WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมชย สจจพงษคลัง คาดชุดมาตรการรัฐ-โครงการใหญ่ดันการลงทุนรวมปี 59 สูงกว่า 24%ของ GDP

      กระทรวงการคลัง คาดว่าชุดมาตรการต่างๆ ของภาครัฐเพื่อสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน และการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ นอกจากจะเป็นแรงผลักดันเศรษฐกิจไทยในปี 59 ให้ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งผ่านการลงทุนภาคเอกชนที่จะมาเป็นอีกเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเสริมเพิ่มจากการใช้จ่ายของภาครัฐและการท่องเที่ยวที่เป็นกำลังหลักในปี 58 และการบริโภคภาคเอกชนที่ได้รับผลบวกจากความเชื่อมั่นที่ปรับดีขึ้นตามลำดับแล้ว การลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายและการดึงดูการลงทุนโดยตรงที่มีคุณภาพจากต่างประเทศจะช่วยเพิ่มระดับการลงทุนของไทยที่ปัจจุบันสัดส่วนการลงทุนรวมอยู่ที่เพียง 24% ต่อ GDP และอยู่ในระดับต่ำมาตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจในปี 40

     นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง มองว่า ปีหน้าถือเป็นปีสำคัญในการลงทุน ซึ่งที่ผ่านมาไทยหยุดการลงทุนมานานถึง 17 ปีและในปีหน้ารัฐบาลเพิ่มสัดส่วนการลงทุน 20%ของงบประมาณ 2.72 ล้านล้านบาท โดยคาดว่าการลงทุนภาคเอกชนจะสูงขึ้น 5% ภายใต้คาดการณ์เศรษฐกิจในปีหน้าจะเติบโตได้ราว 3.8% เนื่องจากหลายมาตรการของภาครัฐจะเห็นผลในปีหน้าเป็นส่วนใหญ่

     "รัฐบาลมีมาตรการที่ใหม่และแรง ที่ผ่านมาเอกชนอาจยังไม่ได้รับข่าวสารเพียงพอ ปีหน้าจะเป็นปีทองของการลงทุนไม่ได้มาบอกเพื่อสร้างภาพ แต่สร้างความมั่นใจ บางมาตรการจบปีหน้า ไม่ลงทุนปีหน้าไม่ได้แล้วจะเสียโอกาสมากถ้าไม่ทำตอนนี้"นายสมชัย กล่าว

      อย่างไรก็ตาม นายสมชัย ประเมินว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยเติบโตได้เฉลี่ยปีละเพียง 2-3% หากไม่มีการลงทุนเพื่อเพิ่มศักภาพของประเทศอาจใช้เวลาถึง 27 ปีที่จะทำให้เศรษฐกิจกลับมาเติบโตได้ตามศักยภาพเหมือนในอดีตที่ 3-5% หรือทำให้ประเทศไทยไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง

     นายสมชัย กล่าวว่า การลงทุนภาคเอกชนจะเข้ามาช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 59 เพิ่มเติมจากการใช้จ่ายภาครัฐและการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ยังเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศผ่านการดึงดูดอุตสาหกรรมใหม่ที่เป็นอนาคตของไทยและส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของภูมิภาคโดยเฉพาะหลังจากการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

     ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้ออกมาตรการเพื่อสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนออกมาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การให้สิทธิประโยชน์เร่งรัดการลงทุนในปี 59 โดยการหักค่าเสื่อมราคาได้ 2 เท่าสำหรับการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในทรัพย์สินใหม่ภายใน 31 ธ.ค.59 ได้แก่ เครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ยานพาหนะ และอาคารถาวร (ไม่รวมที่ดินและอาคารถาวรที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัย)

      รวมทั้งมาตรการเร่งรัดโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ซึ่งเป็นการปรับปรุงกระบวนการขั้นตอนในการจัดเตรียมและพิจารณาโครงการ PPP จากเดิมที่ใช้เวลา 25 เดือน ให้เหลือ 9 เดือน

     การให้สิทธิประโยชน์สำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมอนาคตของไทย (New Growth Engine) โดย สิทธิประโยชน์สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 10-15 ปี ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการลงทุน การทำวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม การพัฒนาบุคลากรเฉพาะด้าน และดอกเบี้ยเงินกู้ ผ่านกองทุน Competitiveness Enhancement Fund ขนาด 10,000 ล้านบาท

     นอกจากนั้น การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยยกเว้นภาษีสรรพสามิต อากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้นำมูลค่ารถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ต้นแบบทั้งจำนวนมาหักค่าเสื่อมราคาได้ สำหรับการนำเข้ายานพาหนะต้นแบบเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา การหักค่าใช้จ่ายจากการวิจัยและพัฒนาได้ 3 เท่า ในช่วงปี 58-62

       ขณะที่มีการตั้ง Thailand Future Fund ซึ่งเป็นกลไกให้เอกชนได้ร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ มูลค่าการระดมทุน 100,000 ล้านบาท

      นายสมชัย กล่าวอีกว่า รัฐบาลยังให้สิทธิประโยชน์พิเศษสำหรับการใช้ประเทศไทยเป็นฐานการลงทุนในอาเซียน โดยสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (IHQ) และบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (ITC) อาทิ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรายได้จากการให้บริการแก่วิสาหกิจในเครือ การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 10 สำหรับรายได้จากการให้บริการและค่าสิทธิที่ได้รับจากวิสาหกิจในเครือในไทย และการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติเหลือร้อยละ 15

      สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) อาทิ การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 10 สำหรับรายได้จากสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นในพื้นที่พิเศษเป็นเวลา 10 ปี และการยกเว้นค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม       

คลัง คาดชุดมาตรการรัฐ-โครงการใหญ่ดันการลงทุนรวมปี 59 สูงกว่า 24%ของ GDP

      กระทรวงการคลัง คาดว่าชุดมาตรการต่างๆ ของภาครัฐเพื่อสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน และการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ นอกจากจะเป็นแรงผลักดันเศรษฐกิจไทยในปี 59 ให้ขยายตัวอย่างแข็งแกร่งผ่านการลงทุนภาคเอกชนที่จะมาเป็นอีกเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเสริมเพิ่มจากการใช้จ่ายของภาครัฐและการท่องเที่ยวที่เป็นกำลังหลักในปี 58 และการบริโภคภาคเอกชนที่ได้รับผลบวกจากความเชื่อมั่นที่ปรับดีขึ้นตามลำดับแล้ว การลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายและการดึงดูการลงทุนโดยตรงที่มีคุณภาพจากต่างประเทศจะช่วยเพิ่มระดับการลงทุนของไทยที่ปัจจุบันสัดส่วนการลงทุนรวมอยู่ที่เพียง 24% ต่อ GDP และอยู่ในระดับต่ำมาตั้งแต่วิกฤติเศรษฐกิจในปี 40

  อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!