WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

GFIMS-บี้รีดภาษีธุรกิจ'พรีออเดอร์'สรรพากร-ศุลกากร'ผนึกกำลังจับตาอาชีพ'แอร์-ไกด์'

     ไทยโพสต์ *คลังจี้ศุลกากร-สรรพากร เร่งตรวจสอบธุรกิจพรีออเดอร์ หลังพบเลี่ยงภาษีอื้อ

    นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมศุลกากรและกรมสรรพากรเร่งตรวจสอบ การทำธุรกิจเกี่ยวกับการรับจ้างสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าจากต่างประเทศ (พรีออเดอร์) หรือรับหิ้วของจากต่างประเทศมาขาย ผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์ก เช่น โปรแกรมเฟซบุ๊ก ไอจี ไลน์ เป็นต้น

    เนื่องจากปัจจุบัน พบว่า เริ่มมีจำนวนมากขึ้น แต่ไม่ได้ เสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมายที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะการทำอาชีพเสริมของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (แอร์โฮส เตส-สจ๊วต), มัคคุเทศก์ (ไกด์) ด้วยการเดินทางไปยังประเทศต่างๆ และนำของเข้ามาขายในประเทศในลักษณะหิ้วของเข้ามาขาย แต่ไม่ได้เสียภาษีให้ถูกต้อง ซึ่งต้องเร่งดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน เพื่อให้การจัดเก็บรายได้ของภาครัฐและการเสียภาษีที่กฎหมายกำหนดไว้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

    ทั้งนี้ การทำธุรกิจพรีออเดอร์ที่หิ้วสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขาย จะมีภาษีที่เกี่ยวข้องทั้ง 2 กรมภาษี ได้แก่ กรมศุลกากร ที่เป็นภาษีอากรขาเข้าประเทศ หากตรวจสอบและพบว่าสิ่งของดังกล่าวไม่ได้เป็นของส่วนตัวเพื่อนำมาใช้เอง หรือมีมูลค่าเกินกว่า 2 หมื่นบาท และจะเกี่ยวข้องกับกรมสรรพากร ที่ต้องยื่นแจ้งรายได้เสียภาษีบุคคลธรรมดาประจำปีภาษี โดยต้องนำรายได้จากการดำเนินธุรกิจดังกล่าว เข้ามารวมกับรายได้ที่ได้ประจำเพื่อยื่นเสียภาษีด้วย แต่ปัจจุบันยังพบว่ามีบางส่วนที่ไม่นำรายได้ดังกล่าวเข้ามารวมไว้ ส่งผลให้การยื่นเสียภาษีบุคคลธรรมดาไม่ตรงกับความเป็นจริง

    นอกจากนี้ ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตหรือเป็นผู้ที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพ เป็นปกติธุระไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคลหรือนิติบุคคลใดๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการ เกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) เพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน ตามที่กฎหมายกำหนดไว้

     รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง ระบุว่า ปัจจุบันพบว่ามีการทำธุรกิจพรีออเดอร์จำนวนมาก ทั้งการรับหิ้วของจากต่างประเทศมาขายของผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว แต่บวกราคาเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อส่วนต่างของรายได้ที่มีจำนวนมากจากการเฉลี่ยรายได้ในแต่ละปี แต่ยังเสียภาษีไม่ถูกต้อง ซึ่งถือว่าไม่เป็นธรรมกับผู้ประกอบการที่ทำตามกฎหมายกำหนดไว้ ทำให้กรมศุลกากรและกรมสรรพากรต้องเร่งตรวจสอบและดำเนินการให้ถูกต้อง เพื่อเพิ่มการจัดเก็บรายได้ภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

     อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา กรมศุลกากรได้ปรับเพิ่มวงเงินของส่วนตัวสำหรับผู้ที่เดินทางเข้ามาประเทศไทย ทั้งนักท่องเที่ยว ชาวไทยและชาวต่างชาติ จากเดิม 1 หมื่นบาท เป็น 2 หมื่นบาท เพื่อความเหมาะสมและสอด คล้องกับการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าเงินในปัจจุบัน ถือว่าเพียงพอต่อการซื้อของใช้ส่วนตัว แต่ไม่ได้เป็นการสนับสนุนการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศมาขาย.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!