WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

GFMคลัง เผย เก็บรายได้ ช่วง 8 เดือนแรกของปีงบ 58 ได้ 1.28 ล้านลบ.สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อน 4.8%

     นายกฤษฎา  จีนะวิจารณะ ผู& 63243;อํานวยการสํานักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงข่าวฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557 – พฤษภาคม 2558) ว่ารัฐบาลมีรายได้นําส่งคลังทั้งสิ้น 1,288,423 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 58,898 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.8 โดยสาเหตุหลักมาจากการจัดเก็บภาษีน้ำมันที่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การนำส่งสภาพคล่องส่วนเกินของกองทุนหมุนเวียน และการนำส่งรายได้จากการประมูลให้ใช้คลื่นความถี่ 3G ความถี่ 2.1 GHz ในขณะที่การเบิกจ่ายงบประมาณมีจํานวนทั้งสิ้น 1,829,961 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 95,733 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.5 ทําให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุล 541,538 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 1,421 ล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวม 542,959 ล้านบาท โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 181,362 ล้านบาท ทําให้ดุลเงินสดหลังกู& 63243;ขาดดุลทั้งสิ้น 361,597 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2558 มีจํานวนทั้งสิ้น 134,150 ล& 63243;านบาท

     นายกฤษฎาฯ สรุปว่า “การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลในช่วง 8 เดือนแรกได้กว่า

1.8 ล้านล้านบาท ซึ่งสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วถึงร้อยละ 5.5 เป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง” 

     ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดประจำเดือนพฤษภาคม 2558 และในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557 – พฤษภาคม 2558)

    ทั้งนี้ ในเดือนพฤษภาคม 2558 รัฐบาลขาดดุลเงินสดจํานวน 15,402 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 10,627 ล้านบาท และขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 4,775 ล้านบาท ส่งผลให้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 รัฐบาลขาดดุลเงินสดจำนวน 542,959 ล้านบาท

    ทั้งนี้ รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 181,362 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2558 มีจํานวน 134,150 ล& 63243;านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  1. ฐานะการคลังเดือนพฤษภาคม 2558

1.1 รัฐบาลมีรายได้นําส่งคลัง 166,127 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 6,307 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 3.9) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากภาษีน้ำมันที่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

1.2 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ จำนวน 176,754 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกัน ปีที่แล้ว 22,454 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 14.6) แบ่งเป็นรายจ่ายปีปัจจุบัน จำนวน 163,958 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 21,495 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 15.1) ประกอบด้วยรายจ่ายประจํา 139,510 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 10.9 รายจ่ายลงทุน 24,448 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกัน ปีที่แล้วร้อยละ 47.2 และการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีก่อนจํานวน 12,796 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกัน ปีที่แล้ว 959 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 8.1)

    การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่สําคัญในเดือนนี้ ได้แก่ รายจ่ายชำระหนี้ของกระทรวงการคลัง 22,568 ล้านบาท เงินอุดหนุนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 10,051 ล้านบาท และเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการ 8,442 ล้านบาท

    1.3 จากรายได้นําส่งคลังและการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลข้างต้น ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณในเดือนพฤษภาคม 2558 ขาดดุล 10,627 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุล 4,775 ล้านบาท ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการถอนเงินฝากคลังของเงินกู้โครงการต่างๆ สุทธิ ทําให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดจํานวน 15,402 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 24,000 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังกู้ชดเชยการขาดดุล) เกินดุลเท่ากับ 8,598 ล้านบาท

     2. ฐานะการคลังในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2558 (ตุลาคม 2557 – พฤษภาคม 2558)

     2.1 รายได้นําส่งคลัง รัฐบาลมีรายได้นําส่งคลังทั้งสิ้น 1,288,423 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 58,898 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 4.8) ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากการจัดเก็บภาษีน้ำมันที่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว การนำส่งสภาพคล่องส่วนเกินของกองทุนหมุนเวียน และการนำส่งรายได้จากการประมูล ให้ใช้คลื่นความถี่ 3G ความถี่ 2.1 GHz

   2.2 รายจ่ายรัฐบาล การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของรัฐบาลมีจํานวนทั้งสิ้น 1,829,961 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 95,733 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 5.5) ประกอบด้วยรายจ่ายปีปัจจุบัน 1,666,983 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 64.7 ของวงเงินงบประมาณ สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.5 และราย จ่ายปีก่อน 162,978 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 3.3

    รายจ่ายปีปีจจุบันจํานวน 1,666,983 ล้านบาท ประกอบด้วยรายจ่ายประจํา 1,501,731 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 69.7 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำหลังโอนเปลี่ยนแปลง 2,154,079 ล้านบาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.2 และรายจ่ายลงทุน 165,252 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 39.3 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง 420,921 ล้านบาท) ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.2 2.3 ดุลการคลังรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสด ขาดดุล 542,959 ล้านบาท โดยเป็นการขาดดุลเงินงบประมาณ 541,538 ล้านบาท และขาดดุลเงินนอกงบประมาณ 1,421 ล้านบาท

    ทั้งนี้ รัฐบาลได้บริหารเงินสดให้สอดคล้องกับความต้องการใช้เงินโดยชดเชยการขาดดุลด้วยการกู้เงินจํานวน 181,362 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (หลังการกู้เพื่อชดเชยการขาดดุล) ขาดดุลเท่ากับ 361,597 ล้านบาท และเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2558 มีจํานวนทั้งสิ้น 134,150 ล้านบาท

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!