WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

GFIMSคลังเผยจบ Q2 แบงก์รัฐกำไรลด สินเชื่อวูบกดรายได้ร่วง-เอ็นพีแอลเพิ่ม

       แนวหน้า : นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยผลการดำเนินงานของระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (แบงก์รัฐ) สิ้นไตรมาส 2 ปี’58 ว่าแบงก์รัฐมีกำไรสุทธิ 14,206 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นจำนวน 2,427 ล้านบาท เนื่องจากรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่ลดลง ขณะที่อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยสุทธิต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (เอ็นไอเอ็ม) สิ้นไตรมาส 2 ปี’58 เพิ่มขึ้น 2.8% เทียบจากไตรมาส 2 ปี’57 อยู่ที่ 2.5% ส่วนอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงและภาระผูกพัน (บีไอเอส) เพิ่มขึ้น 12.3% เทียบจากไตรมาส 2 ปี’57 อยู่ที่ 10.9% ซึ่งอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการดำเนินงานในระยะต่อไป

       สำหรับ สินเชื่อของแบงก์รัฐ มีจำนวนสินเชื่อ 4.003 ล้านล้านบาทขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นอัตรา 5% เทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน แม้ว่าสินเชื่ออุปโภคบริโภคลดลง 1.4% เทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ขยายตัว5.1% จากการหดตัวลงของสินเชื่อส่วนบุคคล 4.3% เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า แต่สินเชื่อธุรกิจมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น11.6% เทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อนโดยเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นของสินเชื่อสาธารณูปโภค อุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

    ขณะที่ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมมีภาระค้ำประกัน (บสย.) มีจำนวนรวม 285,417 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นอัตรา 10.9% เทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน และภาระค้าประกันหนี้จัดชั้นด้อยคุณภาพ (เอ็นพีจี) มีจำนวนรวม 20,970 ล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนเอ็นพีจี ต่อภาระค้ำประกันของ บสย. อยู่ที่ 7.3% ส่วนเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วแลกเงินของแบงก์รัฐ สิ้นไตรมาส 2 ปี’58 มีจำนวนรวม 4.029 ล้านล้านบาท ขยายตัว เป็นอัตรา 4.2% เทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีจำนวน 3.867 ล้านล้านบาทส่งผลให้สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินรับฝาก ลดลงจาก 99.9% สิ้นไตรมาสแรก ปี’58 เป็น 99.4 สิ้นไตรมาส 2 ปี’58

    ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี’58 มียอดคงค้าง 206,751 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20,015 ล้านบาท เทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าส่งผลให้สัดส่วนเอ็นพีแอล แบงก์รัฐ อยู่ที่5.5% เพิ่มขึ้นเทียบจากช่วงเดียวกัน ปีก่อนที่ 5.2% โดยเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของเอ็นพีแอล สินเชื่ออุปโภคบริโภค สำหรับสินเชื่อกล่าวถึงเป็นพิเศษ โดยมียอดคงค้าง 158,070 ล้านบาท สัดส่วนสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 4.2% เทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน ที่ 2.8% ซึ่งแบงก์รัฐได้มีการกันสำรองอยู่ในระดับที่สูงเพียงพอต่อการรองรับความเสี่ยงคิดเป็น 159.2%

    อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมแบงก์รัฐมีเสถียรภาพและผลการดำเนินงานอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยสินเชื่อยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง จากการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล ในการดูแลผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และมีเงินกองทุนอยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการดำเนินงานในระยะต่อไป

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!