WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gมนส แจมเวหาบัญชีกลาง ปรับเกณฑ์กู้เงินให้ผู้รับบำนาญบรรเทาความเดือดร้อนการครองชีพ

      แนวหน้า :  นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผย ว่า กรมบัญชีกลางได้ปรับหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการใช้หนังสือรับรองสิทธิในบำเหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน สำหรับผู้รับบำนาญที่ยื่นกู้เงินกับสถาบันการเงิน และขอกู้เงินไม่เต็มจำนวนในหนังสือรับรอง หากต้องการที่จะกู้เงินเพิ่ม ก็สามารถกู้เงินกับสถาบันการเงินเดิมได้ โดยใช้หนังสือรับรองฉบับเดิม แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน โดยจำนวนเงินที่กู้เดิมกับจำนวนเงินที่กู้เพิ่ม รวมกันแล้วจะต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ระบุในหนังสือรับรอง

      สำหรับ ผู้รับบำนาญที่ยื่นกู้เงินกับสถาบันการเงินเต็มจำนวนในหนังสือรับรอง และได้ชำระเงินคืนบางส่วน หากต้องการกู้เงินเพิ่มในส่วนที่ได้ชำระไปแล้ว ก็สามารถกู้เงินเพิ่มกับสถาบันการเงินเดิมได้เช่นกัน โดยใช้หนังสือรับรองฉบับเดิม ซึ่งจำนวนเงินที่กู้เดิมกับจำนวนเงินที่กู้เพิ่ม เมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ระบุในหนังสือรับรอง และเป็นไปตามเกณฑ์การให้สินเชื่อของสถาบันการเงินที่ท่านได้ยื่นกู้ไว้ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2558 เป็นต้นไป

     ในกรณีที่ผู้รับบำนาญได้รับบำนาญเพิ่มจากการกลับไปรับบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 หากต้องการจะขอรับบำเหน็จดำรงชีพ ก็สามารถยื่นแบบขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ที่ส่วนราชการต้นสังกัด และหากต้องการจะกู้เงินในส่วนที่ได้รับสิทธิในบำเหน็จตกทอดเพิ่ม ก็ให้ขอหนังสือรับรองเฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นได้ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2558 เป็นต้นไป ทั้งนี้ถ้าผู้รับบำนาญได้ขอรับหนังสือรับรองเฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นแล้วจะไม่มีสิทธิยื่นขอบำเหน็จดำรงชีพในส่วนที่ได้รับบำนาญเพิ่มได้อีก

       ยกตัวอย่างเช่น นาย ก ออกราชการตอนอายุ 60 ปี ได้รับบำนาญเดือนละ 20,000 บาท จะมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอด จำนวน 30 เท่าของบำนาญรายเดือน คิดเป็นเงิน 600,000 บาท และได้รับสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพ จำนวน 15 เท่าของบำนาญรายเดือน เป็นเงิน 300,000 บาท ซึ่งนาย ก ขอรับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว 200,000 บาท เมื่ออายุ 60 ปี คงเหลืออีก 400,000 บาท ที่สามารถขอหนังสือรับรองสิทธิในบำหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน เมื่อนาย ก นำหนังสือรับรองไปกู้เงินจากสถาบันการเงิน จำนวน 300,000 บาท แต่ภายหลังต้องการจะกู้เพิ่มอีก 100,000 บาท ก็สามารถกู้เงินกับสถาบันการเงินเดิมได้ หรือในกรณีที่ นาย ก กู้เงินจากสถาบันการเงินเต็มจำนวน 400,000 บาท และได้มีการชำระไปแล้ว 150,000 บาท ต่อมาต้องการจะกู้เงินเพิ่มอีก 150,000 บาท ก็สามารถกู้เงินกับสถาบันการเงินเดิมได้ แต่ทั้ง 2 กรณีนี้ต้องกู้เงินไม่เกินตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรอง ซึ่งในตัวอย่างนี้คือ 400,000 บาท

     "การปรับหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการใช้หนังสือรับรองสิทธิในบำเหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินในครั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือผู้รับบำนาญ และบรรเทาความเดือดร้อนในการครองชีพ นอกจากนี้หากมีเรื่องที่เป็นประโยชน์ก็จะพิจารณาเพิ่มเติม โดยคำนึงประโยชน์ที่ผู้รับบำนาญจะได้รับเป็นหลัก และเป็นการส่งเสริมการลงทุน รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม" นายมนัสกล่าว

กรมบัญชีกลางปรับเกณฑ์วิธีปฏิบัติการกู้เงินกับสถาบันการเงินของขรก.บำนาญ

     นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางได้ปรับหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการใช้หนังสือรับรองสิทธิในบำเหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน สำหรับผู้รับบำนาญที่ยื่นกู้เงินกับสถาบันการเงิน และขอกู้เงินไม่เต็มจำนวนในหนังสือรับรอง หากต้องการที่จะกู้เงินเพิ่มก็สามารถกู้เงินกับสถาบันการเงินเดิมได้ โดยใช้หนังสือรับรองฉบับเดิม แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน โดยจำนวนเงินที่กู้เดิมกับจำนวนเงินที่กู้เพิ่ม รวมกันแล้วจะต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ระบุในหนังสือรับรอง

      สำหรับ ผู้รับบำนาญที่ยื่นกู้เงินกับสถาบันการเงินเต็มจำนวนในหนังสือรับรอง และได้ชำระเงินคืนบางส่วน หากต้องการกู้เงินเพิ่มในส่วนที่ได้ชำระไปแล้ว ก็สามารถกู้เงินเพิ่มกับสถาบันการเงินเดิมได้เช่นกัน โดยใช้หนังสือรับรองฉบับเดิม ซึ่งจำนวนเงินที่กู้เดิมกับจำนวนเงินที่กู้เพิ่ม เมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ระบุในหนังสือรับรอง และเป็นไปตามเกณฑ์การให้สินเชื่อของสถาบันการเงินที่ท่านได้ยื่นกู้ไว้ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2558 เป็นต้นไป

       ในกรณี ที่ผู้รับบำนาญได้รับบำนาญเพิ่มจากการกลับไปรับบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 หากต้องการจะขอรับบำเหน็จดำรงชีพ ก็สามารถยื่นแบบขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ที่ส่วนราชการต้นสังกัดของท่าน และหากต้องการจะกู้เงินในส่วนที่ได้รับสิทธิในบำเหน็จตกทอดเพิ่ม ก็ให้ขอหนังสือรับรองเฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นได้ ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2558 เป็นต้นไป ทั้งนี้ถ้าผู้รับบำนาญได้ขอรับหนังสือรับรองเฉพาะส่วนที่เพิ่มขึ้นแล้วจะไม่มีสิทธิยื่นขอบำเหน็จดำรงชีพในส่วนที่ได้รับบำนาญเพิ่มได้อีก

     ยกตัวอย่างเช่น นาย ก ออกราชการตอนอายุ 60 ปี ได้รับบำนาญเดือนละ 20,000 บาท จะมีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอด จำนวน 30 เท่าของบำนาญรายเดือน คิดเป็นเงิน 600,000 บาท และมีได้รับสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพ จำนวน 15 เท่าของบำนาญรายเดือน เป็นเงิน 300,000 บาท ซึ่งนาย ก ขอรับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว 200,000 บาท เมื่ออายุ 60 ปี คงเหลืออีก 400,000 บาท ที่สามารถขอหนังสือรับรองสิทธิในบำหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน เมื่อนาย ก นำหนังสือรับรองไปกู้เงินจากสถาบันการเงิน จำนวน 300,000 บาท แต่ภายหลังต้องการจะกู้เพิ่มอีก 100,000 บาท ก็สามารถกู้เงินกับสถาบันการเงินเดิมได้ หรือในกรณีที่ นาย ก กู้เงินจากสถาบันการเงินเต็มจำนวน 400,000 บาท และได้มีการชำระไปแล้ว 150,000 บาท ต่อมาต้องการจะกู้เงินเพิ่มอีก 150,000 บาท ก็สามารถกู้เงินกับสถาบันการเงินเดิมได้ แต่ทั้ง 2 กรณีนี้ต้องกู้เงินไม่เกินตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรอง ซึ่งในตัวอย่างนี้คือ 400,000 บาท

      "ในการปรับหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการใช้หนังสือรับรองสิทธิในบำเหน็จตกทอดเพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์ประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินในครั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือผู้รับบำนาญ และบรรเทาความเดือดร้อนในการครองชีพของผู้รับบำนาญ นอกจากนี้หากมีเรื่องที่เป็นประโยชน์ก็จะพิจารณาเพิ่มเติม โดยคำนึงประโยชน์ที่ผู้รับบำนาญจะได้รับเป็นหลัก และเป็นการส่งเสริมการลงทุน รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม" นายมนัส กล่าว

          อินโฟเควสท์

กรมบัญชีกลางลงพื้นที่บี้คลังจว.เร่งเบิกจ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน

       แนวหน้า : นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยถึงความคืบหน้าการติดตามการ จัดซื้อจัดจ้างและการเบิกจ่ายตามมาตรการ กระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาลว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ลงพื้นที่สำนักงานคลังเขต 6 และหารือร่วมคลังเขต 6 และคลังจังหวัดภายในเขต 6 ประกอบด้วย จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดพิจิตร จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดตาก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อติดตามความก้าวหน้า รับฟังปัญหาอุปสรรค เพื่อให้เบิกจ่ายเงินได้ตามนโยบายของรัฐบาลที่ตั้งเป้าหมายไว้

                จากการลงพื้นที่ได้รับรายงานความคืบหน้าจากคลังจังหวัดภายในเขต 6 พบว่า ผลการเบิกจ่ายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ตามนโยบายเร่งด่วน ซึ่งประกอบด้วย 1.มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้านบาท) วงเงินทั้งหมด 3.93 พันล้านบาท ลงนามในสัญญาแล้ว 143.48 ล้านบาท เบิกจ่ายไปแล้ว 3.10 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.08% ซึ่งคาดว่าจะเบิกจ่ายได้ทั้งหมดภายในเดือนมีนาคม 2559 2.มาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของ รัฐบาล (โครงการละ 1 ล้านบาท) วงเงินทั้งหมด 2.58 พันล้านบาท ลงนามในสัญญาแล้ว 1.26 พันล้านบาท เบิกจ่ายไปแล้ว 260.77 ล้านบาท หรือคิดเป็น 10.09%

      3.มาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน วงเงินทั้งหมด 331.23 ล้านบาท ลงนามในสัญญาแล้ว 45.49 ล้านบาท เบิกจ่ายไปแล้ว 9.25 ล้านบาท หรือคิด เป็น 2.79% และ 4.โครงการช่วยเหลือเกษตรกรและ คนยากจนโดยสนับสนุนการจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตรให้แก่กลุ่มสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ซึ่ง ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการขนาดเล็ก อยู่ระหว่าง ดำเนินการ สำหรับมาตรการที่ 2-4 คาดการณ์ว่า จะสามารถเบิกจ่ายได้ภายในสิ้นปีนี้อย่างแน่นอน

     สำหรับ โครงการการลงทุน วงเงิน ไม่เกิน 2 ล้านบาท วงเงินรวม 1.53 พันล้านบาท ลงนามในสัญญาแล้ว 458.90 ล้านบาท เบิกจ่ายไปแล้ว 72.76 ล้านบาท หรือคิดเป็น 4.75% ส่วนโครงการลงทุน วงเงินเกิน 2 ล้านบาทขึ้นไป วงเงินรวม 1.87 หมื่นล้านบาท ลงนามในสัญญาแล้ว 6.88 พันล้านบาท เบิกจ่ายไปแล้ว 954.64 ล้านบาท หรือคิดเป็น 5.08% และมาตรการส่งเสริมความ เป็นอยู่ระดับหมู่บ้าน (สินเชื่อผ่านกองทุนหมู่บ้าน ดอกเบี้ย 0% 2 ปี) มีจำนวน 8,743 กองทุน ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ

      หลังจากที่ได้ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล พบว่า ส่วนใหญ่ปัญหาที่พบจาก โครงการตำบลละ 5 ล้านบาท คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานมีไม่เพียงพอ ซึ่งคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ(กวพ.) ได้ผ่อนคลาย โดยยกเว้นให้เจ้าหน้าที่ภายนอกหน่วยงานเข้าสนับสนุนการทำงาน เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้าง มีความคล่องตัว สะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงานมากขึ้น และจากการติดตามผลการดำเนินงาน การรับฟังปัญหา อุปสรรคของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทุกมาตรการ ซึ่งได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปสรรค ต่างๆ ไปจนหมดสิ้นแล้ว

      หลังจากนี้ ผลการเบิกจ่ายเงินน่าจะเบิกจ่ายได้ มากขึ้นเรื่อยๆและคาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ส่งผล ให้มีวงเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น เป็นการ กระตุ้นเศรษฐกิจในแต่ละจังหวัดได้อีกทางหนึ่ง และบรรลุวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนตามนโยบายรัฐบาล

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!