723)

(84,275)

44,552

52.9

4. ดุลเงินนอกงบประมาณ

22,659

15,267

7,392

48.4

5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (3+4)

(17,064)

(69,008)

51,944

75.3

6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล

57,133

5,463

51,670

945.8

7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6)

40,069

(63,545)

103,614

163.1

8. เงินคงคลังปลายงวด

386,497

179,324

207,173

115.5

ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง

2. ฐานะการคลังในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2559 (ตุลาคม –  ธันวาคม 2558)
  รายได้นําส่งคลัง รัฐบาลมีรายได้นําส่งคลังทั้งสิ้น 579,473 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 82,685 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 16.6) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการนำส่งรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่ 4G ความถี่ 1,800 GHz การนำส่งสภาพคล่องส่วนเกินของกองทุนหมุนเวียน และการจัดเก็บภาษีน้ำมันสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
       รายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจํานวนทั้งสิ้น 890,922
    ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 46,820 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 5.5) ประกอบด้วยรายจ่ายปีปัจจุบัน 807,669 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29.7 ของวงเงินงบประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
        ร้อยละ 5.4 และรายจ่ายปีก่อน 83,253 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.1 (ตารางที่ 3)
        รายจ่ายปีปีจจุบันจํานวน 807,669 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายประจํา 739,608 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 33.9 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำหลังโอนเปลี่ยนแปลง 2,183,359 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 2.0 และรายจ่ายลงทุน 68,061 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 12.7 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง 536,641 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 64.9

    1. ตารางที่ 3 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2559

      (ตุลาคม – ธันวาคม 2558)

      หน่วย: ล้านบาท

ไตรมาสแรก

เปรียบเทียบ

ปีงบประมาณ 2559

ปีงบประมาณ 2558

จำนวน

ร้อยละ

1. รายจ่ายปปจจุบัน

807,669

766,371

41,298

5.4

    1.1 รายจ่ายประจำ

739,608

725,109

14,499

2.0

    1.2 รายจ่ายลงทุน  

68,061

41,262

26,799

64.9

2. รายจ่ายจากงบประมาณปีก่อน

83,253

77,731

5,522

7.1

3. รายจ่ายรวม (1+2)

890,922

844,102

46,820

5.5

ที่มา: กรมบัญชีกลาง

  ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ขาดดุล 304,988 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 311,449 ล้านบาท และการเกินดุลเงินนอกงบประมาณจํานวน 6,461 ล้านบาท  ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากรายรับจากเงินฝากคลังของเงินกู้โครงการต่างๆ สุทธิ 4,177 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินโดยชดเชยการขาดดุลด้วยการกู้เงินจํานวน 265,303   ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเท่ากับ 39,685 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2558 มีจํานวนทั้งสิ้น 386,497 ล้านบาท (ตารางที่ 4)

    1. ตารางที่ 4 ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2559

      (ตุลาคม – ธันวาคม 2558)

      หน่วย: ล้านบาท

ปีงบประมาณ

เปรียบเทียบ

2559

2558

จำนวน

ร้อยละ

1. รายได้

    579,473

    496,788

82,685

   16.6

2. รายจ่าย

    890,922

   844,102

46,820

   5.5

3. ดุลเงินงบประมาณ

(311,449)

(347,314)

35,865

           10.3

4. ดุลเงินนอกงบประมาณ

    6,461

(392)

6,853

1,748.2

5. ดุลเงินสดก่อนกู้ (๓+๔)

(304,988)

(347,706)

    42,718

12.3

6. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล

   265,303

      31,283

   234,020

       748.1

7. ดุลเงินสดหลังกู้ (5+6)

(39,685)

(316,423)

276,738

87.5

8. เงินคงคลังปลายงวด

386,497

179,324

207,173

115.5

ที่มา: กรมบัญชีกลาง และสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง 

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!