- Details
- Category: คลัง
- Published: Wednesday, 02 September 2015 13:13
- Hits: 5305
กรมบัญชีกลาง ขยายเพดานวงเงินจัดซื้อจัดจ้างโครงการขนาดเล็กกระตุ้นใช้จ่าย
นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะประธานคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กวพ.ได้มีมติขยายวงเงินการจัดหาพัสดุของส่วนราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามหนังสือ กค (กวพ) 0421.3/ว 299 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2558 สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ราคา 1 - 500,000 บาท ให้ส่วนราชการใช้วิธีตกลงราคา ซึ่งใช้เวลาดำเนินการเพียง 2-5 วันเท่านั้น โดยมีงบประมาณในส่วนดังกล่าวประมาณ 80,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 80% ของโครงการลงทุนในปี 2558 หากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง จะช่วยให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ สอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของรัฐบาล
นอกจากนี้ การจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ราคา 500,000 – 2,000,000 บาท ให้ส่วนราชการใช้วิธีสอบราคา ซึ่งจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 12-15 วัน ส่วนการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ราคา 2,000,000 บาทขึ้นไป ให้ส่วนราชการใช้วิธี e-market และ e-bidding โดยจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 28 วันเท่านั้น
“การที่ กวพ. มีมติขยายวงเงินการจัดหาพัสดุของส่วนราชการ เพื่อให้ส่วนราชการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปด้วยความรวดเร็ว คล่องตัว และสอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น โดยเฉพาะการกำหนดให้ส่วนราชการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ราคา 1 - 500,000 บาท ใช้วิธีตกลงราคา ซึ่งใช้เวลาดำเนินการเพียง 2-5 วันเท่านั้น ถือเป็นการเร่งรัดการเบิกจ่ายภาครัฐ ที่ช่วยให้เงินงบประมาณในโครงการขนาดเล็กลงสู่ระบบเศรษฐกิจได้เร็ว สอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของรัฐบาล
ประกอบกับที่ผ่านมาผู้ประกอบการยังขาดความพร้อมในระบบการจัดซื้อจัดจ้างรูปแบบใหม่ ทำให้ กวพ.มีการปรับการดำเนินการดังกล่าว เพื่อให้ผู้ประกอบการทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายย่อยประกอบธุรกิจได้อย่างคล่องตัว อันจะส่งผลให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมีรายได้เพิ่มขึ้น" นายมนัส กล่าว
ขณะที่ หากเป็นการซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษได้ขยายวงเงินเช่นกัน โดยการซื้อหรือการจ้างซึ่งมีราคาเกิน 500,000 บาท ให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใดตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 23 หรือ 24 แล้วแต่กรณีๆไป
สำหรับ มติที่กำหนดให้ดำเนินการวิธีการจัดหาพัสดุดังกล่าว กำหนดให้ส่วนราชการเริ่มปฏิบัติตามแนวทางข้างต้นตั้งแต่วันที่ 15 ก.ย.2558 ถึงวันที่ 31 มี.ค.2559 ส่วนการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างที่ทำก่อนวันที่ 15 ก.ย. 2558 นั้น หากมีการดำเนินการแล้วก็ให้ดำเนินการต่อไปจนแล้วเสร็จ
อินโฟเควสท์
กรมบัญชีกลาง ขยายเพดานวงเงินจัดซื้อ จัดจ้างช่วยผู้ประกอบการ หวังกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ
กรมบัญชีกลางแจ้งขยายวงเงินการจัดซื้อจัดจ้างโครงการขนาดเล็ก หวังกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ สอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของรัฐบาล โดยที่ผ่านมามีงบประมาณกว่า 80,000 ล้านบาท ในโครงการขนาดเล็ก ที่มีมูลค่าไม่เกิน 500,000 บาท
นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะประธานคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กวพ.ได้มีมติขยายวงเงินการจัดหาพัสดุของส่วนราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามหนังสือ กค (กวพ) 0421.3/ว 299 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2558 สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ราคา 1 - 500,000 บาท ให้ส่วนราชการใช้วิธีตกลงราคา ซึ่งใช้เวลาดำเนินการเพียง 2-5 วันเท่านั้น โดยมีงบประมาณในส่วนดังกล่าวประมาณ 80,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 80% ของโครงการลงทุนในปี 2558 หากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง จะช่วยให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ สอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของรัฐบาล
นอกจากนี้ การจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ราคา 500,000 – 2,000,000 บาท ให้ส่วนราชการใช้วิธีสอบราคา ซึ่งจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 12-15 วัน ส่วนการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ราคา 2,000,000 บาทขึ้นไป ให้ส่วนราชการใช้วิธีe-market และ e-bidding โดยจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 28 วันเท่านั้น
“การที่ กวพ. มีมติขยายวงเงินการจัดหาพัสดุของส่วนราชการ เพื่อให้ส่วนราชการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปด้วยความรวดเร็ว คล่องตัว และสอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น โดยเฉพาะการกำหนดให้ส่วนราชการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ราคา 1 - 500,000 บาท ใช้วิธีตกลงราคา ซึ่งใช้เวลาดำเนินการเพียง 2-5 วันเท่านั้น ถือเป็นการเร่งรัดการเบิกจ่ายภาครัฐ ที่ช่วยให้เงินงบประมาณในโครงการขนาดเล็กลงสู่ระบบเศรษฐกิจได้เร็ว สอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของรัฐบาล ประกอบกับที่ผ่านมาผู้ประกอบการยังขาดความพร้อมในระบบการจัดซื้อจัดจ้างรูปแบบใหม่ ทำให้ กวพ.มีการปรับการดำเนินการดังกล่าว เพื่อให้ผู้ประกอบการทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการรายย่อยประกอบธุรกิจได้อย่างคล่องตัว อันจะส่งผลให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยมีรายได้เพิ่มขึ้น” นายมนัส กล่าว
ขณะที่ หากเป็นการซื้อหรือการจ้างโดยวิธีพิเศษได้ขยายวงเงินเช่นกัน โดยการซื้อหรือการจ้างซึ่งมีราคาเกิน 500,000 บาท ให้กระทำได้เฉพาะกรณีหนึ่งกรณีใดตามที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 23 หรือ 24 แล้วแต่กรณีๆไป
สำหรับ มติที่กำหนดให้ดำเนินการวิธีการจัดหาพัสดุดังกล่าว กำหนดให้ส่วนราชการเริ่มปฏิบัติตามแนวทางข้างต้นตั้งแต่วันที่ 15 ก.ย.2558 ถึงวันที่ 31 มี.ค.2559 ส่วนการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างที่ทำก่อนวันที่ 15 ก.ย. 2558 นั้น หากมีการดำเนินการแล้วก็ให้ดำเนินการต่อไปจนแล้วเสร็จ
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
ขยายเพดานเบิกจ่ายฉลุย บัญชีกลางเด้งรับปลดล็อกจัดซื้อจัดจ้างรัฐ
นายมนัส แจ่มเวหา อธิบดีกรมบัญชีกลาง ในฐานะประธานคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติขยายวงเงินการจัดหาพัสดุของส่วนราชการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมลงวันที่ 28 ส.ค.58 โดยกำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้าง
ตั้งแต่ 1-500,000 บาท ให้ส่วนราชการใช้วิธีตกลงราคา ซึ่งใช้เวลาดำเนินการเพียง 2-5 วันเท่านั้น โดยมีงบประมาณส่วนนี้ราว 80,000 ล้านบาท หรือ 80% ของโครงการลงทุนปี 58 หากส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งจัดซื้อจัดจ้าง จะช่วยให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ สอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของรัฐบาล นอกจากนี้ การจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ 500,000-2,000,000 บาท ให้ใช้วิธีสอบราคา ซึ่งใช้เวลา 12-15 วัน ส่วนการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป ให้ใช้วิธี e-market และ e-bidding โดยจะใช้เวลา 28 วันเท่านั้น ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการเริ่มปฏิบัติตามแนวทางข้างต้นตั้งแต่ 15 ก.ย.58 ถึง 31 มี.ค.59 ส่วนการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างที่ทำก่อน 15 ก.ย.นั้น ก็ให้ทำต่อไปจนแล้วเสร็จ
“การที่ กวพ.มีมติขยายวงเงินการจัดหาพัสดุของส่วนราชการ เพื่อให้ส่วนราชการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปด้วยความรวดเร็วและสอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ 1-500,000 บาท ให้ใช้วิธีตกลงราคา ซึ่งใช้เวลาเพียง 2-5 วันเท่านั้น ถือเป็นการเร่งรัดการเบิกจ่ายภาครัฐ ที่ช่วยให้เงินงบประมาณในโครงการเล็กลงสู่ระบบเศรษฐกิจได้เร็ว ประกอบกับที่ผ่านมาผู้ประกอบการขาดความพร้อมในระบบการจัดซื้อจัดจ้างรูปแบบใหม่ ทำให้ กวพ.ปรับการดำเนินการ เพื่อให้ผู้ประกอบการทุกราย โดยเฉพาะรายย่อยทำธุรกิจกับภาครัฐได้คล่องตัว ส่งผลให้ผู้มีรายได้น้อยมีรายได้เพิ่มขึ้น”.
ที่มา : www.thairath.co.th