WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

PDMOสวชญ โรจนวานชคลังก่อหนี้ปีหน้า 9 แสนล. ทั้งกู้เงิน-ออกพันธบัตรขายให้ประชาชนทั่วไป

      แนวหน้า : สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ หรือ สบน. เปิดแผนระดมทุนของรัฐบาล ในปีงบประมาณปี’59 เพื่อปรับโครงสร้างหนี้เดิม ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เผยแผนการออกบอนด์ ส่งเสริมการออมเริ่มต.ค.นี้

       นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) เปิดเผยว่า สบน.ได้ประมาณการความต้องการระดมทุนของรัฐบาล ในปีงบประมาณ 2559 รวมทั้งสิ้น 937,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เดิม วงเงินทั้งสิ้น 422,000 ล้านบาท ประกอบด้วย การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้ พ.ร.บ.หนี้สาธารณะ (ขาดดุล)

      วงเงินประมาณ 104,000 ล้านบาท การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้ พ.ร.ก.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (เอฟไอดีเอฟ) วงเงินประมาณ 188,000 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้กระทรวงการคลังค้ำประกัน วงเงินประมาณ 80,000 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ล่วงหน้าโดยวิธีการแลกเปลี่ยนพันธบัตร วงเงินประมาณ 50,000 ล้านบาท

     สำหรับ ส่วนที่ 2 คือ การกู้เงินใหม่ในปีงบประมาณ 2559 ที่รวมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน วงเงินประมาณ 515,000 ล้านบาท ประกอบด้วย การกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 390,000 ล้านบาท การกู้เงินเพื่อนำมาให้รัฐวิสาหกิจกู้ 63,000 ล้านบาท การกู้เงินเพื่อทดแทนการกู้เงินตราต่างประเทศ 61,000 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อนำส่งกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ 1,000 ล้านบาท

    ขณะที่ การออกพันธบัตร สบน.จะออกพันธบัตรที่เป็นอัตราผลตอบแทนอ้างอิง (เบนมาร์ค บอนด์) เป็นเครื่องมือหลักในการระดมทุน โดยจะออกเบนมาร์ค บอนด์ ตั้งแต่อายุ 5 ปี, 10 ปี, 15 ปี, 20 ปี, 30 ปี และ 50 ปี วงเงิน 460,000 ล้านบาท ประกอบกับพันธบัตรรัฐบาลประเภทอัตราดอกเบี้ยแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ(ไอแอลบี) วงเงิน 40,000 ล้านบาท ทำให้มีปริมาณวงเงินพันธบัตรรัฐบาลรวมทั้งสิ้น 500,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 53% ของการประมาณการระดมทุน 937,000 ล้านบาท

     ทั้งนี้ สบน.มีแผนการออกพันธบัตรออมทรัพย์อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการออมของประชาชน ทั้งผู้ที่สนใจและผู้สูงอายุ โดยเปิดโอกาสให้สามารถลงทุนในตราสารหนี้ที่มีคุณภาพ วงเงิน 104,000 ล้านบาท รุ่นอายุพันธบัตร 3-5 ปี เนื่องจากช่วงเดือนต.ค. 2558 นี้ ผู้ใช้สิทธิ์ตาม พ.ร.บ.การกลับไปใช้สิทธิ์ในบำเหน็จบำนาญ(อันดู) ตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2594, พ.ศ. 2557 จะได้รับเงินคืน และเดือนมิ.ย. 2559 จะมีพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษไทยเข้มแข็ง ประจำปีงบประมาณ 2553 ครบกำหนดอายุ ส่งผลให้ความต้องการลงทุนของประชาชนเพิ่มขึ้น

     อย่างไรก็ดี สบน.ได้หารือร่วมกับ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ในการพิจารณาทบทวนกรอบวงเงินในการประมูลทุกรูปแบบ ให้สอดรับความต้องการลงทุนของนักลงทุน โดยได้ปรับกรอบวงเงินเข้าประมูลของนักลงทุนต่อราย ได้แก่ นักลงทุนสามารถเสนอซื้อได้ตั้งแต่ 4 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 20% ของวงเงินประมูล โดยกระทรวงการคลังจะจัดสรรพันธบัตรให้แก่ผู้เสนอซื้อในวงเงินประมูลส่วนที่ไม่เกิน 100 ล้านบาทแรกก่อน และจะจัดสรรเงินส่วนที่เหลือเพิ่มเติมตามสัดส่วนจำนวนที่เสนอซื้อ สำหรับส่วนที่เกิน 100 ล้านบาทแรก โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือน ม.ค. 2559 เป็นต้นไป

สบน.กู้ 9 แสนล้านโปะหนี้หนุนลงทุนเมกะโปรเจ็กต์จับตาทางคู่ไทย-จีนส่อวืด

     ไทยโพสต์ * สบน.คาดระดมทุนปีงบประมาณ 59 กว่า 937,000 ล้านบาท ทั้งใช้หนี้เดิม-ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมออกพันธบัตรออมทรัพย์ 104,000 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการออม หนุนประชาชน ผู้สูงอายุลงทุน ด้านรถไฟไทย-จีน ส่อเลื่อนก่อสร้างหลังรายละเอียดไม่ชัดเจน

    นายสุวิชญ โรจนวานิช ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ในปี 2559 สบน.ประมาณความต้อง การระดมทุนของภาครัฐทั้งสิ้น 937,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเพื่อปรับโครง สร้างหนี้เดิมวงเงิน  422,000 ล้าน บาท ประกอบด้วย การกู้เงินเพื่อ ปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้ พ.ร.บ. หนี้สาธารณะ (ขาดดุล) วงเงินประ มาณ 104,000 ล้านบาท การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ภายใต้ พ.ร.ก.กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบ สถาบันการเงิน (เอฟไอดีเอฟ) วง เงินประมาณ 188,000 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้กระทรวงการคลังค้ำประกัน วงเงินประมาณ 80,000 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ล่วงหน้าโดยวิธีการแลกเปลี่ยนพันธบัตร วงเงินประมาณ 50,000 ล้านบาท

     ส่วนที่ 2 เพื่อการกู้เงินใหม่ ในปีงบประมาณ 59 รวมการลง ทุนในโครงสร้างพื้นฐานวงเงินประ มาณ 515,000 ล้านบาท  ประกอบด้วย การกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 390,000 ล้านบาท การกู้เงินเพื่อนำมาให้รัฐวิสาหกิจกู้ต่อ 63,000 ล้านบาท การกู้เงินเพื่อทดแทนการกู้เงินตราต่างประ เทศ 61,000 ล้านบาท และการกู้เงินเพื่อนำส่งกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ 1,000 ล้านบาท

     นายสุวิชญ กล่าวว่า ในปีงบ ประมาณ 59 สบน.มีแผนการออกพันธบัตรออมทรัพย์ ปีงบประมาณ 59 อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมการออมของประชาชน ทั้งผู้ที่สนใจและผู้สูงอายุ โดยเปิดโอกาสให้สามารถลงทุนในตราสารหนี้ที่มีคุณภาพ วงเงิน 104,000 ล้านบาท รุ่นอายุพันธบัตร 3-5 ปี เนื่อง จากช่วงเดือน ต.ค.58 ผู้ใช้สิทธิตาม พ.ร.บ.การกลับไปใช้สิทธิในบำ เหน็จบำนาญ (อันดู) ตาม พ.ร.บ.บำ เหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2594, พ.ศ.2557 จะได้รับเงินคืน และเดือน มิ.ย.59 จะมีพันธบัตรออมทรัพย์พิเศษไทยเข้มแข็ง ประจำปีงบประมาณ 53 ครบกำหนดอายุ ส่งผลให้ความต้องการลงทุนของประชาชนเพิ่มขึ้น

     นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวถึงการประชุมคณะกรรมการร่วมรถไฟไทย-จีน ครั้ง ที่ 7 ว่า ได้หารือกับรัฐบาลจีนในการก่อ สร้างรถไฟทางคู่ โดยไทยยืนยันขอตั้งที่ปรึกษาการลงทุน เพื่อให้ทราบมูลค่าโครงการ และค่าก่อสร้างที่ชัด เจน โดยเฉพาะการก่อสร้างโครงการ ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-แก่งคอย และช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 252 กม. ที่ประชุมยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่างการออกแบบการก่อสร้าง แนวเส้นทาง และรูปแบบทางการเงิน ฉะนั้นจะต้องหาข้อสรุปในเรื่องเหล่านี้ให้ได้ก่อน และยอมรับยังไม่สามารถกำหนดเวลาเริ่มงานก่อสร้างได้.

 รัฐผวาภาระหนี้ท่วมหัว ทบทวนก่อหนี้-แผนลงทุน

 

     แนวหน้า : นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.)สั่งให้ สบน. ไปทบทวนเรื่องแผนก่อหนี้และโครงการลงทุนภาพรวมทั้งหมด โดยจะให้เน้นโครงการลงทุนร่วมภาคเอกชน หรือ พีพีพี มากขึ้น เพื่อลดภาระการก่อหนี้ภาครัฐ หวังควบคุมยอดหนี้สาธารณะต่อจีดีพี ไม่ให้เกิน 50% เนื่องจากการคาดการณ์ สบน. ก่อนหน้านี้คาดว่าผลการลงทุนในโครงการต่างๆ ของรัฐบาลและการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลจะทำให้ยอดหนี้สาธารณะต่อ จีดีพี สูงกว่า 50% ในปี 2560

 

    เบื้องต้นจากการที่ ครม. ได้พิจารณาแผนลงทุนพีพีพี กว่า 1.41 ล้านล้านบาท พบว่าส่วนใหญ่ยังเป็นการลงทุนที่ไม่มีผลต่อหนี้สาธารณะได้ เช่น การลงทุนในระบบกำจัดขยะมูลฝอย ศูนย์กระจายสินค้า แต่จะมีการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่ง

 

     การพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง ดังนั้น สบน. จะเตรียมหารือกับ กระทรวงคมนาคม กับ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ หรือ สคร. เพื่อพิจารณาปรับลดเงินกู้ และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในรูปแบบ พีพีพี เน้นที่โครงการของคมนาคน เช่น ระบบราง การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มขึ้น

 

     สำหรับ การปรับแผนก่อหนี้สาธารณะปี 2559 ครั้งที่ 3 ที่เสนอให้ ครม. เห็นชอบแล้ว มีวงเงินรวม 1.72 ล้านล้านบาท สูงกว่าแผนปี 2558 จำนวน 2.62 แสนล้านบาท โดยคาดว่ายอดหนี้สาธารณะต่อจีดีพีในปี 2559 จะอยู่ที่ 47% โดยจะเป็นการก่อหนี้ใหม่กว่า 5.63 แสนล้านบาท แยกเป็นการก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล 5.15 แสนล้านบาท เช่น เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล 3.9 แสนล้านบาท เงินกู้เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและขนส่งทางถนนอีก 3.67 หมื่นล้านบาท และแผนก่อหนี้ของรัฐวิสาหกิจอีก 4.81 หมื่นล้านบาท

 

      ขณะที่ ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 ก.ค. 2558 มีจำนวน 5.71 ล้านล้านบาท คิดเป็น 42.85 % ของจีดีพี เพิ่มขึ้นกว่า 3.39 หมื่นล้านบาทเมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากมีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 2 หมื่นล้านบาท การกู้เงินเพื่อให้รัฐวิสาหกิจกู้ต่อ จำนวน 5,662 ล้านบาท ได้แก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินให้กู้ต่อ 3,232.40 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง การรถไฟแห่งประเทศไทยเบิกจ่ายเงินให้กู้ต่อ 663.25 ล้านบาท

 

                สำหรับ ดำเนินโครงการรถไฟสายสีแดง บริษัท การบินไทย กู้ต่อ 1,766.59 ล้านบาท สำหรับโครงการซื้อเครื่องบินแอร์บัส A340-600 เป็นต้น ทั้งนี้คาดว่าในช่วงที่เหลือก่อนสิ้นปีนี้ยอดหนี้สาธารณะจะยังคงอยู่ในคาดการณ์เดิมที่ตั้งไว้คือไม่เกิน 44% ของจีดีพี เพราะได้มีการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลจนใกล้เต็มวงเงินแล้ว

สศค.วาดฝันจีดีพีปีนี้โต 3% รับอานิสงส์มาตรการใหม่กระตุ้นเศรษฐกิจ

      บ้านเมือง : สศค.คาดจีดีพีปีนี้โตได้ 3% รับมาตรการใหม่กระตุ้น ศก. แม้มองส่งออกยังติดลบ 4%-ท่องเที่ยววูบผลกระทบระเบิดแยกราชประสงค์ คาดลดลงประมาณ 3 แสนรายใน 3 เดือน เชื่อช่วงไฮซีซั่นนักท่องเที่ยวกลับมา ขณะที่ ธปท.ไฟเขียวเงินลงทุนต่างประเทศ 5 ล้านเหรียญ ระบุดอกเบี้ยในประเทศใกล้ถึงจุดต่ำสุด

       นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สศค. เปิดเผยว่า มั่นใจว่าภาพรวม GDP ไทยในปีนี้จะยังคงขยายตัวได้ตามคาดการณ์ที่ 3% แม้จะมีปัจจัยลบจากเหตุการณ์ระเบิด แต่ก็มีปัจจัยเสริมจากการเร่งผลักดันมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของกระทรวงการคลัง โดยเฉพาะการเติมเงินเข้าสู่ระบบประชาชนที่มีรายได้น้อยและเกษตรกรที่คาดว่าจะใช้งบประมาณสูงกว่า 4-5 หมื่นล้านบาท

     "ส่วนนี้ จะเข้าไปช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายให้เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงการเร่งลงทุนในโครงการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาล ซึ่งถือเป็นการกระจายรายได้อีกทางหนึ่งด้วย" นายเอกนิติ กล่าว

     ทั้งนี้ สศค.ได้ประเมินเบื้องต้นภายหลังเหตุการณ์ระเบิดที่แยกราชประสงค์ในช่วงที่ผ่านมาจะส่งผลทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติ ในช่วง 2-3 เดือนจากนี้หายไปอย่างน้อย 3 แสนราย จากประมาณการนักท่องเที่ยวในปีนี้ทั้งหมดที่ 29.9 ล้านคน ซึ่งจะส่งผลกระทบตอตัวเลข GDP ของประเทศอย่างน้อยราว 0.05%

      "ผลกระทบจากเหตุการณ์ระเบิดในช่วงที่ผ่านมาไม่ได้ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติหายไปจำนวนมหาศาลอย่างที่หลายฝ่ายกังวลแน่นอน และเชื่อว่าภาคการท่องเที่ยวจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ทันช่วงไฮซีซั่นนี้ ดังนั้นจึงยังเชื่อมั่นว่าภาคการท่องเที่ยวจะยังเป็นปัจจัยสำคัญที่เข้ามาช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยให้ขยายตัวต่อได้" นายเอกนิติ กล่าว

    สำหรับ ภาพรวมการส่งออกในปีนี้ ยังประเมินว่าจะติดลบ 4% หลังจากช่วง 7 เดือนแรกที่ผ่านมา ตัวเลขการส่งออกติดลบแล้วกว่า 4.7% ขณะที่เดือน ก.ค.58 ตัวเลขการส่งออกติดลบ 3.6% โดยต้องยอมรับว่าภาคการส่งออกยังมีแนวโน้มชะลอตัวลงทั้งในด้านราคาและมูลค่า ซึ่งเป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะจีน ยุโรป และอาเซียน ขณะที่เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) และสหรัฐ มีทิศทางที่ดีขึ้น ก็เข้ามาช่วยสนับสนุนในส่วนนี้ได้บ้าง

     อย่างไรก็ตาม ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ยังอยู่ในช่วงเปราะบาง เนื่องจากผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศเป็นหลัก โดยกำลังซื้อของประเทศคู่ค้าที่ลดลง ทำให้กลไกหลักที่เคยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อย่างภาคส่งออกที่เคยมีมูลค่ามากถึง 70% ของ GDP ได้รับผลกระทบไปด้วย ขณะที่การบริโภคในประเทศก็มีทิศทางชะลอตัวลง ดังนั้น การที่ภาครัฐได้มีความพยายามในการผลักดันการใช้จ่ายผ่านการลงทุนทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ และการกระตุ้นการใช้จ่ายในกลุ่มประชาชนที่มีรายได้น้อย จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่เข้ามาช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจในช่วงนี้

    นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้ผ่อนคลายให้ผู้ลงทุนรายย่อยลงทุนในต่างประเทศได้โดยไม่ผ่านตัวกลาง เพื่อสนับสนุนให้คนไทยกระจายความเสี่ยงการลงทุน โดยติดต่อกับสำนักงานในต่างประเทศเพื่อลงทุนได้เอง ซึ่งการผ่อนคลายดังกล่าวจะดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือปี 2559 และปี 2560

    สำหรับ ระยะแรกปี 2559 ธปท. จะอนุญาตให้บุคคลธรรมดาที่มีเงินฝากในผลิตภัณฑ์ทางการเงินตั้งแต่ 100 ล้านบาท หรือนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์รวม 1,000-5,000 ล้านบาท กำหนดวงเงินโอนออกไปลงทุน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ประเภทผลิตภัณฑ์ที่ลงทุนได้ คือ หลักทรัพย์ทุกประเภท รวมเงินฝากในต่างประเทศ อนุพันธ์ทั้งในและนอกตลาด โดยจะต้องยื่นหลักฐานแสดงสินทรัพย์ตามที่กำหนดกับธนาคารพาณิชย์

     ส่วนระยะที่ 2 ปี 2560 ธปท.จะอนุญาตให้ผู้ลงทุนรายย่อยทั่วไปสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ทุกประเภท รวมถึงเงินฝากในต่างประเทศ วงเงินโอนออก 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี โดยเงินที่นำมาลงทุนต้องไม่ใช่เงินที่มาจากการกู้ยืม นอกจากนี้ยังเพิ่มวงเงินฝากในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (FCD) ไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากเดิม 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ และเพิ่มวงเงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศไม่เกินปีละ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

    นางผ่องเพ็ญ กล่าวว่า ขณะนี้อัตราดอกเบี้ยในประเทศใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว โดยที่ผ่านมาอัตราดอกเบี้ยนโยบายเคยลงไปต่ำสุดที่ร้อยละ 1.25 ส่วนทิศทางอัตราดอกเบี้ยนับจากนี้จะมีการปรับขึ้นหรือปรับลดลงนั้น ขึ้นกับประสิทธิผลจากการใช้นโยบายการเงิน แต่อัตราดอกเบี้ยก็ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ ธปท.จะใช้ดูแลเศรษฐกิจ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!