WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมชย สจจพงษ copyคาดรสก.หลุดบ่วงปัญหาหลังกม.บังคับใช้ส.ค.59 ตั้ง'ซูเปอร์โฮลดิ้ง'

     แนวหน้า : นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลังเปิดเผยในงานสัมมนา"ร่างพ.ร.บ.การพัฒนาการกำกับดูแลและบริหารรัฐวิสาหกิจ" ว่า  กฎหมายฉบับดังกล่าวจะเป็นการกำหนดทิศทาง แนวทางการพัฒนารัฐวิสาหกิจไทย เราปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐวิสาหกิจไทยมีความสำคัญ สามารถทำให้ ดีกว่านี้ได้ พ.ร.บ.ที่เราจะคุยเป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะเป็นแนวคิดใหม่ในการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจไทย เป็นโอกาสดีที่พ.ร.บ.ฉบับนี้จะเกิดขึ้นในรัฐบาลชุดนี้ โดยเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาภายในเดือน ม.ค.2559 จากนั้นจะส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกา และส่งกลับมาครม.เห็นชอบ ก่อนส่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)พิจารณาต่อไป โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ในช่วงเดือนสิงหาคม 2559

       "ที่ผ่านมา มีการพูดกันว่า รัฐวิสาหกิจไทยห่วย ไร้ประสิทธิภาพ ขาดทุนป่นปี้ไม่มีชิ้นดี ฟังดูเหมือนใช่ แต่ผู้รู้จริงๆ พูดอย่างนั้นไม่ได้ เพราะการพูดอย่างนั้นเป็นการที่เรามองอะไรเป็นจุดๆ เรามองรถไฟไทย เรามอง ขสมก. แต่บางส่วน เราก็เห็นด้วยที่รัฐวิสาหกิจไทยยังต้องเพิ่มประสิทธิภาพได้อีก แต่ถ้าพูดว่าไร้ประสิทธิภาพไม่ถูกต้อง เพราะในแต่ละปีรัฐวิสาหกิจส่งเงินเข้ารัฐบาลมากกว่าแสนล้านบาท และจะทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่องๆ"นายสมชัย กล่าว

      นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าฯ ธปท. ฐานะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กล่าวว่า ปัญหาของรัฐวิสาหกิจเกิดจากรูปแบบกำกับดูแลที่มีความซับซ้อน ขาดเอกภาพ สะท้อนจาก ข้อจำกัดเชิงโครงสร้างในหลายมิติ ทั้งการแทรกแซงทางการเมือง สังคม ธุรกิจ ความขัดแย้ง ทางนโยบาย และขาดการแข่งขัน ทำให้ไม่มีแรงผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพ

       นายรพี สุจริตกุล กรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ฐานะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กล่าวว่า ในกฎหมายฉบับนี้จะมีการจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด เพื่อให้มีกฎหมายรองรับ จะได้คงอยู่ถึงแม้จะเปลี่ยนรัฐบาลนอกจากนี้ในกฎหมายจะจัดตั้งบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ หรือซูเปอร์โฮลดิ้ง ขึ้นมา ซึ่งจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการ มีฐานะนิติบุคคล กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด และห้ามไม่ให้นำหุ้นออกจำหน่ายไม่ว่าจะกรณีใดๆ ทำให้ลดข้อกังวลเกี่ยวกับการแปรรูป

    ทั้งนี้ ในบรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ จะรับโอนรัฐวิสาหกิจที่มีสถานะเป็นบริษัทมหาชนและบริษัทจำกัดจำนวน 12 แห่ง มีสินทรัพย์มากถึง 6 ล้านล้านบาท ซึ่งเท่ากับครึ่งหนึ่งจากรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 56 แห่ง ที่มีสินทรัพย์รวม 12 ล้านล้านบาท อย่างไรก็ตาม หากจะมีการ รับโอนรัฐวิสาหกิจเพิ่มเติมทำได้โดยออกเป็น พระราชกฤษฎีกาเท่านั้น

    นายบรรยง พงษ์พานิช กรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กล่าวว่า บรรษัทวิสาหกิจแห่งชาติ จะเป็นหน้าที่เจ้าของรวมศูนย์ที่บรรษัท ซึ่งจะทำให้ลดโอกาสถูกแทรกแซง ลดความทับซ้อนของบทบาท มีเอกภาพและดูภาพรวม ของประเทศ การบริหารทรัพย์สินเพื่อเพิ่มมูลค่า และโปร่งใสมากขึ้น

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!