WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมหมาย ภาษรมว.คลัง ยอมรับส่งออก พ.ค.ติดลบมาก แต่สอดคล้องกับทิศทาง ตปท.ยังไม่ขอประเมินมีผลกระทบต่อจีดีพี

    นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง กล่าวว่า ตัวเลขส่งออกเดือนพ.ค.ที่ยังติดลบ 5.01% เป็นไปตามที่หลายฝ่ายกังวลซึ่งเป็นภาวะแบบนี้ทั่วโลก ไม่ใช่แค่ประเทศไทยที่ติดลบ โดยหลายประเทศก็ติดลบในทิศทางเดียวเช่นกัน

   "ส่งออก ติดลบ 5.01% ยอมรับว่ามาก ส่วน จะกระทบ GDP ยังพูดไม่ได้ ต้องดูในระยะยาวก่อน" รมว.คลัง กล่าว

    ขณะที่ปัญหาภัยแล้งในประเทศขณะนี้ ยอมรับว่ามีผลต่อตัวเลขเศรษฐกิจตอนนี้ลดลง 0.5% จากที่คาดการณ์ไว้ แต่รัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจ อยู่ระหว่างหามาตรการให้ความช่วยเหลือ ก่อนหน้านี้ได้สั่งการให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) บรรเทาการชำระหนี้ออกไป 6 เดือน และขอให้เกษตรกรชะลอการเพาะปลูก

     รมว.คลัง กล่าวว่า นอกจากนี้ ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อยู่ระหว่างหารือกับม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เพื่อหาแนวทางเยียวยาต่อไป อาจจะเป็นการจ่ายเงินเพื่อชดเชยให้ชาวนา แต่จะเป็นไร่ละ 1,000 บาท หรือเท่าไหร่ ส่วนตัวคงตอบไม่ได้เพราะไม่ใช่หน้าที่ แต่ถ้ามีนโยบายก็มีเงินพร้อมดำเนินการ คาดว่ามาตรการช่วยเหลือ จะออกมาในช่วง 1-1.5 เดือนต่อจากนี้ ระหว่างนี้ขอเวลาในการพิจารณาอย่างรอบคอบที่สุด

คลังเผยภัยแล้งกดจีดีพีร่วง แบงก์คาดธปท.หั่นดอกเบี้ยนโยบายพยุงศก.

     แนวหน้า : คลังเผยภัยแล้งกดจีดีพีร่วง แบงก์คาดธปท.หั่นดอกเบี้ยนโยบายพยุงศก.-ชี้อยู่ที่ระดับ1.25%ถึงปลายปี’59

     นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เปิดเผยว่าปัญหาภัยแล้งในขณะนี้มีความรุนแรงมากคาดว่าจะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือจีดีพี ลดลงประมาณ 0.5% ต่อปี เช่น หน่วยงานไหนประมาณการว่าเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวได้ 3.5% ต่อปี ก็จะเหลือ 3% ต่อปี เนื่องจากภัยแล้งที่เป็นอยู่ กระทบกับพืชผลทางการเกษตร และรายได้ของเกษตรกรลดน้อยลง ทั้งนี้มีการรายงานในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ถึงปัญหาภัยแล้ง และที่ประชุมได้ประเมินว่า ในเดือนก.ค. 2558 ปริมาณน้ำฝนจะติดลบ 18% และในเดือนส.ค. 2558 ติดลบ 12% ทำให้รัฐบาลต้องขอให้เกษตรกรชะลอการเพาะปลูกเพราะปริมาณน้ำที่มีอยู่ไม่เพียงพอการปลูกพืชจะเกิดความเสียหายและขาดทุน ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยโดยรวมตอนนี้ขยายตัวได้ไม่มาก

     ทั้งนี้ ยอมรับว่า การสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อยอาจช่วยได้ไม่มาก เพราะต้องใช้เวลาเตรียมตัว จึงต้องใช้มาตรการอื่นเพิ่ม ซึ่งกำลังหารือร่วมกันเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือ ส่วนปัญหาหนี้ได้มอบนโยบายให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ช่วยเหลือเกษตรกรพักหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 6 เดือน เนื่องจากขณะนี้เกษตรกรไม่สามารถเพาะปลูกได้ในหลายพื้นที่ จึงต้องช่วยเหลือเพิ่ม

      “ภัยแล้งอาจจะกระทบกับเศรษฐกิจไทยให้ลดลงมากกว่า 0.5% ก็ได้ หากออกมาตรการดูแลยังไม่ทั่วถึง หรือกระทบน้อยกว่า 0.5% ก็ได้ หากมาตรการที่รัฐบาลออกมาช่วยได้ผลดี ซึ่งรัฐบาลจะมีการออกมาตรการออกมาแก้ปัญหาภัยแล้งให้ตรงจุดเพิ่มเติมมากขึ้น รวมถึงการใช้งบปี 2559 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่อให้คนมีงานทำมากขึ้น” นายสมหมายกล่าว

      ขณะเดียวกัน ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย ได้แถลงผลวิเคราะห์ภาพรวมของเศรษฐกิจไทย โดยระบุว่า เศรษฐกิจไทยเติบโต 3% ไตรมาส 1/2558 เมื่อเทียบกับปีก่อนและเติบโตลักษณะเร่งขึ้นในช่วง 4 ไตรมาสติดต่อกัน นับจาก ไตรมาส 1-4 ปี 2557 เป็นต้นมาอย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยยังอยู่ระดับต่ำและขยายตัวช้าลงไตรมาส 1/2558 คือเหลือแค่ 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อปรับผลกระทบจากปัจจัยฤดูกาลออกแล้วโดยไตรมาส 4/2557 ขยายตัว 1.1% ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าที่แท้จริงยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ฉุดการเติบโตเศรษฐกิจ เป็นผลจากอุปสงค์ที่ต่ำในเอเชียตะวันออก นอกจากนี้ การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังซบเซา แม้ว่าจะมีแรงหนุนจากราคาพลังงานที่ต่ำลง ซึ่งเป็นผลจากบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ไม่สดใสส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ระดับหนี้ครัวเรือนที่สูง และการเติบโตของรายได้ที่ต่ำ

      “ความเสี่ยงขาลงต่อการเติบโตเศรษฐกิจ จึงทำให้คาดว่ามีโอกาสมากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะผ่อนคลายอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก เพื่อพยุงการเติบโตของเศรษฐกิจให้มีความต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% มาอยู่ที่ 1.25% ภายในไตรมาส 3 และคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.25% จนถึงปลายปี 2559 จากเดิมคาดว่าจะปรับขึ้นจาก 1.50% สู่ 1.75% ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2559”

คลัง ชี้ภัยแล้งซัดจีดีพีลบ0.5% สั่ง ธ.ก.ส.ออกมาตรการอุ้มชาวนาพักหนี้ 6 ด.

     บ้านเมือง : คลังรับภัยแล้งฉุดจีดีพีต่ำ หลังประสบปัญหาเอลนีโญหนักสุดในรอบหลายปี พร้อมมอบ ธ.ก.ส.เพิ่มมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรพักหนี้ 6 เดือน ด้านนักเศรษฐศาสตร์เอชเอสบีซีคาดการเติบโตเศรษฐกิจไทยปีนี้เหลือ 3.1% จาก 3.6% แต่ปรับเพิ่มการเติบโตเศรษฐกิจปี 59 เล็กน้อยอยู่ที่ 3.3% จาก 3%

    นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ยอมรับเศรษฐกิจไทยชะลอตัวเนื่องจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว รวมทั้งปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นปีนี้มาจากผลกระทบเอลนีโญที่กลับมาอีกครั้ง ในรอบหลายปีหลังเกิดขึ้นเมื่อปี 2540 จึงเกิดปัญหาการไหลของปริมาณน้ำฝนติดลบ 18% ในเดือนกรกฎาคมและดีขึ้นในเดือนสิงหาคมติดลบ 12% จากปัญหาแล้งดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) 0.5% อาจทำให้เป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ 3.5% เหลือ 3% หากมาตรการช่วยเหลือปัญหาภัยแล้งทำได้ดีจีดีพีอาจลดลงไม่มาก หลังจากกระทรวงเศรษฐกิจเร่งเดินหน้าใช้มาตรการช่วยเหลือ รวมถึงการใช้งบปี 2559 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพื่อให้มีงานทำ อย่างไรก็ตามยอมรับว่าการสนับสนนุให้เกษตรกรปลูกพืชใช้น้ำน้อยอาจช่วยได้ไม่มาก เนื่องจากต้องใช้เวลาเตรียมตัว จึงต้องใช้มาตรการอื่นเพิ่ม ซึ่งกำลังหารือร่วมกันเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือ ส่วนปัญหาหนี้ได้มอบนโยบายให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ช่วยเหลือเกษตรกรพักหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 6 เดือน เนื่องจากขณะนี้เกษตรกรไม่สามารถเพาะปลูกได้ในหลายพื้นที่ จึงต้องช่วยเหลือเพิ่ม

    นายสมหมาย กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ครบรอบ 10 ปีการลงนามเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ยอมรับว่าทั้ง 2 ประเทศมีการค้าการลงทุนระหว่างกันจำนวนมาก โดยออสเตรเลียนำเข้าสินค้าจากไทยเพิ่มขึ้น 3 เท่า ขณะที่นำเข้าสินค้าจากออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 2 เท่า และนักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนในออสเตรเลียหลายประเภท เช่น การสำรวจปิโตรเลียม และอุตสาหกรรมภาคต่างๆ ยอมรับว่าขณะนี้นักลงทุนต่างชาติคลายความกังวลกับสถานการณ์การเมืองของไทยในเรื่องปฏิวัติ เพราะรัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น จึงทำให้นักลงทุนต่างชาติไม่กังวลการเมืองของไทย

    ขณะที่ น.ส.นลิน ฉัตรโชติธรรม นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารเอช เอสบีซี ประเทศไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยเติบโต 3% ไตรมาส 1/2558 เมื่อเทียบกับปีก่อนและเติบโตลักษณะเร่งขึ้นในช่วง 4 ไตรมาสติดต่อกัน ในช่วงไตรมาส 1-4 ปี 2557 อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยยังอยู่ระดับต่ำและขยายตัวช้าลงไตรมาส 1/2558 เหลือแค่ 0.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เมื่อปรับผลกระทบจากปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว โดยไตรมาส 4/2557 ขยายตัว 1.1% ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าที่แท้จริงยังคงเป็นปัจจัยหลักที่ฉุดการเติบโตเศรษฐกิจ เป็นผลจากอุปสงค์ที่ต่ำในเอเชียตะวันออก นอกจากนี้การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังซบเซา แม้ว่าจะมีแรงหนุนจากราคาพลังงานที่ต่ำลง ซึ่งเป็นผลจากบรรยากาศทางเศรษฐกิจที่ไม่สดใสส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่น ระดับหนี้ครัวเรือนที่สูง และการเติบโตของรายได้ที่ต่ำ

    อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอและความเสี่ยงเชิงลบที่มีต่อการส่งออกอย่างต่อเนื่อง เอชเอสบีซีจึงปรับลดคาดการณ์เติบโตเศรษฐกิจไทยปีนี้ลงจาก 3.6% เป็น 3.1% แต่ปรับเพิ่มการเติบโตเศรษฐกิจในปีหน้าขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ 3.3% จาก 3.1% รวมทั้งปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปีนี้อยู่ที่ติดลบ 0.4% จาก 0.0% เนื่องจากมีความกดดันด้านราคาสินค้ามีมากกว่าที่คาดไว้เดิมในช่วง 5 เดือนแรกของปี แต่ยังคาดว่าเงินเฟ้อจะกระเตื้องขึ้นปีหน้า เนื่องจากฐานที่ต่ำจึงปรับลดคาดการณ์เงินเฟ้อลงมาเพียงเล็กน้อยเหลือที่ 2.3% จาก 2.6% ผลจากปัจจัยทั้งหมดนี้และความเสี่ยงขาลงต่อการเติบโตเศรษฐกิจ จึงทำให้คาดว่ามีโอกาสมากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะผ่อนคลายอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก เพื่อพยุงการเติบโตของเศรษฐกิจให้มีความต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25% มาอยู่ที่ 1.25% ภายในไตรมาส 3 และคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.25% จนถึงปลายปี 2559 จากเดิมคาดว่าจะปรับขึ้นจาก 1.50% สู่ 1.75% ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2559

    ทั้งนี้ เอชเอสบีซีคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงเดือนธันวาคมปีนี้สู่ระดับ 0.25-0.50% และปี 2559 จะมีการปรับขึ้นอีก 0.5% เป็น 0.75-1.00 ภายในสิ้นปี 2559 ซึ่งเป็นการปรับระดับที่น้อยกว่าการคาดการณ์ล่าสุดของเฟด โดยส่วนหนึ่งเนื่องจากอัตราค่าจ้างยังขยายตัวอัตราที่ต่ำกว่าแนวโน้มในอดีตค่อนข้างมาก ส่งผลให้การปรับตัวของอัตราเงินเฟ้อเข้าสู่เป้าหมายของเฟดที่ 2% เป็นไปอย่างช้า

     นอกจากนี้ นางสาลินี วังตาล ประธานกรรมการ และนายสุพจน์ อาวาส กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังอนุมัติการเพิ่มทุนให้กับเอสเอ็มอีแบงก์ 1,000 ล้านบาท ทำให้สัดส่วน BIS เพิ่มจาก 7.7% เป็น 8.7% จึงจัดสรรเงิน 500 ล้านบาท ตั้งกองทุนร่วมลงทุนใน Private Equity Trust Fund ของกระทรวงการคลังตามนโยบายของรัฐบาล กำหนดเปิดตัวโครงการวันที่ 6 กรกฎาคมนี้ เพื่อร่วมลงทุนใน 17 กิจการที่มีศักยภาพและนวัตกรรม เพื่อรองรับเอกชนขายกิจการ

เศรษฐกิจไทย ไม่หวั่นเมอร์สดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม พ.ค.ต่ำสุดในรอบ 1 ปี

    บ้านเมือง : สศค.ประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโรคเมอร์สจะไม่รุนแรงเท่ากับโรคซาร์ เป็นผลจากมาตรการต่างๆ ของภาครัฐที่ควบคุมการติดต่อเนื่องดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมเดือน พ.ค. ลดลงต่อเป็นเดือนที่ 5 ต่ำสุดในรอบ 1 ปี อยู่ที่ระดับ 85.4 ระบุกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาภัยแล้งกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค

    นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากการที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศเมื่อวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา กรณีพบผู้ป่วยชาวตะวันออกกลางที่เป็นโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส 1 ราย ที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยและอยู่ระหว่างการรักษาตัว ทำให้หลายฝ่ายเป็นกังวลต่อสถานการณ์โรคเมอร์สและผลกระทบทางเศรษฐกิจที่อาจจะเกิดขึ้น

    ทั้งนี้ สศค.ประเมินว่าสถานการณ์โรคเมอร์สยังสามารถอยู่ในความควบคุมได้และจะไม่รุนแรงเท่ากับสถานการณ์โรคทางเดินทางหายใจเฉียบพลันรุนแรง (ซาร์) ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี 2546 โดยมีเหตุผลดังนี้ มีการเปิดเผยข้อมูลการติดเชื้อโรคเมอร์สอย่างรวดเร็ว และชัดเจนกว่าสมัยโรคซาร์ ส่งผลให้มีการควบคุมได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในประเทศต่างๆ ท่าอากาศยานนานาชาติของไทยมีการจัดตั้งจุดคัดกรองผู้โดยสารขาเข้าจากสายการบินที่มาจากประเทศตะวันออกกลางและเกาหลีใต้ และกระทรวงสาธารณสุขมีการติดตามผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วยและสร้างระบบคัดกรองผู้ป่วย ตลอดจนปรับระบบการดูแลผู้ป่วยในสถานพยาบาลให้มีการป้องกันควบคุมการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกยังชื่นชมว่า

    ประเทศไทยสามารถมีระบบการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคติดต่ออันตรายอยู่ในเกณฑ์ดีมาก จนสามารถพบผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและสามารถนำเข้าสู่ระบบคัดแยกตั้งแต่ก่อนโรคจะแสดงอาการและแพร่เชื้อ อีกทั้งประเทศต่างๆ ยังไม่ได้ประกาศการยกระดับการเตือนการเดินทางมายังประเทศไทยเหมือนกับกรณีที่ฮ่องกงประกาศเตือนการเดินทางไปประเทศเกาหลีใต้

    โดยจากกรณีศึกษาเหตุการณ์โรคติดต่อต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยผ่านช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร ธุรกิจการขนส่ง และธุรกิจการค้าปลีกค้าส่ง เป็นต้น ซึ่งจากประสบการณ์ของไทยในอดีตการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสามารถเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ลดลงเพียงระยะเวลาสั้นๆ ช่วงระยะเวลาภายใน 2-5 เดือนหลังเหตุการณ์ และจากข้อมูลการเดินทางล่าสุดยังพบว่าสถานการณ์โรคเมอร์สยังไม่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางผ่านด่านสุวรรณภูมิวันที่ 18-21 มิถุนายนที่ผ่านมา ยังคงขยายตัวระดับสูงมากที่ 57.8% ต่อปี ซึ่งอัตราการจองผ่านบริษัทนำเที่ยว และห้องพักต่างๆ ยังไม่ได้มีการยกเลิกแต่อย่างใด ดังนั้น สศค. จึงเชื่อมั่นว่าสถานการณ์โรคเมอร์สจะสามารถควบคุมได้และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งจะได้มีการติดตามสถานการณ์โรคเมอร์สและผลกระทบทางเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิดต่อไป

    นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรม เดือนพฤษภาคม 58 อยู่ที่ระดับ 85.4 ปรับตัวลดลงจากระดับ 86.2 ในเดือนเมษายน 58 ดัชนีความเชื่อมั่นพ.ค.ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน และเป็นค่าดัชนีฯ ที่ต่ำสุดในรอบ 1 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 57 ที่ค่าดัชนีอยู่ที่ 85.1 ทั้งนี้ ค่าดัชนีที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

   ทั้งนี้ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อค่าดัชนีฯ ให้ลดต่ำลง เนื่องจากความกังวลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และปัญหาภัยแล้งที่จะกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคภายในประเทศ โดยเฉพาะภาคเกษตร ประกอบกับภาวะการแข่งขัน และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น รวมทั้งความกังวลต่อการที่สหภาพยุโรปให้ใบเหลืองไทย กรณีการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) ซึ่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงและอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขณะที่การอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นสัญญาณที่ดีต่อภาคการส่งออก ช่วยให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดต่างประเทศ

     สำหรับ ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนพฤษภาคม ผู้ประกอบการเห็นว่าบทบาทของภาครัฐจะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาวะที่กำลังซื้อชะลอตัว ขณะเดียวกันโครงสร้างการผลิตของภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบันไม่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะในต่างประเทศ ดังนั้น การให้ความสำคัญกับการปรับปรุงเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิต การพัฒนาฝีมือแรงงาน จะช่วยขยายโอกาสทางการตลาด และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในระยะยาว

คลังรับภัยแล้งขั้นวิกฤตหนัก กดจีดีพีทรุดต่ำอีก 0.5%

     แนวหน้า : นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ปัญหาภัยแล้งในขณะนี้ มีความรุนแรงมาก คาดว่า จะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพี ลดลงประมาณ 0.5% ต่อปี เช่น หน่วยงานไหนประมาณการว่าเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวได้ 3.5% ต่อปี ก็จะเหลือ 3% ต่อปี เนื่องจากภัยแรงที่เป็นอยู่ กระทบกับพืชผลทางการเกษตร และรายได้ของเกษตรกรลดน้อยลง

    "ภัยแล้งอาจจะกระทบกับเศรษฐกิจไทยให้ลดลงมากกว่า 0.5% ก็ได้ หากออกมาตรการดูแลยังไม่ทั่วถึง หรือกระทบน้อยกว่า 0.5% ก็ได้ หากมาตรการที่รัฐบาลออกมาช่วยได้ผลดี ซึ่งรัฐบาลจะมีการออกมาตรการออกมาแก้ปัญหาภัยแล้งให้ตรงจุดเพิ่มเติมมากขึ้น" นายสมหมาย กล่าว

    นายสมหมาย กล่าวว่า ภัยแล้งถือเป็นภาวะสภาพอากาศแปรปรวน หรือ เอลนีโญ่ มีการรายงานในคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจที่ประชุมหาทางแก้ปัญหาภัยแล้งประเมินว่า ใน ก.ค.58 ปริมาณน้ำฝนจะติดลบ 18% และในเดือนส.ค.58 ติดลบ 12% ทำให้รัฐบาลต้องขอให้เกษตรกรชะลอการเพาะปลูก เพราะปริมาณน้ำที่มีอยู่ไม่เพียง การปลูกพืชจะเกิดความเสียหายและขาดทุน ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยโดยรวมตอนนี้ขยายตัวได้ไม่มาก

    รมว.คลัง กล่าวว่า ขณะนี้ต้องเร่งหน่วยงานต่างๆ ให้เร่งลงทุนโครงการลงทุนของปีงบประมาณ 2558 ที่เหลืออยู่มาก และงบลงทุนในปี 2559 ที่กำลังจะพิจารณาเสร็จ เพื่อให้เกิดการจ้างงานซึ่งจะบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากปัญหาภัยแล้งได้ระดับหนึ่ง

    ที่ผ่านมาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ออกมาตรการขยายเวลาการพักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยออกไปอีก 6 เดือน เพื่อแบ่งเบาภาระของเกษตรกรเฉพาะหน้าไปก่อน แต่ยังต้องมีมาตรการเพิ่มเติม ส่วนจะเป็นการแจกเงินไร่ละ 1,000 บาทหรือไม่ ตอนนี้กำลังพิจารณาเพื่อหาข้อสรุป

    ทั้งนี้ กระทรวงการคลังประมาณการเศรษฐกิจปีนี้จะขยายตัวได้ 3.7% ต่อปี ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประมาณการที่ 3% ต่อปี และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประมาณการไว้ที่ 3-4% ต่อปี

                นายสมหมาย ยังกล่าวภายหลังไปพูดในงานครบรอบ 10 ปี การทำเอฟทีเอไทยออสเตรเลีย ว่า ส่งผลให้การค้าขายของทั้งสองประเทศขยายตัวขึ้นมาก โดยออสเตรเลียนำเข้าสินค้าของไทยเพิ่มขึ้น 3 เท่า ส่วนไทยนำเข้าสินค้าจากออสเตรเลีย 2 เท่า แม้ว่าที่ผ่านมาประเทศไทยจะมีปัญหาการเมืองก็ไม่ได้กระทบการค้าของไทยและออสเตรเลีย

    "นักลงทุนต่างชาติเขาลืมไปแล้วว่ารัฐบาลปัจจุบันเป็นรัฐบาลทหาร ต่างชาติยังเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยและเข้ามาลงทุน เพราะเขาพอใจความสงบและการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลชุดปัจจุบันในหลายเรื่อง" นายสมหมาย กล่าว

รมว.คลัง คาดภัยแล้งกระทบ GDP ปีนี้ราว 0.5% แต่ไม่เกิดวิกฤติการเงิน

   นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง ยอมรับภาวะเศรษฐกิจของไทยในปีนี้จะขยายตัวได้ไม่มากตามที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ประกอบกับเกิดสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงทำให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ(GDP)ลดลง 0.5% จากเดิมเคยคาดการณ์ว่าจะเติบโตได้ 3.7%

     "ภาคเกษตรได้รับผลกระทบรุนแรงจากปรากฎการณ์เอลนิญโญ่อาจทำให้ GDP ลดลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ 0.5%" นายสมหมาย กล่าว

    รมว.คลัง กล่าวว่า ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจวานนี้ได้มีการประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจแล้วเห็นตรงกันว่า ปีนี้ภาคเกษตรจะได้รับจากปรากฎการณ์เอลนิญโญ่เหมือนเมื่อปี 40 แต่จะไม่เกิดวิกฤติการเงินอย่างแน่นอน

   ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้กำชับให้ทุกกระทรวงเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อให้เกิดการจ้างงานในระดับรากหญ้า ขณะเดียวกันรัฐบาลกำลังหามาตรการที่สามารถช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งได้ตรงจุดมากกว่าการจ่ายเงินชดเชยไร่ละ 1 พันบาทเหมือนที่ผ่านมา พร้อมทั้งประสานให้ธนาคารของรัฐออกมาตรการช่วยเหลือเรื่องการชะลอและพักชำระหนี้ออกไปอีก 6 เดือน

    อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!