WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมคดคลัง เตรียมชงแผนช่วย SME เข้าครม.พรุ่งนี้ จ่อลดภาษี SME เหลือ 10% ในกลุ่มกำไรเกิน 3 แสนบาท - 1 ล้านบาท

     คลัง เตรียมชงแผนช่วย SME เข้าครม.วันพรุ่งนี้ ทั้งแผนเสริมสภาพคล่อง  เจาะตลาดออนไลน์ รวมถึงมาตรการภาษี  โดยเตรียมลดภาษี SME เหลือ 10% ในกลุ่มมีกำไรเกิน 3 แสนบาท - 1 ล้านบาท  แย้มอาจเป็นมาตรการชั่วคราว เพราะต้องขึ้นอยู่กับภาวะศก. ยันไม่จำเป็นนิรโทษกรรมภาษีให้ SME  ชี้ไม่ได้ช่วยให้เข้าถึงระบบภาษี  

  นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME ว่า ในวันนี้จะมีการหารือกับพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับมาตรการช่วยเหลือ SME ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ก่อนนำเข้าที่ประชุมครม.พิจารณาในวันพรุ่งนี้(8 ก.ย.58)        สำหรับ แนวทางการช่วยเหลือ SME กระทรวงการคลังได้แบ่งออกเป็น  2 ช่วง โดยในช่วงแรกจะเป็นการเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ SME ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยจะจูงใจให้ธนาคารเฉพาะของกิจของรัฐ  เช่น ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB และธนาคารออมสิน ปล่อยสินเชื่อให้ SME มากขึ้น ซึ่งจะต้องให้หน่วยงานเข้ามาค้ำประกัน 

   นอกจากนี้กระทรวงการคลังจะใช้มาตรการภาษีเข้ามาลดต้นทุนให้กับ SME เพิ่มเติมด้วย เพื่อส่งผลให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจลดน้อยลง ส่วนมาตรการที่ 2  คือ การเสริมสร้างความจะเสริมความแข็งแกร่งให้ SME โดยมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม ไปศึกษาการหาตลาดผ่านออนไลน์  หรือ ธุรกิจอีคอมเมิร์ช แต่อย่างไรก็ตาม ตนยังไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด เนื่องจากจะรอเสนอแพ็คเกจช่วยเหลือ SME  ครม. พิจารณาอนุมัติในวันพรุ่งนี้ และยืนยันการใช้มาตรการภาษีเข้ามาช่วยเหลือ SME จะไม่กระทบกับการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล  ซึ่งขณะนี้ถือว่าเหลืออีกไม่กี่เดือนก็จะเข้าสู่ปีงบประมาณ 2559  ขณะที่การใช้เงินในปีงบประมาณ 2558 ไม่ได้สูงมากนักจึงไม่น่ากังวล

   ทางด้าน นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ กระทรวงการคลังจะเสนอครม. พิจารณาลดหย่อนภาษีนิติบุคคลให้ SME โดยจะลดเหลือ 10% ตามที่มีข่าวออกมาก่อนหน้านี้หรือไม่นั้น จากปัจจุบันจัดเก็บที่ 15% ขอดูในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้จะเสนอมาตรการผ่อนคลายด้านการเงินให้เอสเอ็มอีเพื่อดูแลต้นทุนให้กับ SME  และอัดฉีดสภาพคล่องโดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐเข้ามาปล่อยสินเชื่อด้วย  

   "มาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีที่จะเข้าสู่ที่ประชุมครม.ในวันพรุ่งนี้ จะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ คือมาตราการทางด้านทางการเงิน และมาตราการทางด้านภาษี ซึ่งในส่วนมาตรการทางการเงิน จะช่วยให้ SME สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น และช่วยลดต้นทุนของ SME ส่วนมาตรการภาษี จะมีการลดหย่อภาษีเพื่อช่วยเหลือ SMEในบางกลุ่มที่สำคัญและเห็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจในอนาคตได้"นายอภิศักดิ์ กล่าว

    นอกจากนี้ รมว.คลังยังได้เรียกคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. นัดพิเศษ เพื่อเร่งรัดการปล่อยสินเชื่อให้กับกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง คาดว่าจะปล่อยสินเชื่อก้อนแรกได้ 20,500 กองทุน กองทุนละ1 ล้านบาท ภายในเดือนตุลาคม   เช่นเดียวกับ นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมครม. วันที่ 8 กันยายนนี้กระทรวงการคลังจะเสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี  ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการหารือว่าจะช่วยเหลือในลักษณะใดบ้าง  

   สำหรับ เบื้องต้น มีแนวคิดที่จะลดภาษีนิติบุคคลให้กับเอสเอ็มอีที่มีกำไรเกิน 3 แสนบาท - 1 ล้านบาท จะได้รับสิทธิการลดหย่อนภาษี เหลือ 10% จากปัจจุบันที่จัดเก็บที่ 15% ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลหายไป 1,500 ล้านบาท จากปัจจุบันจัดเก็บได้ 30,000 ล้านบาท ด้งนั้น จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ ซึ่งอาจเป็นมาตรการชั่วคราวหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์   

   "หากจะลดภาษีให้เอสเอ็มอี เอสเอ็มอีจะต้องแลกด้วยการมีบัญชีรายรับและรายจ่ายบัญชีเดียว ซึ่งเป็นบัญชีที่ยื่นให้กรมสรรพากรเพื่อสร้างมาตรการในการจัดเก็บภาษี การช่วยเอสเอ็มอีนั้น ถ้าเอสเอ็มอีอยู่ได้ เศรษฐกิจก็ไปได้ สถาบันการเงินก็ไม่เป็นหนี้ศูนย์ อาจเป็นมาตรการชั่วคราวหรือไม่ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์"นายรังสรรค์ กล่าว  

   นายรังสรรค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการช่วยเหลือเอสเอ็มอีแล้ว กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างพิจารณาด้วยว่าจะสามารถช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ได้อย่างไรบ้าง เนื่องจากหากจะส่งเสริมให้เอสเอ็มอีแข็งแรงแล้ว รายใหญ่จะต้องแข็งแรงด้วย เพราะเอสเอ็มอีเป็นซับพลายเชนของรายใหญ่  

   "มาตรการมันควรออกมาแบบไหน คือต้องช่วยทั้งรายใหญ่ และเอสเอ็มอี ควรไปคู่กัน โดยรายใหญ่นั้น จะต้องไปดูว่าเขาขาดอะไร ต้องการให้รัฐช่วยเหลืออะไร มาตรการอาจแตกต่างกันออกไป"นายรังสรรค์ กล่าว  

   ส่วนกรณีที่คณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน หรือ กกร. เสนอให้มีการนิรโทษกรรมภาษีให้เอสเอ็มอี มองว่า ขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็น เพราะที่ผ่านมากระทรวงการคลังเคยนิรโทษกรรมมาแล้ว ซึ่งพบว่า ไม่ได้ช่วยให้เอสเอ็มอีเข้าถึงระบบภาษี สิ่งที่กระทรวงการคลังพยายามดำเนินการในตอนนี้คือ สนับสนุนให้เอสเอ็มอีเดินบัญชีเดียว เพื่อดึงให้เข้ามาอยู่ในระบบฐานภาษี

    นอกจากนี้ กระทรวงการคลัง อยู่ระหว่างศึกษามาตรการคืนภาษีส่งออกรถยนต์มือ 2 ให้กับผู้ส่งออกรถยนต์ หรือ เต็นท์รถยนต์ เพื่อกระตุ้นส่งออกรถยนต์เก่า แทนที่จะนำเข้ารถยนต์เก่าจากต่างประเทศ เช่น จีน สิงคโปร์  เพื่อระบายรถยนต์ที่มีอยู่ในประเทศ ซึ่งปัจจุบันปริมาณยอดส่งออกรถยนต์เก่ามีมากกว่า 10,000 คัน ต้องเสียภาษีส่งออกในระดับสูง   

   โดยขณะนี้ ยังต้องศึกษาว่า จะพิจารณาคืนภาษีในรูปแบบใด จะคิดอัตราภาษีจากอายุของรถยนต์หรือไม่ และนานกี่ปี จะต้องศึกษาควบคู่ไปกับนโยบายการลดปริมาณลดรถยนต์เก่าที่มีอายุ 7 ปี และนโยบายปลดล็อคโครงการรถยนต์คันแรกจาก 5 ปี เหลือ 3 ปี คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นเดือนนี้

    ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยต่อว่า ในการเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 31 ธ.ค.58 นี้ กระทรวงการคลังได้ออกมาตรการตลอดรวมถึงระเบียบต่างๆ เพื่อเอื้อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถแข่งขันในตลาด AEC ได้อย่างไม่เสียเปรียบ โดยการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน เช่น การเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการโดยเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนโดยเสรีมากขึ้น

   โดยการจัดตั้งระบบการให้บริการแบบ National Single Window ซึ่งเป็นระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์แบบไร้เอกสาร ใช้เอกสารเพียงชุดเดียวในการดำเนินการ เป็นการเชื่อมโยงข้อมูลแบบบูรณาการทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งปัจจุบันมีการเชื่อมโยงข้อมูลแล้ว 30 หน่วยงาน จากทั้งหมด 36 หน่วยงาน  

  นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น การปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคล เพื่อส่งเสริมการลงทุนและเพิ่มศักยภาพการผลิตโดยรวมของประเทศ การปรับลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจาก 5 ขั้น เป็น 7 ขั้น และลดอัตราสูงสุดจาก 37% ของเงินได้สุทธิ มาเหลือ 35% เพื่อทำให้ระบบภาษีสอดคล้องกับเศรษฐกิจของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป   

   รวมทั้งการเจรจาจัดทำอนุสัญญาว่าด้วยความตกลงเพื่อการเว้นภาษีซ้อน ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้เจรจาจัดทำอนุสัญญาเพื่อเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศในอาเซียนแล้ว 9 ประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว 7 ประเทศ เหลือเพียงกัมพูชา และบรูไนที่กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ  

    ด้านความคืบหน้าของแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ระยะที่ 2  ขณะนี้มีความก้าวหน้าไปมากโดยเฉพาะพื้นที่ในจังหวัดเชียงรายซึ่งนับเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ  ประกอบกับมีพื้นที่อำเภอชายแดนทั้ง 3 อำเภอ คือ อ.แม่สาย อ.เชียงแสน และ อ.เชียงของ ซึ่งกำลังจะได้รับการพัฒนาให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีความสามารถในการเชื่อมต่อไปยัง 3 ประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นคู่ค้าสำคัญ คือ เมียนมาร์ ลาว และจีน จึงทำให้เชียงรายเป็นพื้นที่น่าสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในลำดับต้นๆ

คลัง เตรียมชงครม.ลดภาษี SME เหลือ10% ในกลุ่มกำไรเกิน 3 แสนบาท - 1 ล้านบาท

     คลังเตรียมชงครม.ลดภาษี SME เหลือ10% ในกลุ่มมีกำไรเกิน 3 แสนบาท - 1 ล้านบาท  แย้มอาจเป็นมาตรการชั่วคราว เพราะต้องขึ้นอยู่กับภาวะศก. ยันไม่จำเป็นนิรโทษกรรมภาษีให้ SME  ชี้ไม่ได้ช่วยให้เข้าถึงระบบภาษี

   นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในการประชุมครม. วันที่ 8 กันยายนนี้กระทรวงการคลังจะเสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี  ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการหารือว่าจะช่วยเหลือในลักษณะใดบ้าง

   สำหรับเบื้องต้น มีแนวคิดที่จะลดภาษีนิติบุคคลให้กับเอสเอ็มอีที่มีกำไรเกิน 3 แสนบาท - 1 ล้านบาท จะได้รับสิทธิการลดหย่อนภาษี เหลือ 10% จากปัจจุบันที่จัดเก็บที่ 15% ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลหายไป 1,500 ล้านบาท จากปัจจุบันจัดเก็บได้ 30,000 ล้านบาท ด้งนั้น จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ ซึ่งอาจเป็นมาตรการชั่วคราวหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์

   "หากจะลดภาษีให้เอสเอ็มอี เอสเอ็มอีจะต้องแลกด้วยการมีบัญชีรายรับและรายจ่ายบัญชีเดียว ซึ่งเป็นบัญชีที่ยื่นให้กรมสรรพากรเพื่อสร้างมาตรการในการจัดเก็บภาษี การช่วยเอสเอ็มอีนั้น ถ้าเอสเอ็มอีอยู่ได้ เศรษฐกิจก็ไปได้ สถาบันการเงินก็ไม่เป็นหนี้ศูนย์ อาจเป็นมาตรการชั่วคราวหรือไม่ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์"นายรังสรรค์ กล่าว

    นายรังสรรค์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากการช่วยเหลือเอสเอ็มอีแล้ว กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างพิจารณาด้วยว่าจะสามารถช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ได้อย่างไรบ้าง เนื่องจากหากจะส่งเสริมให้เอสเอ็มอีแข็งแรงแล้ว รายใหญ่จะต้องแข็งแรงด้วย เพราะเอสเอ็มอีเป็นซับพลายเชนของรายใหญ่

    "มาตรการมันควรออกมาแบบไหน คือต้องช่วยทั้งรายใหญ่ และเอสเอ็มอี ควรไปคู่กัน โดยรายใหญ่นั้น จะต้องไปดูว่าเขาขาดอะไร ต้องการให้รัฐช่วยเหลืออะไร มาตรการอาจแตกต่างกันออกไป"นายรังสรรค์ กล่าว

   ส่วนกรณีที่คณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน หรือ กกร. เสนอให้มีการนิรโทษกรรมภาษีให้เอสเอ็มอี มองว่า ขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็น เพราะที่ผ่านมากระทรวงการคลังเคยนิรโทษกรรมมาแล้ว ซึ่งพบว่า ไม่ได้ช่วยให้เอสเอ็มอีเข้าถึงระบบภาษี สิ่งที่กระทรวงการคลังพยายามดำเนินการในตอนนี้คือ สนับสนุนให้เอสเอ็มอีเดินบัญชีเดียว เพื่อดึงให้เข้ามาอยู่ในระบบฐานภาษี

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย   

ปิดช่องนิรโทษกรรมภาษี SME คลังปัดข้อเสนอสภาอุตฯ

     แนวหน้า : ปิดช่องนิรโทษกรรมภาษี SME คลังปัดข้อเสนอสภาอุตฯ เล็งมาตรการอื่นอุ้มแทน

    นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องนิรโทษกรรมภาษีสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในขณะนี้ เพราะว่าไม่มีความจำเป็นต้องหารายได้เพิ่ม แม้ว่าการเก็บรายได้ของรัฐบาลจะมีปัญหาต่ำกว่าเป้า แต่ที่ผ่านมารายจ่ายของรัฐบาลก็เบิกจ่ายได้ล่าช้า รวมถึงตอนนี้เงินคงคลังของประเทศก็ยังอยู่ระดับสูงกว่า 2 แสนล้านบาท

     “การนิรโทษกรรมภาษีเป็นข้อเรียกร้องของสภาอุตสาหกรรมฯ เพราะเห็นว่ามีผู้ประกอบการเสียภาษีไม่ถูกต้องจำนวนมาก ซึ่งคลังเห็นว่าการช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีทำทางอื่นได้ที่ทำให้เอสเอ็มอีเดินหน้าต่อไปได้ ทำให้เศรษฐกิจขยายตัว และหนี้เสียของสถาบันการเงินลดลง” นายรังสรรค์ กล่าว

      โดยที่ผ่านมา กระทรวงการคลัง เคยนิรโทษกรรมภาษีให้กับผู้ประกอบการ เพื่อให้เก็บรายได้เพิ่มขึ้น แต่ปรากฏว่าไม่

      ประสบความสำเร็จมีผู้ประกอบการเสียภาษีให้ถูกต้องจำนวนน้อยไม่ได้ทำให้การเก็บรายได้เพิ่มขึ้น

     อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลัง อยู่ระหว่างการหามาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัว มาตรการหนึ่งที่มีการพิจารณา คือการลดอัตราภาษีนิติบุคคลให้กับผู้ประกอบการเพิ่ม โดยปัจจุบันกำไร 3 แสนบาทแรก ได้รับการยกเว้นไม่เก็บภาษีอยู่แล้ว แต่กำไรส่วนเกิน 3 แสนบาท ไม่เกิน 3 ล้านบาท ต้องเสียภาษี 15% มีแนวคิดจะลดเหลือ 10% จะทำให้สูญเสียภาษี 1,500 ล้านบาทต่อปี ส่วนกำไรที่เกิน 3 ล้านบาท ยังเสียภาษีอัตรา 20%

    ทั้งนี้ การลดอัตราภาษีให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี จะต้องมีข้อแลกเปลี่ยนโดยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะต้องทำบัญชีเดียว เพื่อเข้าสู่ระบบภาษีให้ถูกต้อง ทำให้รัฐบาลมีข้อมูลช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ถูกต้องมากขึ้น ซึ่งมาตรการทั้งหมดคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในสัปดาห์นี้

    นายรังสรรค์ กล่าวว่า ได้สั่งการให้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ศึกษาคืนภาษีให้กับผู้ประกอบการที่ส่งรถยนต์เก่าออกไปขายในต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณรถเก่าในประเทศ โดยปัจจุบันประเทศเพื่อนบ้านซื้อรถยนต์เก่าจากประเทศญี่ปุ่นมากกว่าไทยเพราะราคาถูกกว่า หากไทยคืนภาษีให้กับผู้ส่งออกจะช่วยให้ผู้ประกอบการที่ส่งรถไปขายต่างประเทศแข่งขันได้

    ด้านแหล่งข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2558 ในรอบ 11 เดือน จากงบรวม 2.575 ล้านล้านบาท เบิกจ่ายได้ 2.19 ล้านล้านบาท หรือ 85% แยกเป็นงบประจำวงเงิน 2.15 ล้านล้านบาท เบิกจ่ายได้ 1.95 ล้านล้านบาท หรือ 90% ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูง

    ขณะที่ในส่วนของงบลงทุนวงเงิน 4.15 แสนล้านบาท เบิกจ่ายได้ 2.39 แสนล้านบาท หรือ 57% ซึ่งยังมีงบลงทุนที่ยัง

    ไม่ได้เบิกจ่ายอีกถึง 1.76 แสนล้านบาท โดยในเดือนนี้เป็นเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณคาดว่าจะมีการเบิกจ่ายงบลงทุนได้อีกจำนวนมาก แต่ก็คาดว่าจะมีงบลงทุนเบิกจ่ายไม่ทันไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท ซึ่งไม่เป็นผลดีกับเศรษฐกิจ

     “การเบิกจ่ายงบลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในทุกๆ ท่อ ล่าช้าไปหมด ถึงแม้ว่าเดือนสุดท้ายจะเร่งเบิกจ่ายอย่างไร ก็จะมีงบลงทุนค้างท่อรวมกันหลายแสนล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลพยายามแก้ไขเร่งด่วนกันอยู่”แหล่งข่าว กล่าว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!