- Details
- Category: คลัง
- Published: Sunday, 13 September 2015 16:06
- Hits: 7407
สคร.เช็คสภาพบริษัทลูกรสก. ก่อนชงซูเปอร์บอร์ด-ครม.ชี้ชะตาอยู่หรือยุบ
แนวหน้า : นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร. ) เปิดเผยว่าสคร.เตรียมเรียกบริษัทลูกรัฐวิสาหกิจ 120 แห่งที่รัฐวิสาหกิจถือครองหุ้นเกิน 25% มาพิจารณาถึงความจำเป็นของการดำเนินกิจการว่าควรคงอยู่หรือยุบเลิกกิจการ ก่อนรายงานให้คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด และเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้
ส่วนการออกกฎหมายกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือจัดตั้งบรรษัทรัฐวิสาหกิจแห่งชาติ(โฮลดิ้ง) ที่ล่าสุดซูเปอร์บอร์ดอนุมัติหลักการ และเตรียมเสนอ ครม.ภายในเดือนกันยายนนั้นเบื้องต้นจะมีหน้าที่ดูแลรัฐวิสาหกิจ สรรหาคณะกรรมการที่ตรงกับสายงานในกิจการรัฐวิสาหกิจนั้นๆ รวมถึงกำหนดนโยบายประจำปี
นอกจากนี้ จะหารือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์และสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.)ในการตั้งงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปีงบประมาณ 2559 ให้เป็นไปตามการเบิกจ่ายจริง โดยการจัดเก็บรายได้ของรัฐวิสาหกิจในปีนี้จะทำได้สูง 1.5-1.6 แสนล้านบาท เพราะจัดเก็บเพิ่มเติม 4 หมื่นล้านบาท จากปัจจุบันจัดเก็บได้ 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งในปีต่อไปหากรัฐวิสาหกิจใดใช้เงินไม่ได้ตามกำหนดจะเรียกนำส่งเข้าคลังทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม เร็วๆ นี้จะหารือกับนายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากร ว่าที่ปลัดกระทรวงการคลังคนใหม่ และนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ สคร. ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ เพื่อร่วมกันกำหนดนโยบาย และมอบหมายงานที่ยังค้างอยู่ เช่น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ หรือ พีพีพี ที่มีการขยายกรอบมูลค่าลงทุนจาก 1,000 ล้านบาท เป็น 5,000 ล้านบาท ที่ต้องเสนอให้คณะกรรมการพีพีพีพิจารณาแผนลงทุน และการเร่งรัดแผนฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาทั้ง 7 แห่ง ให้เป็นไปตามมติของซูเปอร์บอร์ด
นายกุลิศ กล่าวว่า แผนการฟื้นฟูทั้ง 7 แห่ง โดยในส่วนของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) จะต้องวางระบบโครงการโครงสร้างพื้นฐาน รถไฟรางคู่ ส่วนภาระหนี้กว่า 8 หมื่นล้านบาททาง ร.ฟ.ท.ได้โอนที่ดินบริเวณมักกะสันให้กระทรวงการคลังมาใช้ประโยชน์ ระยะเวลาเช่า 99 ปี วงเงินประเมินกว่า 6 หมื่นล้านบาท
ด้านองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) จะให้เอกชนร่วมลงทุน รถไฟฟ้าสายสีแดง แอร์พอร์ตเรลลิงค์ ให้ดีขึ้น และจัดสรรเส้นทางการเดินรถใหม่ ส่วนการบินไทยปรับลดเส้นทาง ลดค่าใช้จ่าย ขณะที่บริษัท ทีโอที และ กสท โทรคมนาคม หรือ แคท ให้บริการจัดการในส่วนของบรอดแบนด์ทั่วประเทศ เพื่อให้ใช้ประโยชน์สูงสุด
สำหรับ รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีปัญหา 2 แห่งคือธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย(เอสเอ็มอีแบงก์)ซึ่งมีความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาและยืนยันจะไม่มีการควบรวมกิจการเพราะเป็นหน่วยงานหลักที่จะขับเคลื่อนเอสเอ็มอีตามนโยบายของรัฐบาล ส่วนธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(ไอแบงก์) ต้องเร่งแก้ไขหนี้ และหาพันธมิตรเข้าร่วมทุนเร็วที่สุด
สคร.เล็งโยนซูเปอร์บอร์ดเคาะยุบรสก.
ไทยโพสต์ : พระราม 6 * นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรม การนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า สคร.จะเรียกบริษัทลูก รัฐวิสาหกิจ 120 แห่ง ที่รัฐวิสาห กิจถือครองหุ้นเกิน 25% มาพิจารณา ถึงความจำเป็นของการดำเนินกิจ การ ว่าควรคงอยู่หรือยุบเลิกกิจ การ ก่อนรายงานให้คณะกรรมการ นโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ดรับทราบ และเสนอ ครม.พิจารณาภายในสิ้นเดือน ก.ย. นี้
สำหรับ แผนการฟื้นฟูทั้ง 7 แห่ง โดยในส่วนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะต้องวางระบบใหม่ โครงการโครงสร้างพื้น ฐานรถไฟรางคู่ ส่วนภาระหนี้ที่เกิดขึ้นกว่า 8 หมื่นล้านบาท ทาง ร.ฟ.ท.ได้นำที่ดินบริเวณมักกะสันให้กระทรวงการคลังใช้ประโยชน์ ระยะเวลาเช่า 99 ปี วงเงินประ เมินกว่า 60,000 ล้านบาท แต่ต้องรอแก้ไขกฎหมายการให้เช่าจาก 50 ปี เป็น 99 ปี ด้านองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จะให้เอกชนร่วมลงทุนรถไฟฟ้าสายสีแดง แอร์พอร์ตเรลลิงค์ ให้ดีขึ้น และจัดสรรเส้นทางการเดินรถใหม่ ส่วนการบินไทยปรับลดเส้นทาง ลดค่าใช้จ่าย เช่น จำหน่ายตั๋วออนไลน์ ขณะที่บริษัท ทีโอที และ กสท โทรคมนาคม (แคท) ให้บริการจัดการในส่วนของบอร์ดแบรนด์ทั่วประเทศ เพื่อให้ใช้ประโยชน์สูงสุด
ส่วนรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถา บันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (แบงก์ รัฐ) ที่เป็นปัญหา 2 แห่ง อย่างธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศ ไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ที่ขณะนี้มีการแก้ไขปัญหาและสามารถดำเนินต่อ โดยยืนยันจะไม่มีการควบรวมกิจการ ซึ่งถือเป็นหน่วยงานหลักที่จะขับเคลื่อนเอสเอ็มอีตามนโยบายของรัฐบาล ส่วนธนา คารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ต้องเร่งแก้ไขหนี้ และเร่งหาพันธมิตรเข้าร่วมทุนเร็วที่สุด.