WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gมนส แจมเวหา copyคลังเร่งเบิกงบ 8 หมื่นล้าน บัญชีกลางเชื่อมมหาดไทยกระตุ้นระยะสั้น

   บัญชีกลาง ลงพื้นที่สำรวจโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น มั่นใจเม็ดเงิน 8 หมื่นล้านบาทกระจาย ไปต่างจังหวัดอย่างทั่วถึง หลังจาก ครม.ขยายระยะเวลาโครงการตำบลละ 5 ล้านบาท จากเดิมสิ้นสุดเดือน ธ.ค.นี้ เป็นสิ้นสุดเดือน มี.ค.ปีหน้า ขณะที่การเบิกจ่ายงบปี 59 เบิกจ่ายไปแล้ว 23.2%

   นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ตามนโยบายเร่งด่วน ซึ่งประกอบด้วย 1.มาตรการความเป็นอยู่ระดับตำบล วงเงินงบประมาณ 36,462 ล้านบาท (ตำบลละ 5 ล้านบาท) 2.มาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจน ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนวงเงิน 3,194 ล้านบาท 3.โครงการช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนโดยสนับสนุนจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตรให้แก่กลุ่มสหกรณ์ และกลุ่มเกษตรกร และ 4.มาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลทั่วประเทศ วงเงิน 40,918 ล้านบาท (โครงการไม่เกิน 1 ล้านบาท) ซึ่งล่าสุดมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่กรมบัญชีกลาง และกระทรวงมหาดไทยได้เร่งแก้ไขปัญหาและอุปสรรคไปเกือบหมดแล้ว

  “ที่ผ่านมา กรมบัญชีกลางได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจข้อเท็จจริงพบว่าปัญหาความล่าช้าเกิดจากการประสานความร่วมมือระหว่างจังหวัด อำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากงบประมาณก้อนนี้ รัฐบาลได้จัดสรรให้แก่อำเภอและตำบลโดยตรง ขณะที่โครงสร้างการทำงานในปัจจุบันงบประมาณส่วนใหญ่จะอยู่ในการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น การวางแผน งาน การจัดซื้อจัดจ้าง ทำให้เกิดความล่าช้าในช่วงที่ผ่านมา แต่เมื่อทางกระทรวงมหาดไทยได้แก้ไขปัญหาภายในเสร็จสิ้นแล้ว โดยเสนอให้คนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาช่วยดำเนินโครงการให้แก่ตำบลที่อยู่ภายใต้การดูแลของอำเภออย่างชัดเจนแล้ว โครงการก็มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง

     นายมนัส กล่าวว่า มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) กำหนดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วนต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค.ปีนี้ แต่เนื่องจากในช่วงต้นมีปัญหา จึงทำให้เกิดล่าช้า ซึ่งต่อมา ครม.ได้ขยายระยะเวลาโครงการตำบลละ 5 ล้านบาทออกไปสิ้นสุดโครงการในเดือน มี.ค. 2559 ส่วนที่เหลืออีก 3 โครงการยังคงกำหนดเหมือนเดิมคือ จะต้องเบิกจ่ายทั้งหมดภายในสิ้นเดือน ธ.ค.นี้

    สำหรับ ยอดการเบิกจ่ายงบประมาณทั้ง 4 โครงการ ณ วันที่ 11 ธ.ค.58 จากวงเงินทั้งหมด 80,828 ล้านบาท มีการลงนามในสัญญาแล้ว 23,278 ล้านบาท หรือ 28.8% และในจำนวนนี้ เบิกจ่ายไปแล้ว 7,293 ล้านบาท หรือ 9% โดยแบ่งออกเป็น 1.มาตรการความเป็นอยู่ระดับตำบล วงเงิน 36,462 ล้านบาท มีการลงนามในสัญญาแล้ว 2,267 ล้านบาท หรือ 6.2% เบิกจ่ายไปแล้ว 76 ล้านบาท หรือ 0.2%

    2.มาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรฯ วงเงิน 3,194 ล้านบาท มีการลงนาม ในสัญญาแล้ว 914 ล้านบาท หรือ 28.6% เบิกจ่ายไปแล้ว 292 ล้านบาท หรือ 9.1% 3.โครงการช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการจัดหาเครื่องจักรกลฯ วงเงิน 254 ล้านบาท ลงนามในสัญญาแล้ว 25 ล้านบาท หรือ 9.8% เบิกจ่ายไปแล้ว 200,000 บาท หรือ 0.1% และ 4.มาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาล หรือโครงการละไม่เกิน 1 ล้านบาท วงเงิน 40,918 ล้านบาท มีการทำสัญญาไปแล้ว 20,072 ล้านบาท หรือ 49.1% เบิกจ่ายไปแล้ว 6,925 ล้านบาทหรือ 16.9%

    “ตัวเลขการเบิกจ่ายของโครงการดังกล่าว ยังเป็นไปตามเป้าหมายที่ ครม.กำหนด เพราะโครงการที่มีปัญหามากที่สุดคือ ตำบลละ 5 ล้านบาท ได้ขยายไปสิ้นสุดในเดือน มี.ค.59 เรียบร้อยแล้ว ทำให้ยังมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการอีก 3 เดือน ส่วนโครงการอื่นๆ เช่น โครงการไม่เกิน 1 ล้านบาท ที่จะปิดโครงการสิ้นเดือน ธ.ค.นี้ แม้จะเบิกจ่ายได้ 6,000 ล้านบาท หรือ 16.9% แต่สัญญาส่วนใหญ่เกือบ 50% ได้ลงนามไปหมดแล้ว และที่สำคัญ โครงการเหล่านี้มีขนาดเล็ก เช่น ซ่อมบ้านพักข้าราชการ ทาสีอาคารสำนักงาน เป็นต้น ซึ่งจะทำให้อัตราการเบิกจ่ายเร่งเบิกจ่ายมีมากขึ้นในช่วงท้ายๆ ก่อนสิ้นปีนี้

   สำหรับ ผลการเบิกจ่ายงบปี 2559 วงเงิน 2.72 ล้านล้านบาทเบิกจ่ายไปแล้ว 630,003 ล้านบาท หรือ 23.2% แบ่งงบรายจ่ายประจำ 590,369 ล้านบาทหรือ 27.1% ขณะที่งบลงทุน เบิกจ่ายไปแล้ว 39,602 ล้านบาท หรือ 8.7%.

                ที่มา : www.thairath.co.th

กรมบัญชีกลางลงพื้นที่เขต 6 ติดตามการเบิกจ่ายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ  

   กรมบัญชีกลางลงพื้นที่สำนักงานคลังภายในเขต 6 เพื่อติดตามการจัดซื้อจัดจ้าง และการเบิกจ่ายตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาล เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายเงินได้ตามเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด

   นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยถึงความคืบหน้าการติดตามการจัดซื้อจัดจ้างและการเบิกจ่ายตามมาตรกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายรัฐบาลว่า เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ลงพื้นที่สำนักงานคลังเขต 6 และหารือร่วมคลังเขต 6 และคลังจังหวัดภายในเขต 6 ประกอบด้วย จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดพิจิตร จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดตาก จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อติดตามความก้าวหน้า รับฟังปัญหาอุปสรรค เพื่อให้เบิกจ่ายเงินได้ตามนโยบายของรัฐบาลที่ตั้งเป้าหมายไว้

   จากการลงพื้นที่ได้รับรายงานความคืบหน้าจากคลังจังหวัดภายในเขต 6 พบว่า ผลการเบิกจ่ายมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ตามนโยบายเร่งด่วน ซึ่งประกอบด้วย 1.มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล (ตำบลละ 5 ล้านบาท) วงเงินทั้งหมด 3.93 พันล้านบาท ลงนามในสัญญาแล้ว 143.48 ล้านบาท เบิกจ่ายไปแล้ว 3.10 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.08 ซึ่งคาดว่าจะเบิกจ่ายได้ทั้งหมดภายในเดือนมีนาคม 2559 2.มาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาล (โครงการละ 1 ล้านบาท) วงเงินทั้งหมด 2.58 พันล้านบาท  ลงนามในสัญญาแล้ว 1.26 พันล้านบาท เบิกจ่ายไปแล้ว 260.77 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10.09 3.มาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน วงเงินทั้งหมด 331.23 ล้านบาท ลงนามในสัญญาแล้ว 45.49 ล้านบาท เบิกจ่ายไปแล้ว 9.25 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.79 และ 4.โครงการช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนโดยสนับสนุนการจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตรให้แก่กลุ่มสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโครงการขนาดเล็ก อยู่ระหว่างดำเนินการ สำหรับมาตรการที่ 2 – 4 คาดการณ์ว่าจะสามารถเบิกจ่ายได้ภายในสิ้นปีนี้อย่างแน่นอน

     สำหรับ โครงการการลงทุน วงเงินไม่เกิน 2 ล้านบาท วงเงินรวม 1.53 พันล้านบาท ลงนามในสัญญาแล้ว 458.90 ล้านบาท เบิกจ่ายไปแล้ว 72.76 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.75 ส่วนโครงการลงทุน วงเงินเกิน 2 ล้านบาทขึ้นไป วงเงินรวม 1.87 หมื่นล้านบาท ลงนามในสัญญาแล้ว 6.88 พันล้านบาท เบิกจ่ายไปแล้ว 954.64 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 5.08 และมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับหมู่บ้าน (สินเชื่อผ่านกองทุนหมู่บ้าน ดอกเบี้ย 0% 2 ปี) มีจำนวน 8,743 กองทุน ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ

   “หลังจากที่ได้ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล พบว่า ส่วนใหญ่ปัญหาที่พบจากโครงการตำบลละ 5 ล้านบาท คือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานมีไม่เพียงพอ ซึ่งคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ได้ผ่อนคลายโดยยกเว้นให้เจ้าหน้าที่ภายนอกหน่วยงานเข้าสนับสนุนการทำงาน เพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้าง มีความคล่องตัว สะดวกรวดเร็วในการปฏิบัติงานมากขึ้น และจากการติดตามผลการดำเนินงาน การรับฟังปัญหา อุปสรรคของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจทุกมาตรการ ซึ่งได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆไปจนหมดสิ้นแล้ว หลังจากนี้ผลการเบิกจ่ายเงินน่าจะเบิกจ่ายได้มากขึ้นเรื่อยๆ และคาดการณ์ว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ส่งผลให้มีวงเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในแต่ละจังหวัดได้อีกทางหนึ่ง ทั้งนี้เชื่อมั่นว่าโครงการดังกล่าวจะสร้างความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น เป็นการเพิ่มรายได้ สร้างความสุขให้กับประชาชน และบรรลุวัตถุประสงค์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนตามนโยบายรัฐบาลนายมนัส แจ่มเวหา กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!