WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

GFIMSหนี้สาธารณะมี.ค.แตะ 5.73 ล้าน ล.

       บ้านเมือง : นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ในฐานะโฆษก เปิดเผยถึงหนี้สาธารณะคงค้างสิ้นเดือนมีนาคม 2558 ว่า มีจำนวนทั้งสิ้น 5,730,519.23 ล้านบาท หรือคิดเป็น 43.33% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นสุทธิ 10,093.66 ล้านบาท

      สำหรับ สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีมีการเปลี่ยนแปลงลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2558 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ปรับปรุงวิธีการคำนวณจีดีพี และปรับประมาณการปี 2558 โดยหนี้ของรัฐบาลเพิ่มขึ้น 23,846.11 ล้านบาท ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกิดจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 16,102.76 ล้านบาท การเพิ่มขึ้นของตั๋วเงินคลังเพื่อบริหารดุลเงินสด 5,000 ล้านบาท การกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศและต่างประเทศ 2,398.08 ล้านบาท ประกอบด้วย การให้กู้ต่อแก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 1,956.08 ล้านบาท สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีน้ำเงิน สายสีม่วง รถไฟสายสีแดงและโครงการปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัย และการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อใช้ในโครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (DPL) 442 ล้านบาท การเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้ พ.ร.ก.บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ 200 ล้านบาท การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลล่วงหน้าที่จะครบกำหนดวันที่ 22 พฤษภาคมนี้ 9,014 ล้านบาท และการชำระหนี้ที่กู้มาเพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ 5,000 ล้านบาท

      ส่วนหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินมียอดหนี้คงค้างลดลง 9,195.48 ล้านบาท ซึ่งเดือนมีนาคม 2558 มีการเบิกจ่ายเงินกู้จากแหล่งเงินกู้ต่างประเทศ เพื่อลงทุนในโครงการสำคัญ ได้แก่ โครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลักของการประปานครหลวง (กปน.) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงของ รฟม. ขณะที่หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) มียอดหนี้คงค้างลดลง 3,334.90 ล้านบาท เนื่องจากการชำระหนี้เงินต้นของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หนี้หน่วยงานของรัฐ มียอดหนี้คงค้างลดลง 1,222.07 ล้านบาท เนื่องจากการชำระหนี้เงินต้นของกองทุนอ้อยและน้ำตาล สำนักงานธนานุเคราะห์ และมหาวิทยาลัยพะเยา

     ทั้งนี้ การที่หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) และหนี้หน่วยงานของรัฐมียอดหนี้คงค้างลดลง เนื่องจากมีการชำระคืนมากกว่าการเบิกจ่ายเงินกู้และผลของการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน

สบน.ชงออกกฎหมายพิเศษโล๊ะหนี้ 4 องค์กร วงเงิน 7 แสนล้าน

    สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ เสนอออกกฎหมายพิเศษชำระหนี้ให้ 4 องค์กร คิดเป็นวงเงิน 7 แสนล้านบาท

    นายธีรัชย์ อัตนวานิช รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เผยว่า ได้สรุปรายละเอียดร่าง พ.ร.บ.ให้กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อบริหารจัดการหนี้ที่รัฐบาลค้างจ่ายวงเงินกว่า 7 แสนล้านบาท ประกอบด้วย 1.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่มีหนี้ค้างชำระจากการกู้เงินเพื่อนำไปใช้ในโครงการจำนำข้าว 2.การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) 3.องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และ 4.หนี้ที่รัฐบาลค้างจ่ายสมทบกองทุนประกันสังคม โดยจะเสนอให้ นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี พิจารณา หลังจากนั้นก็จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป โดยสาระสำคัญของกฎหมาย คือกำหนดเวลาชำระหนี้ให้มีความชัดเจนภายในเวลา 20 ปี โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบความเสียหายอีกครั้ง

    นอกจากนี้ กฎหมายยังกำหนดให้ รฟท. และ ขสมก. ที่ได้รับเงินกู้จากกฎหมายนี้ ต้องฟื้นฟูกิจการให้ได้ตามแผนที่ซูเปอร์บอร์ดเห็นชอบไว้ ไม่ให้มีการสร้างหนี้ใหม่ที่จะกลับมาเป็นภาระให้รัฐบาลต้องออกกฎหมายพิเศษมาชำระหนี้ให้อีก

 อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!