WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

GFIMSคลัง เร่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการเงินการคลังเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

      นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานเปิดงานสัมมนา'ยุทธศาสตร์กระทรวงการคลังด้านการเงินการคลังเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน' เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2558 เวลา 9.00 น. ณ ห้องเพลนนารี 2 ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีผู้แทนระดับสูงจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งผู้สนใจทั่วไปเข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง

     รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การสัมมนายุทธศาสตร์กระทรวงการคลังด้านการเงินการคลังเพื่อรองรับประชาคมอาเซียนครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และเพื่อให้สาธารณชนเห็นโอกาสของการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน รวมถึงเพื่อเผยแพร่บทบาทของกระทรวงการคลังในการสร้างความมั่นใจว่าภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงการคลังตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นกับภาครัฐ เอกชน และประชาชนในการเป็นประชาคมอาเซียน และได้เตรียมรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยได้จัดทำยุทธศาสตร์กระทรวงการคลัง ด้านการเงินการคลังเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ซึ่งมุ่งเน้น (1) การอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจให้แก่ภาคเอกชน (2) การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภาคการเงินการคลัง (3) การเชื่อมโยงภาคการเงินการคลังกับประเทศอื่นๆ และ (4) การให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้รับประโยชน์จากประชาคมอาเซียน โดยให้มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนที่เป็นการดำเนินการตามแผนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint:AEC Blueprint) และการดำเนินการภายในเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และนำไปกำหนดเป็นกลยุทธ์ มาตราการ โดยมีโครงการรองรับที่เหมาะสม กำหนดหน่วยงานผู้รับผิดชอบ และกำหนดเวลาดำเนินการที่ชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้สามารถติดตามความคืบหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    สำหรับ ความคืบหน้าในการดำเนินการตามกรอบ AEC Blueprint เป็นที่น่ายินดีว่า ประเทศไทยได้มีการดำเนินการตาม Scorecard ของ AEC Blueprint ไปแล้วถึง 87.1% ซึ่งสูงกว่าอาเซียนในภาพรวมที่ดำเนินการได้ 77.7%

    ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง ได้เริ่มยกร่างยุทธศาสตร์กระทรวงการคลังด้านการเงินการคลังเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน ตั้งแต่ปลายปี 2554 โดยได้ประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงร่างยุทธศาสตร์ฯ ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ และบรรจุโครงการ/กิจกรรมที่สนับสนุนการดำเนินการตามร่างยุทธศาสตร์ฯ พร้อมทั้งได้ดำเนินโครงการ/กิจกรรมดังกล่าวแบบคู่ขนานไปกับการปรับปรุงร่างยุทธศาสตร์ฯ ตั้งแต่ปลายปี 2555 อย่างต่อเนื่องตามกรอบระยะเวลาที่ได้กำหนดไว้

    ก้าวต่อไปของประเทศไทยหลังจากปี 2558 ประเทศไทยจำเป็นต้องรักษาความสามารถในการแข่งขัน พร้อมทั้งเพิ่มศักยภาพในด้านต่าง ๆ ให้ทันสมัยและดียิ่งขึ้นเพื่อให้ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน และสามารถแข่งขันกับประเทศอื่น ๆ ในประชาคมอาเซียนได้ โดยหลักการสำคัญที่นำไปใช้ คือ หลัก “2 S” ซึ่งได้แก่ Sufficiency -การดูแลตัวเองให้พร้อม และ Synergy –การเกื้อกูล ผนึกกำลังในกลุ่มประเทศสมาชิกเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย

    การสัมมนาดังกล่าวได้จัดการเสวนาภายใต้หัวข้อ “ยุทธศาสตร์กระทรวงการคลังด้านการเงิน การคลังเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน” และได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ คือ กรมศุลกากร ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับตลาดหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย มาพูดคุยให้ทราบถึงความพร้อมของประเทศไทยในด้านต่างๆ อาทิ

   การอำนวยความสะดวกในด้านการค้า ระบบ National Single Window และ ASEAN Single Window เพื่อการค้าและการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์

   การอำนวยความสะดวกในด้านการเงิน เป็นการเปิดเสรีทางการเงินระหว่างธนาคารของประเทศสมาชิก (Qualified ASEAN Bank) เพื่อความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน 

   การอำนวยความสะดวกในด้านการลงทุน การปรับกฎเกณฑ์ให้ใกล้เคียงกันระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อความสะดวกในด้านตลาดทุน เพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสให้กับบริษัทและนักลงทุนให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้

   โดยในมุมมองของภาคเอกชน การค้าการลงทุนที่ชายแดนมีการเติบโตอย่างสูง ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดีในการที่ประเทศไทยจะเป็น ASEAN Sourcing เพื่อเป็นแหล่งวัตุดิบให้กับประเทศต่างๆ ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็สามารถนำเข้าวัตุดิบจากต่างประเทศด้วย เป็นต้น

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

 

นายกฯ ร่วมประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 26 ระบุ ปชช.คือศูนย์กลางของประชาคมอาเซียน-เร่งยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่

    ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 26 แบบเต็มคณะ (plenary) พร้อมกับผู้นำอาเซียน 9 ชาติ และนาย เล เลือง มิญ(H.E. Le Luong Minh) เลขาธิการอาเซียน โดยมีวาระการประชุมเกี่ยวกับการจัดตั้งประชาคมอาเซียน วิสัยทัศน์ของประชาคมอาเซียนภายหลังปี 2015 และทิศทางในอนาคต โดยในปีนี้ไทยขอให้ความมั่นใจว่าพร้อมจะให้ความร่วมมือต่อการรวมตัวเป็นประชาคมเดียวกันในปีนี้

   นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยประชาชนคือศูนย์กลางของประชาคมอาเซียน ดังนั้น วิสัยทัศน์ของอาเซียนจะต้องมุ่งสร้างประชาคมที่ประชาชนทุกคนได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่และมีความสุข เราต้องยกระดับมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกกระทบจากภัยคุกคามต่างๆ และคุ้มครองกลุ่มที่เปราะบาง ด้อยโอกาสได้เข้าถึงทรัพยากรอย่างเท่าเทียม

   นอกจากนี้ ต้องส่งเสริมเกษตรกร ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังทางเศรษฐกิจสำหรับหลายประเทศ แต่กลับไม่มีรายได้ที่เพียงพอในการดำรงชีพและได้รับค่าตอบแทนที่ไม่เป็นธรรม ขณะเดียวกัน ต้องวางรากฐานให้ประชาคมตั้งอยู่บนหลักของกฎกติกา มีธรรมาภิบาล และสามารถเป็นหุ้นส่วนซึ่งกันและกัน ด้วยการเชื่อมโยงระหว่างประเทศในอาเซียน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน โดยมีส่วนร่วมของทุกประเทศ

   ในการสร้างประชาคมอาเซียน นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เพื่อให้ไปสู่วิสัยทัศน์ที่มีร่วมกัน ต้องเร่งดำเนินการให้ประชาคมอาเซียนรวมตัวอย่างลึกซึ้งและเดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง

   "จำเป็นต้องส่งเสริมให้เกิดความเชื่อมโยงในทุกมิติ ทั้งความเชื่อมโยงในภูมิภาค และความเชื่อมโยงกับภายนอกภูมิภาค เพื่อส่งเสริมการพัฒนา สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภูมิภาค ซึ่งจะช่วยลดความยากจน ความเหลื่อมล้ำ และช่องว่างด้านการพัฒนา"

   นายกฯ ระบุว่า ไทยให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความเชื่อมโยง การพัฒนาเครือข่ายการผลิตและห่วงโซ่อุปทานของอาเซียนผ่านโครงการที่เป็นรูปธรรม อาทิ การขยายเส้นทางคมนาคมเพื่อเชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ ซึ่งประกอบด้วยเส้นทางทั้งถนนและรถไฟ ความร่วมมือกับ สปป.ลาวเพื่อก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 5 และ 6 การสร้างเส้นทางรถไฟจากอรัญประเทศไปยังชายแดนไทย-กัมพูชา และการให้ความช่วยเหลือก่อสร้างสะพานรถไฟเพื่อเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟในกัมพูชาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสิงคโปร์-คุนหมิง

   ไทยกำลังผลักดันให้เกิดเขตเศรษฐกิจพิเศษอย่างเป็นรูปธรรมภายในปีนี้ โดยเน้นการพัฒนาพื้นที่ตามแนวชายแดนและระเบียงเศรษฐกิจของอนุภูมิภาค เพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตกับประเทศเพื่อนบ้าน สร้างงานและดึงดูดการลงทุนภายในภูมิภาค

    นอกจากนี้ ไทยสนับสนุนการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจร่วมกันตามแนวคิด "หนึ่งบวกหนึ่ง" บนพื้นฐานที่ว่าประเทศอาเซียนแต่ละประเทศมีจุดขายที่จะช่วยเสริมกันและกันได้ โดยมุ่งดึงดูดการลงทุนเข้าอาเซียน ขยายฐานการผลิตในภูมิภาค และช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจในอาเซียน หากอาเซียนมุ่งมั่นจริงจังเกี่ยวกับการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรีเห็นว่า ต้องเร่งรัดขจัดมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีที่ยังคงกีดกันการค้าระหว่างเรา รวมทั้งส่งเสริมการรวมตัวกันเพื่อความมั่งคั่งของอาเซียนโดยรวม

     นอกจากนั้น ควรส่งเสริมการจัดตั้งระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าให้กับภาคเอกชน โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs (วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม) และการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

    ขณะเดียวกัน การรวมตัวและความเชื่อมโยงที่เพิ่มขึ้นย่อมมีผลข้างเคียงเชิงลบตามมาด้วย เราจึงต้องเตรียมรับมือกับความเสี่ยงเหล่านี้อย่างจริงจัง โดยประสานงานกันอย่างใกล้ชิด แผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคและอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการค้ามนุษย์ก็เป็นอีกตัวอย่างของความร่วมมือ ซึ่งไทยหวังว่าผู้นำอาเซียนจะสามารถรับรองได้ในปลายปีนี้เพื่อให้บังคับใช้ได้ต่อไป

   อาเซียนควรจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือในเรื่องการบริหารจัดการชายแดนอย่างเป็นระบบ โดยมีการแลกเปลี่ยนข่าวกรองและเชื่อมโยงฐานข้อมูลระหว่างกัน โดยนายกรัฐมนตรีเห็นว่า น่าจะมอบหมายให้ที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติพิจารณาศึกษาเรื่องนี้เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมต่อไป

     นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ประชากรส่วนใหญ่ในอาเซียนประกอบอาชีพเกษตรกรรม แต่ความเป็นอยู่ของเขามักจะผกผันไปตามราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลก อาเซียนจึงควรพิจารณาว่าจะร่วมมือกันอย่างไร เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคการเกษตร ไม่ให้เกษตรกรผู้ผลิตออกไปจากวงจรการเกษตรในอนาคต เนื่องจากรายได้น้อย ขาดทุน เหน็ดเหนื่อย คุณภาพชีวิตไม่ดีขึ้น และไม่มีอนาคต ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อภาคการผลิต อาเซียนควรพิจารณาความเป็นไปได้ที่อาเซียนจะร่วมมือกันเพื่อเป็นคลังอาหาร (food bank) ของโลก

    แนวทางหนึ่งที่ประเทศในภูมิภาคอาจพิจารณา คือ การสร้างพันธมิตรรายสินค้า ซึ่งไทยพร้อมจะหารือกับประเทศส่งออกที่สำคัญในอาเซียนเพื่อสร้างพันธมิตรแทนที่จะเป็นคู่แข่งกัน อาเซียนควรเสริมสร้างแนวปฏิบัติที่ดีด้านการเกษตรเพื่อเข้าสู่ตลาดโลกได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยกระดับและทำให้มาตรฐานต่าง ๆ สอดคล้องกัน เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของสินค้าเกษตร อาจสร้างความร่วมมือด้านเกษตรสมัยใหม่ และควรสร้างตราสินค้าอาเซียน โดยเฉพาะในภาคเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น

   ในอนาคต อาเซียนคงต้องส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่หันมาทำการเกษตรมากขึ้น โดยสนับสนุนเขาในการพัฒนาขีดความสามารถ โดยเฉพาะในการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพิ่มรายได้  มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ภาคการเกษตรจะได้เป็นเสาสำคัญของการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอาเซียนต่อไป

    การบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเร่งฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม เพื่อช่วยสร้างน้ำต้นทุน นอกจากจะช่วยส่งเสริมภาคการเกษตรแล้ว ยังช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงน้ำที่สะอาดได้เพิ่มขึ้น อาเซียนจึงควรตั้งเป้าหมายให้ทุกหมู่บ้านและชุมชนในอาเซียนสามารถเข้าถึงน้ำที่สะอาดได้ภายในปี 2568

   ประชาชนจะมีความเป็นอยู่ที่ดีได้ก็ต้องมีสภาพแวดล้อมที่ดีและยั่งยืน แต่ปัญหาไฟป่าและหมอกควันเป็นอุปสรรคสำคัญในด้านนี้ ทั้งนี้ อาเซียนควรมีเป้าหมายระยะยาวที่จะให้ภูมิภาคปลอดจากหมอกควัน (haze-free ASEAN) โดยร่วมมือกันปฏิบัติตามข้อตกลงอาเซียน เรื่อง มลพิษจากหมอกควันข้ามแดน ส่งเสริมความตระหนักรู้เรื่องปัญหาหมอกควัน อาทิ การแลกเปลี่ยนข้อมูลในระดับภูมิภาค และเสริมสร้างเครือข่ายระหว่างสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในภูมิภาค เป็นต้น และควรมีหน่วยงานร่วมในการบริหารจัดการร่วมกันในทุกประเทศ

    หากประชาคมอาเซียนจะมีบทบาทอันเป็นที่ยอมรับของประชาคมโลกในอีกสิบปีข้างหน้า ก็ควรสามารถดำเนินการร่วมกันในการรักษาความสงบและส่งเสริมสันติภาพ ประเทศไทยจึงขอเสนอแนวความคิด ดังนี้ ควรพยายามหาวิธีส่งเสริมการประสานงานระหว่างกันในเรื่องการรักษาสันติภาพในกรอบสหประชาชาติ เพื่อที่อาเซียนจะได้มีบทบาทในเวทีโลกมากขึ้น, ควรกระชับความร่วมมือระหว่างพลเรือนและทหารในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ (HADR) เพื่อให้อาเซียนสามารถรับมือกับภัยพิบัติได้อย่างทันท่วงที และควรจัดตั้งศูนย์แพทย์ทหารอาเซียน หรือ ACMM ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดอย่างเป็นทางการได้ในช่วงปลายปีนี้

    ทั้งนี้ ประชาคมอาเซียนต้องเตรียมรับมือกับประเด็นท้าทายใหม่ ๆ ในอีกสิบปีข้างหน้า ด้วยเหตุนี้ จึงควรส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัยและการพัฒนา การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

 

ไทยร่วมหารือลดภาษีอาเซียน

      บ้านเมือง : นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. พร้อมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงการต่างประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการเจรจาทางการค้าสำหรับการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง (ASEANHong Kong Trade Negotiation Committee: AHKTNC) ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 10-12 มีนาคม 2558 ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง โดยมีรองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทย สำหรับหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายฮ่องกง คือ Mr.Raistlin Lau, Deputy Director-General, Trade and Industry Department of Hong Kong และมีผู้แทนจากเขตบริหารพิเศษฮ่องกงเข้าร่วมด้วย โดยรูปแบบการประชุมเป็นลักษณะของการเจรจาควบคู่กันของคณะทำงาน 7 คณะ

    เลขาธิการ สศก. กล่าวต่อไปว่า อาเซียนและฮ่องกงได้มีการประชุมความตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน ไปแล้ว 2 ครั้ง เมื่อเดือนกรกฎาคม และพฤศจิกายน 2557 ตามลำดับ โดยฮ่องกงและอาเซียนจะสลับกันเป็นเจ้าภาพ อย่างไรก็ตาม สำหรับความคืบหน้าในที่ประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้าอาเซียน-ฮ่องกง ครั้งที่ 3 ในเรื่องการค้าสินค้า ได้มีการหารือเรื่องรูปแบบการลดภาษีของฝ่ายอาเซียน และข้อสรุปสำหรับกลุ่ม ASEAN+6 โดยมีรูปแบบการลดภาษีในกลุ่มสินค้าลดภาษีปกติที่ร้อยละ 85 ของรายการสินค้าทั้งหมด (แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 จำนวนร้อยละ 65 เป็นการลดภาษีเป็น 0 ทันที หรือภายในระยะเวลา 3 ปี ส่วนกลุ่มที่ 2 จำนวนร้อยละ 20 จะลดภาษีเป็น 0 ภายในระยะเวลา 10 ปี)  สินค้าอ่อนไหวร้อยละ 5 และรายการสินค้ายกเว้นภาษีร้อยละ 5 ยกเว้น กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม โดยจะเสนอรูปแบบการลดภาษีที่แตกต่าง และจะแจ้งข้อเสนอให้ฮ่องกงทราบภายหลัง

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!